วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

กิ เ ล ส แ ล ะ ก า ร ดั บ กิ เ ล ส
อาจารย์สำรวม สุทธิสาคร
มูลนิธิพุทธศาสนศึกษา วัดบุรณศิริมาตยาราม


คนส่วนใหญ่จะเคยได้ยินคำว่า “กิเลส”
และรับรู้ในความหมายว่าเป็นของไม่ดี
เป็นความทุกข์ และให้ผลเป็นความทุกข์

แต่อาจไม่รู้เลยว่าชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวันของตัวเอง
เป็นไปด้วยอำนาจกิเลสโดยมาก


ความรู้สึกเป็นทุกข์ ความไม่สบายใจ
ความเร่าร้อน ความหงุดหงิด กังวลใจ
ล้วนเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสทั้งสิ้น

ถ้าท่านได้ปฏิบัติธรรม หรือเจริญกุศล
เห็นความสุขอันเนื่องจากกุศลที่ชัดเจนด้วยตัวเองแล้ว
ท่านจะรู้สึกว่ากิเลสเป็นความทุกข์ ความเร่าร้อนจริง


สาระจากพระอภิธรรม ฉบับนี้จะกล่าวถึง
เรื่องของกิเลส และการดับกิเลส
กิเลสเป็นหมวดอกุศลธรรมหมวดหนึ่ง
ที่มีลักษณะเศร้าหมองเร่าร้อน มี ๑๐ ประการ คือ

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. โลภกิเลส

เป็นภาวะของจิตที่มีความเศร้าหมอง เร่าร้อน
เพราะความยินดี พอใจ ชอบในในอารมณ์

คือ ภาพที่เห็นทางตา เสียงที่ได้ยินทางหู
กลิ่นที่ได้รับทางจมูกรสที่ได้รับจากลิ้น
สัมผัสที่ได้รับประทบทางกาย
และเรื่องราวที่รู้สึกนึกคิดทางใจ

ลองฝึกเป็นคนมองเห็นอะไร ได้ยินอะไรแล้ว
ไม่เข้าไปปรุงแต่ง ทำให้เกิดความรู้สึกยินดี พอใจ ชอบใจ
แต่เข้าไปรู้ของสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินตาม
ความเป็นจริงของเรื่องราวที่มีอยู่ ที่เป็นอยู่
จะพบลักษณะของจิตใจที่สงบ สบาย ไม่เร่าร้อน ไม่เศร้าหมอง

ลองฝึกเป็นคนให้ ไม่มักมาก ไม่โลภมาก
รู้จักพอ รู้จักแบ่งปัน สละบริจาค
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขต่อผู้อื่น
ยิ่งทำมากเท่าไร ทำกว้างออกไปมากเท่าไร
จิตใจจะรู้สึกเป็นสุขมากเท่านั้น

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. โทสกิเลส

คือภาวะของจิตใจที่มีความเศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะไม่ชอบใจ ไม่พอใจในอารมณ์ ๖

คือภาพที่เห็นทางตา เสียงที่ได้ยินทางหู
กลิ่นที่ได้รับทางจมูก
รสที่ได้รับทางลิ้น สัมผัสที่ได้รับกระทบทางกาย
และเรื่องราวที่รู้สึกนึกคิดทางใจ

เราลองฝึกเป็นคนที่มองเห็นอะไร ได้ยินอะไร
แล้วไม่เข้าไปปรุงแต่ง ไม่ไปทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่พอใจ
โกรธเคือง จนถึงอาฆาตพยาบาท

ให้เข้าไปรู้สิ่งที่เห็น สิ่งที่ยิน
ตามความเป็นจริงของเรื่องราวที่มีอยู่
เราจะพบลักษณะของจิตใจที่เบาสบาย ไม่เร่าร้อนไม่เศร้าหมอง

ลองฝึกเป็นคนรัก และมีเมตตาต่อผู้อื่น
มองผู้อื่นเป็นพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย
มีขันธ์ ๕ เป็นภาระที่ต้องดูแล
ซึ่งทุกคนจะต้องพบความทุกข์เหล่านี้

เราจะไม่เป็นผู้ไปเบียดเบียนให้ผู้อื่นทุกข์ยิ่งขึ้น
แต่จะตั้งจิตรัก และปรารถนาดีต่อผู้อื่น
มีสิ่งใดที่ช่วยเหลือได้ก็จะยินดีช่วย
เราก็จะพบว่าจิตใจก็จะเป็นสุขเบาสบาย

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. โมหกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะมีความลุ่มหลง มัวเมา ไม่รู้สึกตัว ปราศจากสติ สัมปชัญญะ

เมื่อรับการกระทบกับอารมณ์ ๖
คือภาพที่เห็นทางตา เสียงที่ได้ยินทางหู
กลิ่นที่ได้รับทางจมูก รสที่ได้รับทางลิ้น
สัมผสที่ไดัรับกระทบทางกาย และเรื่องราวที่รู้สึกนึกคิดทางใจ

ลักษณะของโมหะกิเลส
จะสังเกตเห็นเป็นความทุกข์ความเร่าร้อนได้ยาก
ต่างจากโลภกิเลส และโทสกิเลส


ลองฝึกสติให้มีความรู้ตัว
สัมปชัญญะให้รู้สิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริงบ่อยๆ
จะพบความสุขของจิต และความรู้เท่าทันความเป็นจริงของชีวิต


ความเป็นไปของนามรูป ซึ่งจะทำให้ไม่ประมาทในชีวิต
ไม่ทุกข์เมื่อชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าจิตใจโปร่งเบาและมีความสุข


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. มานะกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง
ซึ่งอาจมาจากการรับรู้ การนึกคิดเอาเอง

ลองฝึกเป็นคนอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง ไม่โอ้อวด
มองเห็นและยกย่องความดี ความสามารถของผู้อื่นเสมอ
ท่านจะพบความสุขของจิต

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. ทิฏฐิกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง
ซึ่งอาจมาจากการรับรู้ การนึกคิดเอาเอง

ลองฝึกมองสิ่งที่อยู่รอบตัว
มองอย่างรอบด้าน ไม่เชื่อเร็ว เชื่อง่าย
เชื่อสิ่งที่ตรงกับความเห็นของตนเองที่เคยเชื่อ
รู้จักใคร่ครวญด้วยสติปัญญา รู้จักรับรู้รับฟังผู้อื่น
เปิดโลกทัศน์ตัวเองให้กว้างออกไป

ความเห็นที่ผิดไปจากความจริง
ก็จะเริ่มมีความถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. วิจิกิจฉากิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นต้น
ไม่ปักใจเชื่อ แต่ก็ไม่ปฏิเสธสิ่งที่ยังไม่รู้ว่ามีจริง

ลองฝึกปฏิบติตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งจะทำให้เข้าไปรู้ เข้าไปเห็นตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้
จะเป็นในเรื่อง ทาน ศีล สมาธิ หรือปัญญา ก็ตาม
และเมื่อปฏิบัติจนประจักษ์แจ้งจนถึงมรรคผล นิพพานแล้ว
ความสงสัยนี้จะหมดไป

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. ถีนกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความหดหู่ท้อถอยจากความพากเพียร
มีความเกียจคร้านในการที่จะทำสิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นกุศล

ลองตั้งเป้าหมายของสิ่งที่ต้องการจะไปให้ถึง
พิจารณาเส้นทางที่เดินไป ปัญหาอุปสรรคและการแก้ไข
ซึ่งจะทำให้เอาชนะถีนกิเลส และพบความสุข
จากการประสบความสำเร็จอันกิดจากความเพียรได้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๘. อุทธัจจะกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ เรื่องราวต่างๆ
ซึ่งบางครั้งอาจทำให้นอนไม่หลับ ไม่มีจิตใจในการทำงาน
ลองฝึกสติกับการทำงานในชีวิตประจำวัน
อยู่กับอิริยาบถ อยู่กับงานที่ทำ

ถ้าฟุ้งไปก็น้อมกลับมาที่ตัว มาที่งานที่กำลังทำ
อยู่ในปัจจุบันที่เป็นอยู่เสมอๆ จะทำให้ความฟุ้งลดลง

ลองฝึกสมาธิฝึกจิตให้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะเวลาหนึ่ง
ใช้ลมหายใจการนับลูกประคำ
หรือแม้แต่การสวดมนต์ตอนเช้า หรือก่อนนอนก็ได้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๙. อหิริกกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะไม่ละอายในการกระทำบาป

ถ้าการกระทำบาป
เกิดจากการไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นบาป สิ่งใดเป็นบุญ
ก็ต้องศึกษาหาความรู้ก่อนเป็นเบื้องต้น

เมื่อรู้แล้ว หมั่นรู้สึกละอายต่อตัวเองเมื่อเห็นตัวเองทำไม่ดี
รู้จักสอนว่ากล่าวตัวเองอยู่เสมอ
และเมื่อรู้แล้วก็ต้องฝึกหมั่นยับยั้งชั่งใจในการทำสิ่งที่ไม่ดีด้วย

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๐. อโนตตัปปะกิเลส

คือภาวะของจิตที่เศร้าหมองเร่าร้อน
เพราะความไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทำบาป
การทำบาปที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเพราะไม่กลัวบาป
เนื่องจากไม่เชื่อหรือไม่เคยเห็น

ลองมองความเป็นไปของชีวิตตนเอง
และผู้อื่นที่ต้องรับผลที่ตนเคยทำ
ซึ่งมีกรรมจำนวนไม่น้อยที่เห็นผลได้ในชาตินี้

ลองสังเกตความทุกข์ทรมานที่ได้รับ
ซึ่งจะทำให้มีความเกรงกลัวมากขึ้น

แล้วลองค่อยๆลดการทำบาปลง
ก็จะทำให้พบความสุขของชีวิตมากขึ้น

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


ลองมองความเป็นไปของชีวิตตนเอง
และผู้อื่นที่ต้องรับผลที่ตนเคยทำ
ซึ่งมีกรรมจำนวนไม่น้อยที่เห็นผลได้ในชาตินี้

ลองสังเกตความทุกข์ทรมานที่ได้รับ
ซึ่งจะทำให้มีความเกรงกลัวมากขึ้น
แล้วลองค่อยๆ ลดการทำบาปลง
ก็จะทำให้พบความสุขของชีวิตมากขึ้น

เราจะไม่รู้หรอกว่าเราทุกข์เพราะกิเลส

ลองปฏิบัติธรรมที่ดับกิเลส ธรรมที่ตรงข้ามกับกิเลส
ก็จะพบว่ากิเลสเป็น ความทุกข์ ความเร่าร่อน จริง


กิเลสยังอาจจะจำแนกตามลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ออกเป็น ประเภทคือ

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. กิเลสอย่างหยาบ เรียกว่า วีตกมกิเลส

เป็นกิเลสที่แสดงออกมาทางกาย และวาจา

การแสดงออกมาทางกาย
เช่น การทำร้าย การฆ่าคนด้วยความโกรธ
เมื่อไม่พอใจ เมื่อกระทบกับอารมณ์เรื่องราวที่ไม่เป็นที่ถูกใจ

การแสดงออกมาทางวาจา
เช่นที่การพูดโกหก ให้ผู้ฟังเชื่อในสิ่งที่ไม่ตรงกับความจริง
พูดหยาบคายด้วยความโกรธความไม่พอใจ
เมื่อได้รับกระทบกับสิ่งที่ไม่พอใจ

พูดยุยงให้เกิดความแตกแยก
พูดเรื่องราวไร้สาระไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

การควบคุมกิเลสอย่างหยาบนี้
จะควบคุมได้ด้วยการรักษาศีล คือ การสมาทานรักษาศีล
หรือตั้งใจที่จะสำรวมการกระทำ กระทำสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม


สำรวมวาจาในการพูด มีสติ คิดพิจารณาก่อนที่จะพูด
ก่อนที่จะทำ รู้จักยังยั้งการพูด การกระทำที่ไม่ดี

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. กิเลสอย่างกลาง เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส

คือกิเลสที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมอยู่ในจิตใจ

เมื่อกระทบกับสิ่งที่พอใจ ก็จะทำให้จิตใจเร่าร้อน กระวนกระวายด้วยความอยากได้
ถ้ากระทบกับสิ่งที่ไม่พอใจ ก็จะทำให้เร่าร่อนกระวนกระวายด้วยความโกรธ
ความหงุดหงิด พยาบาท อาฆาตแค้น เป็นต้น

การควบคุมกิเลสอย่างกลางนี้
จะควบคุมและกำจัดได้ด้วยอำนาจของสมาธิ
ทำจิตให้สงบนิ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ลมหายใจ เพ่งสี เป็นต้น


เมื่อจิตอยู่กับสิ่งที่เพ่งก็จะไม่ส่งออกในสิ่งที่ทำให้เร่าร้อน ก็จะทำให้รู้สึกสงบสุขได้

(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. กิเลสอย่างละเอียด เรียกว่า อนุสัยกิเลส

เป็นกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องในขันธสันดาน

ในการดำเนินชีวิตอันเป็นปกติของคน
ซึ่งผู้ที่ไม่สังเกต หรือพิจารณาด้วยปัญญาอย่างแยบคาย
จะไม่รู้ถึงความทุกข์อันเกิดจากกิเลสประเภทนี้เลย


จึงต่างจากกิเลส ๒ ประเภทที่กล่าวมาแล้ว
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะทำใหผู้นั้นรู้สึกทุกข์ เร่าร้อน เศร้าหมอง รู้ง่าย

แต่กิเลสอย่างละเอียด เมื่อเกิดขึ้นจะรู้ได้ยาก
ซึ่งจะนอนเนื่องในขันธสันดาน


ในการรับประทานอาหาร คนทั่วไปจะรับประทานตามความอยาก
ความพอใจ ความคุ้นเคย
ซึ่งถ้าไม่พิจารณาก่อนให้ถูกต้อง จะไม่รู้ว่าเรากำลังด้วยกิเลส
ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่อง
ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา

ถ้าเรารับประทานอย่างมีสติ ปัญญา
จะเห็นว่าความหิว ความอ่อนเพลีย ความไม่มีแรง
เป็นความทุกข์ ความไม่สบาย

การรับประทานจะเป็นไปเพื่อบำบัดทุกข์ให้หมดไป
เพื่อให้ร่างกายตั้งอยู่ได้ เพื่อเจริญกุศล ทำความดีต่อไป


เมื่อทำอะไรอยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ จะรู้สึกทุกข์
แล้วก็ต้องเปลี่ยนอิริยาบถใหม่โดยไม่รู้ตัว เพื่อต้องการให้สุขสบาย
เช่น การนั่งเหยียดขา การนั่งคู้ขา
ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสละเอียด
คือความไม่รู้ และความต้องการความสุข

แต่ถ้ามีสติ ปัญญาในการเปลี่ยนอิริยาบถย่อย
จะใช้อิริยาบถใหม่พิจารณาก่อนว่า
จะใช้อิริยาบถใดเพื่อแก้ไขทุกข์จากอิริยาบถ
เมื่อพิจารณาแล้วจึงเปลี่ยนไป


(มีต่อ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร