ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อธิบายผัสสะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=65428
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 18 ก.พ. 2025, 10:48 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบายผัสสะ

อธิบาย ผัสสะ

[๔๕๙] ในบรรดาคำเหล่านั้น สภาวธรรมชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า ถูกต้อง
ผัสสะนี้นั้นมีความถูกต้องเป็นลักษณะ มีการกระทบกันเป็นรส มีความรวมกันเป็นปัจจุ-
ปัฏฐาน มีอารมณ์ที่พึงถึงคลองเป็นปทัฏฐาน ก็ผัสสะนี้แม้เป็นอรูปธรรม ก็ย่อมเป็นไป
ด้วยอาการคือความถูกตัดเป็นอารมณ์นั้นเอง และแม้ไม่ติดอยู่โดยเอกเทศ ก็ทำจิตและ
อารมณ์ให้กระทบกันได้ เหมือนรูปกระทบนัยน์ตาและเสียงกระทบหู ฉะนั้น ชื่อว่า มีความ
รวมกันเป็นปัจจุปัฏฐาน เพราะทำให้รู้ได้ด้วยอำนาจเหตุของตน กล่าวคือรวมกันเข้า ๓
อย่าง ท่านกล่าวว่า มีอารมณ์ที่ถึงคลองเป็นปทัฏฐาน เพราะเกิดขึ้นโดยไม่มีอะไรขัดขวาง
ทีเดียว ในอารมณ์ที่การประมวลอันเกิดแต่ผัสสะนั้นและอินทรีย์แวดล้อมไว้ ก็ผัสสะพึง
เห็นเหมือนแม่ใคที่ไม่มีหนัง เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.

(๔๕๙) บทว่า ผุสดี เป็นคำแสดงกัตตุ เหตุในการแสดงกัตตุนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าว
ไว้แล้วในหนหลังนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ผสฺโส มีวิเคราะห์ว่า ผุสนฺติ เอเตนาติ ผสฺโส สภาว.
ธรรม ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุถูกต้อง. ก็สัมปยุตตธรรมทั้งหลายเมื่อเป็นไป
อยู่ในอารมณ์ ย่อมเป็นหมือนถูกต้องอารมณ์นั้น ด้วยผัสสะอันมีความถูกต้องลักษณะ
อีกอย่างหนึ่ง ผสฺโส มีวิเคราะห์ว่า อารมฺมผสฺนมตฺตํ ผสฺโส แปลว่า เพียงแต่ความถูกต้อง
อารมณ์ก็ชื่อว่า ผัสสะ..เพราะเหตุนั้น ย่อมใช้ได้ทั้ง ๓ สาธนะทีเดียว. การกล่าวกัตตุสาธนะ
และกรณสาธนะไว้ในสภาวธรรมทั้งหลายเป็นคำปริยาย เพราะยกอาการนั้นขึ้น การกล่าว
ภาวสาธนะอย่างเดียวเป็นคำนิปปริยาย เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ผัสสะนี้
นั้นมีความถูกต้องเป็นลักษณะ

ไฟล์แนป:
md_uzy3y2_1b8954e9f3c9a0674feb3b063742607a4fcaa30f.jpg
md_uzy3y2_1b8954e9f3c9a0674feb3b063742607a4fcaa30f.jpg [ 174.39 KiB | เปิดดู 1327 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 18 ก.พ. 2025, 11:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายผัสสะ

คำว่า ก็ผัสสะนี้ เป็นคำที่ทำให้เข้าใจลักษณะตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น. ท่านอาจารย์
ได้ตั้งไว้ในใจซึ่งคำถามอันลี้ลับอยู่ภายในว่า ถ้าธรรมนี้เป็นเจตสิกไซรั ธรรมที่นั้นก็เป็นอรูป-
ธรรม จะมีการถูกต้องกันเป็นลักษณะ และมีการกระทบกันเป็นต้นเป็นรส จึงได้กล่าวคำว่า
แม้เป็นอรูปธรรม ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแก้คำถามนั้น. ในคำนั้น ด้วยคำว่า ย่อมเป็นไปด้วย
อาการคือความถูกต้องนั้นเอง นี้ ท่านอาจารย์ย่อมแสดงว่า นี้เป็นสภาของธรรมนั้น
แม้เป็นรูป. ความเป็นไปด้วยอาการคือควานถูกต้องของผัสสะนั้น นั้นเป็นอาการที่แจ่ม
แจ้ง เช่นในตัวอย่างมีอาทิอย่างนี้ คนหนึ่งเห็นเขากินของมีรสเปรี้ยวและมะม่วงสุกเป็นต้น
เกิดน้ำลายไหล คนใจอ่อนเห็นคนอื่นถูกเบียดเบียน ก็ตัวสั่น, คนขี้ขลาดยืนอยู่บนพื้นดิน
เห็นคนยืนหมิ่นปลายกิ่งไม้ ก็แข้งสั่น, คนเห็นสิ่งที่น่ากลัวมีปีศาจเป็นต้น ก็ขาแข็ง.

คำว่า โดยเอกเทศ คือ โดยส่วนหนึ่งของตน เหมือนไม้สองอันเป็นต้น. บทว่า
อนลฺลียมาโนปี แปลว่า แม้ไม่ติดอยู่. ความที่ผัสสะเสมอกันกับรูปและเสียงเป็นการกระทบ
กันที่ไม่ติดอยู่นั่นเอง ไม่ใช่ความเป็นอารมณ์. รูปไม่ติดกับนัยน์ตา เสียงก็ไม่ติดกับหูทีเดียว
ท่านก็กล่าวด้วยคำว่า ถูกต้องกันได้ เป็นต้นฉันใด แม้ผัสสะก็กระทบ คือถูกต้องอารมณ์ได้
เหมือนฉันนั้นแล. ก็ การกระทบ ได้แก่ ภาวะที่ผัสสะร่วมเข้ากันได้ซึ่งจิตกับอารมณ์นั่นเอง.
ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ทำจิตและอารมณ์ให้กระทบกันได้. ท่านกล่าวความ
ที่ผัสสะมีการกระทบกันเป็นรส ด้วยรสมีกิจเป็นอรรถ.

อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะย่อมถึงพร้อมด้วยการร่วมกันชั่วซึ่งซึ่งวัตถุและอารมณ์ เพราะ
เหตุนั้น ผัสสะจึงมีความกระทบเป็นสมบัติ ท่านกล่าวว่า มีการกระทบเป็นรส. ผ้ามือกระทบ
ฝ่ามือ เช่นในคำว่า ฝ่ามือสองข้างปรบกัน เป็นต้น พึงเห็นว่าเป็นรูปธรรมที่พิเศษของการ
กระทบแห่งฝ่ามือนั้น ฉันใด ความกระทบจิตในอารมณ์ ก็พึงเห็นว่าเป็นเจตสิกธรรมอย่าง
หนึ่งเป็นพิเศษของการกระทบจิตในอารมณ์นั้นเหมือนฉันนั้น ท่านอาจารย์กล่าวคำว่า กล่าว
คือรวมกันเข้า ๓ อย่าง เป็นต้น เพราะความที่จักษุ รูป และวิญญาณ เป็นต้น เป็นสิ่งที่
จะพึงถือเอาโดยการร่วมกัน เพราะมีพระบาลีว่า ความร่วมกันแห่งธรรม ๓ อย่าง ชื่อว่า
ผัสสะ. การประมวลมาอัมสมควรแก่ผัสละนั้นอันปืนเหตุแห่งทัสสะนั้น ชื่อว่า ตชฺชาสมนฺ-
นาหาโร แปลว่า การประมวลอันเกิดแต่ผัสสะนั้น. ความที่อินทรีย์เผชิญหน้าต่อผัสสะนั้น
และการทำอาวัชชนะให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ความมีอารมณ์ถูก แวดล้อม คือถูกปรุงแต่ง
อธิบายว่า ทำความเป็นอารมณ์แก่วิญญาณ. แม่โคที่ไม่มีหนังเข้าไปยังสถานที่ใด ๆ ก็ย่อม
ได้รับทุกข์อย่างเดียวในสถานที่นั้นๆ ฉันใด เมื่อมีผัสสะก็ย่อมเกิดเวทนานั่นเอง เหมือน
ฉันนั้น และเวทนาก็มีสภาพลูกศร คือความทุกข์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์
จองแล้ว ก็ผัสสะพึงเห็นเหมือนแม่โคที่ไม่มีหนัง เพราะเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/