ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความหมายของคำว่า อริยสัจ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65901 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 19 ก.ค. 2025, 06:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความหมายของคำว่า อริยสัจ |
ความหมายของคำว่า อริยสัจ [๕๓๑] ก็เพราะศัพท์ทั้ง ๔ นี้ พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นตัน ย่อม แทงตลอด ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อริยสัจ เหมือนดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูกรถิกษุ ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยริยสัจ ๔ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น จึง เรียกว่า อริยสัจ" ดังนี้. อนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะอรรถว่า เป็นสัจจะของพระอริยะ เหมือนพระบาลีที่ ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอริยะในโลกพร้อมทั้งเหวโลก ฯลฯ ในหมู่ สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ" ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะสำเร็จความเป็นพระอริยะ เหตุที่สัจจะเหล่านี้ พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว เหมือนดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสัจ ๔ เหล่านี้แล ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้นามว่า พระอริยะ" ดังนี้. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ แม้เพราะอรรถว่า สัจจะอันเป็นอริยะ คำว่า เป็นอริยะ หมายความว่า แท้จริง ไม่เท็จ ไม่ลวง เหมือนดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล แท้จริง ไม่เท็จ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น จึงเรียก ว่า อริยสัจ" ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยโดยคำวิเคราะห์ในอริยสัจนี้ ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้. (๕๓๑] (๗๘) ในคำว่า พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมแทง ตลอด นี้ ท่านอาจารย์กล่าวว่า มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ดังนี้ เพราะยกเอาโวหารว่า พุทธะ เป็นต้น ที่ได้เป็นไปแล้ว ในกาลที่ได้แทงตลอดแล้ว แม้ในกาลก่อนได้ตรัสรู้ เพราะเป็น อุปจารโวหาร บัญญัติเรียกในท่านที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า เหมือนอย่างที่ได้เป็นแล้ว เช่น อย่างในพระบาลีว่า อคมา ราชคหํ พุทโธ แปลความว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จสู่เมือง ราชคฤห์. จริงอยู่ พระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมแทงตลอดด้วยมรรค |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 19 ก.ค. 2025, 15:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความหมายของคำว่า อริยสัจ |
ทั้ง ๔ แล. ในคำว่า ตสฺมา อริยสจฺจานิติ อุจฺจนฺติ บัณฑิตพึงเห็นการลบบทเบื้องปลาย ในบทเบื้องต้นว่า อริยปฏิวิชฺฌิตพฺพานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ แปลว่า สัจจะทั้งหลายอันพระตถาคต เป็นพระอริยะพึงแทงตลอดชื่อว่า อริยสจฺจานิ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะความที่พร เป็นพระอริยะ ท่านจึงเรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระตถาคตนั้น. จริงอยู่ สัจจะ เหล่านั้น ย่อมเป็นของพระตถาคตนั้น เพราะความเป็นสัจจะที่พระตถาคตได้บรรลุด้วย พระองค์เอง เพราะความที่เป็นสัจจะที่พระตถาคตได้ทรงประกาศด้วยพระองค์เอง และ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง อันบุคคลเหล่าอื่นจะพึงบรรลุได้ ฉะนี้แล. ในคำว่า แม้เพราะสำเร็จ ความเป็นพระอริยะ นี้ บัณฑิตก็พึงเห็นการลบบทเบื้องปลาย เหมือนอย่างในบทก่อนว่า อริยสาธกานิ สจฺจานิ อริยสจฺจานิ แปลว่า สัจจะทั้งหลายที่ให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ ชื่อว่า อริยสัจ. ในสองบทว่า อริยานิ สจฺจานีติปิ นี้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะอันบุคคล พึงถึง คือพึงบรรลุโดยภาวะที่แท้จริง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยะ บัณฑิตพึงเห็นว่าใช้ติด ปาก ในความหมายว่า ไม่คลาดเคลื่อน คือในความหมายว่า จริงแท้. |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |