ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65474
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 มี.ค. 2025, 07:20 ]
หัวข้อกระทู้:  ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

กถาว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม
ชื่อว่า มีญาน ๔ ด้วยอำนาจมรรคญาน ๔ คำว่า เพื่อทราบชัดมีความบริบูรณ์ แห่งสติปัฏฐาน
โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายของธรรมนี้บริบูรณ์ เหตุนั้น ธรรรมนี้ชื่อว่า มีโพธิปักขิยะ
ธรรมบริบูรณ์ ได้แก่ มรรค. ภาวะแห่งมรรคอันมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์นั้น ชื่อว่า ความ
เป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์. ความเป็นธรรมอันประกอบด้วยวุฏฐานะและพละ
ชื่อว่า วุฏฐานพลสมาโยค. ธรรมเหล่าใด คือธรรมทั้งหลายมีสังโยชน์เป็นต้น อันญาณใด
คืออันปฐมมรรคญาณเป็นต้น พึงละ.

นิทเทส ขยายความ
ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

[๔๑๔] ในบรรดาหัวข้อเหล่านั้น หัวข้อว่า ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรม
บริบูรณ์ อธิบายว่า ความที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหลายเต็มเปี่ยม ก็ธรรม ๓๗ นี้ คือ :
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
ชื่อว่า โพธิปักขิยะ เพราะเป็นธรรมมีในฝ่ายแห่งอริยมรรคอันได้ชื่อว่า โพธะ เพราะอรรถ
ว่า เป็นเหตุตรัสรู้ คำว่า เพราะเป็นธรรมมีในฝ่าย ความเพราะเป็นธรรมทั้งที่ในความ
เป็นอุปการะ.
[๔๑๔] อีกอย่างหนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งมรรคจิต ชื่อว่า โพธะ เพราะความหมาย
ว่า เป็นเครื่องตรัสรู้. ธรรมทั้งหลายมีในฝ่ายแห่งความเกิดขึ้นแห่งมรรคจิตนั้น เพราะเป็น
คุณอันสมควรแก่การตรัสรู้ เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า โพธิปักธิยะ.

อธิบายความหมายของสติปัฏฐาน

[๔๐๔] ในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น ธรรมชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นรรมแล่นเข้า
คือ เพราะแล่นไปเข้าไปตั้งอยู่ในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น คือ ในอารมณ์ทั้งหลาย ปัฏฐาน
ก็คือสติ จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน ก็สตินั้นแจกได้เป็น ๔ อย่าง เพราะเป็นไปด้วยอำนาจการ
ถือเอาอาการไม่งาม อาการเป็นของไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ และอาการเป็นอนัตตา ใน
กาย เวทนา จิต และธรรม และด้วยอำนาจให้สำเร็จกิจ คือ : การละสุภสัญญา การละ
สุขสัญญา การละนิจจสัญญา การละอัตตสัญญา ในกาย เวทนา จิต และธรรม เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔.

ไฟล์แนป:
ei_1740523896017-removebg-preview.png
ei_1740523896017-removebg-preview.png [ 332.17 KiB | เปิดดู 1263 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 มี.ค. 2025, 11:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

ความหมายของสติปัฏฐาน

[๘๑๙] เตสุ โยค โพธิปกฺขิเยสุ แปลว่า ในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น คำว่า ใน
อารมณ์ทั้งหลาย ได้แก่ ในอารมณ์มีกายเป็นต้น. บทว่า โอกฺกนฺทิตฺตวา แปลว่า เข้าไป.
บทว่า ปกฺขนฺทิตฺวา เป็นไวพจน์ของบทว่า โอกุกนทิตวา นั้น. คำว่า เพราะเข้าไปตั้งอยู่ คือ
เพราะเข้าไปตั้งลงด้วยอำนาจถือเอาอาการไม่งามเป็นต้น. การถือเอาอาการไม่งามเป็นต้น
ในอารมณ์มีกายเป็นต้น พึงทราบเกี่ยวกับเป็นสติปัฏฐานที่เป็นบุพภาค การยังกิจคือการ
ละสุภสัญญาเป็นต้น พึงทราบเกี่ยวกับเป็นสติปัฏฐานที่เป็นมรรค. ก็ในสติปัฏฐานนั้น สติ
อย่างเดียวนั่นแหละ ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจ ๔ อย่าง ให้สำเร็จ.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 มี.ค. 2025, 14:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

อธิบายความหมายของสัมมัปปธาน

[๙๒๐] ธรรมทั้งหลายย่อมเพียรด้วยธรรมนี้ เหตุนั้นธรรมนี้ ชื่อว่า ปธาน ปธาน
อันงาม ชื่อว่า สัมมัปปธาน (ธรรมเป็นเหตุเพียรอันงาม) อีกอย่างหนึ่ง ธรรมนั้นชื่อว่า
สัมมัปปธาน เพราะเป็นเหตุเพียรโดยชอบ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมนั้นชื่อว่า งาม เพราะเว้น
จากความน่าเกลียดคือกิเลส และชื่อว่า ปธาน เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐสุด และ
เพราะเป็นหตุแห่งความเป็นประธาน ด้วยอรรถว่า ให้สำเร็จประโยชน์สุข เหตุนั้นจึงได้
ชื่อว่า สัมมัปปธาน คำว่า สัมมัปปปธาน นี้เป็นชื่อแห่งวิริยะ สัมมัมมัปปธานนี้นั้นมี ๔ อย่าง
เพราะอรรถว่า ให้สำเร็จกิจ คือความเกิดขึ้นและความไม่ให้เกิดขึ้นแห่งอกุศลทั้งหลาย
แล้วและจักไม่เกิดขึ้น และเพราะอรรถว่า ได้สำเร็จกิจ คือความเกิดขึ้นและความดำรงอยู่
แห่งกุศลทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะหตุนั้น จึงเรียกว่า สัมมัปปธาน ๔

ความหมายของสัมมัปปธาน

(๘๒๐] บทว่า ย่อมเพียร คือ ย่อมพยายาม หรือความว่า ประคองกายและจิต.
ชื่อว่า งาม เพราะละได้ซึ่งสังกิเลสิกธรรมทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งความไม่งาม และเพราะ
ยังโวทานธรรมทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งความงามให้เกิดนั้นเอง ความหมายว่า ดี.
คำว่า เพราะนำมาชื่อความเป็นผู้ประเสริฐสุด คือ เพราะให้สำเร็จความเป็นผู้นำ
สรรเสริญที่สุด. คำว่า เพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นประธาน คือ เพราะความเป็นเหตุ
แห่งความเป็นผู้สูง สุด.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 05 มี.ค. 2025, 04:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

อธิบายความหมายของอิทธิบาท

[๘๒๑] ชื่อว่า อิทธิ ด้วยอรรถว่า สำเร็จ ซึ่งกล่าวแล้วในก่อน ธรรมใดเป็นบาท
แห่งอิทธินั้น โดยอรรถคือเป็นหัวหน้าแห่งอิทธินั้นอันเป็นสัมปยุตตธรรม และแห่งอิทธิอัน
เป็นผล โดยอรรถคือเป็นหตุส่วนเบื้องต้น เหตุนั้น ธรรมนั้นนั้นชื่อว่า อิทธิบาท อิทธิบาทนั้น
มี ๔ อย่าง คือมีฉันทิทธิบาทเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อิทธิบาท ๔ เหมือนอย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "อิทธิบาท ๔ ได้แก่ อิทธิบาทคือฉันทะ อิทธิบาทคือวิริยะ
อิทธิบาทคือจิตตะ อิทธิบาทคือวิมังสา" ดังนี้. ธรรมมีฉันทะเป็นต้นเหล่านี้เป็น โลกุตตระ
แท้ ส่วนที่เป็นโลกิยะ แม้เป็นธรรมที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอำนาจอธิบดีมีฉันทะเป็นต้น ที่เป็น
อิทธิบาท โดยพระบาลีมีอาทิว่า "ก็ภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดี ย่อมได้สมาธิ ย่อมได้เอกัค-
คตาแห่งจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ" ดังนี้.

ความหมายของอิทธิบาท

[๘๒๑] (๓๒๙) คำว่า ซึ่งกล่าวแล้วในก่อน คือ ซึ่งกล่าวแล้วในอิทธิวิธญาณ-
นิทเทส. อิชฺฌนฏฺโฐ แปลว่า อรรถคือสำเร็จ หรือได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งการได้เฉพาะ.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมเจริญ คือเป็นผู้เจริญรุ่งเรือง เป็นผู้สูงส่ง ด้วยคุณชาตใด
คุณชาตนั้นชื่อ อิชฌนํ แปลว่า เป็นเหตุเจริญ. มรรคธรรมทั้งหลายอันมีสมาธิปธานสังขาร
เป็นประมุข ท่านประสงค์เอาว่า อิทธิ ในที่นี้. อรรถคือเป็นหัวหน้า ได้แก่ ความเป็นอธิปติ-
ปัจจัย. เพราะเหตุนั้น โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า อิทธิ เพราะความหมายว่า สำเร็จ, เพราะ
เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้นที่สัมปยุตกัน ชื่อว่า เป็นบาท โดยอรรถคือเป็นหัวหน้า,
ธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้นแห่งวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ชื่อว่า เป็นบาท โดยอรรถคือเป็น
เหตุส่วนเบื้องต้นแห่งอิทธิอันเป็นผล นั้นนั่นแหละ. บทว่า โส โยค อิทธิปาโท แปลว่า
อิทธิบาทนั้น, คำว่า ธรรมมีฉันทะเป็นต้นเหล่านี้เป็นโลกุตตระแท้ ความว่า ธรรรมมีฉันทะ
เป็นต้นตามที่กล่าวมาแล้วเหล่านี้ พึงทราบว่า เป็นโลกุตตระแท้ ตามนัยที่มาแล้วในอุตตร-
จูฬภาชนียํ. ความว่า แม้เป็นธรรมที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอำนาจอธิบดีมีฉันทะเป็นต้น คือ
ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ก็เป็นอิทธิบาท. ก็ในอธิการนี้ อิทธิบาทไม่เป็นอธิบดี หรืออธิบดีไม่
ชื่อว่าเป็นอิทธิบาท ย่อมไม่มีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อุปมาเหมือนในการครองราชย์คราวหนึ่ง
บรรดาราชกุมารทั้ง ๔ พระองค์ ผู้ควรแก่ราชสมบัติในกาลครั้งหนึ่ง ก็ครองราชย์แต่พระ
องค์เดียวเท่านั้นไม่ใช่ทุกพระองค์ ฉันใด ในจิตตุปบาทดวงหนึ่ง ก็พึงทราบว่ามีอธิบดีและ
อิทธิบาทแต่ข้อเดียว เหมือนฉันนั้น

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 05 มี.ค. 2025, 06:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

อธิบายความหมายของอินทรีย์และพละ

๒] ธรรม ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถ คือ ความเป็นใหญ่ ที่ได้แก่ความครอบ
งำได้ เพราะครอบงำอสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ) โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ปมาท(ความ
ประมาท) วิกเขปะ (ความฟุ้งซ่าน) และสัมโมหะ (ความหลงพร้อม) ธรรม ชื่อ พละ
เพราะธรรถ คือ ไม่หวั่นไหว เพราะอกุศลทั้งหลายมีอสัทธิยะเป็นต้นครอบงำไม่ได้ ทั้ง ๒
อย่างนั้นมี ๕ อย่าง คือมีศรัทธาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า อินทรีย์ ๕ พละ ๕

ความหมายของอินทรีย์และพละ

(๘๒๒) อสัทธิยะ ได้แก่ อกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นปฏิปักษ์ต่อศรัทธา หรือได้แก่
มิจฉาธิโมกซ์ อันเป็นความเลื่อมใสเทียมซึ่งไม่ไปในวัตถุ. โกสัชชะ ได้แก่ อกุศลจิตตุปบาท
มีมิทธะเป็นประธาน. ปมาทะ ได้แก่ ความฟั่นเฟือนสติ คืออกุศลขันธ์ทั้งหลายอันเป็น
ไปโดยประการนั้น. คำว่า ด้วยอรรถ คือ ความเป็นใหญ่ ที่ได้แก่ ความครอบงำได้ ความ
ว่า ด้วยอรรถคือ ความเป็นใหญ่ในสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะเป็นอันเดียวกันกับ
อธิโมกข์ (ศรัทธา) ปัคคหะ (ความเพียร) อุปัฏฐานะ (สติ) อวิกเขปะ (สมาธิ) และปชานนะ
(ปัญญา) อันจะพึงกล่าวได้ว่าครอบงำ เพราะครอบงำอกุศธธรรมทั้งหลายมีอสัทธิยะเป็นต้น
จ ศัพท์ว่า อสฺสทฺธิยาทีหิ จ เป็นสมุจจยัตถะ เป็นอัฏฐานปยุต เพราะเหตุนั้น พึงทราบ
อธิบายในคำนี้อย่างนี้ ธรรม ชื่อว่า พละ เพราะอรรถ คือ ไม่หวั่นไหว และเพราะภาวะที่
มั่นคงในสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 05 มี.ค. 2025, 06:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความเป็นธรรมมีโพธิปักขิยธรรมบริบูรณ์

อธิบายความหมายของโพชฌงค์และองค์มรรค

[๘๒๓] ก็ธรรม ๗ อย่างมีสติเป็นต้น ชื่อว่าโพชฌงค์ ด้วยความเป็นองค๋แห่ง
สัตว์ผู้ตรัสรู้ ธรรม ๘ อย่าง มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ชื่อว่าองค์มรรค ด้วยอรรถว่า คือ เป็น
นิยยานิกะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดังนี้

ความหมายของโพชฌงค์และองค์มรรค

(๔๒๓)) คำว่า แห่งสัตว์ผู้ตรัสรู้ คือ แห่งสัตว์ผู้แทงตลอดอริยสัจ ๔. จริงอยู่
พระอริยสาวกนั้นได้เรียกว่า โพธิ เพราะมีความหมายว่า ตื่น คือลุกขึ้นจากความหลับ คือ
กิเลสสันดาน หรือเพราะมีความหมายว่า ตรัสรู้ คือแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่ง
พระนิพพานนั้นเอง ด้วยธรรมสามัคคีมีสติเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นในขณะแห่งโลกุตตรมรรคอัน
เป็นหตุธรรมทั้งหลายอันป็นองค์แห่งพระอริยสาวกผู้ชื่อว่า โพธิ นั้น ชื่อว่า แห่งที่ผู้
ตรัสรู้. เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า โพชฌงค์. คำว่า ด้วยอรรถ คือ เป็นนิยยานิกะ
คือ ด้วยอรรถ คือสลัดออกไปจากวัฏฏะ.

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/