วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 00:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

นมตถ สุคตสส

พหุตภกโข ภวติวิปปวุตโถ สก ฆรา

พหูน อุปชีวนติ โยมตตาน น ทุพภติ


การสงเคราะห์ญาติและมิตรเป็นอนวัชชกิจ
โบราณบัณฑิตได้บำเพ็ญเป็นอาจิณวัตร
บุคคลที่นับถือกันว่าเป็นญาติก็เพราะนับว่าเป็นผู้เนื่องกันโดยกุลสัมพันธ์
ที่คบกันเป็นมิตรก็เพราะเป็นผู้ถูกอัธยาศัยรวมกันในกิจการนั้นๆ
ความวิสาสะกันโดยสังคหกิจย่อมผูกจิตให้สนิทกัน
ต้องตามพุทธภาษิตว่า วิสาสปรมา ญาตี ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง
ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงมิตรธรรมเกี่ยวกับญาติสัมพันธ์
ความคุ้นเคยนั้นสำเร็จด้วยไมตรีจิต ทำให้สนิทสนมกันด้วยสังคหธรรม
คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ถ้าคบกันสนิทแล้วก็เหมือนญาติที่สนิท
จัดว่าเป็นมิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ผู้ที่เป็นญาติถ้ามีมิตรธรรมประกอบกัน
ย่อมเพิ่มพูนความสัมพันธ์ให้สนิทสนมสถาพร
เป็นบ่อเกิดแห่งสวัสดิมงคล

ชนผู้รักใคร่กันสนิทชื่อว่ามิตร
ต้องด้วยพุทธภาษิตว่า มาตา มิตต สเก ฆเร
มารดาชื่อว่าเป็นมิตรในเรือนของตน คนผู้มีเมตตาต่อกันก็ชื่อมิตรได้

ในคำว่า บาปมิตโต กลยาณมิตโต มีมิตรเลว มีมิตรดีโดยนัยนี้
ผู้ที่สนิทสนมกัน มีเมตตาต่อกันได้ชื่อว่ามิตรทั้งนั้น
มิตรนั้นมีทั้งชั่วทั้งดีมิตรชั่วเรียกว่า ปาปมิตร มิตรดีเรียกว่า กัลยาณมิตร


มิตรนั้นย่อมเป็นปัจจัยภายนอกอันแรงกล้า
ที่จะพาผู้คบหาให้ถึงความเจริญหรือความเสื่อม
สมเด็จพระโลกนาถเจ้าจึงตรัสว่า

พาหิร ภิกขเว องคนติ กริตวา นญญ เอกงคมปิสมนุปสสามิ

ย เอว มหโต อนตถาย สวตตติ ยทิท ภิกขเว ปาปมิตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้วเราย่อมไม่แลเห็นเหตุ
แม้อันหนึ่งอื่นอันจะเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่
เหมือนความเป็นผู้มี มิตรชั่ว
ความเป็นผู้มีปาปมิตรย่อมเป็นไปเพื่อความเสียหายอย่างใหญ่
อีกอย่างหนึ่งเราย่อมไม่แลเห็นเหตุอันหนึ่งอื่นเหมือนกัน
อันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี

ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่
ในสิงคาโลวาทสูตร ตรัสเรียกปาปมิตรว่ามิตรปฏิรูปคือมิตรเทียม
ตรัสเรียกกัลยาณมิตรว่าสุหัท คือ คนใจดี จัดว่าเป็นมิตรแท้
ทรงจำแนกลักษณะมิตรเทียมและมิตรแท้ไว้ฝ่ายละ ๔ พวก


คัดลอกจาก...หนังสือกฎแห่งกรรมธรรมปฏิบัติเล่ม 18
http://www.jarun.org

:b48: :b8: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 11:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


มิตรแท้นั้นคือ เป็นผู้อุปการะเกื้อหนุนกันจริง
เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์กันได้
เป็นผู้แนะนำในทางที่เป็นประโยชน์เป็นผู้เอ็นดูรักใคร่จริง


ครั้นทรงแสดงลักษณะแห่งมิตรเทียมและมิตรแท้ดังนี้แล้ว
ตรัสให้เว้นมิตรเทียมเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัยอันตราย
พระองค์ตรัสให้เข้าหามิตรแท้เหมือนมารดาไม่ทิ้งบุตร
ฉะนั้นกัลยาณมิตรหรือมิตรแท้นั้นท่านพรรณนาว่า
เป็นปัจจัยแห่งความเจริญทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ
เมื่อได้มิตรเช่นนั้นพึงผูกใจไว้ด้วยสังคหวิธีตามควร
ดังพระบรมพุทโธวาท ตรัสสอนสิงคาลกมาณพคหบดีบุตรว่า
ปญจหิ โข คหปติปุตต กุลปุตเตน อุตตราทิสา
มิตตามจจา ปจจุปฏฐาตพพา
ดูก่อนคหบดีบุตร มิตรเปรียบด้วยทิศเบื้องซ้าย
กุลบุตรพึงบำรุงมิตรด้วยฐานะ ๕ ประการ คือ

เปยยวชเชน ด้วยการกล่าวถ้อยคำที่น่ายินดี

อตถจริยาย ด้วยประพฤติการที่เป็นประโยชน์แก่มิตร

สมานตตตาย ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอไม่ถือตัวร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน

อวิสวาทนตาย ด้วยคำพูดซื่อตรงไม่หลอกลวงกัน

ดูก่อนคหบดีบุตร มิตรอันเปรียบด้วยทิศเบื้องซ้าย
อันกุลบุตรบำรุงด้วยฐานะ ๕ อย่างเหล่านี้แล้ว
ปญจหิ ฐาเนหิ กุลปุตต อนุกมปนติ
มิตรย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยฐานะ ๕ ประการคือ

๑. กุลบุตรนั้นเลินเล่อเผลอสติย่อมเอาใจใส่ระวังรักษาเขา
๒. ย่อมป้องกันรักษาทรัพย์สมบัติของเขา
๓. เมื่อมีทุกข์ร้อนย่อมเป็นที่พึ่ง
๔. ย่อมไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๕. ย่อมนับถือครอบครัววงศ์วานของเขา

ผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะแห่งมิตรพร้อมด้วยมิตรธรรมเช่นนี้
จัดว่าเป็นมิตรดี มีความซื่อตรงต่อมิตร
ย่อมเป็นที่นิยมนับถือของประชาชน
พ้นจากภัยอันจะบังเกิดแต่ศัตรูหมู่อมิตร
ต้องด้วยภาษิตของพระโพธิสัตว์
ครั้งเสวยพระชาติเป็นเตมิยกุมารตรัสแก่นายสุนันทสารถี
โดยนิพนธ์คาถาดังนี้ว่า

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรแท้ จากบ้านเรือนของตนไป
ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาหาร
คือมีผู้คนต้อนรับสักการะด้วยความนิยมนับถือ
ได้เป็นที่พึ่งแห่งอุปชีวกชนเป็นอันมาก

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่ชนบทใดๆก็ดี
สู่นิคมราชธานีทั้งหลายก็ดี ย่อมเป็นผู้ที่เขาบูชา
คือได้รับการต้อนรับในที่เหล่านั้นทุกตำบล


ตัวอย่างดังจิตตคหบดีในมัจฉิกาสัณฑนคร
ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอารีต่อญาติมิตร เป็นที่นิยมนับถือของประชาชน
เกียรติคุณของท่านขจรไปทั่วทิศ
ท่านได้สังฆารามชื่อว่าอัมพาฎกวัน
ได้ฟังธรรมเทศนาในสำนักพระมหานาม
และพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
บรรลุโสดาปัตติผลและอนาคามิตามลำดับ

ท่านจะไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ พระนครสาวัตถี
จัดเครื่องไทยธรรมบรรทุกเกวียน ๕00 เล่ม
สำหรับบำเพ็ญทานมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ไปด้วยเป็นอันมาก เดินทางไปถึงประเทศใด
ประชาชนในประเทศนั้นก็พากะนต้อนรับสักการะ
ด้วยเครื่องบรรณาการเป็นลำดับไป
แม้นไปถึงสำนักพระบรมศาสดาแล้ว
ชาวเมืองสาวัตถีก็ต้อนรับและสักการะด้วยเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก
ท่านเลี้ยงดูคฤหัสถ์ บรรพชิต
พวกที่มาด้วยและพระสงฆ์ในเชตวันด้วยเครื่องบรรณาการ
ที่ประชาชนนำมาสักการะ
ไม่มีโอกาสที่จะบำเพ็ญทานด้วยไทยธรรมของตน
จนเวลากลับต้องถวายเครื่องไทยธรรมนั้นไว้ในเชตวัน
ท่านว่าเกิดกับปิยภูมิที่เก็บปิยวิตถุในพระศาสนาแต่นั้นมา

เรื่องนี้สาธกให้เห็นว่า คุณความดีจัดความอารีเข้าด้วย
เป็นเหตุปลูกความนิยมของประชาชน
แม้จากบ้านเรือนไปก็ได้รับการต้อนรับสักการะด้วยความเต็มใจ
ได้เป็นที่พึ่งแห่งอุปชีวิกชนเป็นอันมาก

:b48: :b8: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 01 ก.ย. 2009, 11:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


บุคคลที่ไม่ประทุษร้ายมิตร โจรทั้งหลายไม่อาจย่ำยีได้
เพราะพวกพ้องมาก มีหูตารอบข้าง
เจ้านายก็ไม่รังเกียจ เพราะเหตุคุณความดี
ย่อมพ้นจากสรรพศัตรูหมู่อมิตร
ด้วยอำนาจสุจริตกับใจมิให้คิดประทุษร้าย

ดังตัวอย่างทีฆาวุกุมารพระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติ
ผู้ครองโกศลรัฐ เธอประสูติเมื่อพระชนกเสียพระราชสมบัติ
พบพระเจ้าพรหมทัตต์ผู้ครองแว่นแคว้นกาสี
แล้วตั้งพระทัยจะแก้แค้นเอาพระราชสมบัติของบิดาคืนให้จงได้
เพียรหาช่องเข้าใกล้พระเจ้าพรหมทัตต์จนได้เป็นสารถีคนโปรด

คราวหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตต์เสด็จประพาสป่า
ทีฆาวุกุมารแสร้งขับรถพระที่นั่งเร็วจนข้าราชบริพารตามเสด็จไม่ทัน
ท้าวเธอทรงเหนื่อยก็ตรัสสั่งให้หยุดรถพระที่นั่ง
เสด็จลงพัก ณ ที่แห่งหนึ่งแล้วบรรทมหลับไป
ทีฆาวุกุมารได้ช่องที่จะแก้แค้น
จึงถอดพระแสงจากฝักแล้วปลุกบรรทมขึ้น
แสดงตนให้ทราบว่าเป็นศัตรูจะแก้แค้นแทนพระราชบิดา
พระเจ้าพรหมทัตต์ตกพระทัยตรัสขอพระชนม์ชีพ
พระกุมารนึกถึงพระวาจาของพระราชบิดาว่า
จงเห็นยาวดีกว่าสั้น
ทั้งตนก็ได้รับพระราชอุปถัมภ์จากท้าวเธอ
ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงให้มียศศักดิ์ จึงยอมสมัครระงับเวร
ถวายพระชนม์แด่พระเจ้าพรหมทัตต์
สองกษัตริย์สมัครสโมสรร่วมสามัตตีเป็นไมตรีกัน
ทีฆาวุกุมารได้ราชสมบัติคืนพร้อมทั้งพระราชธิดา
ภายหลังได้ครองแคว้นกาสีอีกด้วย

ทีฆาวุกุมารอดกลั้นความแค้นไว้ได้
ไม่ทำร้ายพระเจ้าพรหมทัตต์ในเมื่อมีโอกาสทำได้ถนัด
จัดว่าไม่ประทุษร้ายมิตร
แม้พระเจ้าพรหมทัตต์จะเป็นศัตรูอยู่ก่อน
แต่ภายหลังได้ทรงอุปถัมภ์ก็จัดว่าเป็นมิตร
อาศัยคุณข้อนี้พระราชกุมารจึงเป็นที่รังเกียจของพระเจ้าพรหมทัตต์
ชาวกาสิกรัฐซึ่งเป็นอมิตรก็กลับจิตเป็นไมตรีทั่วรัฐมณฑล
จัดว่าไม่เป็นที่รังเกียจของเจ้านายและล่วงอมิตรได้

บุคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรย่อมได้ความยินดีปรีดาในสภาที่ประชุม
เพราะมีผู้นิยมต้อนรับนับถือ ไม่ต้องโกรธกลับมาเรือนตน
เป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งหมู่ชนผู้เป็นญาติด้วย
สามารถเชิดชูให้มีเกียรติ
ทีฆาวุกุมารได้รับความนิยมยกย่องนับถือในสภาของกาสิกรัฐ
กลับไปสู่บุรีของตนโดยกมลชื่นบาน
เชิดชูเกียรติของชาวโกศลทั่วรัฐมณฑล
จัดว่าเป็นผลของมิตรธรรมในคาถานี้

๑. สักการะเขาแล้วย่อมเป็นผู้ที่เขาสักการะตอบ
๒. เคารพเขาแล้วเป็นผู้ที่เขาเคารพ
๓. บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมได้รับการยกย่องและเกียรติคุณ

ทีฆาวุกุมารสักการะเคารพพระเจ้าพรหมทัตต์
โดยถวายพระชนม์ชีพและประพฤติตนอ่อนน้อม
เหมือนดังก่อนพระเจ้าพรหมทัตต์ก็พระราชทานอภัย
ทรงยกย่องให้มีเกียรติในคณะอำมาตย์ราชเสวกของพระองค์
เป็นอันว่าได้สักการะตอบ
ได้เคารพตอบได้รับการยกย่องและเกียรติคุณอย่างสูง


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกเรื่องหนึ่ง เศรษฐีในเมืองพาราณสีคิดจะค้าไม้จันทร์
เป็นสินค้าจำหน่าย จึงเอาผ้าและอาภรณ์จำนวนมาก
บรรทุกเกวียน ๕00 เล่มไปถึงปัจจันตคาม
สืบถามได้ความว่า มีบุรุษผู้หนึ่งบ้านอยู่ ณ เชิงเขา
ได้ทั้งชื่อของเขารวมทั้งภรรยาและบุตรธิดาของเขา
จึงไปบ้านนั้นโดยอาการแห่งคนคุ้นเคยกัน
เวลานั้นสามีไปป่า แต่ภรรยาทักทายปราศรัยแบบกันเอง
ให้การรับรองต้อนรับโดยเข้าใจว่าเป็นญาติ
เศรษฐีพอนั่งก็ถามว่าสหายของเราไปไหน
เมื่อเขาตอบว่าไปป่าก็ถามถึงบุตรธิดาต่อไป
ระบุชื่อได้ทุกคนแล้วมอบผ้าและอาภรณ์ให้หญิงนั้น
แล้วสั่งว่านี่ให้บุตรของท่านชื่อนั้น
นี่ให้ธิดาของท่านชื่อนี้ นี่จึงใหแก่สหายของเรา

พอสามีกลับมาภรรยาก็แจ้งให้ทราบทุกประการ
บุรุษนั้นก็ทำกิจที่ควรทำโดยฐานมิตรเป็นอย่างดี
ครั้นคุ้นกันสนิทแล้ว เศรษฐีจึงถามว่าเธอเที่ยวอยู่
ณ เชิงเขาพบอะไรเป็นส่วนมาก
เมื่อเขาตอบว่ามีแต่กิ่งแดงเป็นส่วนมาก
จึงให้นำไปตรวจดู เห็นเป็นไม้จันทร์แดงสมประสงค์
ก็ตัดบรรทุกเกวียนเต็มทั้ง ๕00 เล่ม
แล้วบอกบุรุษนั้นให้รู้จักบ้านของตน
สั่งว่าเธอจงไปหาเราเสมอๆ
ของฝากอย่างอื่นเราไม่ต้องการ ต้องการแต่ไม้กิ่งแดงนี้เท่านั้น

บุรุษนั้นนำไม้จันทร์แดงไปหาเศรษฐีเป็นนิตย์
เศรษฐีได้รับรองเป็นอย่างดี และให้ทรัพย์แก่เขาคราวละมากๆ
นับถือกันฉันมิตรสหายตั้งแต่นั้นมา
บุรุษนั้นก็สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ มีผู้คนนิยมนับถือเป็นอันมาก
นี่แสดงให้เห็นว่าสักการะเขาแล้วก็ย่อมเป็นที่สักการะของเขา
เคารพเขาแล้วย่อมเป็นที่เคารพของเขา
อุปถัมภ์กันให้สมบูรณ์ด้วยลาภยศเกียรติคุณ
สำเร็จด้วยคุณข้อนี้ประการหนึ่ง

ผู้บูชาย่อมได้บูชาตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรย่อมได้ยศและชื่อเสียง
ทีฆาวุกุมารบูชาพระเจ้าพรหมทัตต์ด้วยกิริยาที่นับถือโดยสุจริต
พระเจ้าพรหมทัตต์ก็ทรงนับถือพระกุมารอย่างอุกฤษฏ์
เท่าราชวงศ์ของพระองค์
พระราชทานพระราชธิดาและคืนโกศลรัฐให้
เป็นอันได้ว่าบูชาตอบความสมบูรณ์ด้วยเกียรติยศ
เกียรติคุณนั้นสำเร็จด้วยคุณข้อนี้ประการหนึ่ง


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2009, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกเรื่องหนึ่ง คนรับใช้ของท่านจุลกเศรษฐี
ได้อุปเท่ห์คือคำแนะนำจากท่านเศรษฐีนั้น
ประกอบพาณิชยกรรมถูกคราวนิยม
สั่งสมโภคทรัพย์เป็นอันมากขึ้นได้ในไม่ช้า
ท่านว่ามีจำนวนสองแสนกษาปณ์
เธอนึกเห็นว่าเป็นลาภได้เพราะท่านเศรษฐีนี้
จัดเป็นกตัญญูรู้คุณท่าน
เธอแบ่งทรัพย์นั้นให้ท่านเศรษฐีแสนหนึ่งเพื่อบูชาอุปการะคุณท่าน
และแจ้งให้ท่านทราบตั้งแต่ต้นเป็นลำดับมา
นี้จัดเป็นกตเวทีทำอุปการะคุณของท่านให้ปรากฏ
ท่านเศรษฐีเห็นคุณความดีของเธอทั้งปํญญา
ความเพียรและอัธยาศัย
จึงยกธิดาของตนให้เป็นภรรยากับทรัพย์อีกสองแสน
เมื่อเศรษฐีสิ้นชีวิตไปเธอได้เป็นเศรษฐีใหญ่ในพระนครพาราณสี
นี้สาธกให้เห็นว่า ผู้บูชาย่อมได้บูชาตอบ
ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ
ได้เกียรติคุณเพราะความซื่อตรงต่อมิตร
บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตรย่อมรุ่งเรืองดุจไฟ
ย่อมไพโรจน์ดุจเทวดา สิริคือมิ่งขวัญย่อมไม่ละเขา

บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร
จำรูญพูนย่อมเกิดแก่เขาพืชพันธุ์ที่หว่านในนาของเขา
ย่อมงอกงามจำเริญ เขาย่อมได้บริโภคผลแห่งพันธุ์ที่หว่านแล้ว
ดังตัวอย่างที่สาธกมา
ทีฆาวุกุมารแม้เสียบ้านเมืองแล้วก็ยังได้คืน
และกลับได้แคว้นกาสีเป็นรัฐสมบัติ
ข้อนี้เปรียบได้ดังภาษิต บุคคลไม่ประทุษร้ายมิตร
แม้ตกเหวหรือตกเขา หรืออับปาง ย่อมได้ที่พำนักไม่ตกอับ

บุคคลไม่ประทุษร้ายมิตร ศัตรูหมู่อมิตรไม่อาจย่ำยีได้
ดุจไม้ไทรมีรากและย่านอันงอกงาม
พายุไม่อาจพัดพานให้ล้มไปได้ฉะนั้น
โดยนัยนี้ให้ความหมายว่า บุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร

มิตรและการเข้าใจอุบายสงเคราะห์มิตร
ย่อมเป็นที่รักของประชาชน มีพวกพ้องมาก
ผู้น้อยเป็นที่รักของท่านผู้ใหญ่ก็จะได้รับความอุปถัมภ์ค้ำชู
คนที่เสมอกันค่างก็จะได้อาศัยกัน
ท่านผู้ใหญ่เล่าก็จะได้ผู้น้อยไว้เป็นกำลัง
แม้กิจเกิดขึ้นก็จะตั้งใจทำให้สำเร็จด้วยความภักดี
สามัคคีคือความพร้อมเพรียงทั้งกายและจิต
ก็ย่อมเป็นไปเพราะความรักใคร่เป็นที่ตั้ง
เมื่อเกิดขึ้นในหมู่ใดก็ย่อมมีความเจริญให้เป็นไปในหมู่นั้น
สมด้วยภาษิตว่า พวกที่หาพวกพ้องมิได้ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้
เหมือนต้นไม้ที่ไร้ราก ไร้กิ่ง ทนพายุได้ฉะนั้น
คุณคือความมีพรรพวกมากเป็นกำลังเครื่องตั้งมั่นของตน
เหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงมั่นในพสุธา
ตั้งลำต้น แตกสาขางอกงามวัฒนา
พายุมาทั้ง ๘ ทิศก็ไม่อาจให้ล้มไปได้ฉะนั้น

ความซื่อตรงต่อมิตร เว้นประทุษจิต
ไม่คิดทำลายเป็นคุณอำนวยสุขสมบัติอัฐวิบูลผล
ตามภาษิตนิพนธ์ของพระเตมิยโพธิสัตว์
มีอรรถาธิบายดังที่ได้วิสัชนามา


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีผู้ใดอยุ่ได้เพียงลำพังบนโลกแห่งวัฏฏะสงสารนี้


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 73 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร