ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

จักขุปสาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64684
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 01 ก.ค. 2024, 07:29 ]
หัวข้อกระทู้:  จักขุปสาท

การกำหนดรู้จักขุปสาท

การที่โยคีรู้ว่าปสาทตาดีพอที่จะทำให้สีปรากฏ ก็ดี การรู้ว่าปสาทตาดี ก็ดี
นี้เรียกว่าเป็นการรู้ลักษณะของจักขุปสาทได้ตามความเป็นจริง นี่แหละคือการรู้
สภาวะลักษณะของรูปตาที่มีความใส ซึ่งเรียกว่า จักขุปสาท แม้ในเรื่องของปสาท
อื่นๆเช่น โสตปสาท ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกัน การที่โยคีรู้ว่า จักขุปสาทเป็น
ตัวนำจิตให้เข้าถึงรูปสีที่เรียกว่า วรรณะก็ดี การที่รู้ว่า จักขุปสาท ก่อให้เกิดการ
เห็น ก็ดี เรียกว่าเป็นการรู้รสะของจักขุปสาทนั้น ตามความเป็นจริง ซึงสอดคล้อง
กับคำกล่าวที่ว่า "รูเปสุ อาวิญฺชนรโส จักขุปสาทมีหน้าที่ดึงจิตเข้าไปสู่รูปารมณ์
หรือที่เรียกว่า " สี " จักขุปสาทนั้นทำหน้าที่ดึงจิตสู่รูปารมณ์นั่นเอง นั่นก็คือ ก่อให้
เกิดการเห็นรูปารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น เพื่อให้โยคีผู้ปฏิบัติได้เกิดความเข้าใจง่าย
จึงได้ใช้คำาอธิบายที่หลากหลาย เช่น จักขุปสาทผู้ส่งจิตไปสู่รูปารมณ์ หรือผู้ทำให้
เกิดการเห็นดังนี้เป็นต้นซึ่งเป็นคำแปลที่อาจจะไม่ตรงกับโครงสร้างทางไวยากรณ์นัก
แต่ก็ถือว่าเป็นความหมายที่ถือเอาได้โดยอธิบาย เพราะฉะนั้น คำแปลในเรื่อง
ต่อไปก็อาจจะแปลโดยทำนองเดียวกันนี้

การที่โยคีรู้ว่า นี่เป็นที่ตั้งแห่งการเห็น ก็ดี รู้ว่าการเห็นเกิดขึ้นจากสิ่งนี้หรือ
เริ่มต้นจากสิ่งนี้ ก็ดี เรียกว่าเป็นการรู้ปัจจุปัฎฐานของจักขุปสาทนั้น ตามความ
เป็นจริง ก็การรู้ถึงสาเหตุคือรู้ว่าเนื้อปสาทตาซึ่งเรียกว่า "รูปหยาบที่ปรากฎเกิด
ด้วยอำนาจของกรรม" หรือที่เรียกว่า กัมมชภูตรูป นั้น ว่า จักขุปสาทนี้เกิดขึ้น
เพราะมีรูปตาเนื้อนี้เป็นเหตุ ดังนี้ เรียกว่า เป็นการรู้ปทัฏฐานของจักขุปสาทนั้น
ตามความเป็นจริง

ไฟล์แนป:
Picture89.jpg
Picture89.jpg [ 49.79 KiB | เปิดดู 1764 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 01 ก.ค. 2024, 10:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จักขุปสาท

การกำหนดรู้รูปายตนะ

การที่โยคีรู้รูปที่เป็นสีสันได้ตามความเป็นจริง เช่น รู้ว่าคือรูปสีสันปรากฏ
ในจักขุปสาท เรียกว่าเป็นการรู้ลักษณะ ของรูปายตนะตามความเป็นจริง รู้ว่าานี่คือ
สิ่งที่ปรากฎให้เห็นได้ เรียกว่าเป็นการรู้รสะของรูปายตนะนั้นตามความเป็นจริง
รู้ว่านี่คือวิสัยหรือที่โคจรของการเห็น ก็ดี รู้ถึงการเกิดขึ้นของการเห็นว่ามาจาก
สิ่งนี้ ก็ดี เรียกว่าเป็นการรู้ปัจจุปัฏฐานของรูปายตนะตามความเป็นจริง ว่า
จักสุปสามเกิดขึ้นโดยอาสัยรูปทีเป็นฐานกล่าวคือภูตรูป เรียกว่าเป็นการรู้ปทัฏฐาน
ของรูปายตนะตามความเป็นจริง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ พีงทราบว่า เป็นการรู้
สภาวธรรมที่เรียกว่า ลักขณาทิจตุกกะ(สาระที่ควรรู้ ๔ ประการมีสักษณะเป็นต้น)
อย่างใดอย่างหนึ่ง ของรูปายตนะ ซึ่งสอดคล้องกับพระไตรปิฎกสติปัฏฐานสูตรที่ว่า
จกฺขุญฺจ ปชานาติ รูเป จ ปชานาติ. และสอดคล้องกับคัมภีร์อัฏฐกถาของ
สติปัฏฐานสูตรดังกล่าวที่ว่า จกฺปสาทํ รูปญฺจ ยาถาวสลกฺขณวเสน ปชานาติ
โยคีย่อมรู้จักขุปสาทและรูปารมณ์ตามความเป็นจริงโดยกิจจะและลักษณะที่เกิดขึ้น
ตามที่เป็นจริง

บางท่านพิจารณากำหนดรูปทั้งหลาย โดยอาศัยจุณณมนสิการซึ่งได้แสดง
ไว้ในเรื่องของธาตุววัตถานสมถะและนำมาใช้ในการพิจารณาในเรื่องของวิปัสสนา
ให้มองเห็นรูปารมณ์นั้นเป็นของละเอียดดุจผุยผง ซึ่งการนำมาพิจารณาโดยการ
อาศัยจุณณมนสิการจากสมถะดังกล่าวมิใช่เป็นการรู้ลักษณะรสะปัจจุปัฏฐานของรูป
ตามความเป็นจริง จึงไม่ควรนำมาใช้พิจารณา

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 01 ก.ค. 2024, 15:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จักขุปสาท

การทำหนดรู้จักขุวิญญาณ

โยคีผู้รู้ซึ้งถึงสภาพการเห็นได้ตามความเป็นจริงนั้น ย่อมรู้โดยนัยนี้คือ
(๑) ย่อมรู้ลักษณะของจักขุวิญญาณดังนี้ว่า เป็นการรู้ที่มาจากภายในจักษุ เป็นการ
รัรูปารมณ์ (๒) ย่อมรู้รสะหรือกิจของจักขุวิญญาณดังนี้ว่า เป็นเพียงการรับเอารูป
เท่านั้นเป็นอารมณ์หรือเป็นเพียงแค่สภาพการเห็นเท่านั้น (๓) ย่อมรู้ปัจจุปัฏฐาน
ของจักขุวิญญาณดังนี้ว่า จักขุวิญญาณนี้ย่อมมุ่งหน้าไปหาอารมณ์ (๔) ย่อมรู้
ปทัฏฐานของจักขุวิญญาณดังนี้ว่าจักขุวิญญาณนี้ย่อมเห็นรูปารมณ์เพราะมีมนสิการ
"การเอาใจใส่ในอารมณ์" เป็นเหตุ หรือ เพราะมีจักษุและรูปารมณ์อยู่ จักขุวิญญาน
จึงสามารถเห็นได้ หรือเพราะกรรมดีกรรมชั่วให้ผล จักขุวิญญาณจึงเห็น

หลักฐานที่มาในพระบาลี มีดังนี้
(๑) รูปารมุมณาย กิริยมโนธาตุยา อปคมปทฎฺฐานํ. (ขนฺธนิทฺเทส)
(๒) สงฺขารปทฎฺฐานํ วตฺถารมฺมณปทฎฺฐานํ วา. (ปฏิจจสมุปฺปาทวณฺณนา)

ไฟล์แนป:
eye-check-blog.jpg
eye-check-blog.jpg [ 71.96 KiB | เปิดดู 1595 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 11 ก.ค. 2024, 13:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จักขุปสาท

การกำหนดรู้จักขุสัมผัส

โยคีผู้รู้ซึ้งถึงสภาพการกระทบสัมผัสทางจักขุได้ตามความเป็นจริงนั้นย่อมรู้
โดยนัยดังนี้ (๑) ย่อมรู้ลักษณะของจักขุสัมผัสดังนี้ว่า เป็นการกระทบสัมผัสกับ
รูปารมณ์ (๒) ย่อมรู้รสะหรือกิจของจักขุสัมผัสดังนี้ว่า เป็นเพียงการกระทบสัมผัส
กับรูปารมณ์เท่านั้น (๓)ย่อมรู้ปัจจุปัฏฐานของจักขุสัมผัสดังนี้ว่าเป็นเพียงการประชุม
กันแห่งจักขุปสาท รูปารมณ์ และจักขุวิญญาณ (๔) ย่อมรูปทัฏฐานของจักขุสัมผัส
ดังนี้ว่า จักขุสัมผัสนี้ย่อมเกิดขึ้นได้เพราะรูปารมณ์ปรากฎ

การกำหนดรู้สุขเวทนา

โยคีผู้รู้ซึ้งถึงสภาพความสุขอันเนื่องมาจากการเห็นได้ตามความเป็นจริงนั้น
ย่อมรู้โดยนัยดังนี้ (๑) ย่อมรู้ลักษณะของสุขเวทนาดังนี้ว่า เป็นความรู้สึกที่ดีที่ได้
เห็นรูปารมณ์ดังกล่าว (๒) ย่อมรู้รสะหรือกิจของสุขเวทนาดังนี้ว่า เป็นเพียงการ
เสวยอารมณ์โดยลักษณะอาการที่ดี (๓) ย่อมรู้ปัจจุปัฏฐานของสุขเวทนาดังนี้ว่า
เป็นปรากฏการณ์อันนำยินดีที่มาจากภายในจิตใจ (๔) ย่อมรู้ปทัฏฐานของสุขเวทนา
นี้ว่า รู้สึกดีเพราะจิตสงบหรือรู้สึกดีเพราะได้กระทบสัมผัสกับรูปารมณ์ที่ดี
รู้สึกดีเพราะได้กระทบสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการเห็น

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/