ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

วิธีเริ่มทำสัมมสนะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65452
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.พ. 2025, 07:54 ]
หัวข้อกระทู้:  วิธีเริ่มทำสัมมสนะ

วิธีเริ่มทำสัมมสนะ

ก่อนเราควรรู้จักสัมมสนะก่อนว่าคืออะไร ?
สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ
ไปของนามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณ
อย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้

[๖๙๕] ในการทำสัมมสนะนั้น มีคำประกอบวิธีเริ่มสัมมสนะทางขันธ์ดังต่อไปนี้.
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุกำหนดรูปทั้งหนดโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
สัมมสนะหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์เป็นสัมมสนะหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตา
เป็นสัมมสนะหนึ่ง ฉะนี้แล ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ ภิกษุนี้ได้กำหนดตัดรูปทั้งหมด
ที่ได้นิทเทสไว้แล้วโดยคำไม่แน่นอนอย่างนี้ว่า "รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง" โดยโอกาส ๑๑ คือ :
โดยอตีตัตติกะ (หมวด ๓ มีอดีตเป็นข้อต้น เป็น ๓) และทุกะมีอัชณัตตะเป็นต้น ๔ (หมวด
๒ มีภายในเป็นข้อต้น เป็น ๔) (๒ หมวดรวมเป็น ๑๑) ย่อมกำหนดรูปทั้งหมดโดยเป็นของ
ไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาว่าไม่เที่ยง.

สัมมสนะอย่างไร ?
สัมมสนะโดยนัยที่กล่าวไว้ตอนต่อไป เพราะท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า "รูปอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถคือ สิ้นไป" ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุนี้ย่อมสัมมสนะ (พิจารณา) ว่า รูปใด เป็นอดีต รูปนั้นเพราะ
สิ้นไปแล้วในอดีตนั่นเอง หามาถึงหนี้ไม่ เหตุนั้น จึงไม่เที่ยงเพราะอรรถคือ สิ้นไป
ย่อมสัมมสนะว่า รูปใด เป็นอนาคต จักบังเกิดในภพถัดไป แม้รูปนั้น จักสิ้นไปใน
ภพถัดไปนั้นแหละ จักไม่ไปสู่ภพอื่นจากภพถัดไปนั้น เพราะเหตุนั้น จึงไม่เที่ยงเพราะอรรถ
คือ สิ้นไป.

ไฟล์แนป:
d4f3fb9e30fe74c0f924012a8ac50b26.jpg
d4f3fb9e30fe74c0f924012a8ac50b26.jpg [ 65.53 KiB | เปิดดู 1118 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.พ. 2025, 08:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิธีเริ่มทำสัมมสนะ

ย่อมสัมมสนะว่า รูปใด เป็นปัจจุบัน แม้รูปนั้นนั้นก็สิ้นไปในภพนี้แหละ จะไม่ไปจาก
ภพนี้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เที่ยงเพราะอรรถคือ สิ้นไป.
ย่อมสัมมสนะว่า รูปใด เป็นภายใน แม้รูปนั้นก็สิ้นในไปภายในนั้นแหละ หาไปสู่ความ
เป็นภายนอกไม่ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เที่ยงเพราะอรรถคือ สิ้นไป.
ย่อมสัมมสนะว่า รูปใด เป็นภายนอก ฯลฯ เป็นรูปหยาบ ฯลฯ เป็นรูปละเอียด ฯลฯ
เป็นรูปเลว ฯลฯ เป็นรูประณีต ฯลฯ เป็นรูปในที่ไกล ฯลฯ เป็นรูปในที่ใกล้ แม้รูปนั้นก็สิ้น
ไปในที่ใกล้นั้นแหละ หาไปสู่ความเป็นรูปในที่ไกลไม่ เพราะหตุนั้น จึงไม่เที่อง เพราะอรรถ
คือ สิ้นไป.
สัมมสนะทั้งปวงนี้ เป็นสัมมสนะหนึ่งด้วยอำนาจแห่งความข้อนี้ว่า "ไม่เพียงเพราะ
อรรถคือ สิ้นไป" แต่โดยแยกกันก็เป็นสัมมสนะ ๑๑ อย่าง.

ก็รูปทั้ง ๑๑ อย่างนั้นทั้งหมดทีเดียว เป็นทุกข์ เพราะอรรถคือ เป็นภัย คำว่า
เพราะอรรถคือ เป็นภัย ความว่า เพราะเป็นสิ่งที่ภัยมีเฉพาะหน้า เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่ง
นั้นย่อมนำความกลัวมาให้ ดังความกลัวเกิดแก่เทวดาที่หลายในสีโทปมสูตร แม้สัมมสนะ
ดังกล่าวมานี้ ก็จัดเป็นสัมมสนะหนึ่งด้วยอำนาจความข้อนี้ว่า "เป็นทุกข์ เพราะอรรถคือ
เป็นภัย" แต่โดยแยกกันก็เป็นสัมมสนะ ๑๑ อย่าง.

อนึ่ง รูปทั้งปวงนั้น ชื่อว่า เป็นทุกข์ ฉันใด ก็ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถคือ หา
สาระมิได้ เหมือนฉันนั้น คำว่า เพราะอรรถคือ หาสาระมิได้ คือ เพราะไม่มีสาระ คือ
อัตตา ที่พวกอัตตวาทีคาดคิดเอาว่า "เป็นอัตตา เป็นผู้อยู่ประจำ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เสวย
เป็นผู้มีอำนาจในตน" เพราะสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ รูปนั้นก็ไม่อาจจะห้ามความที่แม้
ตนก็เป็นของไม่เที่ยง หรือควาด ความเสื่อมไป และควรบีบคั้น ความที่รูปนั้นป็นผู้
สร้างเป็นต้น จะมีมาแต่ไหน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงหรัสว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หากรูปนี้จักได้เป็นอัตตาไขรั รูปนี้ก็จะไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ" ดังนี้เป็นต้น แม้สัมมสนะ
นี้ก็เป็นสัมมสนะหนึ่งด้วยอำนาจความข้อนี้ว่า "ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถคือ หาสาระ
มิได้" ดังนี้ แต่โดยจำแนกก็เป็นสัมมสนะ ๑๑ อย่าง.
ในเวทนาเป็นต้น ก็มีนัยนี้.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 25 ก.พ. 2025, 13:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: วิธีเริ่มทำสัมมสนะ

(๖๙๕) (๒๓๕) การจำแนกเป็นอดีตเป็นต้น แห่งการพิจารณาโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ด้วยคำว่า รูปอดีตไม่เที่ยง เป็นต้น เป็นฐานที่ตั้งแห่งความเป็นไป เพราะเหตุนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า โดยโอกาส ๑๑. การตกลงใจ ชื่อว่า การกำหนด. ก็การตกลงใจ
โดยความเป็นของไม่เที่ยงในที่นี้ เป็นการเห็นแจ้งไม่เที่ยงนั่นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่าน
อาจารย์จึงกล่าวว่า ย่อมพิจารณาว่าไม่เที่ยง ดังนี้.

ท่านอาจารย์ถามอาการคือสัมมสนะว่า สัมมสมนะย่างไร เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
วิสัขขนาสัมมสนะนั้นโดยสังเขปทีเดียวว่า โดยนัยที่กล่าวไว้ในตอนต่อไป คือในวาระที่ ๒ ใน
พระบาลีในที่นี้นั่นแหละ. บัดนี้ ท่านอาจารย์ประสงค์จะกระทำเนื้อความนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วุตฺตเญหตํ เพราะท่านกล่าวคำนี้ไว้. ในคำนั้น ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต
ลงในอรรถแห่งเหตุ. ประกอบความว่า รูปอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยง ด้วยอรรถ
คือ สิ้นไป เหตุนั้น ภิกษุจึงพิจารณาว่า ไม่เที่ยง ตามนัยที่กล่าวแล้วนี้

แม้อย่างนี้ก็ยังย่ออยู่ที่เดียว เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงจำแนก
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภิกษุนี้. คำว่า ในอดีต คือในอดีตภพ. ก็ข้อนี้เป็นแบบการพิจารณา
ของโยคีผู้เริ่มกัมมัฏฐาน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงประสงค์เอาการจำแนกอัทธาเกี่ยวกับภพ
ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า นยิมํ ภวํ สมุปตฺตนฺติ แปลว่า หามาถึงภพนี้ไม่. อิติ
ศัพท์ ในคำนี้มีอรรถว่า เหตุ. ข้อนี้มีอรรถาธิบายว่า รูปใดนับเนื่องในอดีตภพ รูปนั้นก็สิ้นไป
ในอดีตภพนั้นเอง หามาถึงภพนี้จากอดีตภพนั้นไม่ เพราะเหตนั้น จึงสัมมสนะว่า ไม่เที่ยง
ด้วยอรรถคือ สิ้นไป เพราะมีความสิ้นไปเป็นสภาพแล. แม้ในคำว่า ยํ อนาคตํ เป็นต้น ก็
มีนัยนี้. พึงประกอบคำโดยนัยมีอาทิว่า รูปใดเป็นภายนอก แม้รูปนั้นก็สิ้นไปในภายนอกนั่น
แหละ หาถึงความเป็นภายในไม่ เหตุนั้น จึงไม่เที่ยง ด้วยอรรถคือ สิ้นไป ว่ารูปใดเป็นภาย
ใน แม้รูปนั้นก็นั้นก็สิ้นไปในภายในนั้นเอง เพราะเหตุนั้น จึงไม่เที่ยง ด้วยอรรถคือ สิ้นไป.

คำว่า สัมมสนะทั้งปวงนี้ มีความว่า สัมมสนะทั้งปวง คือทั้ง ๑๑ อย่างนี้ เพราะ
พิจารณารูปอันจำแนกเป็นอดีตเป็นต้น จัดเป็นสัมมสนะหนึ่ง เพราะทำคำอธิบายว่า เป็น
การพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. บทว่า ตํ ความว่า รูปทั้ง ๑๑ อย่างนั้น. คำว่า
เพราะเป็นสิ่งที่ภัยมีเฉพาะหน้า คือเพราะเป็นสิ่งนำมาซึ่งความกลัว. คำว่า ย่อมนำความ
กลัวมาให้ ความว่า เพราะความที่ยังละวิปัลลาสไม่ได้ รูปจึงเป็นสิ่งให้เกิดความ
บุคคลผู้คิดว่า เราจักพินาศ สิ่งของของเราจักพินาศ. คำว่า ดังความกลัวเกิดแก่เทวดา

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/