ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
***อานาปานสติ*** http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=27137 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ณ มรณา [ 21 พ.ย. 2009, 15:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | ***อานาปานสติ*** |
อานาปานสติ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญอานาปานสติไว้อย่างนี้ว่า.... "ดูกร..ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้แล เมื่อบุคคลทำให้มี ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมละเมียดแท้ด้วย ประณีตแท้ด้วย เป็นธรรมเครื่องพักอยู่อันละมุนละไม และเป็นสุขด้วย ยังธรรมอันเป็นบาปกุศลทั้งหลายที่เกิดขึ้นให้ระงับไปโดยพลันด้วย" แล้วตรัสจำแนกให้เป็นกรรมฐาน มีวัตถุ ๑๖ อย่างนี้ว่า... "ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือที่ว่างจากเรือนก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอคงมีสติหายใจออก คงมีสติหายใจเข้า" ในอานาปานัสติพระบาลีแสดงหลักการไว้ดังนี้..... โส สโต ว อสฺสสติ สโต ว ปสฺสสติ ผู้เจริญอานาปานสติ พึงนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ย่อมตั้งสติทำความรู้สึกตัว แล้วจึงหายใจเข้า หายใจออก ๑. ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่า หายใจออกยาว ๒. รสฺส วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ รสฺส วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่า หายใจเข้าสั้น เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่า หายใจออกสั้น ๓. สพฺพกาย ปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ สพฺพกาย ปฏสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสำเหนียกว่า เมื่อหายใจเข้า และหายใจออก ก็ต้องรู้โดยตลอด ต้นลม, กลางลม, ปลายลม ๔. ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ย่อมสำเหนียกว่า จะทำลมเข้า และลมออก ที่หยาบให้ละเอียด แล้วจึงหายใจเข้า และหายใจออก (คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ รวบรวมโดย อาจารย์(วิปัสสนา)วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี) |
เจ้าของ: | ณ มรณา [ 21 พ.ย. 2009, 15:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ***อานาปานสติ*** |
อานิสงส์ของอานาปานสติ อานาปานสติ มีอานิสงส์มาก ในวิสุทธิมรรคอรรถกถารวบรวมไว้ดังนี้ คือ... ๑. อานาปานสตินี้ ภิกษุพึงบำเพ็ญเพื่อตัดเสียซึ่งอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น ๒. อานาปานสติ เป็นมูลแห่งการทำวิชชา และวิมุติให้สมบูรณ์ได้ ๓. ทำความรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกที่เป็นจริมกะ คือลมครั้งสุดท้ายที่ดับลง จริมกะ ลมครั้งสุดท้ายมี ๓ อย่าง ๑. ภวจริมกะ ลมสุดท้ายด้วยอำนาจแห่งภพ ลมหายใจทั้งหลายย่อมเป็นไปในกามภพ หาเป็นไปในรูปภพ และอรูปภพไม่ ลมเหล่านี้จึงชื่อว่า "ภวจริมกะ" ๒. ฌาณจริมกะ ลมสุดท้ายด้วยอำนาจแห่งฌาณ ลมหายใจเข้า หายใจออก ย่อมเป็นไปในฌาณขั้นต้นได้ หาเป็นไปในฌาณที่ ๔ หรือฌาณที่ ๕ (ตามจตุตถนัย หรือปัญจมนัย) ชื่อว่าฌาณจริมกะ ๓. จุติจริมกะ ลมหายใจที่เกิดพร้อมกับจิตขณะที่ ๑๖ ก่อนหน้าจุติจิต แล้วดับพร้อมกับจุติจิตเหล่านี้ ชื่อว่า "จุติจริมกะ" อนึ่ง ผู้เจริญสติปัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันตขีณาสวะ ย่อมกำหนดรู้กาลเวลาแห่งอายุที่จักปรินิพพานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่แน่นอน แต่สำหรับผู้เจริญอานาปานสติ มีวัตถุ ๑๖ นี้แล้ว ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ย่อมกำหนดรู้กาลแห่งอายุ จักปรินิพพานได้ทั้งนั้น ภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ได้บรรลุพระอรหันต์ ย่อมรู้ว่า บัดนี้อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ไม่เลยนี้ไป ดังนี้แล้ว ก็ทำกิจชำระร่างกาย และการนุ่งห่มเป็นต้น ตามธรรมดาของตน เมื่อเรียบร้อยแล้วก็หลับตาดับไป ดังพระติสสะเถระ วัดโกฏิบรรพตวิหาร, พระมหาติสสะเถระ วัดมหากรัญชนิยวิหาร และพระเถระสองพี่น้อง วัดจิตตลบรรพตวิหาร ฉะนั้น. (คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ รวบรวมโดย อาจารย์(วิปัสสนา)วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |