วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 02:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ขอบคุณรูปภาพจาก... thaicomment.com , hi5-chat.com

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: บุญกริยาวัตถุ ๑๐

:b48: ๑. ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ปันสิ่งของ

ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ปันสิ่งของ


"ทาน" คือการให้ การสละ การเผื่อแผยแบ่งปัน วัตถุที่ควรให้ ได้แก่ วัตถุ ๑๐ อย่าง
คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย และประทีปโคมไฟ
ให้ด้วยการบูชาคุณ ความดี คือ ถวายแก่สงฆ์ หรือให้ด้วยเมตตา
โดยอนุเคราะห์แก่ผู้ยากไร้ ขาดแคลน
ด้วยเจตนาที่ดีทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนจะให้ กำลังให้ และให้ไปแล้ว
ก็ยังมีความชื่นชมยินดีในการให้นั้น โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ
การให้เช่นนี้เป็นทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มาก



ท่านแสดงอานิสงส์ของการให้ "วัตถุทาน" เหล่านี้ว่า

๑. การให้ ข้าว น้ำ ชื่อว่า ให้กำลังวังชาแก่ผู้รับ
๒. การให้ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ชื่อว่า ให้ผิวพรรณวรรณะ
๓. การให้ ยานพาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุข
๔. การให้ ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า ให้ดวงตา
๕. การให้ ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ให้ทุกอย่าง คือ
ให้ทั้งกำลังวังชา ผิวพรรณวรรณะ ความสุข และดวงตา


นอกจากการให้วัตถุสิ่งของเหล่านี้แล้ว การให้ความรู้ศิลปวิทยาต่างๆ
การให้คำแนะนำสั่งสอน ให้แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกที่ควร
หรือแนะนำให้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญกิจที่ดีงาม
ก็นับว่าเป็นทานที่เรียกว่า "ธรรมทาน" ตลอดจนการให้อภัยก็ชื่อ "อภัยทาน"


อานิสงส์ของทานมีมากมาย เพราะเพียงสาดภาชนะลงไปในบ่อน้ำคร่ำ
ด้วยหวังว่าจะให้สัตว์ที่อาศัยในบ่อน้ำครำได้รับเศษอาหารก็ยังได้รับ
อานิสงส์ถึงร้อยชาติ คือเป้นผู้มีวรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณถึงร้อยชาติ เป็นต้น


ทานนั้นนอกจากจะให้ความมั่นคงแก่ผู้ให้แล้ว ยังจัดเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส
คือ ความตระหนี่ให้ออกไปจากจิตใจด้วย หากมีจิตเลื่อมใสในที่ใด
คือมีผู้รับในที่ใดแล้ว แม้สิ่งของที่จะให้นั้นเล็กน้อย ก็ยังมีผลมาก


มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตรข้อ ๗๐๖-๗๑๙ และอรรถกถา
เอกสารแจก วัดพระมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๒. ศีลมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล

" ศีล " คือ ความ ประพฤติที่ดีงาม ความมีระเบียบวินัย และความมีมรรยาทงดงาม

การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย การควบคุมตน ให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน
เว้นจากความชั่วคือ



เว้นจากการฆ่า เว้นจากการใช้ผู้อื่นฆ่า

เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ เว้นจากการขโมย
การละเมิดกรรมสิทธ์ และทำลายทรัพย์สิน

เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการล่วงละเมิดในบุคคลที่ผู้อื่นรักใคร่ หวงแหน

เว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่ตรงต่อความที่เป็นจริง

เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งของความประมาท เว้นจากสิ่งเสพติดทั้งปวง


การงดเว้นจากความชั่วเหล่านี้ ท่านเรียกว่า ศีล ๕ บ้าง สิกขาบท ๕ บ้าง
เบญจศีลบ้าง หรือนิจศีลบ้าง เป็นศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ
คำว่า ศีล มิใช่หมายเพียงความประพฤติที่ดีงาม ทางกาย และทางวาจาเท่านั้น
แต่หมายถึง ว่าจะต้องมีอาชีพสุจริตด้วย


........ศีลของบรรพชิต และศีลของคฤหัสถ์........


ศีลของบรรพชิต ได้แก่ ศีล ๒๒๗ หรือจตุปาริสุทธิศีล สำหรับภิกษุ
. . . . . . . . . . . . . . . . . . ศีล ๑๐ .....สำหรับสามเณร
ศีลของคฤหัสถ์ ได้แก่ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล สำหรับอุบาสก อุบาสิกา
. . . . . . . . . . . . . . . . . . ศีล ๕ หรือ เบญจศีล สำหรับบุคคลทั่วไป


" จตุ ปา ริ สุท ธิ ศีล " เป็นศีลที่บริสุทธิ์ มี ๔ อย่าง คือ


๑. ปา ฏิ โม กข สัง วร ศีล การสำรวมในพระปาฏิโมกข์

๒. อิ น ท ริ ย สัง วร ศีล การสำรวมในอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

๓. อา ชี ว ปา ริ สุ ท ธิ ศีล การเลี้ยงชีพโดยทางที่ชอบ

๔. ปัจ จ ย สั น นิ สิต ศีล การพิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔
คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช


" ศีล อุ โบ สถ " คือ ศีล ๘ ที่อุบาสก อุบาสิกา
รักษาในวันอุโบสถ คือ ขึ้นและแรม ๘, ๑๕ ค่ำ ศีล ๘ ไม่กำหนดวันรักษา คือ รักษาได้ทุกวัน

.......... การรักษาศีล จะต้องมีเจตนาที่จะงดเว้น จากการทำความชั่วทั้งปวง จึงจะเป็น ศีล

ถ้าไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น แม้ผู้นั้นมิได้ทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่ามีศีล
เหมือนเด็กอ่อนที่นอนแบเบาะ แม้จะมิได้ทำความชั่วก็ไม่มีศีล เพราะเด็กไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น



(ข้อความเพิ่มเติมใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต อุโบสถสูตร ข้อ ๕๑๐)


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา

" ภาวนา " แปลว่า การทำให้มีขึ้น ทำให้เกิดขึ้น
ได้แก่ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิดความสงบ ขั้นสมาธิและปัญญา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข้อปฏิบัติไว้ ๒ ประการ
คือ สมถภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา



สมถภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจให้เกิด ความสงบ จนตั้งมั่น เป็นสมาธิ
อารมณ์ อันเป็นที่ตั้ง แห่งการเจริญ สมถภาวนา ชื่อว่า กรรมฐาน มี ๔๐ ประเภท คือ
กสิณ ๑๐ อสุภะ๑๐ อนุสสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา
และจตุธาตุววัฏฐาน(รายละเอียดในวิสุทิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒)


วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรม เจริญปัญญา
ให้เกิดความ รู้แจ้งใน สภาพธรรมที่ เป็นจริง ตามสภาพ ของไตรลักษณ์
คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
กรรมฐาน อันเป็น ที่ตั้ง ของการ เจริญ วิปัสสนา ภาวนา
ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า หนทางปฏิบัติ
เพื่อการ เข้าไป รู้แจ้งลักษณ์ ของ สภาพธรรมทั้ง ๖ ประการ นี้
มีเพียง ทางเดียว ที่จะนำไปสู่ พระนิพพานได้ ทางสายเอกนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔

- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย มี ๑๔ ข้อ

- เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การพิจารณาเห็นเวทนาในเสทนา มี ๙ ข้อ

- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
การพิจารณาเห็นจิตในจิต มี ๑๖ ข้อ

- ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี ๕ ข้อ


สำหรับ การเจริญภาวนา ในขั้น บุญกิริยาวัตถุ นี้
โดยทั่วไป ท่านหมายเอาเพียง มหากุศลธรรมดา
แต่หากว่าผู้ใด ได้ศึกษา ข้อปฏิยัติ ให้มีความเข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติ
แล้วพากเพียรปฏิบัติ ให้ถูกต้อง ตามแนวทาง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้
ก็สามารถเป็นบันได ให้ก้าวไปถึงฌาน หรือมรรคผลได้


(รายละเอียดในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๑๓๑ - ๑๕๒
และทีฆนิกาย มหาวรรค สติปัฏฐานสูตร ข้อ ๒๗๓ - ๓๐๐)


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๔.อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อม

อปจายนะ คือ ความอ่อนน้อม ไม่แข็งกระด้าง ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม
ผู้ที่ขัดเกลาความมานะ และนิสัยกระด้างออกแล้ว
รู้จักบุคคลที่ ควรจะ อ่อนน้อมด้วย ในฐานะใด ในสภาพใด


......สำหรับบุคคลที่ควรจะอ่อนน้อมด้วย มี ๓ ประเภท คือ
...... ๑. วัยวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วย วัย
...... ๒. ชาติวุฒิ ผู้ที่สุงกว่า ด้วยชาติ ตระกูล
...... ๓. คุณวุฒิ ผู้ที่สูงกว่า ด้วยคุณธรรม


. . . . บุคคลผู้มีปกติอ่อนน้อมกราบไหว้ผู้ใหญ่ ย่อมได้รับอานิสงส์ ๔ ประการ
คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ในมงคลสูตร กล่าวว่า
ผู้อ่อนน้อม ถ่อมตน กำจัดมานะ กำจัดความกระด้างได้ ทำตนให้เป็นเสมือนผ้าเช็ดเท้า
เสมอด้วยโคอุสุภะเขาชาด หรือเสมอด้วยงูที่ถอนเขี้ยวแล้ว ท่านตรัสว่า เป็นมงคล



(เอกสารแจก: วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๕.เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายรับใช้

เวยยาวัจจมัย คือ การขวนขวาย ช่วยเหลือ ในธุระ กิจการงานของผู้อื่น
ที่อยู่ในขอบข่ายของศีลและธรรม

เช่น ช่วยเป็นธุระ จัดการในงานบุญ งานกุศล ของส่วนรวม
ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่สังคม หรือ ขวนขวาย ทำกุศลต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เช่น การพยาบาลผู้เจ็บไข้ การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยต่างๆ เป็นต้นว่า ไฟไหม้ ถูกรถชน
ตกน้ำ หรือแม้แต่การชี้บอกทาง การช่วยพาคนข้ามถนน ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นต้น
เหล่านี้ ก็ชื่อว่าเป็นบุญที่ขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่น


. . . . . การสนับสนุนช่วยเหลือในกิจการของส่วนรวม

เช่นการสร้างสะพาน สร้างศาลา สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ขุดสระน้ำ ปลูกต้นไม้
ปลูกสวนป่า อันเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวมก็จัดเป็น เวยยาวัจจะ เช่นกัน
ในคาถาธรรมบท มลวรรค แสดงตัวอย่างเรื่องบุญประเภทนี้ว่า


. . . . . พราหมณ์ผู้หนึ่ง ยืนดูภิกษุผู้ห่มจีวร ณ สถานที่อันเป็น ที่ห่มจีวร ของพระภิกษุ
ก่อนที่จะไปบิณฑบาต พราหมณ์ ได้เห็น ชายจีวร ของภกษุเหล่านั้น เกลือกกลั้ว
หญ้าที่เปียกน้ำค้าง เขาได้ไปถางหญ้าให้พื้นเรียบ วันรุ่งขึ้น เขาเห็น ชายจีวรของพวกภิกษุ
ตกลงบนพื้นดินเกลือกกลั้วฝุ่น เขาก็ไปขนทรายมาเกลี่ยลงในที่เป็นฝุ่นนี้น
ในเวลาที่พวกภิกษุ กลับจาก บิณฑบาต ก่อนจะฉัน ภัตตาหาร ณ ที่นั้น
มีแสงแดดกล้า พราหมณ์ เห็นเหงื่อของภิกษุผู้ห่มจีวรแย่ เขาจึงสร้างมณฑป
คือเรือนยอดที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อให้ร่มเงาแก่ภิกาเหล่านั้น รุ่งขึ้นอีก มีฝนตกพรำ
พราหมณ์นั้นได้สร้างศาลาให้ท่านหลบฝน เขาเป็นผู้ฉลาดขวนขวายหากุศล
นี้ชื่อว่าเป็นบุญในข้อ เวยยาวัจจะ


(เอกสารแจก: วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๖.ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น

. . . . . การทำบุญแล้ว แบ่งส่วนแห่งการทำความดีนั้นให้แก่ผู้อื่น
ให้ผู้อื่นได้มีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย ชื่อว่า "ปัตติทาน"
การแบ่งส่วนบุญนั้น ทำได้หลายประการ เช่น

- แบ่งส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

- อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

- อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่เทวดา ชื่อว่า "เทวตาพลี"



การแบ่งส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

. . . . . นายอันนภาระ เป็นคนขนหญ้าของสุมนเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี
ได้ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า อุปริฏฐะ
ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ ของทานนี้
ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่เรา คำว่า "ไม่มี"
ขออย่าได้มีในภพน้อยภพใหญ่ ที่บังเกิด พระปัจเจกพุทธเจ้า กระทำ
อนุโมทนาว่า "ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จเถิด"


. . . . . เทวดาที่สิงอยู่ในฉัตรของบ้าน สุมนเศรษฐี กล่าวว่า
"น่าชื่นใจจริง ทานของท่านอันนภาระตั้งไว้ดีแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้า"
ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐี ได้ยินดังนั้น จึงถามเทวดา ว่า
"เราถวายทานมาเป็นเวลานานเท่านี้ เหตุไรท่านยังมิเคยให้สาธุการแก่เราเลย"
เทวดาตอบ ว่า "เพราะความเลื่อมใสในบิณฑบาต ที่อันนภาระถวายแล้ว"


. . . . . สุมนเศรษฐี เมื่อรู้เหตุนั้น จึงขอซื้อบุญนั้นกับอันนภาระ
ด้วยทรัพย์ถึงพันกหาปนะ อันนภาระไม่ยอมขาย แต่ได้แบ่งบุญนั้นให้สุมนเศรษฐี
อนุโมทนาด้วยศรัทธา เพราะฟังอุปมาของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า
"ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือทัพพีหนึ่งก็ตาม เมื่อบุคคลนั้น
แบ่งส่วนในทานของตนให้แก่ ผู้อื่น ให้แก่คนมากเท่าใด บุญนั้นย่อมเจริญ
เหมือนเมื่อแบ่งบุญนี้ให้เศรษฐีก็เท่ากับว่าเพิ่มบุญ เป็นสองส่วน
ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเศรษฐี
เปรียบเหมือน ประทีปที่จุดไว้ในเรือนหลังเดียว
เมื่อมีผู้นำประทีปอื่นมาขอต่อไฟ อีกร้อยดวง พันดวงก็ตาม
ประทีปดวงแรก ในเรือนนั้นก็ยังมีแสงสว่างอยู่ และประทีปอีกร้อยดวง พันดวง
ที่ต่อออกไปก็ยิ่งเพิ่มแสงสว่างให้สว่างอีกเป็นทวีคูณ
ดุจบุญที่แม้แบ่งใครๆ แล้ว บุญนั้น ก็ยังมีอยู่มิได้หมดสิ้นไป ฉะนั้น"
(ขุททกนิการ คาถาธรรมบท ภิกขุวรรค เรื่องสุมนสามเณร)


การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

. . . . . ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิกาต ชาณุสโสณีสูตร ข้อ ๑๖๖
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบ ข้อสงสัย ของชาณุสโสณี พราหมณ์ ว่า
ในบรรดา สัตว์ ทั้งหลาย มีสัตวนรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และเปรตทั้งหลาย
มีเปรตจำพวกเดียวที่ได้รับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ เพราะวิสัยของเปรต
ย่อมยังชีพอยู่ด้วยทานที่หมู่ญาติ หรือหมู่มิตรสหายให้ไปจากมนุษย์โลกนี้เท่านั้น
ส่วนสัตว์เหล่าอื่นที่ไม่ได้รับเพราะเหตุว่า


. . . . "สัตว์นรก" มีกรรมเป็นอาหาร มีกรรมเป็นเป็นผู้หล่อเลี้ยงอุปถัมภ์ ให้สัตว์นรกนั้นๆ มีชีวิตอยู่

. . . . "สัตว์เดรัจฉาน" มีชีวิตอยู่ด้วย ข้าว น้ำ หญ้า และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

. . . . "มนุษย์" มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารมี ข้าวสุก และขนม เป็นต้น

. . . . "เทวดา" มีอาหารทิพย์ มิได้บริโภคอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์

. . . . ส่วน "เปรต" นั้น ไม่มีการทำไร่ ไถนา ไม่มีการเลี้ยงโค ไม่มีการค้าขาย เปรต
มีชีวิตอยู่ด้วยการให้ของผู้อื่นแต่อย่างเดียว
เพราะฉะนั้น เปรตจึงอยู่ในฐานะที่จะรับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้


เหมือน พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญที่ได้ถวายทานแล้ว ให้แก่เปรตผู้เป็นญาติสายโลหิต ทั้งหลาย
ที่รอคอย มาเป็นเวลานาน ดังในขุททกนิกายขุททกปาฐะ ติโรกุฑฑสูตร อรรถกถา กล่าวว่า


- ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสาร ถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกิน แล้วทรงอุทิศว่า
ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้น ข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินอันเป็นทิพย์
ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น ให้อิ่มหนำ สำราญ มีอินทรีย์อิ่มเอิบ


- ในขณะที่พระราชานั้น ถวายผ้า และเสนาสนะเป็นต้น แล้วทรงอุทิศว่า
ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์
เครื่องปูลาด และที่นอน อันเป็นทิพย์ บังเกิดขึ้นแล้ว แก่เปรตเหล่านั้น ได้สวมใส่ใช้สอย


- ในขณะที่พระราชา หลั่งน้ำทักษิโณทก (กรวดน้ำ) ทรงอุทิศว่า
ขอทานเหล่านี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุข
ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่พวกเปรตเหล่านั้น ให้ได้อาบ ดื่มกิน
ระงับความกระหายกระวนกระวายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง


การอุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดา เรียกว่า เทวตาพลี

. . . . . ในปรมัตถทีปนี อรรถกถา ปาฏลิคามิยสูตร
แสดงไว้ว่า บุคคลเมื่อถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์แล้ว พึงอุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่เทวดาด้วย
เพราะว่าคนที่อุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดาแล้ว เทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้น
เพราะเทวดาพากันคิดว่า คนเหล่านี้แม้จะมิได้เป็นญาติกับเราก็ยังให้ส่วนบุญแก่เราได้
ฉะนั้น เราควรอนุเคราะห์พวกเขาตามสมควร


. . . . อนึ่งพึงเข้าใจว่า เทวดา เมื่อท่านทราบแล้ว ท่านอนุโมทนากุศลนั้นด้วย
ท่านก็เพียงแต่เกิดกุศลจิตพลอยยินดีด้วยเท่านั้น
ท่านมิได้รับผลของทาน ที่มีผู้อุทิศไปโดยตรง เหมือนอย่างเปรตที่ได้รับ


(เอกสารแจก : วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการยินดี

การอนุโมทนาในส่วนบุญ ที่ผู้อื่นแบ่งให้ หรือพลอยยินดีด้วยในส่วนบุญที่ผู้อื่นกระทำ
ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"



การอนุโมทนาบุญที่มีผู้แบ่งให้


คาถาธรรมบท พราหมณวรรค เรื่องพระโชติกะเถระ แสดงไว้ว่า กฎุมพีสองพี่น้อง
ในกรุงพาราณาสี ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งกฎุมพีผู้น้องไปไร่อ้อย
ถือเอาอ้อยมาสองลำคิดจะให้พี่ชายด้วย ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
ก็มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอ้อยในส่วนของตนลงในบาตร ตั้งความปรารถนาว่า
"ด้วยผลแห่งรส (อ้อย) อันเลิศนี้ ข้าพเจ้าพึงได้เสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก
ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล"


เมื่อท่านฉันแล้ว เขาจึงได้ถวายอ้อย ส่วนที่สอง อันเป็นส่วนของพี่ชายลงในบาตรอีก
ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญแก่พี่ชาย พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้ว
เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ถวายน้ำอ้อยนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าอีก ๕๐๐ องค์ที่ภูเขานั้น
กฎุมพีผู้น้องเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดปีติ กลับไปเล่าให้พี่ชายฟัง ถึงเหตุนั้น ถามพี่ชายว่า
"พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ" พี่ชายมีจิตเลื่อมใส ไม่รับเอามูลค่า
ขออนุโมทนาส่วนบุญจากกกฎุมพีผู้น้องด้วยใจโสมนัส
ตั้งความปรารถนาว่า "ขอเราพึงได้บรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นนั้นเถิด"


นี่คือตัวอย่างของการที่มีผู้แบ่งบุญให้ที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"



การพลอยยินดีด้วยในบุญที่ผู้อื่นกระทำ


ในขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ความย่อมีว่า พระอนุรุทธะถามนางเทพธิดาว่า
"ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก
เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังรื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน
ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวลก็ฟุ้งออกจากกายทุกส่วน เสียงของเครื่องประดับ
ช้องผมที่ถูดรำเพยพัดก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน
ก็มีกลิ่นหอมชวนเบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดูกร นางเทพธิดา
อาตมาขอถามว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร"


นางเทพธิดาตอบว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้สหายของดิฉัน
ที่อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นวิหารนั้น
มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาพลอยยินดีด้วยในบุญนั้นของนาง
ก็วิมานและสมบัติทุกอย่างที่ดิฉันได้แล้วนี้ เพราะการพลอยยินดีโมทนาบุญของสหายนั้น
ด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น"


จากพระสูตรนี้จะเห็นได้ว่า เพียงจิตเลื่อมใสอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นที่ได้กระทำแล้ว
ยังให้ผลเห็นปานนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกบุญให้ก็อนุโมทนา
เช่น เห็นคนกำลังใส่บาตร มีจิตยินดีอนุโมทนาด้วยในบุญนั้น
ก็นับเป็นบุญที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"


(เอกสารแจก : วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม

การฟังธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญา
เข้าใจในหลักพระธรรมคำสอน ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งสามารถจะนำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้

การฟังธรรมมีอานิสงส์มากถึง ๕ ประการ คือ

๑. ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒. เรื่องใดที่เคยได้ฟังแล้ว ได้ฟังซ้ำอีกย่อมมีความชัดเจนขึ้น
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
๕. จิตของผู้ฟังธรรมย่อมผ่องใส


การได้ฟังพระธรรม พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ประสบผลวิเศษนานัปประการ
มีการละจากความชั่ว ประพฤติความดี และบรรลุธรรมอันเป็นที่สิ้นอาสวะได้ในที่สุด เป็นต้น


ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปิยังกรสูตร กล่าวไว้ว่า ในเวลา ใกล้รุ่งแห่งราตรีหนึ่ง
ที่พระวิหารเชตวัน ท่านพระอนุรุทธะกำลังกล่าวธรรมอยู่
ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ได้กล่าวห้ามบุตรว่า
“อย่า อึงไป ภิกษุกำลังกล่าวบธรรมอยู่ ให้ตั้งฟัง เมื่อเรารู้แจ้งบทธรรมนั้นแล้วปฏิบัติ
ข้อนั้นจักมีประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา หากเราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ
จักพ้นจากกำเนิดปีศาจได้”


ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
คือเมื่อฟังแล้วย่อมเกิดความเข้าใจในธรรม ที่มีผู้ยกมาแสดง
เมื่อเข้าใจในธรรมนั้นแล้ว น้อมนำคำสอนนั้นมาประพฤติปฏิบัติตามย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้


ในขณะที่ฟังธรรม แม้จะไม่รู้เรื่องราว ไม่เข้าใจในธรรมนั้น แต่ฟังด้วยความรู้สึกว่า
“นั่นคือเสียงแห่งพระธรรม” เลื่อมใสในเสียงที่ได้ยินย่อมก่อให้เกิดบุญกุศลได้เช่นกัน
ดังท่านเล่าไว้ว่า ค้างคาว กบ ได้ยินเสียงพระสวด ด้วยความตั้งใจฟัง
และมีจิตเลื่อมใสในเสียงที่กล่าวธรรมนั้น ตายลงในขณะนั้น
ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ พ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

การแสดงธรรม ด้วยใจที่หวังจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์
โดยที่ตนมิได้มุ่งหวังในลาภสักการะใดๆ จัดเป็นบุญที่เรียกว่า “ธรรมทาน”
เป็นบุญที่ให้ผลมากว่าทานทั้งปวง
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสวา “การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง”



:b39: การแสดงธรรมด้วยการแจกจ่ายธรรม

คือแจกแจงพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุเคราะห์ให้ผู้ได้รับฟังเกิดจิตเลื่อมใสในพระสัทธรรมของพระพุทธองค์
ที่ทรงพร่ำสอนอย่านี้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ เป็นต้น


การแสดงธรรมให้เลิกละ จากอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายเช่น

การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑
การทำกุศลให้ถึงพร้อม ๑
การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑
การรู้ประมาณในการบริโภค ๑
การนอนการนั่งในที่อันสงบสงัด ๑
ความเพียรประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ๑

ธรรมเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร โอวาทปาฏิโมกข์)

ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อุทายีสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ในใจก่อน แล้วจึงแสดงธรรม คือ


เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑
เราจักแสดงธรรมโดยอ้างเหตุผล ๑
เราจักแสดงธรรมโดยอาศัยความเอ็นดู ๑
เราจักไม่เป็นผู้เพ่งอามิสในการแสดงธรรม ๑
เราจักไม่แสดงธรรมให้กระทบตนและผู้อื่น ๑


ผู้ใดตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ภายในใจแล้วแสดงธรรม
อย่างนี้ชื่อว่าเป็น “ธรรมทาน” โดยแท้



อนึ่ง แม้บุคคลผู้แสดงธรรมเองก็ย่อมได้รับประโยชน์ คือ ได้เข้าใจในความหมาย
และความลึกซึ้งในธรรมที่ยกมาแสดงนั้น เพิ่มขึ้น ๑ เป็นที่พึงพอใจของพระบรมศาสดา ๑
อาจแทงตลอดเนื้อความอันลึกซึ้งของธรรมนั้น ได้ ๑ เป็นที่สรรเสริญของกัลยาณชน ๑

สำหรับการแสดงธรรมนี้มิได้หมายว่า ภิกษุเท่านั้นที่จะเป็นผู้แสดงธรรมได้
แม้อุบาสกอุบาสิกา หรือฆราวาสผู้มีความรู้ ผู้ศึกษาธรรม ผู้ปฏิบัติ
แม้แต่การอบรมเยาวชน หรือลูกหลานด้วยธรรมะ ก็ชื่อว่า “ธัมมเทสนา” เช่นกัน

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง

“ทิฏฐิ” แปลว่าความเห็น เช่น “สัมมาทิฏฐิ” ความเห็นชอบ หรือ “มิจฉาทิฏฐิ” ความเห็นผิด
ส่วนคนที่มีความอวดดื้อถือดี หรือยึดมั่นในอุดมการณ์ต่างๆ อย่างงมงาย
โดยไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น คือมีความเชื่อมั่นในความเห็นของตนเองว่าอย่างนี้ถูก
ถือเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่แต่ประการเดียว โดยที่ยังมิได้พิจารณาด้วยเหตุและผล
ว่าสิ่งนั้นผิดหรือถูก บุคคลนั้นชื่อว่าผู้มีทิฏฐิ

ความเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ มี ๑๐ ประการ

๑. เห็นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล
๒. เห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยมีผล
๓. เห็นว่า การบวงสรวงเทวดามีผล
๔. เห็นว่า ผลของกรรมดี กรรมชั่ว มีอยู่
๕. เห็นว่า สัตว์ที่เกิดมาในโลกนี้มีอยู่ (โลกนี้มี)
๖. เห็นว่า สัตว์ในโลกนี้ตายแล้วเกิดในโลกอื่นมีอยู่ (โลกหน้ามี)
๗. เห็นว่า คุณของมารดา มีอยู่
๘. เห็นว่า คุณของบิดา มีอยู่
๙. เห็นว่า โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดขึ้น แล้วโตทันที มีอยู่
๑๐. เห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้รู้แจ้งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นได้รู้ด้วย (พระพุทธเจ้า) มีอยู่
และสมณพราหมณ์ที่ถึงพร้อมด้วยความสามัคคี ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ (พระสงฆ์) มีอยู่


ในบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการ นี้ เป็นการทำบุญที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในพระพุทธศาสนา
โดยไม่ต้องใช้จ่ายเงินทองมากมาย
มีบุญกิริยาประการเดียว คือ การให้วัตถุทานเท่านั้นที่ต้องใช้เงินทอง
บุญกิริยาที่เหลืออีก ๙ ประการ มิต้องใช้เงินทองเลย
เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถที่จะสั่งสมบุญได้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน
ถ้ามีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำบุญเช่นนี้แล้ว


ในคาถาธรรมบท ท่านกล่าวว่า ไม่ควรประมาทในบุญเล็กๆ น้อยๆ ว่ายังไม่ควรทำ
เพราะแม้บุญเล็กน้อยนั้น ถ้าได้สั่งสมบ่อยๆ ก็ยังมีผลให้เกิดความสุข
เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไส้ แม้น้ำหยดลงที่ละหยด ก็สามารถเต็มหม้อน้ำนั้นได้ ฉันใด
บุญเล็กบุญน้อย ที่บุคคลทำบ่อยๆ ก็ย่อมจะพอกพูนให้เต็มเปี่ยมได้
เหมือนหยดน้ำที่หยดลงมาจนเต็มหม้อน้ำ ฉันนั้นแล



............ จบบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ............


(เอกสารแจก : วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)


คัดลอกจาก...บอร์ดเก่าธรรมจักร โพสต์โดย คุณแมวขาวมณี และ
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=6526


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron