วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจักขสัทธา - ความเชื่อ

ความเชื่อ ความเลื่อมใส ที่ประจักษ์แจ่มแจ้งแก่ตนเอง เพราะได้ปฏิบัติพิสูจน์จนรู้แจ้งเห็นจริงมาแล้ว
ไม่ต้องเชื่อใครๆอีก ตัวอย่างได้แก่ ท่านพระสารีบุตร มีเรื่องเล่าไว้ว่า

สมัยหนึ่ง ภิกษาอยู่ในป่า 30 รูป พากันมาสู่ที่เฝ้าของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัย
แห่งอรหันตมรรคผลของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกพระสารีบุตรมา ตรัสถามว่า

" สารีบุตร เธอเชื่อไหมว่า อินทรีย์ ๕ มีสรัทธาเป็นต้นนี้ ถ้าผู้ใดอบรมแล้ว บำเพ็ญให้มากแล้ว
ผู้นั้นจะต้องหยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด? "

พระสารีบุตร กราบทูลว่า

" ข ขฺวาหํ ภนฺเต เอตฺถ ภควโต สทฺธาย คจฺฉามิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพองค์ยังไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น คือ คนไม่รู้ ไม่ได้สดับ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ได้ทำให้แจ้ง
และไม่ถูกต้องด้วยปัญญาของตน เพียงแค่เชื่อผู้อื่นเท่านั้น ไม่มีโอกาสจะถึงอมตะได้
เป็นอย่างนั้นแน่นอนดังนี้ "

เมื่อภิกษุทั้งหลาย ฟังคำนั้นแล้ว พูดว่า
" พระสารีบุตรถือผิดเสียแล้ว พระเถระไม่เชื่อต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย "

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกัน เราถามว่า สารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า อันบุคคลผู้ที่ไม่ได้อบรม
อินทรีย์ ๕ ไม่ได้เจริญสมถะ วิปัสสนา จะสามารถทำมรรค ผล ให้แจ้งได้ มีอยู่

พระสารีบุตรกล่าวว่า พระเจ้าข้า ข้าพองค์ไม่เชื่อเลยว่า ผู้กระทำ มรรค ผล ให้แจ้งด้วยการปฏิบัติมีอยู่
สารีบุตรไม่เชื่อผลวิบากแห่งทาน อันบุคคลถวายแล้ว
หรือไม่เชื่อผลแห่งกรรม อันบุคคลกระทำแล้วก็หาไม่
สารีบุตรไม่เชื่อคุณของพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็หาไม่
แต่สารีบุตรไม่เชื่อต่อผู้อื่น ในธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค ผล อันตนได้เฉพาะแล้ว
เพราะฉะนั้น สารีบุตร จึงเป็นผู้อัน ใครๆไม่ควรติเตียนดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ
สุตฺเตสุ พหุชาคโร

อพลสฺสํ ว สีฆสฺโส
หิตฺวา ยาติ สุเมธโส


คำแปล
บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อคนทั้งหลายประมาทอยู่ เป็นผู้ไม่ประมาท
เมื่อคนทั้งหลายหลับอยู่ เป็นผู้ตื่นอยู่เป็นส่วนมาก
ย่อมละบุคคลผู้ประมาท เหมือนม้าฝีเท้าดี ละทิ้งม้าฝีเท้าไม่ดี ไม่มีกำลังไป ฉะนั้น

อธิบายความ
ผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องตื่น คือสติ ท่านเรียกว่าผู้หลับ หลับอยู่เป็นนิตย์
ส่วนผู้ไม่ประมาท มีสติอยู่เสมอ ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาดี
โดยปริยายเบื้องสูงท่านหมายถึงพระขีณาสพ
คือผู้สิ้นกิเลสแล้ว

กล่าวโดยปริยายสามัญ คนที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ

ไม่ประมาท
มีความเพียรไม่เห็นแก่หลับนอน และ
มีปัญญาดี

ย่อมเอาชนะผู้อื่นได้โดยง่าย เป็นเสมือนม้าฝีเท้าดี, คนอย่างนั้นย่อมระลึกอยู่เสมอว่า
"ใครจะประมาทก็ช่างเขา เราไม่ประมาท ใครจะหลับนอนอย่างเกียจคร้านก็ช่างเขา เราตื่นอยู่"
ทำได้อย่างนี้สม่ำเสมอ จะเรียนหรือจะทำงานก็เจริญรุดหน้าได้ทั้งสิ้น

บางคนมีสมองดี แต่เกียจคร้าน บางคนสมองสติปัญญาไม่ดีแต่ขยัน คือ
ได้อย่างหนึ่ง เสียอย่างหนึ่ง ถ้าใครได้ทั้งสองอย่างคือ
ทั้งสติปัญญาดีและทั้งขยันหมั่นเพียร มีกำลังกายดี
คนนั้นย่อมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว-ไปเร็วกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2010, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนต่อไปนี้ที่จะนำมากล่าวถึง เป็นเรื่องของสมถะ
เอาของเล่นมาให้เล่นไปพรางๆก่อนที่จะนำข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะของฌาน
ความแตกต่างของฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิและเป็นสัมมาสมาธิ
วิธีการสร้างฌานให้เกิดขึ้น


ตรงนี้ขอบอกก่อนว่า เป็นของเล่นจริงๆ เมื่อทำแล้ว เห็นแล้ว อย่าไปยึดติดในสิ่งที่เห็น
คาถานี้ ถ้าสามารถภาวนาจนจิตเกิเป็นสมาธิได้ จะระลึกชาติปางก่อนได้ไม่เกิน 5 ชาติ
เวลาเห็นแล้ว ห้ามเกิดความชอบหรือชัง หากเกิดอารมณ์แทรก ภาพจะหายไปทันที



ปุพเพวะสันนิวาสเสนะปัจจุปัน นะหิเตนะวา
เอวันตัง ฉายะเตเปมัง อุปะรัง วายะโถทะเก




นำมาจากบันทึกของหลวงปู่โง่น ท่านบันทึกไว้ว่า


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ถ้าผู้มีจิตสร้างจิตให้เป็นตัวแฝงได้ ภาวนาคาถานี้จะรู้ชัดแต่ปางก่อน ย้อนไปไม่เกิน 5 ชาติ
จะรู้ได้ด้วยตนเอง จำไว้ นี่เป็นคำเตือนของหวงพ่อเทพโลกอุดร จากนั้นก็แนะนำเรื่อง การรักษาตัวจริง
คือ ร่างกาย ด้วยการกินการนอน การทำงานให้สมดุลย์ อย่าใช้มันมาก


ส่วนตัวตนให้ลดละทิ้งให้เด็ดขาด อย่ายึดมั่นถือมั่นในตัวเป็น คือ ตัวที่เป็นโน่นเป็นนี่
เป็นอะไรต่อมิอะไรตามวิสัยที่โลกเขาสมมุติกัน

อันตัวเป็นโน่นเป็นนี่เอง คือ ตัวสมุทัย จะเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ เพราะไปยึดติดอยู่กับตัว
อยู่กับตัวเป็นนี้เอง มันจึงทุกข์




ส่วนตัวแฝงตัวทิพย์ที่เรารู้เราเห็นมานั้นแหละ ให้สร้างมันขึ้นมาติดตาตรึงใจไว้ตลอดเวลาได้ยิ่งดี
อันตัวแฝงนี้ ยิ่งใช้งานยิ่งมีพลังที่จะช่วยตัวเองและคนอื่นได้

ส่วนตัวเป็น ยิ่งนำออกมาใช้ยิ่งยุ่งทั้งแก่คนตนเองและสังคม

ส่วนตัวจริงนั้น ยิ่งใช้งานยิ่งเสื่อมโทรม แก่ง่าย ตายเร็ว

อันตัวที่จะช่วยให้ตัวจริงมีอายุยืดยาว ไม่แก่เร็วได้ ก็อาศัยตัวที่สามคือ ตัวแฝงนี้เองจงจำเอาไว้


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


มีอีกบทหนึ่ง " คาถาบูชาดวงชะตา " เป็นพระคาถามของพระพลรัตน์ วัดป่าแก้ว
ที่ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในคราวปราบศัตรูบ้านเมือง



:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง
สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง
วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ วินาสสันติ
โสโร ราหูเกตุ จะ มหาลาภัง สัพพะโรคัง วินาสสันติ
สัพพะทุกขัง วินาสสันติ สัพพะโรคัง วินาสสันติ
ลักขะณา อะหัง วันทามิ สพพะทา สัพเพเทวา มัง ปาละยันตุ
สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เมฯ

พุทธัง พะหุชะนานัง เอหิจิตตัง เอหิมะนุสสานัง
เอหิลาภัง เอหิเมตตา ชมภูทีเป มนุสสานัง
อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธังเอหิ มะมะ

นี่เป็นพระคาถามหาลาภ ใครต้องการร่ำรวย ให้ท่องบ่อยๆ เงินทองจะไหลมาเทมา
พระคาถานี้ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์นัก ถ้าใครได้ภาวนาด้วยความเชื่อมั่นเลื่อมใสได้บ่อยๆ
จะมีอานิสงส์ได้รับผลทันตาหลายประการดังนี้

หนึ่ง จะได้รับชัยชนะต่อศัตรูคู่อริทุกอย่าง
สอง ทวยเทพซึ่งเป้นใหญ่ในจักรวาล จะช่วยดลบันดาลความสุขให้และปกป้องผองภัยสารพัดทุกอย่าง
และจะเป็นผู้มั่งมีด้วยลาภ ผล พระคาถานี้ใช้ได้ทุกอย่าง จงภาวนาไว้เถิด

ผู้เขียนเองได้สวดภาวนาตามกำลังวันมิได้ขาดทุกเช้าเย็น
เห็นว่าได้ผลดี จึงได้นำมาลงเพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ภาวนา


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ก็นำมาจากบันทึกของหลวงปู่โง่น ทุกตัวอักษรที่ท่านได้บันทึกไว้
ถ้าถามความคิดเห็น เรื่องคาถาต่างๆนี่ เราถือว่า ก็เป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ใช้ในการบริกรรมภาวนา
ไม่แตกต่างกับคำบริกรรมภาวนาอื่นๆ

ก็ยังมีหลายๆคนที่ชื่นชอบด้านการบริกรรมภาวนาคาถาต่างๆเพื่อให้จิตสงบ
ซึ่งเราอ่านทุกข้อความแล้ว เห็นว่าดี เลยนำมาแบ่งปันกับทุกๆคน

การปฏิบัติ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว แบบไหนก็ได้ที่ไม่เป็นอกุศล สามารถทำทำให้จิตสงบ นั่นคือ
ใช้ได้หมดทุกทาง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา จนกว่าจะพบสภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริง
ซึ่งแจ้งออกมาจากจิตเอง คำภาวนาหรือบัญญัติต่างๆ จะหายไปเองตามกำลังของสติ สัมปชัญญะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 14 มี.ค. 2010, 13:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ได้บอกว่าให้เชื่อ แค่นำมาแบ่งปันกันในด้านการปฏิบัติ


March 16
สภาวะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

วันนี้สภาวะเราเปลี่ยนไปอีกแล้ว ทุกๆการกระทบ บางครั้งไม่น่าเชื่อว่าจะมีผลต่อสภาวะ แต่ปรากฏว่ามี
กำลังอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวผลที่เคยกระทำไว้ในอดีต คือ ตั้งแต่แรกเริ่มเจริญสติมา
ช่วงนี้ออกดอกออกผลงดงาม

ยิ่งสภาวะเปลี่ยนไปมากขึ้นเท่าไหร่ จิตยิ่งละเอียดมากขึ้นเท่านั้น นั่นบ่งบอกถึง กำลังของ สติ สัมปชัญญะที่มีมากขึ้นตามไปด้วย

เวลาสภาวะเปลี่ยนทุกๆครั้ง จิตมันจะไม่ยอมหลับยอมนอน จะคิดถึงแต่ข้ออรรถข้อธรรม
หัวจิตหัวใจจะมีแต่ธรรมะ

เวลามีการกระทบ มันจากเข้าไปรู้ เหลือรู้ สุดท้ายเป็นผู้ดูมากขึ้น จนบางทีคิดนะ อยากคุยกับใครสักคน
ที่เราสามารถคุยด้วยได้ ก็รู้นะ คำตอบมันมาทันตา ไม่รู้จะคุยไปด้วยทำไม มันก็แค่ความคิด
ความรู้สึกในขณะนั้นที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป

การดูสภาวะนี่ ให้ดูกิเลสกับสติ สัมปชัญญะเท่านั้น ไม่ใช่ไปดูว่าเป็นอะไร หรือได้อะไรนะ
อย่าไปเข้าใจผิด หรือไปยึดติดกับอะไร กิเลสมันจะพาหลงเอา ประกอบกับได้อ่านเรื่องราวบางเรื่องมา
ซึ่งมีเรื่องราวของสภาวะเกี่ยวข้องอยู่ด้วย

เรื่องสภาวะนี่ละเอียดนะ ต้องผ่านซ้ำๆถึงจะเข้าใจ การเจริญสติ เมื่อสติดี สมาธิดี แต่บางครั้งสมาธิ
อาจจะล้ำหน้าไปได้

บางคนอาจจะรู้สึกว่ากายเหมือนเป็นแท่งๆ เป็นกลวงๆ เป็นทึบๆ จะเป็นอะไรก็ตาม
อันนี้เป็นเรื่องของจิต ไม่ได้มีอะไรพิเศษ

ส่วนอาการของคอแห้งที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากจิตเป็นสมาธิ จิตคนเรานั้นสามารถเป็นสมาธิได้ตลอดเวลา
ส่วนที่รู้สึกสุขใจ อิ่มเอิบใจ เป็นผลของสมาธิ อาจจะอยู่ได้หลายๆวัน แล้วแต่เหตุที่คนๆนั้นกระทำมา สภาวะนี่ละเอียดนะ


บางทีผู้ปฏิบัติลืมมองตรงนี้ไป ความอยากที่เกิดขึ้น กิเลสตัวนี้ละเอียดมากๆ เนียนเลยแหละ
ถ้าไปเจอคนอ่านสภาวะไม่ถูกก็หลงไปเลย

ส่วนอาการกลวงๆของเราเองนั้นที่เคยโพสในบล็อก มันคนละอย่างกัน อันนั้นเราหลุดมากจาก
สภาวะหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดสภาวะ ที่เขาเรียกว่า สติ สัมปชัญญะเป็นอัตโนมัติ มันเป็นของมันเอง
จิตมันรู้ทุกอย่าง กระทบมาดับ กระทบมาดับ จนมีความรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่ตัวเรา
แต่เป็นเพียงอะไรสักอย่างให้เราอาศัยอยู่ มันเป็นแบบนั้นนะกลวงๆที่เราพูดถึง คนละสภาวะกัน


ที่พึ่งที่แท้จริงของคนเรานั้น คือ สติ สัมปชัญญะเท่านั้นนะ ไม่ใช่ไปพึ่งนอกตัว

ดั่งคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า " อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ "

ส่วนพระรัตนตรัย เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเรา ทำให้เราระลึกถึงพระคุณของ พระพุทธเจ้า
พระธรรมคำสอน และพระสงฆ์


ทำให้เราตั้งมั่น มุ่งมั่นกระทำแต่เหตุดี ไม่มีการมาแบ่งแยกนะว่า นี่อริยะ นี่ไม่ใช่อริยะ
รู้แบบนั้น รู้ของปลอม ของปลอมคืออะไร คือกิเลส ที่ไปยึดติดกับบัญญัติ




สภาวะนี่ละเอียดนะ พระธรรมคำสอนยิ่งละเอียดใหญ่เลย เราอ่านๆอาจจะมองว่ามีแค่นี้
แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่แค่ที่เราคิด

ทุกๆสภาวะที่เปลี่ยนไป ข้ออรรถข้อธรรมจะแน่นมากขึ้น สติ สัมปชัญญะมากขึ้น
กิเลสจะเบาบางลงไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปถามใครๆที่ไหนเลย ให้ดูกิเลสและสติ สัมปชัญญะนี่แหละ
ถ้าดูอย่างอื่นน่ะ นั่นคือ ความอยาก

อยากอะไร อยากรู้ อยากรู้ว่ามันคืออะไร จงดูกิเลสที่เกิดขึ้นนะ ดูทันไหม รู้ทันไหม ดับได้ไวขึ้นไหม
เกาะเกี่ยวอยู่นานไหม

อย่างเช่น ที่เราชอบพูดเสมอๆว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทั้งๆที่รู้นะ แต่บางครั้ง
เราก็ยังไปข้องเกี่ยวข้างนอกอยู่ มันจะค่อยๆละไปเองตามสภาวะนะ จากที่รู้ พอกระทบบ่อยๆ
มันจะรู้มากยิ่งขึ้น สุดท้ายจิตมันปล่อยวางลงไปเอง

กิเลสบางตัว ติดแทบตาย อย่างเมื่อก่อน เราติดเกมนะ นี่เล่าแบบไม่อาย เพราะสภาวะไม่ใช่เรื่องน่าอาย
ติดขนาด ไม่หลับไม่นอน เล่นยันสว่าง ไปทำงานสายทุกวัน เราอยากเลิกเล่นเกมมากๆ
แต่มันเลิกไม่ได้ ก็คิดนะ อยากเลิกจัง แต่มันเลิกไม่ได้

สุดท้าย ไม่คิดปฏิเสธอะไร หันหน้าดูมัน ดูความอยากที่อยากเล่น แล้วเราก็เล่น ก็มันอยากนี่
ทำยังไงได้ แต่ปฏิบัตินี่ยังทำปกติทุกวัน

เป็นเรื่องที่แปลกดี จู่ๆมาวันหนึ่ง วินโดว์พังไม่มีสาเหตุ เสียเงินไปแปดพันกว่าบาท ทำใหม่เกือบหมด
ข้อมูลอะไรทั้งหลาย ไม่ได้เซฟเอาไว้เลย หายหมดเกลี้ยง รวมทั้งเกมที่ชอบเล่นนั้นด้วย แล้วเป็นไงล่ะ

ก็เลยเลิกเล่นไปโดยปริยาย นี่นะ ไม่ต้องไปคิดแก้ไขอะไรมันเลย บทมันเลิก มันจะต้องมีเหตุ
ที่ทำให้เลิกจนได้ โดยไม่ต้องไปพยายามที่คิดจะเลิกอะไรมันเลย ถึงวาระ มันเลิกเอง
มันต้องมีเหตุให้เลิก

กิเลสนี่ ต้องดูตามความเป็นจริงนะถึงจะเห็น ต้องยอมรับในสิ่งที่เราเป็นอยู่จริงๆ
ไม่ใช่มาสร้างภาพหลอกตัวเอง

หากเรายังโกหกตัวเองอยู่ ยังไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น ยากยิ่งนักที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้
เพราะจะโดนกิเลสหลอกอยู่ตลอดเวลา

ศิล ๕ ต้องสะอาดนะ ไม่ต้องถึงขั้นบริสุทธิ์แบบละเอียดยิบ เอาแค่สะอาดแบบหลักๆใหญ่ๆ
ตรงนี้สำคัญมากๆ สติ สัมปชัญญะดี หิริ โอตัปปะย่อมมีกำลังแข็งแรง ศิลไม่ต้องพูดถึง
นับวันจะสะอาดยิ่งขึ้นเรื่อยๆไป เพราะกิเลสจะถูกชำระล้างออกไปให้เบาบางลงไปเรื่อยๆ

ใหม่ๆเราอาจจะทั้งกด ทั้งข่มเอาไว้ เพราะสติ ยังไม่ทัน ไม่ต้องไปวิตกกังวลว่านี่คือ การกด
การข่มกิเลสเอาไว้

อกุศลน่ะ กดมันเอาไว้เลย กดไม่อยู่ มันจะเผยอหน้าขึ้นมาเอง ไม่ต้องไปห่วงว่า
นี่คือการกดหรือข่มเอาไว้ วันใด สติเรามีมากขึ้น การกดข่ม นี้มันจะหายไปเอง
แล้วอกุศลมันจะเบาบางลงไปเรื่อยๆ

มัชฌิมา ความเป็นกลาง ทางสายกลาง คือ มันไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องทำรูปแบบไหนๆ แบบไหนๆก็ได้
ตามที่แต่ละคนจะถนัด

เราต้องเริ่มต้นจากกิเลสของแต่ละคนไปก่อน แล้วค่อยๆขัดเกลาตัวเองไปเรื่อยๆ สุดท้าย
ทุกเส้นทางมาบรรจบกันเอง

ก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่แต่ละคนเคยกระทำมาด้วย บางคนอาจจะทำตามรูปแบบต่างๆที่มีอยู่
ไม่มีอะไรถูกหรือผิดหรอก มีแต่เอาถูกใจตัวเองไว้ก่อน จะได้ทำง่ายๆ

ไม่ใช่ไปทำเพราะถูกใจเขา แต่มานั่งฝืนใจตัวเอง แบบนี้มันจะทำให้ไม่อยากทำ
ทำแล้วลำบากใครจะอยากทำ

ทำแล้วมีแต่ทุกข์ ใครจะอยากตาม เราจึงต้องตามใจกิเลสไปก่อนในช่วงแรกๆ คล้อยตามไปก่อน
แล้วค่อยๆมาปรับเปลี่ยนเอา

ไม่มีอะไรตายตัวเลยนะการปฏิบัติ สรรพสิ่งมันไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลา
การปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ไม่มีข้อยกเว้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างของมิจฉาสติและสัมมาสติ

ในเมื่อกรรมฐานมีตั้ง 40 กอง เท่าที่อ่านๆมา แล้วที่นอกเหนือกว่านั้นอีกก็มี
ถ้าได้อ่านเรื่องราวในสมัยพุทธกาล

ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงเน้นนักหนา เรื่อง สติปัฏฐาน ๔



สติ แปลว่า แปลว่า ความระลึกได้
ซึ่งแบ่งออกเป็น

สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกับจิต โดยองค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก

สติ ตามแนวปฏิบัติ มีอยู่ ๓ ประเภท

๑. สติขั้นต่ำ ได้แก่ สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่กันทุกคน เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ
จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือก็ต้องมีสติ จะลุก จะยืน ฯลฯ ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น
ต่างกันตรงที่ว่าใครจะมีมากมีน้อยกว่ากันเท่านั้น
ถ้าใครขาดสติจะทำอะไรผิดๆพลาดๆ ลืมโน่น ลืมนี่บ่อยๆ

๒. สติขั้นกลาง ได้แก่ สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทานรักษาศิล เรียนธรรม
ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม เจริญสมถกรรมฐานเป็นต้น

๓. สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
ตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้


ในการใช้ชีวิตโดยทั่วๆไป ปกติเราท่านทุกรูปทุกนามล้วนมีสติเป็นองค์ประกอบอยู่แล้ว อันนี้เป็นอันว่า เข้าใจตรงกันนะคะ

แต่ทุกคนลืมตรงนี้กันไป " สัมปชัญญะ "
สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว หรือ ความรู้สึกตัว
รู้ตัวหรือรู้สึกตัวอะไร รู้ตัวหรือรู้สึกตัว ในขณะที่กำลังกระทำการอยู่


เช่น เราหยิบแก้วน้ำ เรามีสติระลึกว่า กำลังจะหยิบแก้วน้ำ แล้วถ้ามีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วย
เราย่อมมีความรู้สึกตัวหรือรู้ตัวขณะที่หยิบแก้ว

แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีสัมปชัญญะเกิดร่วมด้วยนั้น บางทีเราระลึกว่า จะหยิบแก้วน้ำนะ
แต่บังเอิญว่า มีสิ่งอื่นมากระทบที่หักเหความสนใจในการหยิบแก้วน้ำ
คุณอาจจะหยิบแกวได้ แต่อาจจะหล่น หรืออาจจะลืมหยิบ เพราะมัวไปสนใจสิ่งที่มากระทบ
บางทีต้องมายืนคิดว่า เอ ... เมื่อกี้เราคิดจะทำอะไร?


เหตุที่พระพุทธองค์ทรงเน้นนักหนาเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ นั้น ก็เนื่องจากเหตุของสติ ที่ขาดสัมปชัญญะ
ในการเจริญสติปัฏฐานนั้น ไม่ว่าจะ กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนก่อให้เกิดทั้งสติ และ สัมปชัญญะ

เช่น การเดินจงกรม ทำไมบางจึงต้องมีรูปแบบ ทำไมบางที่ไม่ต้องมีรูปแบบ
เหตุที่บางที่ มีรูปแบบเนื่องจาก ผู้แนะนำในการสอน ท่านปฏิบัติได้เช่นนั้น ท่านจึงแนะนำแบบนั้น
เหตุที่ไม่มีรูปแบบ ก็เนื่องจากเหตุเช่นเดียวกัน

บางที่อาจจะใช้คำพูดว่า เดินยังไงก็ได้ ให้รู้สึกตัว หรือ รู้ตัว นี่คือ สัมปชัญญะ
เพียงแต่อาจไม่คุ้นหูของผู้ที่ไม่ได้ศึกษาปริยัติ ว่า ความรู้ตัวหรือรู้สึกตัวนี่คืออะไร
รู้แต่ว่าเขาให้เดิน ก็เดิน เพียงแต่อาจจะเป็นพวกที่ไม่ขี้สงสัย ก็เลยไม่ถามกัน




นี่คือ คำตอบของคำถามที่ถามว่า
ทำไมพระพุทธเจ้าทรงเน้นนักหนาเรื่อง สติปัฏฐาน


เพราะในการเจริญสติปัฏฐานนั้น จะได้ทั้ง สติ และ สัมปชัญญะ
ไม่ใช่มีแค่ สติ แต่ขาดสัมปชัญญะ หรือ มี สัมปชัญญะแต่ขาดสติ



ขึ้นชื่อว่า สติ ถ้าขาดสัมปชัญญะเป็นองค์ประกอบ นั่นคือ มิจฉาสติ
หาอ่านในสัมปชัญญะบรรพ



ที่พึ่งที่แท้จริงของคนเรานั้น คือ สติ สัมปชัญญะเท่านั้นนะ ไม่ใช่ไปพึ่งนอกตัว

ดั่งคำที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า " อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 24 มี.ค. 2010, 02:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2010, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกล่าวอ้างคุณธรรมที่ไม่มีในตน


การเอ่ยอ้างสิ่งที่ไม่มีในตน เมื่อก่อนก็เคยสงสัย ทำไมพระพุทธเจ้าถึงทรงมีข้อห้าม
ในการกล่าวอ้างถึงคุณธรรมที่ไม่มีในตน เหตุมี ผลย่อมมี

การแสดงภาพ สร้างภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นมีแก่ตน บิดเบือนให้คนอื่นๆเข้าใจผิด
คิดผิดว่า ตัวเองมีคุณธรรมตามที่นำพระไตรปิฎกมาแสดงนั้นๆ แต่แท้ที่จริงหาได้มีไม่
เรื่องใครจะเชื่อใคร ไม่เชื่อใคร เหตุมี ผลย่อมมี รับรองตรงนี้อยู่

เมื่อก่อนเคยสงสัยเรื่อง ฌาน สภาวะของฌานต่างๆ วิธีดูว่า เป็นฌานไหนๆโดยสภาวะ
โดยกิริยา ก็แปลกใจว่า ครูบาฯทำไมไม่เขียนรายละเอียดหรือบันทึกเรื่องราวตรงนี้

เริ่มเข้าใจมากขึ้น เพราะมีบุคคลประเภทนี้นี่เอง แล้วที่น่าตกใจมากกว่านี้เกี่ยวกับหนังสือสอบอารมณ์
เราเข้าใจแล้วว่า ทำไมสภาวะหลายๆสภาวะ ครูบาฯทั้งหลายจึงไม่เขียนตามความเป็นจริง
เพราะมีเหตุแบบนี้นี่เอง ทำให้ไปหวนคิดถึงเรื่องราวของ พระเทวทัต ใช่ว่าทุกคนจะเชื่อในสิ่ง
ที่พระเทวทัตพยายามชักชวนทั้งหมดเสียเมื่อไหร่ คนที่เชื่อนั้น ล้วนเคยสร้างเหตุมาร่วมกับพระเทวทัต

ถ้าหนังสือไปตกอยู่ในมือของพวกมิจฉาทิฏฐิๆ ก็จะนำสิ่งเหล่านี้ไปเอ่ยอ้างในตนว่าตนนั้นมี
ทั้งๆที่ไม่มีเลย แต่พยายามสร้างภาพ บิดเบือนความจริงมาแสดงให้เห็นว่า มี
นี่แหละพวกทำลายศาสนาโดยแท้จริง ไม่ใช่ทำเพื่อสืบทอดศาสนาแต่อย่างใด
แต่ทำตามกิเลสความทะยานอยากที่มีอยู่ในใจของตนเอง

เรื่องญาณ ๑๖ เสมือนเป็นเพียงภาพลวงตาให้กับบุคคลแสดงความทะยานอยากของตัวเอง
เพราะผู้ปฏิบัติที่หวังพ้นทุกข์จริงๆ จะไม่มาสนใจในเรื่องญาณ ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน เรียกว่าอะไร
เพราะญาณไหนๆ ก็ไม่สำคัญเท่ากับยอมรับกิเลสที่มีอยู่ในตัวเอง

ญาณ ๑๖ จึงเป็นเหมือนตัวตรวจสอบ ตัวสกรีน ก่อนที่จะเห็นผล และยอมรับตามความเป็นจริงกัน
เอาแค่ ญาณ ๑-๓ ที่ครูบาฯบันทึกไว้เป็นอันดับแรก นั่นคือ หลุมพรางดักกิเลสตัวแรกที่จะต้องเจอกัน
ผู้คนส่วนมากจะตกลงในหลุมพรางนี้กัน นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคหญาณ สัมมสนญาณ
เพราะกิเลสตัวนี้จะมีกันเยอะมากๆ ทำให้เข้าใจผิด ยึดติดกับบัญญัติอย่างเหนียวแน่น

ญาณที่มีแต่ละญาณนั้น มีไว้เพื่อดูเรื่องกิเลส เรื่องสติ สัมปชัญญะ
หน้าที่ของผู้สอบอารมณ์จริงๆคือ ดูสภาวะของผู้ปฏิบัติ และคอยแนะนำปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์

การปฏิบัติจริงๆแล้วไม่มีอะไรเลย สภาวะทุกๆคนต้องเจอเหมือนกันหมด
ที่แตกต่างกันไป เนื่องจากกิเลสของแต่ละคนเท่านั้นเอง

คนหลงสภาวะเยอะ เพราะไปติดกับกิเลส ติดกับบัญญัติ คำสรรเสริญเยินยอ
ตัวละครแต่ละตัวที่สร้างขึ้นมาแสดงนั้น ไม่ว่าจะกี่ตัวก็ตามเปรียบเสมือนกิเลสในจิต
ที่ถูกถ่ายทอดออกมา แสดงเอง อนุโมทนาให้กับตัวเองเอง จึงตกอยู่ในวังวนของกิเลสตลอดเวลา
จึงไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ หลอกคนอื่นๆเขา ก็โดนคนอื่นๆเขาหลอกต่อไป

ตราบใดที่ยังไม่ยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่ตนเองมี ในสิ่งที่เป็น และยังไม่เลิกเล่นกับกิเลส
สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้นแล ไม่ได้มีใครทำให้เกิดทั้งสิ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2010, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



หน้าที่ของผู้สอบอารมณ์ มีหน้าที่จริงๆคือ คอยปรับเปลี่ยนอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสมดุลย์
เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน คอยให้ปลุกปลอบและให้กำลังแก่ผู้ปฏิบัติ ในยามที่เกิดความท้อแท้

ไม่ใช่ไปมีหน้าที่ทำนายทายทักหรือไปบอกสภาวะที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติหลงออกนอกเส้นทางไปได้
เดี๋ยวนี้เจอสภาวะโสดาแต่งตั้งเยอะมากๆ ทำให้คนเข้าใจผิด แทนที่จะทำ เพื่อมีสติ สัมปชัญญะ
เพื่อดูกิเลสในใจตนเอง กลับกลายเป็นว่า มีแต่การปรุงแต่งกิเลสมากขึ้น ซึ่งทำให้ไปสร้างเหตุใหม่
ที่ก่อให้เกิดกิเลสหนาเตอะขึ้นไปอีก มีแต่สร้างเหตุอันเป็นอกุศลกรรมขึ้นไปเรื่อยๆ

ผู้ที่มีสติ สัมปชัญญะดี เขาจะเอาจิตจดจ่อดูแต่ในกายและจิตของเขา เฝ้าเก็บรายละเอียด
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในจิต

เฝ้าระวังความคิดที่ไปในทางก่อให้เกิดอกุศลกรรม ไม่ใช่ทำเพื่อที่จะคิดว่า ได้เป็นโน่น ได้เป็นนี่
นั่นผิดทางนะ ไปบอกว่าอยู่ในสภาวะญาณโน้น ญาณนี้ ได้อย่างโน้น ได้อย่างนี้
แต่ที่มองไม่เห็นคือ กิเลส ไปเพิ่มกิเลสความทะยานอยากให้เกิดขึ้นในใจของผู้ปฏิบัติ

สติเป็นตัวบอก สัมปชัญญะเป็นตัวรู้นะ รู้อะไร รู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร
ทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นต่อทุกๆการกระทบที่เกิดขึ้น ต่อทุกๆสรรพสิ่ง

เมื่อเข้าใจและเข้าถึงได้เช่นนี้แล้ว สิ่งที่จะไปก่อเหตุอันเป็นอกุศลให้เกิดขึ้นในจิตนั้นจะเบาบางลงไป
จนกระทั่งหมดสิ้นไปจากจิต

ทุกอย่างและทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเรานี่เอง ปรุงแต่งมันขึ้นมาเอง
เนื่องจากสติ สัมปชัญญะยังไม่ทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้นทุกๆการกระทบ
เราจงต้องมาเจริญสติปัฏฐานกันเพราะเหตุนี้นี่เอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของโสดาบัน


อันนี้นำมาในแง่ของภาคปริยัติ ส่วนภาคสภาวะ จะนำมาลงครั้งต่อไป
ในเรื่องของ ละสักกายทิฏฐิ ว่าดูจากตรงไหน ถึงจะรู้ว่า ละสักกายทิฏฐิได้แล้วจริงๆ

พระโสดาบันย่อมเห็นรูป,นาม ขันธ์ ๕ นี้ สักแต่ว่าเป็นสภาวธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
และโดยความเห็นนี้ จึงละ สักกายทิฏฐิได้

แต่ถึงแม้จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็ยังไม่สามารถจะละมานสังโยชน์ได้ ฉะนั้น ถึงแม้จะเห็นรูป,นาม ขันธ์ ๕
ไม่ใช่ตัวตนแล้วก็จริง แต่ก็ยังเห็นเป็น เรา เห็นเป็น เขาอยู่ ความยินดี พอใจ ในอารมณ์ที่มากระทบ
จึงยังมีอยู่ ส่วนกรรมใดที่เป็นทุจริต อันจะนำไปสู่อบายนั้น ย่อมไม่กระทำ

กามราคะ เป็นความพอใจในอารมณ์
ปฏิฆะ เป็นความไม่พอใจในอารมณ์


กามราคะ มี ๒ แบบ คือ

๑. อปายคมนียะ คือ กามอารมณ์ทั้ง ๕ มากระทบทวารทั้ง ๕ แล้ว มีความยินดีพอใจเป็นอย่างมาก
จนถึงสามารถจะล่วงอกุศลกรรมบถได้ เช่นความพอใจในรูปารมณ์ที่มากระทบ
สามารถให้กระทำกรรมอันเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้เป็นต้น

๒. ไม่เป็นอปายคมนียะ แบ่งเป็น ๒ แบบคือ

โอฬาริกะ อย่างหยาบ นั้น เป็นความพอใจในกามอารมณ์ทั้ง ๕ ดังที่กล่าวมาแล้ว
แต่เป็นความพอใจไม่รุนแรง เป็นความพอใจในใจพอประมาณ

สุขุมะ อย่างปราณีต นั้น ได้แก่กามอารมณ์ทั้ง ๕ เมื่อมากระทบทางทวารทั้ง ๕
เมื่อมากระทบทวารทั้ง ๕ แล้วไม่อาจยังให้เกิดความยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้
เช่นรูปารมณ์ที่มากระทบจักขุทวาร แม้รูปารมณ์นั้นจะมีความสวยงามสักเพียงไร
ก็ไม่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้

พระโสดาบันบุคคลละกามราคะที่เป็นอปายคมนียะได้โดยเด็ดขาด
พระโสดาบุคคลนั้นย่อมเห็น รูป,นาม ขันธ์ ๕ นี้ สักแต่ว่าเป็นสภาวธรรมเท่านั้น
ไม่ใช่เป็นตัว ไม่ใช่เป็นตน และโดยความเห็นดังนี้จึงละสักกายทิฏฐิได้
เมื่อละสักกายทิฏฐิได้แล้ว กรรมใดที่เป็นทุจริตอันจะนำไปสู่อบายก็ย่อมไม่กระทำกรรมนั้น

แต่ถึงแม้จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็ยังไม่สามารถละมานสังโยชน์ได้
ฉะนั้นถึงแม้จะเห็นรูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนแล้วก็จริง
แต่ก็ยังเห็นเป็นเราเป็นเขาอยู่ ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่มากระทบจึงมีอยู่


พระสกทาคามีบุคคล ละกามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะอย่างหยาบได้
โดยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรคซึ่งได้ประหาณกิเลสเป็นครั้งที่ ๒
ถึงแม้ว่าไม่ได้ประหาณกิเลสใดๆ เป็นสมุจเฉทเพิ่มจากโสดาปัตติมรรคก็จริง
แต่ก็ได้ประหาณให้เป็นตนุกระ คือ ให้เบาบางลง ฉะนั้น ความพอใจในกามรมณ์ที่มากระทบ
แม้ยังมีอยู่แต่เบาบางมาก จึงประหาณกามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะที่เป็นอย่างหยาบได้เด็ดขาด

พระอนาคามีบุคคลละกามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะอย่างประณีตได้
โดยอำนาจอนาคามิมรรค ซึ่งได้ประหาณกิเลสเป็นครั้งที่ ๓ จึงประหาณกามราคะ
ที่ไม่เป็นอปายคมนียะที่เป็นอย่างประณีตได้โดยเด็ดขาด หรืออีกนัยหนึ่ง
พระอนาคามีบุคคลนี้ละกามราคสังโยชน์อันเป็นโอรัมภาคียะทุกประการเป็นสมุจเฉทได้


ส่วน ปฏิฆสังโยชน์ นั้น พึงเข้าใจว่า ปฏิฆสังโยชน์ที่เป็นอปายคมนียะและไม่เป็นอปายคมนียะ
ทั้งที่เป็นอย่างหยาบและอย่างประณีต ก็เป็นทำนองเดียวกับกามราคสังโยชน์ ต่างกันที่

กามราคสังโยชน์เป็นความพอใจในอารมณ์
ปฏิฆสังโยชน์เป็นความไม่พอใจในอารมณ์เท่านั้น

การละปฏิฆสังโยชน์แต่ละอย่างของพระอริยบุคคลแต่ละชั้น ตลอดจนเหตุผล
ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ขอให้พิจรณาตามราคสังโยชน์โดยอนุโลม


โสดาปัตติมรรค เมื่อทำการประหาณอย่างเด็ดขาด มรรคญาณที่ปรากฏ
ก็จะประหาณกิเลสให้อับเฉาสิ้นไปเด็ดขาด ปฐมมรรคที่กล่าวมาแล้วนี้เกิดขึ้น ครั้งเดียว
ต่อจากนั้นผลญาณ คือ ผลจิตก็เกิดขึ้นเรื่อยๆไป

ฉะนั้น การที่โยคีบุคคลเข้าสู่ความดับ โดยอำนาจอธิษฐานในภายหลัง
จึงเป็นความดับโดยอำนาจแห่งผลจิตทั้งนั้น
ชื่อว่า ผลสมาบัติ




ที่ต้องนำเสนอเรื่องนี้ก่อน นำเสนอเรื่อง ฌาน เนื่องจากว่า
สภาวะของการดับในฌานสมาบัติ กับ สภาวะของผลสมาบัติ มีความแตกต่างกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เทคนิคการสร้างอัปปนาสมาธิให้เกิดขึ้น

และ ประโยชน์ของการนอนพักในสมาธิ

ถึงแม้ว่า เราจะนอนเพียง 3 ชม. หรือ 4 ชม. บางทีก็ 2 ชม. ก็ตาม ไม่มีผลใดๆต่อสุขภาพ
ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น ไม่เหนื่อยไม่เพลียแต่อย่างใด เหมือนนอนหลับเต็มอิ่ม แต่ใช้เวลาน้อยกว่า
แถมเป็นการสร้างกุศล ในขณะที่นอนหลับ เพราะเป็นการเจริญสติในการนอน
เพียงแต่ทดแทนในรูปแบบของสมาธิแทน ทำให้กำลังสมาธิเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ชำนาญการกำหนดเข้าออกสมาธิได้ดั่งใจมากขึ้น

เพียงขณะที่เรากำลังนอนนั้น ให้ดูท้องพองยุบ หรือ ดูลมหายใจเข้าออก ดูไปเรื่อยๆ
ถ้าหลับ ปล่อยให้หลับไปเลย อย่าไปดึงจิตกลับมาเพ่งที่พองยุบหรือลมหายใจอีก
ปล่อยให้หลับไปเลย เท่านี้ก็เท่ากับได้พักในอัปนาสมาธิ ทำให้ได้ทุกวัน ทำให้ต่อเนื่อง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 02:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ในฌาน

อารมณ์ในอุปจารฌาน ปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน ได้แก่


๑ .วิตก ท่านแปลว่า ตรึก นึก คิด หมายความว่าจะต้องมีนึกคิดยึดอะไรบ้างเป็นอารมณ์
เช่น บำเพ็ญอานาปนสติ กสิณ พุทธานุสติ ก็ต้องนึกคิด ยึดลมหายใจเข้าออก
นิมิตที่ใช้เพ่งในการทำสิณ และคำภาวนาต่างๆ

๒.วิจาร ท่านแปลว่า ตรอง หมายความว่าจะต้องนึกคิดยึดอารมณ์นั้นๆอย่างไรบ้าง
เช่นลืมตาดูพระพุทธรูปหรือวัตถุที่ใช้ในการทำกสิณ พอจำได้แล้วก็หลับตานึกถึงภาพที่ใช้เพ่ง
หรือนั่งหลับตาแล้วภาวนา

๓.ปีติ ท่านแปลว่า ความปลื้มใจ ความอิ่มใจที่แสดงออกทางกายด้วย
เช่น ขนลุกชูชัน น้ำตาไหล เป็นต้น ส่วนใจนั้นสดชื่นเบิกบานผ่องใส ไม่อิ่ม
ไม่เบื่อในการบำเพ็ญภาวนา มีความสว่างปรากฏในขณะหลับตา ไม่มืดเหมือนก่อนเกิดปีติ
แม้ร่างกายจะสั่นไหว แต่จิตนั้นจะเป็นสมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามปีติด้วย

ปีติจำแนกตามอาการได้เป็น ๕ อาการ ดังนี้

๓.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนลุกชูชัน น้ำตาไหล

๓.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ รู้สึกมีแสงสว่างเข้าตาคล้ายฟ้าแลบ

๓.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกหรือเป็นพักๆ รู้สึกซู่ลงมาที่ร่างกาย
คล้ายคลื่นซัดร่างกายโยกโคลงเหมือนเรือกระทบคลื่น

๓.๔ อุพเพคาปีติ ( หรืออุพเพงคาปีติ ) ปีติโลดลอย เช่นร่างกายลอยขึ้นเหนือที่นั่ง
บางรายลอยไปได้ไกลและสูง หรือปีติแสดงอาการโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทานออกมา

๓.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านเย็นไปทั่วร่างกาย และมีอาการคล้ายกับว่าร่างกาย
สูงใหญ่ขึ้นกว่าปกติ ท่านว่าเป็นปีติในองค์ฌาณโดยตรง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญสมถภาวนา

๔.สุข หมายถึง ความสบายกายสบายใจที่เป็นผลจากจิตสงบ ตั้งแต่อุปจารสมาธิขึ้นไป

ความสุขในโลกนี้ท่านว่ามีอยู่ ๓ ประการ ดังนี้

๔.๑ ความสุขจากกาม ความสุขจากกามนี้มีทุกข์เป็นเสมือนเงาตามตัว

๔.๒ ความสุขในรูปฌานและอรูปฌาน

๔.๓ ความสุขจากนิโรธสมาบัติ คือการดับสูญ ( ความจำได้หมายรู้ ) และเวทนา ( การเสวยอารมณ์ )
นิโรธสมาบัติต้องเป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป และได้สมาบัติ ๘ แล้ว
จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มีความสุขอื่นใดยิ่งไปกว่าความสงบ

๕.อุเบกขา หมายถึง จิตวางเฉยไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขา เวทนา

๖.เอกัคตา หมายถึง ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งในการทรงอารมณ์ตามชั้นของฌาน
เช่น อารมณ์ที่ทรงชั้นปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ สุข จิตก็ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข เท่านั้น
ไม่มีอารมณ์อื่นมาแทรก เป็นต้น ท่านจัดเอกัคตาเป็นอารมณ์ด้วย

อารมณ์ อาการ เสี้ยนหนาม อานิสงส์ในรูปฌาน

ข้อนี้จะได้กล่าวถึงอารมณ์ ( สิ่งที่จิตยึด ) ขณะที่ทรงฌาน อาการ ( ความเป็นอยู่ )
ขณะทรงฌาน เสี้ยนหนาม ( ศรัตรู ) ของฌาน และอานิสงส์ ( ประโยชน์ ) ของฌาน
ทั้งนี้ จะได้กล่าวเฉพาะในรูปฌาน ดังต่อไปนี้

๑. อุปจารฌาน

๑.๑ อารมณ์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข

๑.๒ อาการ ขณะหลับตาจะมีแสงสว่างปรากฏขึ้น คล้ายมีผู้นำประทีปมาตั้งไว้ใกล้ๆ
สมาธิระดับนี้เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพจักขุญาณ ย่อมปรากฏแสงสว่างขึ้นได้

๒. ปฐมฌาน

๒.๑ อารมณ์ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา

๒.๒ อาการ ขณะทรงฌานหูยังได้ยินเสียงจากภายนอกทุกอย่าง แต่ไม่รำคาญในเสียง
จิตทรงอารมณ์มั่นคง ยังคงมีการภาวนา ท่านว่ากายกับจิตเริ่มแยกออกจากกันเล็กน้อย

๒.๓ เสี้ยนหนาม ศัตรูสำคัญของปฐมฌาน คือเสียง ถ้าเกิดรำคาญในเสียงและทนรำคาญไม่ไหว
หรือถ้านิวรณ์ ๕ แม้เพียงข้อเดียวเข้ามาครอบงำจิต ฌานก็จะเสื่อมทันที

๒.๔ อานิสงส์ ถ้าใช้ปฐมฌานสนับสนุนวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมสามารถบรรลุอรหัตตผลได้
ถ้าทรงปฐมฌานเป็นโลกิยฌานตายจากมนุษย์ก็จะได้เข้าครองกายที่เกิดเป็นกายพรหม

๓. ทุติยฌาน

๓.๑ อารมณ์ ละวิตก วิจาร คงไว้แต่ปีติ สุข เอกัคตา

๓.๒ อาการ ลมหายใจเบาลง ได้ยินเสียงจากภายนอกเบาลง ขณะหลับตาคล้ายมีประทีป
สว่างไสวมาตั้งไว้ใกล้ๆ จิตแจ่มใส จิตจะหยุดภาวนาเอง จิตไม่รับเสียงไม่สนใจในเสียง

๓.๓ เสี้ยนหนาม ศัตรูของทุติยฌาน คือคำภาวนา ขณะทรงปฐมฌานนั้นจิตจะภาวนาเพราะ
ยังมีวิตก วิจาร เมื่อจิตทรงทุติยฌานจะหยุดภาวนาเอง แต่ถ้าจิตถอยลงมายึดคำภาวนาด้วย
แสดงว่าจิตได้ถอยลงมาทรงปฐมฌานแล้ว

๓.๔ อานิสงส์ ถ้าใช้ทุติยฌานสนับสนุนวิปัสสนาญาณ แล้วย่อมสามารถบรรลุอรหัตตผลในชาติ
ปัจจุบันได้ ถ้าทรงทุติยฌานเป็นโลกิยฌาน เมื่อตายจากมนุษย์ก็จะได้เข้าครองกายที่เกิดเป็นกายพรหม

๔. ตติยฌาน

๔.๑ อารมณ์ สุข ( ทางจิต ไม่มีสุขทางกาย ) เอกัคตา ไม่ห่วงใยในกาย
ท่านว่าเป็นฌานที่จิตกับกายแยกกันเด็ดขาด

๔.๒ อาการ จิตละปีติจึงมีอาการเครียดทางกายคล้ายถูกจับมัดแน่น ลมหายใจยังปรากฏแต่เบามาก
พอรู้สึกได้ว่ายังหายใจอยู่ สมาธิแน่วแน่มากจนรู้ตัวแน่วแน่กว่าทุติยฌาน

๔.๓ เสี้ยนหนาม ศัตรูของตติยฌาน คือปีติ ถ้าเกิดปีติขึ้นเมื่อใด
แสดงว่าฌานถอยหลังไปทรงทุติยฌานแล้ว

๔.๔ อานิสงส์ ถ้าใช้ตติยฌานสนับสนุนวิปัสสนาญาณแล้ว ย่อมสามารถบรรลุอรหัตตผล
ในชาติปัจจุบันได้ ถ้าทรงตติยฌานเป็นโลกิยฌาน เมื่อตายจากมนุษย์ก็จะได้ครองกายที่เกิดเป็นพรหม

๕. จตุตถฌาน

๕.๑ อารมณ์ อุเบกขา เอกัคตา จิตตัดสุขเพิ่มอุเบกขาเป็นการวางเฉยไม่สุขไม่ทุกข์
เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา


๕.๒ อาการ ไม่ปรากฏลมหายใจหยาบแต่ยังมีลมหายใจอยู่ เป็นลมายใจละเอียดมาก
บางท่านกล่าวว่าเมื่อนำสำลีรอจมูกสำลีจะนิ่งดังไม่มีลมหายใจกระทบสำลีเลย
จิตสว่างไสวมากกว่าตติยฌาน กายกับจิตแยกจากกันเด็ดขาด

๕.๓ เสี้ยนหนาม ศัตรูของจตุตถฌาน คือลมหายใจ ถ้าลมหายใจหยาบปรากฏเมื่อใด
ย่อมแสดงว่าฌานถอยหลังไปทรงฌานที่ต่ำกว่าจตุตถฌาน

๕.๔ อานิสงส์ ถ้าใช้จตุตถฌาน ถ้าใช้จตุตถฌานสนับสนุนวิปัสสนาญาณ ย่อมสามารถบรรลุอรหัตตผล
ในชาติปัจจุบัน อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
ถ้าทรงจตุตถฌานที่เป็นโลกิยฌานเมื่อตายจากมนุษย์ก็จะได้เข้าครองกายที่เกิดเป็นกายพรหม

จากหนังสือ การปฏิบัติ โลกุตตรธรรม โดย พันเอก ( พิเศษ ) ประดิษฐ์ เผ่าวิพัฒน์




เรื่อง อุปจารฌาน สมาธิตรงนี้เป็นสมาธิคาบเกี่ยวระหว่าง อุปจารสมาธิกับอัปนาสมาธิ
คือ เมื่อเข้าสู่อัปนาสมาธิ ทุกอย่างจะดับสนิท ดับแบบไม่รู้ตัว จะรู้อีกที คือ สมาธิคลายตัว
จิตถอยออกมาจากอัปนาสมาธิแล้ว

เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญสติอย่างต่อเนื่อง จะมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากขึ้น
จะสามารถถอยออกมาจากอัปนาสมาธิได้ สมาธิตรงนี้จะไม่มีนิมิตเหมือนอุปจารสมาธิ
แต่กำลังของสมาธิจะมีกำลังเท่ากับอัปนาสมาธิ จะตั้งมั่นได้นานและแนบแน่นได้นานกว่าอัปนาสมาธิ


ส่วนเรื่องฌานต่างๆที่นำเสนอไปเบื้องต้นนั้น จัดเป็นฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ
จะรู้ตัวทุกระยะของสภาวะที่เกิดขึ้น แต่ละขณะๆ


สภาวของรูปฌานในสัมมาสมาธิ

ปฐมฌาน

ขณะทรงฌานหูยังได้ยินเสียงจากภายนอกทุกอย่าง แต่ไม่รำคาญในเสียง ไม่ฟุ้ง ไม่ตกใจ
จิตทรงอารมณ์มั่นคง คือ ต่อให้มีใครมาจุดประทัดใกล้ตัว ก็ไม่มีความสะดุ้งตกใจ

ทุติยฌาน

ลมหายใจเบาลง ได้ยินเสียงจากภายนอกเบาลง ได้ยินแต่เหมือนอยู่ไกลๆ เกิดปีติเสียวแปบ
เหมือนสายฟ้าแลบ ความเสียวซ่านแผ่ไปตามร่างกาย ขนลุกทั้งตัว ไม่มีบริกรรม
จิตแจ่มใส จิตจะหยุดภาวนาเอง จิตไม่รับเสียงไม่สนใจในเสียง

ตติยฌาน

หูยังได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่รู้ความหมาย ร่างกายแข็ง ( ตรงนี้คือมีสติ สัมปชัญญะรู้อาการของกาย )
จิตละปีติจึงมีอาการเครียดทางกายคล้ายถูกจับมัดแน่น ลมหายใจยังปรากฏแต่เบามาก
มีความสุขมาก พอรู้สึกได้ว่ายังหายใจอยู่ ลมหายใจตรงนี้เริ่มละเอียดมากขึ้น

จตุตถฌาน

เมื่อกำหนดนั่ง อาจจะหายใจครั้ง หรือสองข้าง หรือแค่หายใจเข้า หรือ แค่ยืนกำหนดกำลังจะนั่งลง
จิตสามารถเข้าสู่สมาธิได้ทันที โดยไม่มีการบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น จะมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่
ในกายและจิตได้ดี มีสมาธิที่แนบแน่น ลมหายใจจับไม่ได้ รู้แค่ว่าหายใจ แต่ไม่มีลมปรากฏ
จิตเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง มีสภาวะรูป,นาม เป็นอารมณ์ ไม่ใช่ฌานตัวแข็งนะ


แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ

คือ จะไม่มี สติ สัมปชัญญะรู้แจ้งชัดแบบนี้ แต่ทุกอย่างจะดับสนิท
แบบที่เรียกว่า ฌานตัวแข็ง ไม่มีการรับรู้ใดๆเลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 เม.ย. 2010, 02:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2010, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสฬสธรรม

พระโมฆราช เป็นลูกศิษย์ของพราหมณ์พาวรี

คำถามทั้งหมดนี่ เรียกว่า โสฬสธรรม

พราหมณ์พาวรี ได้ส่งลูกศิษย์ไป ๑๖ คน ตั้งคำถามๆพระพุทธเจ้า



คนที่ ๑ อชิตมาณพ ทูลถามปัญหา ๔ ข้อ

ถาม โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด? เพราะอะไรเป็นเหตุ
จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ? พระองค์ทรงตรัสว่า อะไรเป็นเครื่องฉาบไล้ให้สัตว์โลกติดอยู่
และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น?



ตอบ โลก คือ หมู่สัตว์ใหญ่ อันอวิชชาคือ ความไม่รู้แจ้ง ปิดบังไว้แล้ว จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด
เพราะ ความอยากมีประการต่างๆ และความประมาทเลินเล่อ จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ
เรากล่าวว่า ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่และกล่าวว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น




ถาม ขอทรงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยาก อันเป็นดุจกระแสน้ำ
หลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ความอยากนั้นจะละได้ เพราะธรรมอะไร?


ตอบ เรากล่าวว่า สติ เป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องกันความอยากนั้น
และความอยากนั้นจะละได้เพราะ ปัญญา




ถาม ปัญญา สติกับนามรูป จะดับไป ณ ที่ไหน?

ตอบ เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึงที่ดับนามรูปสิ้นเชิง ไม่มีเหลือแก่ท่าน
เพราะ วิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับไป ณ ที่นั้นเอง




ถาม ชนผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนยังผู้ศึกษาอยู่ 2 พวกนี้ มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก
ข้าพระเจ้าขอทูลถามถึงความประพฤติของชน 2 พวกนั้น พระองค์มีพระปัญญาแก่กล้า
ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระเจ้าเถิด


ตอบ ภิกษุผู้มีธรรมได้พิจรณาเห็นแล้ว และชนผู้นั้นยังต้องศึกษาอยู่ ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกาม
ทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอริยาบท







คนที่ ๒ ติสสเมตยยมาณพ ถามปัญหาเป็นคนที่ ๒ ว่า

ถาม ใครเป็นคนชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ คือเต็มความประสงค์ในโลกนี้ ความอยากซึ่งเป็นเหตุ
ทะเยอทะยานอยากดิ้นรนของใครไม่มี ใครรู้ส่วนข้างปลายทั้งสอง ( คืออดีตกับอนาคต )
ด้วยปัญญาแล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง ( คือปัจจุบัน )

พระองค์ตรัสว่า ใครเป็นมหาบุรุษ ใครล่วงความอยากอันผูกใจในสัตว์โลกนี้
ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้


ตอบ ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สำรวมในกามทั้งหลาย ปราศจากความอยากแล้ว มีสติระลึกได้ทุกเมื่อ
พิจรณาเห็นโดยชอบแล้ว ดับเครื่องกระวนกระวายได้เสียแล้ว ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ คือเต็มความประสงค์
ในโลกนี้ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยานดิ้นรนของภิกษุนั้นแลไม่มี

ภิกษุนั้นแล รู้ส่วนข้างปลายทั้งสองด้วยปัญญาแล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าวว่า
ภิกษุนั้นแลเป็นมหาบุรุษ ล่วงความอยากอันผูกใจสัตว์ไว้ในโลกนี้ ดุจด้ายเป็นเครื่องเย็บผ้าให้ติดกันไปได้







คนที่ ๓ ปุณณกมาณพ ทูลถามว่า
บัดนี้มีปัญหามาถึงพระองค์ผู้หาความหวาดหวั่นมิได้ รู้เหตุที่เป็นรากเง่าของสิ่งทั้งปวง

ถาม ข้าพเจ้าขอทูลถาม หมู่มนุษย์ในโลกนี้ คือฤษี กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นอันมาก
อาศัยอะไร จึงบูชาบวงสรวงเทวดา


ตอบ หมู่มนุษย์เหล่านั้น อยากได้ของที่ตนปรารถนา อาศัยของที่มีชราเสื่อมโทรม
จึงบูชาบวงสรวงเทวดา




ถาม หมู่มนุษย์เหล่านั้น ถ้าไม่ประมาทในยัญของตน จะข้ามพ้นชาติชราได้หรือไม่

ตอบ หมู่มนุษย์เหล่านั้น มุ่งลาภที่ตนหวัง จึงพูดสรรเสริญการบูชายัญ รำพันถึงสิ่งที่ตนรักใคร่
ดังนั้นก็เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่าผู้บูชายัญเหล่านั้น ยังเป็นคนกำหนัดยินดีในกาม
ไม่ข้ามพ้นชาติชราไปได้




ถาม ถ้าบูชาเหล่านั้น ข้ามพ้นชาติชราเพราะยัญของตนไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าในเทวโลก
หรือมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติชรานั้นได้แล้ว


ตอบ ความอยากซึ่งเป็นเหตุทะเยอทะยาน ดิ้นรนในโลกไหนๆของผู้ใดไม่มี เพราะได้พิจรณาเห็นธรรม
ที่ยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้นสงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริต ความประพฤติชั่วอันจะทำให้มัวหมอง
ดุจควันไฟอันจับเป็นเขม่า ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต หาความอยากทะเยอทะยานมิได้
ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว







คนที่ ๔ เมตตาดูมาณพทูลถามปัญหาว่า

ถาม ทุกข์ในโลกหลายประการ ไม่ใช่แต่อย่างเดียว มีมาแล้วแต่อะไร?

ตอบ ท่านถามเราถึงเหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราจะบอกแก่ท่านตามรู้ตามเห็น ทุกข์ในโลกนี้
มีอุปธิคือกรรมและกิเลสเป็นเหตุ ล้วนเกิดมาก่อนแต่อุปธิ

ผู้ใดเป็นคนเขลา ไม่รู้แล้วกระทำอุปธิให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมถึงทุกข์เนืองๆ เหตุนั้น
เมื่อรู้เห็นว่า อุปธิ เป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ อย่ากระทำให้เกิดมี




ถาม อย่างไรผู้มีปัญญาจึงข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่ คือ ข้ามชาติชราและโศกพิไรรำพันเสียได้

ตอบ ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักเป็นผู้มีสติดำเนินข้ามความอยาก อันให้ติดอยู่ในโลกนี้เสียได้แก่ท่าน
ท่านรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในส่วนเบื้องบน ( คือ อนาคต ) ในส่วนเบื้องต่ำ ( คือ อดีต )
ในส่วนท่ามกลาง ( คือ ปัจจุบัน ) จงบรรเทาความเพลิดเพลิน ความยึดมั่นในส่วนเหล่านี้เสีย
วิญญาณของท่านจักไม่ตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติไม่เลินเล่อ ได้ทราบแล้ว
ละความถือมั่นว่าของเราเสียได้แล้ว จักละทุกข์ คือ ชาติชราและโศกพิไรรำพันในโลกนี้ได้

ผู้ใดเป็นพราหมณ์ ถึงที่สุดจบไตรเพท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องกามภพ ผู้นั้นแล ข้ามล่วงเหตุ
แห่งทุกข์ดุจห้วงทะเลอันใหญ่นั้นได้แน่แล้ว ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นคนไม่มีกิเลสอันตรึงจิต
สิ้นความสงสัย ผู้นั้นครั้นรู้แล้ว ถึงที่สุดจบไตรเพท ในศาสานานี้ ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ใน
ภพน้อย ภพใหญ่ เสียได้แล้ว เป็นคนที่มีความอยากสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสอันจะกระทบจิต
หาความอยากทะเยอทะยานมิได้ เรากล่าวว่า ผู้นั้นแลข้ามพ้นข้ามชาติชราได้แล้ว








คนที่ ๕ โธตกมานพ

ถาม จะศึกษาข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องดับกิเลสของตน

ตอบ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเป็นคนมีปัญญา มีสติ ทำความเพียรในศาสนานี้เถิด



ถาม ข้าพองค์ได้เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์ หากังวลมิได้ เที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
เหตุนั้น ข้าพเจ้าขอถวายบังคมพระองค์ ขอพระองค์ทรงเปลื้องข้าพเจ้าออกจากความสงสัยเถิด


ตอบ เราจะเปลื้องใครๆในโลก ผู้ยังมีความสงสัยอยู่ไม่ได้ เมื่อท่านรู้ธรรมอันประเสริฐ
ก็จักข้ามห้วงทะเลใหญ่คือ กิเลสอันนี้เสียได้เอง




ถาม ขอพระองค์ จงทรงพระกรุณาแสดงธรรมอันสงัดจากกิเลสที่ข้าพเจ้าควรจะรู้ สั่งสอนข้าพเจ้า
ให้เป็นคนโปร่ง ไม่ขัดข้อง ดุจอากาศ สงบระงับกิเลสเสียได้ ไม่อาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเที่ยวอยู่ในโลกนี้


ตอบ เราจะบอกอุบายเครื่องสงบ ระงับกิเลส ซึ่งจะเห็นเอง ไม่ต้องเชื่อตามตื่นข่าว
ที่บุคคลได้ทราบแล้ว จักมีสติ ข้ามความอยากที่ตรึงใจในโลกเสียแก่ท่านได้ ถ้าท่านรู้ว่า
ความทะยานอยากทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ท่ามกลาง เป็นเหตุให้ติดข้องอยู่ในโลก
ท่านอย่าทำความทะยานอยากเพื่อจะเกิดในภพน้อยภพใหญ่








คนที่ ๖ อุปสีวมาณพ

ถาม ลำพังข้าพเจ้าผู้เดียวไม่ได้อาศัยอะไรแล้ว ไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่ คือกิเลสได้
ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพเจ้าจะควรอาศัยข้ามห้วงนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด


ตอบ ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนฌาน อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มีๆ ดังนี้ ข้ามห้วงเสียเถิด
ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นคนเว้นจากความสงสัย เห็นธรรมที่สิ้นไปแห่งความทะยานอยาก
ให้ปรากฏชัดทั้งกลางคืนและกลางวันเถิด




ถาม ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอา
กิญจัญญายตนฌาน ( คือความเพ่งในใจว่า ไม่มีอะไร เป็นอารมณ์ )

น้อมใจแล้วในอากิญจัญญายตนฌาน อันเป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐที่สุด
ผู้นั้นจะต้องอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน ไม่มีเสื่อมบ้างหรือ


ตอบ เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไปไม่ถึง ความนับว่าได้ไปแล้วข้างทิศไหนฉันใด
ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูป ย่อมดับไม่มีเชื้อเหลือ ( คือดับไปพร้อมกับกิเลสทั้งขันธ์ )
ไม่ถึงความนับว่าไปเกิดเป็นอะไรฉันนั้น









คนที่ ๗ นันทมาณพ

ถาม ชนทั้งหลายกล่าวว่า มุนีมีอยู่ในโลกดังนี้ ข้อนี้เป็นอย่างไร เขาเรียกคนถึงพร้อมด้วยญาณ
หรือถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตว่าเป็นมุนี


ตอบ ผู้ฉลาดในโลกนี้ ไม่กล่าวว่าคนเป็นมุนี ด้วยความเห็น ด้วยความสดับ หรือด้วยความรู้
เรากล่าวว่า คนใดทำตนให้ปราศจากกองกิเลส เป็นคนหากิเลสมิได้ ไม่มีความหวังทะยานอยาก
เที่ยวอยู่ ผู้นั้นแล ชื่อว่า มุนี




ถาม สมณพรามหณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง กล่าวความบริสุทธิ์ ด้วยความเห็น ด้วยความฟัง ด้วยศิลและพรต
และด้วยวิธีเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ประพฤติในวิธีเหล่านั้น ตามที่ตนเห็นว่า
เป็นเครื่องบริสุทธิ์ ข้ามพ้น ข้ามชาติชราได้แล้วบ้างหรือหาไม่


ตอบ สมณพราหมณ์เหล่านั้น แม้ถึงประพฤติอย่างนั้น เรากล่าวว่า ข้ามพ้นชาติชราไม่ได้แล้ว



ถาม ถ้าพระองค์ตรัสว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นข้ามห้วงไม่ได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น
ใครเล่าในเทวโลกหรือในมนุษยโลก ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว


ตอบ เราไม่กล่าวว่า สมณพราหมณ์ อันชาติชราครอบงำแล้วหมดทุกคน แต่เรากล่าวว่า
สณพราหมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ละอารมณ์ที่ตนได้เห็น ได้รู้ ได้ฟังและศิลพรตกับวิธีเป็นอันมาก
เสียทั้งหมด กำหนดรู้ตัณหาว่าเป็นโทษควรละแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล
ข้ามห้วงได้แล้ว








คนที่ ๘ เหมกมาณพ

ถาม ในปางก่อนแต่ศาสนาของพระองค์ อาจารย์ทั้งหลายได้ยืนยันว่า อย่างนั้นได้เคยมีมาแล้ว
อย่างนี้จักมีต่อไปข้างหน้า ดำเนินล้วนเป็นแต่ว่าอย่างนี้แลๆๆ สำหรับแต่จะทำความตรึกฟุ้งให้มากขึ้น
ข้าพเจ้าไม่พอใจในคำนั้นเลย ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเหตุถอนตัณหาที่ข้าพเจ้าทราบแล้ว
จะพึงเป็นคนมีสติ ข้ามล่วงพ้นตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลก แก่ข้าพเจ้าเถิด


ตอบ ชนเหล่าใด ได้รู้ว่าพระนิพพานเป็นที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์ที่รัก ซึ่งได้เห็นแล้ว
ได้ฟังแล้ว ได้ดมแล้ว ได้ชิมแล้ว ได้ถูกแล้ว และได้รู้แล้วด้วยใจ และเป็นธรรมไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้นแล้วเป็นคนมีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้แล้ว ชนผู้ระงับกิเลสได้แล้วนั้น
ข้ามล่วงพ้นตัณหาอันให้ติดอยู่ในโลกนี้ได้แล้ว






คนที่ ๙ โตเทยยมาณพ

ถาม กามทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในผู้ใด ตัณหาของผู้ใดไม่มี และผู้ใดข้ามล่วงความสงสัยเสียได้
ความพ้นของผู้นั้นจะเป็นเช่นไร


ตอบ ความพ้นของผู้นั้นที่จะเป็นอย่างอื่นอีกมิได้มี (อธิบายว่า ผู้นั้นพ้นจากกาม จากตัณหา
จากความสงสัยเสียแล้ว กามก็ดี ตัณหาก็ดี ความสงสัยก็ดี จะกลับเกิดขึ้น ผู้นั้นจักต้องเพียรพยายาม
เพื่อจะทำตนให้พ้นไปอีก หามีไม่ ความพ้นของผู้นั้นเป้นอันคงที่ ไม่แปรผันเป็นอื่น )




ถาม ผู้นั้นเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานหรือไม่ เป็นคนมีปัญญาแท้หรือเป็นแต่ก่อตัณหา
และทิฏฐิให้เกิดขึ้นด้วยปัญญา ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านมุนีนั้นได้ด้วยวิอย่างไร?


ตอบ ผู้นั้นเป็นคนไม่มีความหวังทะเยอทะยาน จะเป็นคนมีความหวังทะเยอทะยานก็หาไม่
เป็นคนมีปัญญาแท้ จะเป็นคนก่อตัณหาและทิฏฐิให้เกิดด้วยปัญญาก็หาไม่
ท่านจงรู้จักมุนีว่า คนไม่มีกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพอย่างนี้เถิด







คนที่ ๑๐ กัปปมาณพ

ถาม ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมอันเป็นที่พึ่งพำนักของชนอันชราและมรณะถึงรอบข้าง
ดุจเกาะอันเป็นที่พำนักอาศัยของชนผู้ตั้งอยู่ในท่ามกลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดที่น่ากลัวใหญ่แก่ข้าพเจ้า
อย่าให้เกิดทุกข์นี้ได้อีก


ตอบ เรากล่าวว่า นิพพานอันไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น เป็นที่สิ้นแห่งชรา
และมรณะนี้แลเป็นดุจเกาะหาใฃ่ธรรมอื่นไม่ ฃนเหล่าใดรู้นิพพานนั้นแล้ว เป็นคนมีสติมีธรรมอันเห็นแล้ว
ดับกิเลสได้แล้ว ชนเหล่านั้นไม่ต้องตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ต้องเดินไปในทางของมารเลย







คนที่ ๑๑ ชตุกัณณีมาณพ

ถาม ข้าพเจ้าได้ทราบว่าพระองค์มิใช่ผู้ใคร่กาม ข้ามล่วงห้วงกิเลสเสียได้แล้ว จึงมาเฝ้าเพื่อ
จะทูลถามพระองค์ผู้หากิเลสมิได้ ขอพระองค์จงแสดงธรรมอันระงับแก่ข้าพเจ้าโดยถ่องแท้
เหตุว่าพระองค์ทรงผจญกิเลสกามให้แห้งหายได้ ตรัสบอกธรรมเป็นเครื่องละชาติชราในอัตภาพนี้
ที่ข้าพเจ้าควรจะทราบด้วยเถิด


ตอบ ท่านจงนำความกำหนัดในกามเสียให้สิ้น เห็นความออกไปจากกามโดยเป็นความเกษมเถิด
กิเลสเครื่องกังวลที่ท่านยึดไว้ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ซึ่งควรจะสละเสีย อย่าเสียดแทงใจของท่านได้
กังวลใดได้มีแล้วในปางก่อน ท่านจงให้กังวลนั้นเหือดแห้งเสีย กังวลในภายหลังอย่าให้มีแก่ท่าน
ถ้าท่านจักไม่ถือเอากังวลในท่านกลาง ท่านจักเป็นคนสงบระงับกังวลได้เที่ยวอยู่ อาสวะ( กิเลส )
ซึ่งเป็นเหตุถึงอำนาจมัจจุราชของชนผู้ปราศจากความกำหนัดในนามรูปโดยอาการทั้งปวงมิได้








คนที่ ๑๒ ภัทราวุธมาณพ

ข้าพเจ้าทุลขออราธนาพระองค์แล้ว ผู้ทรงอาลัยตักตัณหาเสียได้ไม่หวั่นไหว( เพราะโลกธรรม )
ละความเพลิดเพลินเสียได้ ข้ามห้วงกิเลสพ้นไปได้แล้ว ละธรรมเป็นเครื่องให้ดำริ(ไปต่างๆ ) คือ
ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว มีพระปรีชาญาณอันดีแล้ว ชนที่อยู่ชนบทต่างๆอยากจะฟังพระวาจาของพระองค์
มาพร้อมกันแล้วจากชนบทนั้นๆ ได้ฟังพระวาจาของพระองค์แล้วจักกลับไปจากที่นี่ ขอพระองค์ทรง
แก้ปัญหาเพื่อชนเหล่านั้น เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์ได้ทรงทราบแล้ว


ตอบ หมู่ชนนั้นควรนำตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
คือท่ามกลางทั้งหมดให้สิ้นเชิง เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลก มารย่อมติดตามเขาได้โดยสิ่งนั้นๆ
เหตุนั้น ภิกษุเมื่อรู้อยู่ เมื่อเห็นหมู่สัตว์ผู้ติดอยู่ในวัฏฏะเป็นด้าวแห่งมารนี้ว่า ติดอยู่เพราะความถือมั่นดังนี้
พึงเป็นคนมีสติไม่ถือมั่นกังวลในโลกทั้งปวง








คนที่ ๑๓ อุทยมาณพ

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้ทรงทำกิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว
บรรลุถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น ( จากกิเลส ) ที่ควรรู้ทั่วถึง
เป็นเครื่องทำลายอวิชชาความเขลาไม่รู้แจ้งเสีย

ถาม โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลก ท่านกล่าวกันว่า นิพพานดังนี้ๆ
เพราะละอะไรได้


ตอบ โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั่น ท่านกล่าวกันว่า
นิพพานดังนี้ๆเพราะละตัณหาเสียได้




ถาม เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไร วิญญาณจึงจะดับ ข้าพระเจ้าทั้งหลายมาเฝ้าแล้ว
เพื่อจะทูลถามพระองค์ ขอให้ได้ฟังพระวาจาของพระองค์เถิด


ตอบ เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนาทั้งหลายภายในภายนอก มีสติระลึกอย่างนั้น วิญญาณจึงจะดับ








คนที่ ๑๔ โปสาลมาณพ

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะทูลถามปัญหา จึงได้มาเฝ้าพระองค์ ผู้ทรงสำแดงพระปรีชาญาณในกาล
เป็นอดีต ไม่ทรงหวั่นไหว ( เหตุสุขทุกข์ ) มีความสงสัยอันตัดเสียได้แล้ว บรรลุถึงฝั่งธรรมทั้งปวง

ข้าพเจ้าขอทูลถามถึงญาณของบุคคลผู้มีความกำหนัดหมายในรูปแจ้งชัด ( คือได้บรรลุรูปฌาณแล้ว )
ละรูปารมณ์ทั้งหมดได้แล้ว ( คือล่วงรูปฌานขึ้นไปแล้ว )

เห็นอยู่ได้ทั้งภายในภายนอกว่าไม่มีอะไรสักน้อยนิด ( คือได้บรรลุอรูปเนที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ )
บุคคลเช่นั้นควรจะแนะนำสั่งสอนให้ทำอย่างไรต่อไป


ตอบ พระตถาคตเจ้าทรงทราบภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณทั้งหมด จึงทราบบุคคลผู้เช่นนั้น
แม้ยังตั้งอยู่ในโลก มีอัธยาศัยน้อมไปในอากิญจัญญายตนภพ มีอากิญจัญญายตนภพเป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า บุคคลเช่นนี้รู้ว่ากรรมเป็นเหตุให้เกิดในอากิญจัญญายตนภพมีความเพลิดเพลินยินดี
เป็นเครื่องประกอบดังนี้แล้ว

ลำดับนั้นย่อมพิจรณาเห็นสหชาตธรรมในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ( คือธรรมที่เกิดพร้อมกับฌานนั้น )
แจ้งชัดโดยลักษณะ ๓ ( คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ) ข้อนี้เป็นญาณอันถ่องแท้ของพราหมณ์
เช่นนั้น ผู้มีพรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว








คนที่ ๑๕ พระโมฆราช

หมายเหตุ ที่อชิตมาณพทูลถามคนที่ ๑ จบแล้ว โมฆราชปรารภหาจะทุลถามปัญหา ได้ยินว่าโมฆราชนั้น
ถือตนว่าเป็นคนมีปัญญามากกว่ามาณพทั้ง ๑๕ คน คิดจะทูลถามก่อน แต่เห็นว่าอชิตมาณพ
เป็นผู้ใหญ่กว่าจึงยอมให้ทูลถามก่อน ครั้นอชิตทูลถามแล้ว จึงปรารภทูลถามเป็นครั้งที่ ๒
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอาการอย่างนั้นแล้ว จึงตรัสห้ามว่า โมฆราชท่านรอให้มาณพอื่น
ถามก่อนเถิด โมฆราชก็หยุดนั่งอยู่ มาครั้งนี้โมฆราชกราบทูลว่า ข้าพระเจ้าได้ยินว่า
ถ้าทุลถามถึง ๓ ครั้งแล้ว พระองค์ทรงแก้ครั้นอย่างนี้แล้ว ทูลถามปัญหาเป็นคำรบที่ ๑๕


ถาม โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์
เหตุฉะนี้จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้ทรงพระปรีชายิ่ง เห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้
ข้าพเจ้าจักพิจรณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช ( ความตาย ) จึงจักไม่แลเห็น คือว่าจักตามไม่ทัน


ตอบ ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจรณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า
ถอนตามความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจักข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายอย่างนี้
ท่านพิจรณาเห็นโลกอย่างนี้แล มัจจุราชจึงไม่แลเห็นท่าน








คนที่ ๑๖ ปิงคยมาณพ

ถาม ข้าพเจ้าเป็นคนแก่แล้ว ไม่มีกำลัง มีผิวพรรณสิ้นไปแล้ว ดวงตาของข้าพเจ้าก็เห็นไม่กระจ่าง
หูก็ฟังไม่สะดวก ขอข้าพเจ้าอย่าเป็นคนหลงฉิบหายเสียในระหว่างเลย ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรม
ที่ข้าพเจ้าควรรู้เป็นเครื่องละชาติชราในอัตตาภาพนี้เสีย


ตอบ ท่านเห็นว่าชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้วย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น
ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละความพอใจในรูปเสีย จะได้ไม่เกิดอีก




ถาม ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ เป็น ๑๐ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องต่ำที่พระองค์ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ฟังแล้ว
ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้รู้แล้ว แม้น้อยหนึ่ง มิได้มีในโลก ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมที่ข้าพเจ้าควรรู้
เป็นเครื่องละชาติชราในอัตตาภาพนี้เสีย


ตอบ เมื่อท่านเห็นหมู่มนุษย์ อันตัณหาครอบงำแล้ว มีความเดือดร้อนเกิดแล้ว อันชราถึงรอบข้างแล้ว
เหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาท ละตัณหาเสีย จะได้ไม่เกิดอีก






ในกาลที่สุดแห่งปัญหา ที่พระศาสดาพยากรณ์แก่ตนๆมาณพ ๑๕ คน เว้นไว้แต่ปิงคยมาณพ
ส่งใจไปตามธรรมเทศนาก็มีจิตพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน

ส่วนปิงคยะ เป็นแต่ญาณเห็นธรรม ได้ยินว่า ปิงคยมาณพนั้น คิดถึงพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์
ในระหว่างที่นั่งฟังพระธรรมเทศนาว่า ลุงของเราหาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยดทษที่ฟุ้งซ่านเพราะความรักอาจารย์นั้น จึงไม่อาจทำจิตให้สิ้นอาสวะ


มาณพ ๑๖ คนทั้งบริวารนั้นทุลขออุปสมบท พระศาสดาก็ทรงอนุญาติให้เป็นภิกษุด้วยวาจาว่า
ท่านทั้งหลายเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านทั้งหลายประพฟติพรหมจรรย์เถิด ดังนี้.


ฝ่ายพระปิงคิยะทูลลาพระศาสดา กลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรีผู้อาจารย์แล้วแสดงพระธรรมเทศนา
แก้ปัญหา ๑๖ ข้อนั้นให้ฟัง ภายหลังได้สดับโอวาทที่พระศาสดาตรัสสั่งสอน จึงทำให้จิตใจให้พ้นจาก
อาสวะได้ ส่วนพราหมณ์พาวรีอาจารย์ บรรลุธรรมาภิสมัยแต่เพียงชั้นเสขภูมิ


จากหนังสืออนุพุทธประวัติ ( หลักสูตรนักธรรมโท ) ของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๖

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิไม่เป็นหนึ่งเพราะอะไร

สัมมาสมาธิจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีสติเสมอสมาธิ ไม่ก็นำหน้าสมาธิ
ถ้าสมาธินำหน้าสติ นั่นคือ มิจฉาสมาธิ


สมาธิมีอาจแนบแน่นโดยความเป็นหนึ่ง ในอารมณ์ธรรมดาของตนได้ต่อเมื่อ

วิริยะทำกิจคือ ประคอง ( จิต ) ไว้ให้สำเร็จ
และสติทำกิจคือไม่ฟั่นเฟือนไปให้สำเร็จอยู่ ( สมาธิ )
เป็นธรรมได้รับอุปการะ ( ดังนั้น ) แล้ว จึงอาจ ( แนบแน่นได้ )


( ต่อไป ) นี้เป็นอุปมาในธรรม ๓ ประการนั้น ( วิริยะ สติ สมาธิ )
เหมือนอย่างว่าในสหาย ๓ คน ผู้เข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า จักเล่นนักขัตฤกษ์

ต่างว่าสหายผู้หนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานงาม ก็เอื้อมมือขึ้นไป แต่เก็บไม่ถึง
คนที่สองจึงก้มตัวลงให้แก่สหายผู้นั้น สหายผู้นั้นแม้ยืนอยู่บนหลังสหายผู้หนึ่ง
เหยียบยันไหล่สหายผู้หนึ่ง จึงเลือกเก็บดอกไม้ตามใจชอบมาประดับกาย เลนนักขัตฤกษ์ได้ฉันใด
ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น

อันธรรม ๓ ประการ มี สัมมาวายามะ เป็นต้น เป็นธรรมเกิดร่วมกัน
เปรียบเสมือนสหาย ๓ คน ผู้เข้าสู่อุทยานด้วยกัน
อารมณ์ ( ของสมาธิ ) เหมือนต้นจำปามีดอกบานงาม

สมาธิไม่อาจะแนบแน่น โดยความเป็นหนึ่งแน่ในอารมณ์ โดยธรรมดาของตนได้

เหมือนสหายผู้แม้เอื้อมมือขึ้นไปแล้ว แต่เก็บไม่ถึง

วายามะ เหมือนผู้ก้มหลังให้

สติ เหมือนสหายผู้ยืนเอียงไหล่ให้

เมื่อ วิริยะยังกิจ คือ การประคอง ( จิต ) ให้สำเร็จ
และเมื่อสติยังกิจ คือ ไม่ฟั่นเฟือนไปให้สำเร็จอยู่

สมาธิเป็นธรรมได้รับอุปการะ ( ดังนั้น ) แล้ว
จึงอาจแนบแน่นโดยความเป็นหนึ่งแน่ในอารมณ์ได้


เปรียบเหมือนในสหาย ๓ คนนั้น

อีกผู่หนึ่งยืนบนหลัง
อีกคนหนึ่งเหยียบยันไหล่ของคนหนึ่ง

จึงสามารถเก็บดอกไม้ได้ตามใจชอบฉะนั้น เพราะเหตุนี้ในธรรม ๓ ประการนั้น
สมาธิอย่างเดียว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ โดยความมีชาติเสมอกัน
ส่วนวายามะและสติ เป็นธรรมที่ท่านสงเคราะห์เข้าโดย กิริยา ( คือเป็นธรรมอุดหนุนสมาธิ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ญาณ ๑๖ หลุมพรางกิเลส


สภาวะต่างๆของญาณ ๑๖ บ่งบอกถึงกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิ
สภาวะต่างๆที่มีไว้นั้น มีไว้เพื่อให้รู้ มีไว้สำหรับเป็นแนวทางของผู้ปฏิบัติที่ขี้สงสัย
มีไว้ให้รู้ว่า สภาวะแบบนี้มีจริงๆ แค่รู้ แต่ไม่ใช่รู้แล้วยึด ไปหลงยึดในบัญญัติว่าได้ญานโน้น ญาณนี้
แต่หลุมพรางของกิเลสที่เอาตัวเข้าไปติดกับแล้วนั้น กลับมองไม่เห็น

" อย่าให้ค่า ให้ความหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะมันเป็นเพียงสภาวะของแต่ละคน
เป็นไปตามเหตุที่แต่ละคนกระทำมา

เมื่อใดมีการให้ค่าต่อสิ่งหรือสภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อนั้นคือ ตกหลุมพรางหรือกับดักกิเลสเข้าแล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 13 มิ.ย. 2010, 23:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปุพเพวะสันนิวาสเสนะปัจจุปัน นะหิเตนะวา
เอวันตัง ฉายะเตเปมัง อุปะรัง วายะโถทะเก



คุณน้ำคงจะรู้น่ะค่ะ เราชอบเรื่องลี้ลับค่ะ
เวลาจะสวดคาถานี้ สวดตอนที่เรานั่งทำสมาธิ
หรือว่าสวดแบบที่ เราใช้นับเม็ดประคำค่ะ
แล้วอย่างเรา นั่งสมาธิแบบไม่มีอาจารย์
จะสวดได้หรือปล่าวค่ะ :b8: :b41: :b55: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อ้างคำพูด:
ปุพเพวะสันนิวาสเสนะปัจจุปัน นะหิเตนะวา
เอวันตัง ฉายะเตเปมัง อุปะรัง วายะโถทะเก



คุณน้ำคงจะรู้น่ะค่ะ เราชอบเรื่องลี้ลับค่ะ
เวลาจะสวดคาถานี้ สวดตอนที่เรานั่งทำสมาธิ
หรือว่าสวดแบบที่ เราใช้นับเม็ดประคำค่ะ
แล้วอย่างเรา นั่งสมาธิแบบไม่มีอาจารย์
จะสวดได้หรือปล่าวค่ะ :b8: :b41: :b55: :b48:




คุณเต้ cool

เหตุของแต่ละคนทำมาแตกต่างกันไป
การเริ่มต้นของเส้นแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป ไม่มีผิดหรือถูก
มีแต่ สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น


สิ่งที่คุณเต้ถามมา

"เวลาจะสวดคาถานี้ สวดตอนที่เรานั่งทำสมาธิ หรือว่าสวดแบบที่ เราใช้นับเม็ดประคำค่ะ
แล้วอย่างเรา นั่งสมาธิแบบไม่มีอาจารย์ จะสวดได้หรือปล่าวค่ะ "


ได้ทุกอย่างค่ะคุณเต้ จะนับประคำก็ได้ หรือจะใช้เป็นองค์บริกรรมภาวนาก็ได้ค่ะ
การนั่งสมาธิ ใครๆก็นั่งได้ค่ะ ไม่ว่าจะมีอาจารย์หรือไม่มีก็ตาม
แต่การที่มีผู้รู้ในเรื่องการปรับอินทรีย์ ตรงนี้สำคัญมากกว่าค่ะ
เพราะเวลาสมาธินำหน้าสติ มันจะก่อให้เกิดปัญหาเนืองๆกับผู้ปฏิบัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร