วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




6217hb.jpg
6217hb.jpg [ 21.52 KiB | เปิดดู 1910 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool


เรื่องธรรมชาติของจิต

พระพุทธองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส (ประภัสสร) แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิตภาวนา”
(องฺ.เอก. ๕๐/๑/๒๐)

นั่นคือ จิตถูกย้อม ห่อหุ้มไว้ด้วยอำนาจของความโลภ โกรธ หลง (อุปกิเลสที่ทำให้จิตมัวหมองนั้นมี ๑๖ ข้อ คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ๒. พยาบาท ๓. โกธะ ๔. อุปนาหะ ๕. มักขะ ๖. ปลาสะ ๗. อิสสา ๘. มัจฉริยะ ๙. มายา ๑๐. สาเถยยะ ๑๑. ถัมภะ ๑๒. สารัมภะ ๑๓. มานะ ๑๔. อติมานะ ๑๕. มทะ ๑๖. ปมาทะ) ที่จรแฝงซ่อนเร้นมากับความคิด ทำให้จิตหม่นหมองไปและบดบังความประภัสสรผ่องใส ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานของจิตธรรมดา ๆ ที่ไม่มัวหมอง (แต่เป็นจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ไม่ใช่จิตบริสุทธิ์) อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเพียงแขก อาคันตุกะ ที่จรเข้ามาเยือน ทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่ประภัสสรตามธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้อธิบายว่า โดยธรรมชาติของจิตดั้งเดิมเป็นธรรมชาติประภัสสร แต่อย่าไปเข้าใจว่าจิตประภัสสรคือจิตหมดกิเลสถึงพระนิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นจิตสะอาด เพียงแค่สะอาด ไม่ถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง...

คำว่าประภัสสร พระธรรมวิสุทธิกวี ได้อธิบายความว่า ไม่ได้หมายถึงบริสุทธิ์ แต่หมายถึงผ่องใส ท่านเปรียบจิตประภัสสรว่าเป็น “ภวังคจิต” คือ จิตที่อยู่ในองค์ของภพ เป็นจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถี ผู้ที่ศึกษาคัมภีร์อภิธรรมจะเข้าใจชัดเจนว่า ถ้าจิตขึ้นสู่วิถีท่านเรียกว่า “วิถีจิต” ดังนั้น จิตที่อยู่ในองค์ของภพเรียกว่า “ภวังคจิต” เช่น คนในเวลานอนหลับ ไม่ได้คิด ไม่ได้ฝันอะไร จิตประเภทนี้เป็นภวังคจิต หรือ จิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งยังไม่รับรู้อะไรเลย จิตนั้นเป็นภวังคจิต ซึ่งประภัสสร ผ่องใสอยู่ (ในบางนิกายของพุทธศาสนาเรียกจิตประเภทนี้ว่า “จิตเดิม” แต่อาจารย์ผู้ชำนาญอภิธรรมค้านว่า จิตเดิมไม่มี เพราะจิตเกิดใหม่ตลอดเวลา คือมี อุปาทะ (เกิดขึ้น) ฐิติ (ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับไป) เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา) จิตที่ยังไม่เกลือกกลั้วกับอะไร ยังอยู่ในภวังค์ เป็นจิตประภัสสร

ในฝ่ายมหายานถือว่า จิต ทำหน้าที่สั่งสมอารมณ์ เป็นพีชะสั่งสมพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้ทั้งดีและชั่ว ในบางนิกายจัดให้จิตเป็นวิญญาณดวงที่ ๘ จิตนี้ก็คือ “อาลยะ” หรือ “อาลยะวิญญาณ” ซึ่งตรงกับ “ภวังคจิต” ในพระอภิธรรมของเถรวาท หรือจิตที่เป็นองค์แห่งภพ ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้ให้ความเห็นว่า คำว่าภวังคจิต มีขึ้นในชั้นอภิธรรม แต่ไม่ปรากฎในพระวินัยและพระสูตร แต่คณาจารย์ในชั้นอภิธรรมได้บัญญัติขึ้น โดยอาศัยรากฐานจากประโยคที่กล่าวว่า “ภวปัจจยาชาติ” ในปฏิจจสมุปบาท คือจิตที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดภพ (ภว) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบว่า นอกจากจิตจะทำหน้าที่ของความเป็นธาตุรู้ต่ออารมณ์ทั้งปวง ที่ผ่านทางอายตนะทั้ง ๖ แล้ว หากตามดูรู้ทันตนเองด้วยสติ และความรู้สึกตัว ลงที่กาย เวทนา จิต และธรรมารมณ์ ตามที่ปรากฎในตน จิตจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง และจะสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจกลไกการทำงาน ของกายและจิตของตนเองพร้อมกันไปด้วย สามารถเห็นจิตใจของตนเอง เห็นสภาพที่แท้จริงของจิตเองว่าปราศจากอัตตา ไม่มีตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด เป็นเพียงมายาที่ลอยลวงหลอกล่ออยู่ ปุถุชนผู้ไม่รู้เท่าทันจึงหลงติด เห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา เป็นอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวร และยึดมั่นในตน ต้องการได้มาเป็นของของตน ปุถุชนจึงฝากสุขทุกข์ไว้กับตัณหา และทิฏฐิ แต่โดยสภาพที่แท้จริงแล้ว มันเป็นเพียงขบวนการทำงาน และการประชุมกันของขันธ์ ๕ ที่สร้างมายาขึ้นมาว่ามีอัตตา ตัวตน และยึดมั่นในตนจึงทุกข์ ในพุทธพจน์นี้ประสงค์จะให้มีการอบรมจิตภาวนา เพื่อจะได้เห็นจิตตามความเป็นจริง อันจะก้าวไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด ......... ..........

ธรรมทั้งหลายที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ธรรมทั้งหมดย่อมรวมลงในอริยสัจ ๔ ได้ทั้งหมด คือธรรมใดที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป ธรรมนั้นเป็นสังขารธรรม ล้วนแล้วแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ส่วนธรรมใดที่พ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง คือ พระนิพพานอันเป็น
วิสังขารธรรม เพราะพระนิพพานไม่มีการเกิดดับ แต่เป็นธรรมที่มีอยู่จริง พระนิพพานจึงเป็นธรรมที่เที่ยง เป็นสุข เป็นอนัตตา


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

เจริญในธรรมครับ :b16: :b16: :b16:

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

smiley

ปล. ขออนุญาต เดินทางไปหลายวัน แล้วเจอกันครับ :b4: :b4: :b4:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 01:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นิยาย..

เดิม..จิตนี้ผ่องใส..ประภัสสร..(ยังไม่มีรูป)

มีคุณสมบัติประจำจิต..คือ..
วิญญาณธาตุ..ธาตุรู้..เดิมก็รู้แต่ว่า..เราคือจิต..รอบ ๆ เราคือจิต
เวทนาธาตุ..ธาตุรู้สึก..เดิมก็รู้สึกแต่ว่า..เราคือจิต..รอบ ๆ เราคือจิต
สัญญาธาตุ..ธาตุจำ..เดิมก็จำแต่ว่า..เราคือจิต..รอบ ๆ เราคือจิต
สังขารธาตุ..ธาตุคิด..เดิมก็คิดแต่ว่า..เราคือจิต..รอบ ๆ เราคือจิต
อภิชฌาธาตุ..ธาตุเพ่งพลัง..เดิมก็สื่อให้จิตอื่นรู้แต่ว่า..เราคือจิต..รอบ ๆ เราคือจิต

และแล้ว..จิต..ที่เคยคิดแต่แบบเดิม ๆ ..วันหนึ่ง..กลับเริ่มมาคิดว่า..ถ้ามีอะไร ๆ ที่มากกว่าจิต..จะเป็นอย่างไร??...จึงเกิดความอยากรู้..จิตเริ่มกระสับกระส่าย..จากจิตประภัสสรก็กลายเป็น..วถีจิต..หรือ..จรจิต(ยังไม่มีรูป)

วันหน้า...จะกลับมาว่าต่อ..ว่าเพราะอะไร..จึงทำให้เกิด..สังขาร(รูป)..และเพราะเหตุใดจึงเรียกรูปนี้ว่าสังขาร

ราตรีสวัสดิ์ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร