ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การวินิจฉัยแห่งธรรมทั้งหลาย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64748
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2024, 09:38 ]
หัวข้อกระทู้:  การวินิจฉัยแห่งธรรมทั้งหลาย

การวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมทั้งหลายที่อยู่ภายใน
ข้อว่าโดยข้อธรรมทั้งหลายที่อยู่ภายใน ความว่า ก็เว้นตัณหา
และธรรมที่ไม่มีอาสวะ ธรรมทั้งปวงที่เหลือหยั่งลงภายในทุกขสัจ.

ตัณหาวิจริต ๓๖ หยั่งลงในสมุทัยสัจ

นิโรธสัจไม่เจือปน (กับอะไร).

วิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมที่หยั่งลง
ภายในในที่มรรคสัจ โดยหัวข้อคือ สัมมาทิฏฐิ วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น หยั่งลงภาย
ในในมรรคสัจ โดยอ้างถึงสัมมาสังกัปปะ. วจีสุจริต ๔ ก็หยั่งลงภายในในมรรคสัจ โดย
อ้างถึงสัมมาวาจา กายสุจริต ๓ ก็หยั่งลงภายในในมรรคสัจ โดยอ้างถึงสัมมากัมมันตะ.
อัปปิจฉตาและสันตุฏฐิตา ก็หยังลงภายในในมรรคสัจ โดยหัวข้อคือ สัมมาอาชีวะ. อีก
อย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทั้งหมดนี้ทีเดียวเป็นอริย-
กันตศีล และเพราะอริยกันตศีลจะพึงถือเอาด้วยหัตถ์คือศรัทธา สัทธินทรีย์ สัทธาพละ
และฉันทิทธิบาท จึงหยั่งลงภายในในมรรคสัจ เพราะสัทธินทรีย์ สัทธาพละ และฉันทิทธิ-
บาทเหล่านั้นมี อริยกันตศีลจึงมี, สัมมัปปธาน ๔ อย่าง วิริยิทธิบาท วิริยินทรีย์
วิริยพละ วิริยสัมโพขฌงค์ หยั่งลงภายในในมรรคสัจ โดยอ้างถึงสัมมาวายามะ, สติปัฏฐาน ๔
อย่าง สตินทรีย์ สติพละ สติสัมโพชฌงค์ หยั่งลงภายในในมรรคสัจ โดยอ้างถึงสัมมาสติ.
สมาธิ ๓ มีสวิตักกสวิจารสมาธิเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปิติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ หยั่งลงภายในในมรรคสัจ
โดยอ้างถึงสัมมาสมาธิ.
พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในในอริยสัจนี้ ด้วยประการ
ดังกล่าวมาฉะนี้

ไฟล์แนป:
artworks-000622788142-ovqykl-t500x500.jpg
artworks-000622788142-ovqykl-t500x500.jpg [ 99.46 KiB | เปิดดู 1364 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2024, 13:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การวินิจฉัยแห่งธรรมทั้งหลาย

พรรณนาการวินิจฉัยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน
(๕๖๔) คำว่า ธรรมทั้งปวงที่เหลือ ได้แก้แก่ โลกียธรรมที่เหลือ ๘๑
หมวด ๑๒ หน คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา อยู่ในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายใน
และภายนอก ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๓๖ หรือตัณหาวิจริตที่มิได้บ่งถึง การจำแนกกาลตรัส
ไว้ตามนัยที่มาในคัมภีร์ยุททกวิภังค์. เพราะในการระบุถึงการจำแนกกาลนั้น ก็เป็นตัณหา-
วิปริต ๑๐๘

คำว่า นิโรธสัจไม่เจือปน คือ ไม่เจือปนกับอะไร ๆ เพราะความที่นิโรธสัจเป็นหมวด
เดียว อธิบายว่า ประเภทที่หยั่งลงภายในในนิโรธสัจนั้นจักมีมาแต่ไหน. แม้เมื่อโพธิปักขิย
ธรรมมีวิมังสิทธิบาทเป็นต้นจะต่างกันโดยกิจอยู่ โดยอรรถก็สงเคราะห์เข้าด้วยสัมมาทิฏฐิ
เพราะเป็นความอันเดียวกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความที่โพธิปักขิยธรรมมีมังสิทธิ
บาทเป็นต้น เป็นธรรมที่หยั่งลงในในมรรคสัจ นั้น โดยมุขคือ สัมมาทิฏฐิ

(๑๐๐) คำว่า วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น ความว่า ในขณะที เป็นโลกียวิตก
จำแนกด้วยอำนาจการประกอบด้วย อโลภะ เมตตา และกรุณา ในขณะแห่งมรรค วิตกมี
๓ อย่าง ด้วยอำนาจการตัด โลภะ พยาบาท และวิจิกิจฉา ได้เด็ดขาด
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าแม้ข้อเดียวก็มี ในสัมมาวาจาเป็นต้น ก็มีนัยนี้. ก็เพราะเมื่อความมักน้อย
และความสันโดษมี สัมมาอาชีวะจึงมี บัณฑิตพึงเห็นการรวมเอาความมักน้อย
และความสันโดษนั้นเข้ากับสัมมาอาชีวะนั้น อริยกันตศิลเหล่านั้น พึงถือเอาด้วยหัตถ์คือ
ศรัทธาใด
เพราะการถือเอาศีลอันชื่อว่า อริยกันตะ เหตุที่พระอริยะทั้งหลายไม่พึงล่วงละเมิดแม้ใน
ภพอื่นแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ซึ่งได้แก่ศิลมีสัมมาวาจาเป็นต้น หัตถ์คือศรัทธานั้นก็ย่อมเป็น
อันถือเอาด้วยทีเดียว เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์และสัทธาพละซึ่งมิใช่อื่นไปจากอริยกันตศีล
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า หยั่งลงภายในในมรรคสัจ,นั้น เพราะอธิบายว่า ก็ฉันทะเป็นคุณที่ดำเนินไป
ตามศรัทธา ท่านจึงกล่าวว่า แม้ว่าฉันทิทธิบาทหยั่งลงภายในในมรรคสัจนั้น สองบท
ว่า เตสํ อตฺถิตาย ความว่า เพราะความที่ศีลจะมิได้ก็โดยเหตุที่มี สัทธินทรีย์ สัทธาพละ
และฉันทิทธิบาท ท่านจึงถือเอาธรรมทั้ง ๓ อย่าง นั้นด้วยศีลทั้ง ๓ อย่าง เพราะฉะนั้น
ธรรมทั้ง ๓ อย่าง จึงหยั่งลงภายในในมรรคสัจนั้น. ท่านอาจารย์เรียก จิตติทธิบาท ว่า
จิตตสมาธิ.

จริงอยู่ สมาธิท่านกล่าวด้วยข้อว่า จิตตะ เช่นในค่าว่า จิตตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
เพราะฉะนั้น แม้จิตก็ควรซึ่งภาวะที่จะพึงกล่าวด้วยหัวข้อคือสมาธิ. ก็แม้สมาธิย่อมเป็น
ธรรมมีประมาณยิ่งด้วยการเจริญจิตติทธิบาท เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่เรียกว่าเป็น จิตติ
ธิบาท เหมือนอย่างเรียกวิมังสิทธิบาทเป็นต้น แล้วเรียกว่า จิตตสมาธิ ในที่นี้ ปิติและ
ปัสสัทธิ เป็นอุปการะมก่สมาธิ โดยพระบาลีว่า กายของผู้มีใจประกอบด้วยปิติ ย่อมระงับ
บุคคลผู้มีการระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของบุคคลผู้มีควานสุข ย่อมเป็นสมาธิ เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงถือเอาด้วยศัพท์ว่า สมาธิ. ส่วนอุเบกขา ท่านก็ถือเอาด้วยศัพท์ สมาธิ
เพราะมีอุปการะแก่สมาธิ และเพราะมีใจเหมือนกับสมาธินั้น เพราะฉะนั้น พึงเห็นความที่
ธรรมเหล่านี้เป็นสภาวะที่หยั่งลงกายใน โดยศัพท์อันประธานคือสมาธิ

พรรณนาการวินิจฉัยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน จบ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 01 ส.ค. 2024, 15:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การวินิจฉัยแห่งธรรมทั้งหลาย

โพชฌงค์ ๗ หยั่งลงเข้าในองค์มรรค ๘

๑.สัมมาทิฏฐิมรรค มีธรรมที่หยั่งลง
วิมังสิทธิบาท. ๑ ปัญญินทรีย์.๑ ปัญญาพละ.๑ ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑

๒.สัมมาสังกัปปะมรรค มีธรมหยั่งลง
เนกขัมวิตก ๑ อัพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑

๓.สัมมาวาจา มีธรรมที่หยั่งลง
วจีสุจริต ๔ (งดเว้นจากพูดเท็จ. งดเว้นจากการส่อเสียด.
งดเว้นจาการพูดหยาบ. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)

๔.สัมมากัมมันตะ. มีธรรมที่หยั่งลง
การไม่ฆ่าสัตว์ ๑ การไม่ลักทรัพย์ ๑ การไม่ประพฤติผิดในกาม ๑

๕. สัมมาอาชีวะ ธรรมที่หยังลง
หมายถึงการทำอาชีพไม่หลอกลวง ๑ ค้าอาวุธ ๑ ไม่ค่าขายน้ำเมา ๑
ค้าขายเนื้อสัตว์เพื่อให้เขานำไปฆ่า ๑ ค้าขายยาพิษ ๑ ค้าขายมนุษย์ ๑

(สัมมาวาจา.สัมมากัมมันตะ.สัมมาอาชีวะ)ทั้ง ๓ นี้ เป็นอริยะกันตะศีล
จะพึงถือด้วยมือ คือ สัทธา ๑ สัทธินทรีย์. ๑ สัทธาพละ ๑ ฉันทิบาท ๑ อริยะกันตะศีลจึงมี)

๖.สัมมาวายามะมีธรรมที่หยั่งลง
สัมมัปปธาน ๔ วิริยินธิบาท ๑ วิริยินทรีย์ ๑ วิริยะ ๑ และวิริยสัมโพชฌงค์ ๑

๗. สัมมาสติ มีธรรมที่หยั่งลง
สติปัฏฐาน ๔ อย่าง สตินทรีย์ ๑ สติพละ ๑ สติสัมโพชฌงค์ ๑

๘. สัมมาสมาธิ มีธรรมที่หยั่งลง
มีสมาธิ ๓ อย่าง จิตตบาท ๑ สมาธินทรีย์ ๑ สมาธิพละ ๑
ปิติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 02 ส.ค. 2024, 19:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การวินิจฉัยแห่งธรรมทั้งหลาย

viewtopic.php?f=66&t=57311

viewtopic.php?f=66&t=64175

viewtopic.php?f=66&t=61511

เปิดลิ้งค์อ่านต่อ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/