ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
อธิบาย สติ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65487 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 09 มี.ค. 2025, 17:22 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | อธิบาย สติ | ||
อธิบาย สติ [๔๖๕] บุคคลทั้งหลายย่อมระลึกได้ด้วยธรรมชาตินี้ ![]() สติ แปลว่า เป็นเหตุระลึกได้ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาตินี้ย่อมระลึกได้เท่านั้น เหตุนั้น ชื่อว่า สติ แปลว่าความระลึกได้ สตินั้นมีความไม่เลื่อนลอยเป็นลักษณะ มีความไม่ฟั่นเฟือนเป็นรส มีความคุ้มครอง ใจไว้ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีความเป็นเหตุมุ่งหน้าต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีความจำ ได้มั่นคลเป็นปทัฏฐาน หรือมีสติปัฏจุปัฏฐานมีกายเป็นต้น เป็นปทัฏฐาน. อนึ่ง พึงเห็นเปรียบ เหมือนเสาระเนียด เพราะความที่สติเป็นธรรมชาติตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ และเปรียบเหมือน นายประตู เพราะรักษาทวารมีจักขุทวารเป็นต้น. (๔๕๖) คำว่า บุคคคลทั้งหลายย่อมระลึกได้ด้วยธรรมชาตินี้ ท่านอาจารย์ย่อม แสดงความที่สติเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปอยู่ ด้วยกิริยาคือความระลึกได้ โดย ความเป็นใหญ่ในธรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ เมื่อมีความที่สตินั้นเป็นปัจจัยอย่างนั้นแก่ธรรม ทั้งหลาย จึงมีโวหารว่า บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยสตินั้น ย่อมระลึกได้. การไม่ให้ ลอยไปหมือนน้ำเต้าในน้ำ แล้วหยุดอารมณ์ที่นี่งไว้เหมือนกับหิน ชื่อว่า เป็นความระลึก ได้แก่ กระทำความไม่ฟันเฟือน ชื่อว่า ความไม่เลื่อนลอย. กิจอันเป็นข้าศึกแก่ความฟั่นเฟือน ชื่อว่า ความไม่ฟั่นเฟือน ไม่ใช่เพียงแต่ความไม่ มีความไม่ฟั่นเฟือน. เพราะพระบาลีว่า มีใจที่สติคุ้มครองไว้ ดังนี้. สติจึงชื่อว่า มีความ คุ้มครองใจไว้ได้เป็นปัจจุปัฏฐาน. ธรรมมาจากอื่นย่อมเป็นธรรมชาติมุ่งหน้าไปในอารมณ์ ของจิตด้วยธรรมชาตินี้ เหตุนั้น ธรรมชาตินี้ชื่อว่า มีความเป็นเหตุมุ่งหน้าต่ออารมณ์ ได้แก่สติ. ธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้นนั่นแหละเป็นที่ตั้งแห่งสติ จึงชื่อว่า มีสติปัฏฐานมี กายเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง สตินั่นเองที่เกิดก่อนเป็นปทัฏฐานของสติที่เกิดภายหลัง.
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |