ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ตัวภยตุปัฏฐานญาณไม่กลัว
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65459
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ก.พ. 2025, 14:46 ]
หัวข้อกระทู้:  ตัวภยตุปัฏฐานญาณไม่กลัว

ตัวภยตุปัฏฐานญาณไม่กลัว
[๗๕๑] ถามว่า ก็ภยตุปัฏฐานญาณกลัวหรือไม่กลัว ?

ตอบว่า มิได้กลัว เพราะภยตุปัฏฐานญาณนั้นเป็นเพียงการพิจารณาอย่างเดียวว่า
"สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันกำลังดับ ที่เป็นอนาคตก็จักดับ" ดังนี้
เท่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงมีอุปมาเหมือนอย่างว่า คนมีตาเมื่อมองดูหลุมถ่านเพลิง ๓ หลุม
ที่ใกล้ประตูเมือง ตัวเองมิได้กลัว ก็เขามีแต่การพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้นว่า "สัตว์ใด ๆ
จักตกไปในหลุมถ่านเพลิง ๓ หลุมนี้ จักเสวยทุกข์มิใช่น้อยทุกตัว" ดังนี้เท่านั้น ชื่อฉันใด
ก็หรือมีอุปมาว่า คนมีตาเมื่อมองดูหลาว ๓ เล่ม ที่เขาปักเรียงกันไว้ตามลำดับ คือ หลาว
ไม้ตะเคียน ๑ หลาวเหล็ก ๑ หลาวทองคำ ๑ ตัวเองก็มิได้กลัว ก็เขามีแต่การพิจารณา
อย่างเดียวเท่านั้นว่า "สัตว์ใด ๆ จักตกลงไปที่หลาว ๓ เล่มนี้ ก็จักเสวยทุกข์มิใช่น้อยทุกตัว"
ดังนี้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด ภยตุปัฏฐานญาณก็มีอุปไมยเหมือนฉันนั้น ตัวญาณมิได้กลัว เพราะ
ภยตุปัฏฐานญาณนั้นก็เป็นแต่เพียงพิจารณาในภพ ๓ ซึ่งเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ๓
หลุม และเปรียบเหมือนหลาว ๓ เล่ม อย่างเดียวว่า "สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตดับไปแล้ว
ที่เป็นปัจจุบันกำลังดับ ที่เป็นอนาคตก็จักดับ" ดังนี้เท่านั้น อนึ่ง เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลาย
ทีไปในภพ กำเนิด คติ ฐิติ และนิวาสทั้งปวง เป็นสภาวะที่พึงถึงความฉิบหาย มีภัยเฉพาะ
หน้า ย่อมปรากฏโดยเป็นของน่ากลัวแก่ญาณนั้นอย่างเดียว เพราะเหตุนั้น ญาณนั้นจึง
เรียกว่า ภยตุปัฏฐานญาณ แปลว่า ปรากฏโดยเป็นของน่ากลัว.

ไฟล์แนป:
Screenshot_20250209-071936_TikTok~2.jpg
Screenshot_20250209-071936_TikTok~2.jpg [ 150.64 KiB | เปิดดู 1083 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ก.พ. 2025, 17:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวภยตุปัฏฐานญาณไม่กลัว

อ้างพระบาลี

ก็ในความปรากฏโดยเป็นของน่ากลัวแห่งญาณนี้ มีพระบาลีนี้อย่างนี้ว่า
"ถามว่า เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง อะไรปรากฏโลเป็นของน่า
กลัว เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา อะไร
ปรากฏโดยเป็นของน่ากลัว ?

ตอบว่า เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นของไม่เที่ยง นิมิตปรากฏโดยเป็นของน่า
กลัว เมื่อภิกษุมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ความหมุนไปปรากฏโดยเป็นของน่ากลัก เมื่อ
ภิกษุมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ทั้งนิมิตและความหมุนไปปรากฎโดยเป็นของน่ากลัว

แก้อรรถพระบาลีภ ยตุปัฏฐานญาณ

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า นิมิต ได้แก่ สังขารนินิมิต คำว่า นิมิต นี้ เป็นชื่อแห่ง
สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะภิกษุเมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง
ย่อมเห็นแต่มรณะเท่านั้นแห่งสังขารทั้งหลาย เหตุนั้น นิมิตจึงปรากฏโดยเป็นของน่ากลัว
แก่ภิกษุนั้น.
คำว่า ปวัตตะ ได้แก่ ความหมุนไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะภิกษุเมื่อมนสิการ
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมเห็นแต่ภาวะที่ถูกบีบคั้นอยู่เนือง ๆ เท่านั้น แห่งความหมุนไปแม้
ที่สมมติกันว่าเป็นสุข ด้วยเหตุนั้น ปวัตตะจึงปรากฏโดยเป็นของน่ากลัวแก่ภิกษุนั้น.
ก็ภิกษุเมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตาอยู่ ย่อมเห็นทั้งสองนี้ว่างเปล่า ร้าง ไม่มี
เจ้าของ ไม่มีหัวหน้า เหมือนบ้านร้าง และเหมือนสิ่งลวงตา มีพยับแดดและเมืองคนธรรพ์
เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น นิมิตและปวัตตะทั้งสองจึงปรากฎโดยเป็นของน่ากลัวแก่ภิกษุนั้นแล

ไฟล์แนป:
1000_F_403781802_v1UxytHcvDBHxAWrodQsolTft2GccDZO~2.jpg
1000_F_403781802_v1UxytHcvDBHxAWrodQsolTft2GccDZO~2.jpg [ 117.84 KiB | เปิดดู 852 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 28 ก.พ. 2025, 04:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ตัวภยตุปัฏฐานญาณไม่กลัว

[๒๔๕๗] ชื่อว่า มิได้กลัว ก็เพราะญาณมิได้เป็นไปโดยอาการกลัว. ก็ความกลัว
ก็ด้วยอำนาจจิตตุปบาทที่เป็นปฏิฆะ ส่วนญาณย่อมรู้ว่าตามความเป็นจริง วัตถุที่ควรกลัว
พึงกลัว. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เพราะภยตุปัฏฐานญาณนั้นเป็นเพียงการ
พิจารณาอย่างเดียวว่า "สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตดับไปแล้ว ฯลฯ" ดังนี้. อธิบายว่า
หลุมถ่านเพลิงทั้ง ๓ ซึ่งมีประเภทอย่างแข็ง อย่างกลาง และอย่างอ่อน ก็ด้วยความร้อน
ยิ่ง ก็ทำนถือเอาหลุมถ่านพลิงเหล่านั้น ด้วยความเป็นตัวอย่างขอบภพทั้ง ๓ มีกามภพ
เป็นต้น เพราะความที่หลาวทั้ง ๓ มีหลาวไม่ตะเคียนป็นต้น เป็นของไม่ปราณีตเป็นต้น
อย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ก็เขามีแต่การพิจารณาอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อสฺส โยค ญาณสฺส แปลว่า แก่ญาณนั้น. คำว่า ที่พึงถึงความฉิบหาย คือ
ตกไปในความพินาศมากมายมีอย่างต่าง ๆ. คำว่า โดยเป็นของน่ากลัว คือ โดยเป็นของ
พึงกลัว.
(๒๘๔) คำว่า สังขารนินิมิต ท่านกล่าวเนื้อความไว้ดังนี้นั่นเองว่า ได้แก่ ความ
ปรากฏแห่งสังขารทั้งหลายซึ่งเหมือนกับมีร่างกาย ด้วยอำนาจที่เป็นกลุ่มมีประชุมรวมกัน
เป็นต้น และเพราะมีเขตกำหนดแห่งกิจ. ก็ความปรากฏอย่างนั้นแห่งสังขารทั้งหลาย หา
เป็นเรื่องพ้นไปจากสังขารไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า คำว่า นิมิต นี้ เป็น
ชื่อแห่งสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ดังนี้. คำว่า มรณะเท่านั้น ได้แก่
ความแตกดับเท่านั้น. บทว่า เตน โยค ภงฺคทสฺสเนน แปลว่า ด้วยการเห็นความแตกดับ
นั้น. ก็เมื่อภิกษุเห็นแต่ความแตกดับอย่างเดียวทุก ๆ ขณะ สังขารอันมีชื่อว่า นิมิต ย่อม
ปรากฎเป็นของมีภัยอยู่เฉพาะหน้า ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในอนิจจตา. ท่านอาจารย์กล่าว
ว่า คำว่า ปวัตตะ ได้แก่ ความหมุนไปในรูปภพและอรูปภพ ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดงว่า
ที่ชื่อว่า ปวัตตะ ได้แก่ ความหมุนไปในภพทั้งปวงก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เพราะถูกบีบคั้นใน
บัดเดี๋ยวนั้นเนือง ๆ ในภพทั้งปวง ก็ปรากฏขัดเจนดียิ่งแก่ภังคานุปัสสนาที่ถึงขั้นสุดยอด
ภพทั้งหลายแม้ที่ยกย่องกันว่าสงบสุข ก็ย่อมปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะมีทุกข์
เป็นสภาพ. คำว่า ทั้งสอง ได้แก่ นิมิตและปวัตตะ. จริงอยู่ นิมิตและปวัตตะแม้ทั้งสอง
ย่อมปรากฎเป็นของว่างเปล่าจากอัตตาทีเดียว ฉะนี้แล.

ไฟล์แนป:
1000_F_403781802_v1UxytHcvDBHxAWrodQsolTft2GccDZO~2.jpg
1000_F_403781802_v1UxytHcvDBHxAWrodQsolTft2GccDZO~2.jpg [ 137.54 KiB | เปิดดู 851 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/