วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2009, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ขออนุญาตนำเรื่องน่าคิดมาฝาก
โดยผมได้ช่วยแปลให้พออ่านกันได้ ตามทิฐิของผม
กะว่าเอาพออ่านแล้วไปได้นะครับ ไม่ได้แปลแบบวิชาการ
ถือว่าอ่านเล่นๆเอาสาระสำคัญก็แล้วกัน




Quote Tipitaka:
เรื่องพระโปฐิลเถระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5

๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]
ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน
ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
" โยคา เว " เป็นต้น. รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด


ดังได้สดับมา
พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป.


ช่วยแปล - ท่านเป็นนักปริยัติทรงพระไตรปิฏกมานานมาก นานจริงๆ
นานขนาดว่าได้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฏกในกาลที่มีพระพุทธเจ้ามาแล้ว
ถึง 7 พระองค์ !!!! :b10: :b10: )


Quote Tipitaka:
พระศาสดาทรงดำริว่า
" ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า 'เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."

(ช่วยแปล - พระพุทธเจ้าดำริว่า พระรูปนี้ แม้ฉลาดมากเพียงใด แต่เอาตัวไม่รอด
ไม่พ้นจากทุกข์ได้ จึงทรงดำริว่าจะทรงทรมานด้วยการแกล้งให้พระโปฐิละเกิดสังเวชตนเอง)

Quote Tipitaka:
จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น
ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า
" มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า,
ไปเถิด คุณใบลานเปล่า,
แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว."


ช่วยแปล- พระโปฐิละมีชื่อของตัวเองอยู่แล้ว
แต่พระพุทธเจ้าดำริว่าจะทรงทรมาน จึงเรียกท่านว่า โปฐิละ ซึ่งแปลว่าใบลานเปล่า
เปรียบเทียบสมัยนี้ก็คล้ายๆว่าเป็นเหมือนกระดาษจดพระไตรปิฏก จดเรื่องราวมากมาย เช่นนิพพาน แต่ตัวกระดาษนั้นไม่สามารถจะนิพพานได้ คือรู้หมดทุกอย่าง แต่เอาตัวไม่รอด

เวลาท่านโปฐิละมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จะเรียกท่านว่า
"คุณใบลานเปล่า คุณใบลานเปล่า" จะมาจะไปอะไร พระพุทธเจ้าก็จะเรียกท่านว่า "คุณใบลานเปล่า" เสมอๆ เพื่อให้ท่านโปฐิละเกิดความสังเวชในตนขึ้นให้ได้


Quote Tipitaka:
พระโปฐิละนั้นคิดว่า
"เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป
ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆว่า ' คุณใบลานเปล่า '
พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้"
ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า
"บัดนี้เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม"
จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว
ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม
แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง.


แล้วก็ได้ผล พระโปฐิละท่านเกิดสังเวชจริงๆ
ว่าเราอุตส่าห์ทรงพระไตรปิฏก เป็นครูบาร์อาจารย์ สอนคนตั้งมากมาย
พระศาสดายังตรัสเรียกว่าคุณใบลานเปล่าอยู่เนืองๆ
นี่คงเป็นเพราะเราไม่มีคุณวิเศษ เช่นไม่มีฌาน เป็นแน่แท้
ก็เลยตัดสินใจเข้าป่าไปแสวงหาสิ่งนั้นให้จงได้


Quote Tipitaka:
พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนด

ท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป
ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า
" ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."

พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?"

พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้,
ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.


วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ
ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น.
ลำดับนั้นพระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ
ด้วยคิดว่า" ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้.
" แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้
ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด
ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.

พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.

- ท่านไปหาใครให้สอนท่าน ก็ไม่มีใครสอนท่านได้ เพราะมานะท่านมาก
แม้ไปหาพระอรหันต์ พระเถระ ก็ไม่มีใครจะสามารถสอนท่านได้
จึงได้ออกอุบายให้ท่านไปเรียนกับเณรน้อย 7 ขวบ
กล่าวคือ ถ้าท่านยอมแม้กระทั้งไปขอให้เณรบวชใหม่อายุ 7 ขวบสอนให้
ก็แสดงว่าท่านโปฐิละยอมลดมานะลงแล้ว อยากจะรู้จริงๆ







Quote Tipitaka:
พระโปฐิละนั้น
มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว
จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า
" ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."

สามเณร. "ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น,
ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆพึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน


พระโปฐิละ. "ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้,ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้."

สามเณร. "ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,
ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน."


พระโปฐิละ. "ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ,
เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้าไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว."


พระโปฐิละท่านหมดมานะจริงๆ ยอมแล้ว สิโรราบแล้ว
ถึงกับกล่าวว่า ถ้าเณรสั่งให้กระโดลงไปในกองไฟ ท่านก็ยินดีจะทำตามเลยทีเดียว

Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล
แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

จริงอยู่ สามเณรนั้น
แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก
อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า
" พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.
แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.

-เณรก็ฉลาด อยากทดสอบดู
จึงแกล้งทดสอบพระเถระด้วยการสั่งให้เดินลงไปในคลอง
จีวรของท่านโปฐิละซึ่งเป็นพระเถระ มีราคามาก จึงแกล้งสั่งท่านให้เดินลงน้ำ
เพื่อทดสอบดูว่า จะทำตามทุกอย่างจริงหรือไม่


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิดท่านขอรับ"

- แล้วท่านก็เดินลงน้ำในบัด now ทันที ไม่มีอิดออด
เณรเห็นดังนั้นแล้ว พอชายจีวรแตะน้ำเท่านั้นแหละ ก็ห้ามท่านโปฐิละไว้
เพราะเณรได้ทดสอบแล้ว และเณรก็ไม่ใจร้ายขนาดจะให้ท่านลงคลองไปทั้งตัว


Quote Tipitaka:
แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า
" ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง,
ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง
บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้
ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง;

บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว
จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้
ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต
ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.

- แล้วเณรก็ให้กรรมฐานทันที
คือให้ทำสมาธิจดจ่ออยู่ในแต่ที่จิตของตน แล้วท่านโปฐิละจะทราบเอง

Quote Tipitaka:
พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ"
แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.

- แต่ด้วยความที่ยังมีมานะอยู่บ้าง ท่านก็บอกเณรว่า
พอแล้ว พูดแค่นั้นพอ จะลงมือทำแล้ว



Quote Tipitaka:
พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว
ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า
"ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง) ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล,
การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร."
แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น

- พระพุทธเจ้าก็เล็งตาทิพย์มาดูแล้วตรัสสอนกรรมฐาน
ดังพระคาถาว่า

Quote Tipitaka:
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

" ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล,
ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ,
บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น
แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้."







อันนี้ บทแก้อรรถกาถา
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า
เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘.

คำว่า "ภูริ" นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน.
ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.

สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น.

บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ.

บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้
โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.



Quote Tipitaka:
ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.

เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ.


เื่มื่อพระพุทธเจ้าตรัสจบ พระโปฐิละก็ "ตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว"
แต่จะแปลว่า"กำลังเข้าสู่กระบวนการ" สำเร็จพระอรหันต์
หรือจะแปลว่า "สำเร็จกระบวนการแล้ว" ก็ไม่ทราบได้นะ

แต่เอาว่าท่านสำเร็จอรหันต์ในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุค่ะ...คุณน้อง

:b8: :b8: :b8:

"...บวชต้องมี สัพพะ ทุกขะนิสสะระณะ นิพพานัสสะ สัจฉิ กะระนัตถายะ
บวชมาแล้ว ต้องรู้จักทำให้แจ้งในธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงประกาศ
ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

ถึงแม้ว่าไม่ถึงพระนิพพาน
ก็มีความพากเพียรพยายามปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
จึงจะสมศักดิ์ศรี ของผู้ที่บวชมาในพระพุทธศาสนา"


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : คัดลอกบางตอนมาจาก ศิษย์พระพุทธเจ้า ใน "รักษ์วงศ์กรรมฐาน"
โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย), หน้า ๑๔)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 76 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร