ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อธิบายโดยความแปลกกัน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65491
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 11 มี.ค. 2025, 04:50 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบายโดยความแปลกกัน

อธิบายโดยความแปลกกัน

[๕๐๕] ข้อว่า โดยความแปลกกัน คือ ความแปลกกันของขันธ์ทั้งหลาย และอุปาทานขันธ์
ทั้งหลาย ก็ขันธ์และอุปาทานขันธ์เหล่านั้นจะแปลกกันได้อย่างไร ? เบื้องต้น ขันธ์
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยไม่เปลกกัน อุปาทานขันธ์ไว้แปลกกัน โดย
ความเป็นชันธ์ที่มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เหมือนอย่างที่ตรัสไส้ไว้ว่า.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ แก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังคำนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นรูปอดีต รูปอนาคต รูป
ปัจจุบัน ฯลฯ เป็นรูปใกล้ก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า รูปขันธ์ เวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ เป็นวิญญาณใกล้ก็ตาม
นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ เป็นรูปใกล้ก็ตาม มีอาสวะ
เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า รูปูปาทานอันธ์ เวทนา
อย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ เป็นวิญญาณใกล้ก็ตาม
มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทาน-
ขันธ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขันธ์เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานชันธ์ ๕" ดังนี้.

ก็ในขันธ์เหล่านี้ ขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น แม้ที่ไม่มีอาสวะก็มี แม้ที่มีอาสวะก็มี
ฉันใด รูปหาเป็นเหมือนฉันนั้นไม่ แต่เพราะความที่รูปนั้นเป็นขันธ์ก็ควร ด้วยอรรถว่า เป็น
กอง เพราะเหตุนั้น จึงตรัสไว้ในขันธ์ทั้งหลาย เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอุปาทานก็ควร ด้วย
อรรถว่า เป็นกอง และด้วยอรรถว่า มีอาสวะ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสไว้ในอุปาทานขันธ์
ทั้งหลาย ส่วนขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น ทีไม่มีอาสวะ ท่านกล่าวไว้ในขันธ์อย่างเดียว
ที่มีอาสวะ กล่าวไว้ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย.
ก็ในคำว่า อุปาทานชันธ์ นี้ พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโคจร
ของอุปาทาน เป็นอุปาทานอันธ์. ส่วนในวิสุทธิมัคค์นี้ ท่านกล่าวทั้งขันธ์ทั้งอุปาทานขันธ์
เหล่านี้ทั้งหมดรวมเข้าไว้เป็นอันเดียวกัน ประสงค์ว่า ขันธ์.

[๕๐๕] (๕๖) คำว่า มีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ในรูปชันธ์ เพื่อจะหัามเสีย
ซึ่งความที่รูปขันธ์มีสภาวะดังนั้น เพราะธรรมทั้งหลายที่ไม่มีอาสวะก็มี หาใช้เพื่อจะห้าม
รูปที่มีอาสวะไม่ เอว ศัพท์ ในคำว่า อนาสวา ขนฺเธเสฺวว วุตฺตา นี้ เป็นอัฏฐานปยุต
มีความว่า ที่ไม่มีอาสวะท่านกล่าวไว้ในขันธ์อย่างเดียว

ส่วนในวิสุทธิมัคค์นี้ ท่านกล่าวทั้งขันธ์ทั้งอุปาทานขันธ์เหล่านี้ทั้งหมด

ไฟล์แนป:
783d1030b4025a028d9ef8de5c789a09.jpg
783d1030b4025a028d9ef8de5c789a09.jpg [ 268.32 KiB | เปิดดู 1381 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/