ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การไม่ให้ ไม่ได้เป็นมัจฉริยะเสมอไป http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64560 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 11 ธ.ค. 2023, 04:19 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การไม่ให้ ไม่ได้เป็นมัจฉริยะเสมอไป | ||
การไม่ให้ ไม่ได้เป็นมัจฉริยะเสมอไป เนื่องจากท่านได้กล่าวไว้ว่า มัจฉริยะถูกละด้วยอริยมรรคขั้นโสดาปัตติมรรค เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรที่จะเข้าใจผิดไปด้วยว่า "ทุกๆครั้งที่มีการขอสิ่งของจาก บุคคลผู้ที่เป็นโสดาบันแล้วพระโสดาบันนั้นจะต้องสละหรือจะต้องให้อย่างแน่นอน" และไม่ควรเข้าใจผิดว่า "โสดาบันบุคคลนั้น ไม่มีการครอบครองวัตถุสิ่งของ หรือ ทรัพย์สมบัติ" การตีความเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าลักษณะของการครอบครอง ทรัพย์สิน ก็ดี การไม่ปรารถนาที่จะสละของที่เป็นของตน ก็ดี ความหวงแหนใน ทรัพย์ที่ถือว่าเป็นของตน ก็ดี จัดว่าเป็นโลภะทั้งสิ้น ไม่ใช่จัดเป็นมัจฉริยะ ฉะนั้น แม้ว่าจะจัดกลุ่มสภาวะเช่นการไม่ยินดี ไม่อดทน หรือมีความตระหนี่ ถี่เหนียว ไม่ให้คนอื่นมายุ่งเกี่ยวหรือเป็นเจ้าของในทรัพย์สินของตน หรือใช้สอย ทรัพย์สินของตนเป็นมัจฉริยะ แต่การไม่สละหรือการไม่เสียสละนั้น ก็ไม่ใช่จะ เกี่ยวข้องเฉพาะกับมัจฉริยะ แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับโลภะด้วย แม้ว่าพระโสดาบัน นั้นจะปราศจากมัจฉริยะแล้วก็ตาม แต่ในส่วนของโลภะยังมีอยู่ ในกรณีนี้ ผู้ศึกษา สามารถที่จะนำเอาเหตุการณ์ในพุทธกาลมาพิจารณาเป็นตัวอย่าง เช่น เรื่องของ มหาเศรษฐีกับภรรยา พระราชากับพระมเหสี ผู้ซึ่งได้สำเร็จเป็นพระไสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อนึ่ง ในยุคนั้น โจรขโมยหรือโจรปล้น ก็มีอยู่ พวกเดียรถีย์ที่ เป็นคู่อริกับพระพุทธศาสนากีมี รวมทั้งสาวกของเดียรถีย์เหล่านั้นด้วย ก็มีมากมาย เพราะฉะนั้น พึ่งทราบว่าผู้ที่เที่ยวขอบุคคลอื่นโดยไม่คิดหน้าคิดหลังก็มีอยู่มาก ซึ่งถ้าหากบุคคลสละให้ตามที่คนเหล่านั้นเที่ยวขออยู่นั้น บุคคลผู้ที่เป็นอริยะ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี หรือเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป ก็จะ ปราศจากทรัพย์สินที่เป็นของส่วนตน กลายเป็นคนอนาถาอย่างแน่นอน ข้อนี้ พึงนำเอาเรื่องที่โจรเข้าประชิดบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีดูก็แล้วกัน เพราะถ้าขอได้ก็คงไม่มีการไปปล้น แต่ว่าคนเหล่านั้นก็ฝืนกฎหมายทำการปลัน ซึ่งมีโทษมหันต์ในยุคนั้น โดยไม่เกรงขามต่อกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้น คำว่า มัจฉริยะ จึงหมายถึง ความตระหนี่ที่เป็นไปในลักษณะไม่ต้องการ ให้บุคคลอื่นครอบครองหรือมีความเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน แต่สำหรับการที่ ไม่ยอมสละสิ่งของอันเป็นที่รักของตนโดยไม่เกี่ยวกับการครอบครองโดยไม่มีการ ใส่ใจในการครองครองของบุคคลอื่น อันนี้เป็นวิสัยของโลภะเท่านั้น ไม่ใช่วิสัยของ มัจฉริยะ แล้วก็สำหรับการที่ไม่ให้แก่บุคคลที่ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ ก็พึงทราบว่า ไม่ เกี่ยวกับโลภะและมัจฉริยะแต่อย่างใด พระนางอุบลวรรณาเถรี จึงได้กล่าวปฏิเสธ ต่อพระอุทายีผู้มาขอบิณฑบาตผ้าอันตรวาสกดังนี้ว่า มยํ โข ภนฺเต มาตุคามา นาม กิจฺฉลาภา, อิทญฺจ เม อนฺติมํ ปญฺจมํ จีวรํ. นาหํ ทสฺสามิ. ข้าแต่พระคุณเจ้า ดิฉันทั้งหลายผู้ซึ่งเป็นสตรีเพศมาตุคาม มีลาภสักการะน้อย แม้แต่จีวรของพวกดิฉันก็มีเพียงแค่จีวรผืนที่ ๕ ซึ่งเป็นผืนสุดท้าย (แม้แต่จีวร ผืนสุดท้ายของพวกดิฉัน ถือว่าเป็นผืนที่ ๕ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ถวายท่าน ความจริงแล้ว พระเถรีนี้มิใช่เพียงเฉพาะแค่ไม่มีโลภะและมัจฉริยะเท่านั้น ท่านยังเป็นพระอรหันต์ผู้ปราศจากกิเลสทั้งปวงด้วย แต่ได้กล่าวตอบปฏิเสธ พระอุทายีว่าไม่สามารถที่จะถวายสบงหรืออันตรวาสกแก่ท่านได้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า พระอุทายีนั้น อุตตริไปขอในสิ่งที่ไม่สามารถจะให้ได้ เนื่องจากว่า ผ้ามีจำกัด นั่นก็คือ มากที่สุดมีเพียงแค่ ๕ ผืนเท่านั้น ด้วยเทตุนี้ จึงไม่ควรปรักปรำผู้ที่ปฏิเสธที่จะให้หรือไม่ให้ในกรณีที่ขอในสิ่งทีไม่ควรขอนั้น ว่าเป็นผู้มีมัจฉริยะแต่อย่างใด
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |