ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อธิบาย มนสิการ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65438
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 ก.พ. 2025, 10:29 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบาย มนสิการ

อธิบาย มนสิการ
[๔๗๓] การกระทำ ชื่อว่า การ การกระทำไว้ในใจ ชื่อว่า มนสิการ เจตสิก
ชื่อว่า มนสิการ เพราะอรรถว่า กระทำใจไม่เหมือนจากใจเดิมม ดังนี้ก็มี มนสิการนี้นั้นมี ๓
ประการ คือ อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ (มนสิการที่จัดแจงไว้ในอารมณ์) วิถีปาทกมนสิการ
(มนสิการที่จัดแจงไว้ในวิถีจิต) ชวนปฏิปาทกมนสิการ (มนสิการที่จัดแจงไว้ในชวนจิต).
ในบรรดามนสิการทั้ง ๓ นั้น อารันมมณปฏิปากกะ ชื่อว่า เป็นมนสิการ เพราะ
อรรถว่า กระทำไว้ในใจ อารัมมณปฏิปาทกมนสิการนั้นมีการยังสัมปยุตตธรรมให้แล่นไป
เป็นลักษณะ มีการประกอบสัมปยุตตธรรมทั้งหลายไว้ในอารมณ์เป็นรส มีความมุ่งหน้า
ต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน มีอารมณ์เป็นปทัฏฐาน เป็นธรรมนับเนื่องอยู่ในสังขารขันธ์
พึงเห็นเหมือนอย่างเป็นสารถีของสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ด้วยภาวะที่จัดแจงไว้ในอารมณ์
ส่วนคำว่า วิถีปฏิปาทกะ นี้ เป็นชื่อของ ปัญจทวาราวัชขนะ คำว่า ชวนปฏิปาทกะ
นี้ เป็นชื่อของ มโนทวาราวัชชนะ มนสิการทั้งสองนั้นไม่ประสงค์เอาในที่นี้.

อธิบาย มนสิการ
(๔๗๓] ท่านอาจารย์กล่าวความที่ การ ศัพท์ เป็นภาวสาธนะว่า การกระทำ ชื่อว่า
การะ. การกระทำไว้ในใจ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มนสิการ ได้แก่ การกระทำอารมณ์
ก็เจตสิกธรรมใดย่อมกระทำใจไว้ในอารมณ์ เพราะผูกใจนั้นไว้ด้วยอารมณ์ เพราะเหตุนั้น
แหละ เจตสิกธรรมนั้นจึงชื่อว่า กระทำแม้อารมณ์ไว้ในใจด้วยแล.
คำว่า จากใจเดิม ได้แก่ จากภวังคจิต.
คำว่า ใจไม่เหมือน คือ ย่อมกระทำใจให้แล่นไปสู่วิถี เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์
จึงแสดงมนสิการที่จัดไว้ในวิถีจิตและที่จัดไว้ในชวนจิต โดยความเป็นมนสิการเสมอกัน.

อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ ย่อมเป็นเหมือนยังสัมปยุตตธรรมทั้งหลายให้แล่นไป
เฉพาะหน้าต่ออารมณ์ เพราะเหตุนั้น มนสิการท่านจึงกล่าวว่า มีการยังสัมปยุตตธรรมให้
แล่นไปเป็นลักษณะ. สติและมนสิการเหล่านี้มีความต่างกันดังนี้ สติมีความมุ่งหน้าต่อ
อารมณ์ ด้วยอำนาจความไม่ลืมเป็นปัจจุบัฏฐาน ส่วนมนสิการมีความมุ่งหน้าต่ออารมณ์
ด้วยอำนาจการประกอบไว้เป็นปัจจุบัฏฐาน.

การกล่าวความที่อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ ว่าเป็นธรรมนับเนื่องในสังขารขันธ์
ย่อมส่องแต่เพียงว่ามนสิการนอกนี้ เป็นธรรมนับเนื่องในขันธ์อื่นจากสังขารขันธ์นั้น เพราะ
เหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ ซึ่งแปลว่า มนสิการที่จัดแจงไว้
ในวิถีจิตเป็นต้น เพื่อจะแสดงการกล่าวว่า มนสิการเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขารนั้นที่ส่อง
ความอย่างนั้นให้หยั่งลงในวิญญาณขันธ์.

ไฟล์แนป:
Photoroom-20250222_031933.png
Photoroom-20250222_031933.png [ 605.94 KiB | เปิดดู 1717 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/