ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
มนุษย์ที่แท้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=23897 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ningnong [ 15 ก.ค. 2009, 15:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | มนุษย์ที่แท้ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มนุษย์ที่แท้ มนุสฺโสสิ ? คุณเป็นมนุษย์ใช่ไหม ? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ตามคติทางพุทธศาสนาต้องสำรวจดูตัวเองว่า มีคุณสมบัติที่พอจะเป็นมนุษย์ได้หรือไม่ อะไรคือความหมายที่แท้จริงของมนุษย์ และจะเริ่มต้นเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงได้อย่างไร เรื่องนี้นับเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคปัจจุบัน แปลตามตัวอักษร จะเป็นมนุษย์ได้เพราะมีใจสูงและดีงาม (มน + อุสฺส = มนุสฺโส) ดังที่ท่านพุทธทาสได้ให้ความ หมายเป็นคำกลอนไว้ว่า เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง เหมือนนกยูง มีดี ที่แววขน ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา การเป็นมนุษย์จึงอยู่ที่จิตใจเป็นหลัก ตามหลักพุทธศาสนา การมีศีล ๕ เป็นการเริ่มต้นพัฒนาจิตใจสู่ความเป็นมนุษย์ เพื่อให้เหมาะสมกับการที่มีรูปกายเป็นมนุษย์ การรักษาศีล ๕ จึงเป็นหน้าที่ทางจริยธรรมเบื้องต้นสำหรับมนุษย์ เพื่อความเป็นมนุษย์ที่แท้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การตอบสนองทางร่างกายที่มนุษย์กับสัตว์ต้องการเหมือนกัน คือ การกิน การนอน การสืบพันธุ์ การหลีกหนีภัยที่จะมาถึงตัว แต่สิ่งที่จะทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ทั่วไปนั้น พุทธศาสนาเห็นว่ามนุษย์ต้องไม่เป็นไปตามความอยากอันไม่มีขอบเขตของตน กล่าวคือ เรื่องการกินหรือการทำมาหากินมนุษย์ต้องรู้จักหลัก โภชเนมัตตัญญุตา คือรู้จักประมาณในการบริโภค ส่วนการทำมาหากิน ต้องไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ คือต้องมี สัมมาอาชีวะ เรื่องการนอน มนุษย์ตามนัยพุทธศาสนา ต้องไม่ตกเป็นทาสของความง่วงเหงาหาวนอน เซื่องซึม หรือ ถีนมิทธะ ซึ่งเรียกว่า นิวรณ์ อันเป็นสิ่งปิดกั้นมิให้มนุษย์พัฒนาตนเอง มนุษย์ต้องมีหลัก ชาคริยานุโยค คือรู้จักตื่นอยู่เสมอ และนอนพอประมาณ เรื่องการสืบพันธุ์ มนุษย์จะต้องไม่ตกเป็นทาสของกามตัณหาอย่างไม่มีขอบเขต โดยทั่วไป จะต้องมีหลัก สทารสันโดษ คือ ยินดีเฉพาะภรรยาหรือสามีของตนเอง และไม่หมกมุ่นในกามจนเกินไป ส่วนเรื่องการหลีกหนีภัย หรือหวาดกลัว มนุษย์จะต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น ไม่ตื่นกลัวโดยไม่พินิจพิเคราะห์ หรือมีสัญชาตญาณหนีภัยเป็นฝูง ๆ แบบสัตว์ ที่เรียกว่าสัญชาตญาณฝูง มนุษย์จะต้องไม่เห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ของตัว จนทำให้ขาดหลักจริยธรรม กล่าวคือมนุษย์จะต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม คุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ การกิน การนอน การสืบพันธุ์ และการหลีกหนีภัยของมนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไป และเป็นการยกระดับพฤติกรรมเหล่านี้ขึ้นเป็นมนุษย์ซึ่งมีมโนสำนึกทางศีลธรรม กลับมาสู่เรื่อจิตใจ ซึ่งคติทางพุทธศาสนาเห็นว่า คุณลักษณะของจิตใจที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ ต้องมี ๓ ประการ ย่อ ๆ คือ ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ถ้ามีใจสะอาด สว่าง สงบมาก ก็แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นมนุษย์มาก ถ้ามีน้อย ก็แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นมนุษย์น้อย ดังที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวไว้เป็นกลอนว่า ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา เปรมปรีดา คืนวัน สุขสันต์จริง มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับจิตใจของมนุษย์อยู่มากมาย เบื้องต้นได้แก่ จิตใจที่ละโมบโลภมาก หิวโหยอยู่ตลอดเวลา หรือมีความต้องการแบบไม่มีขอบเขต ลักษณะเช่นนี้พุทธศาสนาเรียกว่า จิตใจแบบเปรต ซึ่งไม่รู้จักอิ่ม หิวโหยอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ไม่สามารถตอบสนองความอยากได้ เพราะเปรตมีปากเท่ารูเข็ม แต่มีท้องใหญ่เท่าภูเขา (ความจริง เปรตมีหลายประเภท) จิตใจอย่างเปรตจึงน่าสงสารและน่าสมเพชมาก ปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อที่กระตุ้นมนุษย์เกิดความต้องการอยู่ตลอดเวลา น่าสงสัยว่า มีส่วนส่งเสริมจิตใจแบบเปรตแก่มนุษย์หรือไม่ ลักษณะจิตใจอีกแบบหนึ่ง ที่สืบเนื่องมาจากจิตใจแบบเปรต คือจิตใจแบบอสุรกาย ซึ่งหมายถึงจิตใจที่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม (อสุร แปลว่า ไม่กล้าหาญ) กล่าวคือ เมื่อมีความอยาก หิวโหยในลาภผล ทำให้เกิดอกุศลอื่น ๆ ตามมามากมาย เช่น ความดุร้าย หวงแหน แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น แสดงอำนาจยึดครองเอาทรัพย์สินผู้อื่น โดยอุบายต่าง ๆ อาการดังกล่าวเป็นการตอบสนอง อารมณ์หรือจิตใจแบบเปรตนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล สังคม หรือระดับโลก เรามักจะเห็นการแสดงอาการของอสุรกายอยู่เสมอ เช่น ดุร้าย หวงแหน หรือพยาบาทริษยา เป็นต้น อาการเหล่านี้ไม่ใช่ความกล้าหาญตามหลักพุทธศาสนา แต่เป็นอาการของความขี้ขลาด เพราะยอมตกเป็นทาสของจิตใจแบบเปรต ฉะนั้น สิ่งที่จำเป็นสำหรับจิตใจแบบนี้ คือความกล้าหาญทางจริยธรรม ในเบื้องต้นอาจหมายถึง การกล้าทวนกระแสโลกที่มุ่งสร้างจิตใจแบบเปรตให้มนุษย์ แล้วหันมาทบทวนพฤติกรรมทางจริยธรรมของตน เพื่อคว้าเอาความเป็นมนุษย์มาครอบครองให้ได้ก่อนที่จะสายเกินไป มนุสฺโสสิ ? คุณเป็นมนุษย์ใช่ไหม ? (จากหนังสือมนุษย์ที่แท้ เรียบเรียงโดย เทพพร มังธานี) ![]() ![]() ![]() เจริญในธรรมครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ningnong [ 15 ก.ค. 2009, 21:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มนุษย์ที่แท้ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() นอกจากมนุษย์แบบเปรต และมนุษย์แบบอสุรกายที่ถือว่าเป็นได้เพียงครึ่งหนึ่งของมนุษย์แล้ว ยังมีมนุษย์ทำนองเดียวกันนี้อีก ๒ ประเภท คือ ๑. มนุสฺสติรจฺฉาโน คือ ผู้ที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่พฤติกรรมเหมือนสัตว์เดียรัจฉาน ๒. มนุสฺสเนรยิโก คือ ผู้ที่มีร่างกายเป็นมนุษย์ แต่มีพฤติกรรมเหมือนสัตว์นรก คือ โหดร้าย ทารุณ เป็นต้น ส่วนมนุษย์ที่แท้ เรียกว่า มนุสฺสภูโต มีวิธีปฏิบัติและคุณลักษณะของจิตใจเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ - มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี - มีจิตใจที่มีเมตตา กรุณา เอ็นดูสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น - มีจิตใจที่รู้จักประมาณ ในเรื่องการกิน การนอน การสืบพันธุ์ เป็นต้น - มีจิตใจที่ซื่อตรง จริงใจ - มีจิตใจที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ รู้ตัวทั่วพร้อมในสิ่งที่ทำ คำที่พูด และเรื่องราวที่คิดเสมอ ศีล ๕ สู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้ - ศีลข้อหนึ่ง เพื่อยกระดับพฤติกรรมและจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการเว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มุ่งผูกมิตรและแผ่เมตตาในสรรพสัตว์ทุกจำพวก - ศีลข้อสอง เพื่อยกระดับพฤติกรรมและจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการไม่ถือเอาสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มุ่งให้เกิดสัมมาชีพ คือการเลี้ยงชีวิตในทางที่ถูกต้อง เว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกันทุก ๆ กรณี - ศีลข้อสาม เพื่อยกระดับพฤติกรรมและจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดของรักของหวงของผู้อื่น มุ่งป้องกันมิให้เกิดความแตกร้าว และพยาบาทจองเวรกัน ทำให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน - ศีลข้อสี่ เพื่อยกระดับพฤติกรรมและจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการไม่กล่าวเท็จ ทำลายผลประโยชน์ของผู้อื่นด้วยวาจา มุ่งให้เกิดวจีสุจริตในสังคม ไม่กระทบกระทั่งกันทางวาจา - ศีลข้อห้า เพื่อยกระดับพฤติกรรมและจิตใจให้สูงขึ้น ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา เพื่อรักษาสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ มิให้เผลอล่วงละเมิดทั้ง สี่ข้อข้างต้น ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล เพื่อบรรเทาความลุ่มหลงในโลกียสุข - ศีลข้อสาม ไม่ประพฤติสิ่งที่ไม่ใช่พรหมจรรย์ คือ งดเว้นจากการร่วมประเวณี เพื่อฝึกจิตใจให้รู้จักละวางความสุขแบบโลกิยะ รู้จักแสวงหาความสุขที่ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไป - ศีลข้อหก เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล เพื่อปลดเปลื้องภาระและความกังวลในเรื่องอาหาร มีเวลาไตร่ตรองความเป็นไปของชีวิตตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น - ศีลข้อเจ็ด เว้นจากการแสวงหาความสุขจากสิ่งบันเทิงใจต่าง ๆ ให้รู้จักปลีกตัวออกจากความบันเทิง อันเป็นเหตุยั่วยุให้ฟุ้งเฟ้อ และหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์ - ศีลข้อแปด เว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ ที่นุ่มนวล เพื่อไม่ให้ติดอยู่ในสุขแบบโลกิยะ ป้องกันมิให้เป็นทาสของโลกีย์ตลอดไป อนึ่ง ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับคฤหัสถ์สมาทานเป็นครั้งคราว เพื่อหาเวลาปลีกตัวอยู่อย่างสงบ ให้มีโอกาสพิจารณาความเป็นจริงของชีวิตมากขึ้น ตามคติทางพุทธศาสนา มนุษย์จะต้องรู้จักพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม หมั่นตรวจสอบ และแก้ไขความผิดพลาดทางจริยธรรมของตนเอง ตลอดถึงหมั่นพิจารณาตนเองเสมอว่า สามารถตอบคำถามข้างล่างนี้ได้ดีเพียงใด มนุสฺโสสิ ? คุณเป็นมนุษย์ใช่ไหม ? ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เจริญในธรรมครับ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Bwitch [ 16 ก.ค. 2009, 23:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มนุษย์ที่แท้ |
![]() |
เจ้าของ: | damjao [ 05 ส.ค. 2009, 11:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มนุษย์ที่แท้ |
มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายอื่น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ ได้แก่ สิกขา หรือ การศึกษา คือการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา มนุษย์ที่ฝึก ศึกษา หรือพัฒนาแล้ว ชื่อว่าเป็น " สัตว์ประเสริฐ" เป็นผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมดำรงอยู่ในสันติสุขโดยสวัสดี หลักประกันของชีวิตที่จะพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐอย่างแท้จริง ดังนี้ 1.กัลยาณมิตตตา มีกัลยาณมิตร แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี 2.สีลสัมปทา ทำศีลให้ถึงพร้อม มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต 3.ฉันทสัมปทา ทำฉันทะให้ถึงพร้อม มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ 4.อัตตสัมปทา ทำตนให้ถึงพร้อม มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้ ด้วยการพัฒนาที่พร้อมทุกด้าน ทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา ![]() |
เจ้าของ: | bbb [ 27 ต.ค. 2009, 13:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มนุษย์ที่แท้ |
อนุโมทนาครับ... ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |