วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 10:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีกำหนดลมหายใจตามนัยวิปัสสนา(๑)


วิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก ให้นั่งตามสบายแล้วแต่สะดวก แล้วเอาสติคอยรู้จับไว้ที่ลมหายใจเข้าออก เมื่อลมหายใจเข้ายาวก็ให้รู้ว่าลมหายใจเข้ายาว เมื่อลมหายใจออกยาวก็ให้รู้ว่าลมหายใจออกยาว เมื่อลมหายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ว่าหายใจเข้าสั้น เมื่อลมหายใจออกสั้นก็ให้รู้ว่าลมหายใจออกสั้น

ในการกำหนดลมหายใจนี้ ทำไมต้องให้รู้เรื่องยาว เรื่องสั้นด้วย ก็เพราะเหตุว่า จะให้สตินั้นจับไว้ที่ลมหายใจไม่ให้เผลอ ถ้าหากรู้แต่เพียงว่า ลมเข้ากับลมออกเท่านั้น ที่นี้ระหว่างที่ลมเข้าก็รู้ว่าลมเข้าแล้ว แต่ว่าระหว่างลมหายเข้านั้นลมยังไม่ได้เข้าแล้วหมดไปเดี๋ยวนั้น กว่าลมจะเข้าหมดนั้น จิตอาจจะแว๊บไปที่อื่นได้ เพราะว่าความไวของจิตไวที่สุด ให้ตามจับตลอดไป จนกระทั่งลมที่เข้านั้นหมด

เมื่อสติติดตามไป จิตก็ไม่มีโอกาศจะแว๊บออกไปได้ จึงสามารถรู้ลมหายใจเข้ายาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้

โดยเอาสติตามจับ ถ้าไม่ตามจับอย่างนี้ก็เผลอ รู้เหมือนกันว่าเข้า ว่าออก แต่ในระหว่างที่เข้าออกของลมจะหมดนั้น จิตไปที่อื่นแล้ว เพื่อจะไม่ให้สติหลุดไป จึงต้องตามลมหายใจ เข้ายาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้กำหนดนั้น มีความเข้าใจนามรูปอยู่ก่อนแล้ว ตามที่เรียนมาเมื่อกี้นี้ ต้องเข้าใจลมหายใจเข้าออกนั้น ทั้งเข้าและออกเป็น รูปธรรม โดยย่อๆ และสภาวะที่รู้ว่าลมเข้าลมออกนั้นเป็น นามธรรม เวลากำหนดลม ท่านต้องทำความเข้าใจอย่างนี้ไว้ก่อนเป็นนัยของวิปัสสนา

ความจริงในการที่จะรู้ว่าลมนี้เข้า ลมนี้ออก เรารู้ได้เพราะอาศัยโผฏฐัพพะของลม คือความเย็นและความร้อนที่มากระทบกายประสาทที่ปลายจมูกของเรา และกายวิญญาณก็รู้ความเย็นร้อนที่ลมกระทบ ถ้ามิฉะนั้นจะรู้ว่ามีลมไม่ได้ เพราะลมเข้าออกนี้ไม่มีรูปร่างให้เห็นว่าเดินเข้าหรือเดินออก ที่เรารู้ไว้ ลมเข้าหรือลมออกนั้นด้วยอาศัยโผฏฐัพพารมณ์ คือความเย็นความร้อน ที่กระทบกายประสาท แล้วกายวิญญาณก็รู้ โดยอาศัยโผฏฐัพพะเป็นเครื่องกำหนดรู้ว่า ลมเข้าและลมออก หรืออาศัยความเย็น และความร้อนนั่นแหละ

เมื่อความเย็นไปกระทบเข้าก็เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า นี่ลมเข้า เวลาลมออกมาก็อุ่น ไม่เย็นเหมือนเมื่อตอนเข้า ขอให้สังเกตุอย่างนี้เสมอ จึงเป็นเครื่องหมายให้เราได้รู้ได้ว่า ลมเข้าและลมออก

ทีนี้เวลากำหนดนั้น กำหนดแต่เฉพาะอาการที่มากระทบเท่านั้น เพราะความเย็นและความร้อน ที่ปรากฏขึ้นให้เรารู้สึกนั้น กำหนดแต่เฉพาะอาการที่มากระทบเท่านั้น เพราะความเย็นความร้อนที่ปรากฏให้เรารู้สึกนั้น กำหนดเฉพาะแต่สภาวะเท่านั้น ไม่ต้องว่าเย็น หรือร้อน ไปด้วย หรือไม่ต้องภาวนาว่า พุทโธ พุธโธ หรือสัมมาอรหัง เพราะเป็นนัยยะของวิปัสสนา ต้องการรู้แต่สภาวะ ไม่ต้องการให้บัญญัติทั้งหลายเข้ามาติด เพราะจะปิดบังสภาวะนั้นเสีย และไม่ให้ออกเสียงทางปาก และไม่ต้องนึกว่าอะไรเป็นรูป หรือเป็นนามในระหว่างนั้น

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2009, 15:54
โพสต์: 640

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีกำหนดลมหายใจตามนัยวิปัสสนา(๒)

ให้มีสติกำหนดรู้สึกอยู่แต่เฉพาะในอาการที่ปรากฏของรูปเย็นและร้อนเท่านั้น เพราะต้องการจะให้ได้อารมณ์ปัจจุบัน ข้อสำคัญที่สุดอยู่ตรงนั้น นี้เป็นนัยของวิปัสสนา

ในขั้นนี้ต้องใช้ความเพียร กับสติ เป็นกำลัง คือเพียรให้มีสติระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น รู้อยู่ในเฉพาะสภาวะที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า การที่ให้เพ่งเอาแต่เฉพาะอารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น ก็เพราะเหตุว่า จะให้ปัญญาได้ความจริงของสภาวะนั้น เมื่อปัญญาได้ความจริงของสภาวะนั้น ก็จะกำจัดวิปลาสทั้ง ๔ ตามที่กล่าวแล้ว ที่ทำให้เรารู้สึกขึ้นในขณะลมหายใจของเราวิปลาส

คือทำให้เรารู้สึกขึ้นในลมหายใจที่เข้าออกนั้นมีตน หรือมีตนเป็นผู้หายใจ หรือตัวเรา เป็นผู้หายใจมีความรู้สึกอย่างนั้นในลมหายใจ เมื่อมีความรู้สึกในลมหายใจอย่างนี้ ก็เป็นวิปลาสอย่างหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกว่า ลมนี้ทำความสุขให้กับเราในเวลาที่ลมหายใจกำลังเข้าออกสะดวก ก็มีความรู้สึกว่า เราอยู่สบายได้เพราะลมหายใจก็มีความรู้สึกอย่างนี้ แต่บางที ไม่สังเกตุก็จะไม่รู้สึกได้ หรือมิฉะนั้น ก็มีความรู้สึกว่า ลมหายใจนี้เที่ยง เห็นว่า ลมที่เข้าไปนี้กลับออกมาอีก ลมที่ออกมานั่นแหละกลับเข้าไปใหม่อีก หาได้สูญหายไปใหนไม่ลมเข้าลมออกก็อันเดียวกันนั่นแหละ

ความรู้สึกอย่างนี้ก็เป็นวิปลาสอย่างหนึ่ง ที่อาศัยลมเข้าออกนั้น นิจวิปลาส ที่อาศัยลมเกิดนั้น คือกำหนดอารมณ์เฉพาะปัจจุบัน เฉพาะสภาวะที่ปรากฏเฉพาะหน้านั้น ถ้าขณะใดที่จิตได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันแล้วขณะนั้น นิวรณ์ทั้ง ๕ ไม่มีโอกาศที่จะเกิดขึ้นครอบงำจิตได้ เพราะนิวรณ์ทั้ง ๕ จะเกิดขึ้นย่ำยีจิตใจได้ ต้องอาศัยอดีตและอนาคตอารมณ์

เมื่อนิวรณ์ไม่มีโอกาศที่เข้าได้แล้ว หรือไม่มีโอกาศที่จะเกิดมาปิดบังความจริง ในสภาวะที่เรากำหนดอยู่นั้น หรือที่กำลังเพ่งดูอยู่นั้น จิตก็จะเกิดเป็นสมาธิในอารมณ์นั้น คือในอารมณ์ที่เราเพ่ง ที่นี้ปัญญาก็จะเกิดตามขึ้นมา รู้รูปนามตามความเป็นจริงขึ้นในอารมณ์นั้น

อุปมาเหมือนน้ำที่กำลังกระเพื่อมอยู่ นิวรณ์ที่เข้ามาในจิตใจเหมือนน้ำที่กำลังกระเพื่อม เห็นอะไรไม่ถนัด เดี๋ยวจิตแว๊บไปทางโน้น ทางนี้ อารมณ์ที่เราเพ่งอยู่ก็เห็นไม่ถนัด เมื่อน้ำกระเพื่อมอยู่อย่างนั้น เราก้มดูเงาหน้าของเรา ย่อมไม่แลเห็น ที่นี้เมื่อน้ำนิ่งแล้ว ก็พอมองเห็นเงาหน้าของเราได้ถนัด ก็เหมือนกับปัญญา เมื่อสมาธิดีแล้ว ปัญญาก็ย่อมเกิดรู้ภาวะความจริงที่เราบอก หรืออีกอย่างหนึ่งเหมือนน้ำที่มีแหน ถ้าต้องการอยากจะดูว่าในน้ำนั้นมีอะไรบ้าง ก็ต้องอาศัยสติ กับวิริยะ ซึ่งเป็นองค์สมาธินั้นช่วยกันแหน คือนิวรณ์ออกไปให้ห่าง แล้วจะมองเห็นว่าในน้ำนั้นมีอะไรบ้าง? ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ปัญญานี้ ก็ไม่ใช่ว่า จะเกิดขึ้นเองได้ตามชอบใจ ปัญญา ต้องอาศัย สมาธิ เกิด สมาธิก็ต้องอาศัย สติ, สติ ก็ต้องอาศัย วิริยะ และวิริยะ ก็ต้องอาศัย ศรัทธา เกิด เพราะฉะนั้น ศรัทธา จึงนับว่า เป็นผู้นำกุศลขั้นต้นให้เกิดขึ้น

ฉะนั้น ก่อนที่เราจะเข้ากรรมฐาน เราก็ต้องได้กำลังศรัทธา เป็นครั้งแรก ขั้นที่สอง เมื่อลงมือปฏิบัติต้องอาศัยความเพียร ก่อน, ขั้นที่สาม ต้องมี สติ ตามระลึกรู้อารมณ์, ขั้นที่สี่ มีสมาธิ ขั้นที่ห้า ปัญญา.

(หนังสือปัญญาสาร มูลนิธิแนบ มหานีรานนท์)

.....................................................
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าธรรมชาติของจิตนั้นไหลลงต่ำ
จะขึ้นสูงต้องออกแรงทวนกระแส
เพราะฉะนั้นให้ถามตัวเองว่าเราคิดดีได้เป็นปกติหรือยัง
ถ้ายัง ก็ยอมรับตรงๆ ว่ายัง..
อย่าหลอกตัวเองว่าดีแล้ว
เพราะผลเสียหายไม่ใช่ใครอื่น นอกจากตัวเราเองที่ยังหลงวน
ไม่รู้ตัวว่าขาดเสบียงเพื่อความพร้อมตาย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ย. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดีแล้ว ชอบแล้ว
ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2009, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร