ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28212 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 06 ม.ค. 2010, 00:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน |
![]() เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ท่านผู้คงแก่เรียนหลายท่านชอบถามว่า คำกล่าวหรือเทศน์ของหลวงปู่ ดูคล้ายนิกายเซ็น หรือคล้ายมาจากสูตรเว่ยหล่างเป็นต้น ศิษย์ของท่านเรียนถามหลวงปู่ก็หลายครั้ง ในที่สุดท่านกล่าวอย่างเป็นกลางว่า “สัจธรรมทั้งหมดมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมนั้นแล้ว ก็นำมาสั่งสอนสัตว์โลก เพราะอัธยาศัยของสัตว์ไม่เหมือนกัน หยาบบ้าง ประณีตบ้าง พระองค์จึงเปลืองคำสอนไว้มากถึง ๘๔.๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อมีนักปราชญ์ฉลาดสรรหาคำพูดให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อจะอธิบายสัจธรรมนั้นนำมาแผ่เผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสัจธรรมด้วยกัน เราย่อมจะต้องอาศัยแนวทางในสัจธรรมนั้น ที่ตนเองไตร่ตรองเห็นแล้วว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดนำแผ่ออกไปอีก โดยไม่ได้คำนึงถึงคำพูด หรือไม่ได้ยึดติดในอักขระพยัญชนะตัวใดเลยแม้แต่น้อยเดียว” นั่นคือ เมื่อกล่าวถึงสัจธรรมแล้ว ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน กระนั้นก็ดี คำสอนของหลวงปู่ดูลย์นับได้ว่าเป็นเอกเทศ และเป็นเอกลักษณ์ของท่านเอง บางตอนท่านอาจหยิบยืมคำสอนของเซ็นจาก ‘สูตรเว่ยหล่าง’ และ ‘คำสอนของฮวงโป’ มาชนิดคำต่อคำ ด้วยหลวงปู่เห็นว่า ปราชญ์ท่านได้อธิบายไว้อย่างสมบูรณ์แจ่มแจ้งที่สุดแล้ว แต่หลายๆแห่งท่านก็อธิบายถึงเรื่องอื่นๆไว้มากมายอย่างแจ่มแจ้ง พิสดาร เด็ดเดี่ยว และ อาจหาญ ด้วยภาษาใจของท่านเอง อาทิ เรื่อง อริยสัจ ๔ จิต-จักรวาล สสารวัตถุ-สิ่งมีชีวิต-สิ่งไม่มีชีวิต ด้วยประสบการณ์ความรู้แจ้งในจิต ในสัจธรรมและธรรมชาติของท่านเอง ซึ่งเจาะทะลุหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างค้านไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการชี้ให้เห็นว่า การประจักษ์แจ้งแห่งสัจธรรม ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพระฝ่ายธุดงค์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น หรือ พระเซ็นผู้ไม่รู้หนังสือเยี่ยงท่านเว่ยหล่าง (สังฆปริณายกองค์ที่ ๖) ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเถรวาท หรือ มหายาน เพราะความเป็น “พุทธ” ไม่ได้ขึ้นกับสิ่งเปลือกนอกเหล่านั้น และพุทธที่แท้จริง ไม่ได้มีการจำแนก แตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงปรากฏการณ์ภายนอกของสมมติบัญญัติ และ การบรรลุเห็นแจ้งในสัจธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานั้น เป็นปรมัตถสัจจะ ความจริงสูงสุด เหนือเหตุผล และล่วงพ้นสมมติบัญญัติ โดยสิ้นเชิง ![]() ![]() ![]() (เรียบเรียงโดย พุทธธรรม) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |