ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การรู้อายตนะ ธาตุ นาม และรูป http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64559 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ธ.ค. 2023, 12:33 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การรู้อายตนะ ธาตุ นาม และรูป | ||
การรู้อายตนะ ธาตุ นาม และรูป ในขณะที่เห็นอยู่นั้น ความใสแห่งจักษุ เรียกว่า "จักขายตนะ จักขุธาตุ" สีที่ สามารถเห็นได้ เรียกว่า "รูปายตนะ รูปธาตุ" หมู่จิตที่เรียกว่าการเห็น เรียกว่า "มนายตนะ" ในมนายตนะนั้น จิตที่สักแต่ว่าเห็น เรียกว่า "จักขุวิญญาณธาตุ" ส่วนจิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากจักขุวิญญาณธาตุนั้น เรียกว่า "มโนธาตุ" ซึ่งประกอบ ด้วยอาวัชชนจิตที่ทำหน้าที่ใคร่ครวญว่า อารมณ์นั้นคืออะไร และสัมปฏิจฉนจิต ซึ่งทำหน้าที่รับอารมณ์นั้นราวกะว่ายืนรับเอารูปารมณ์กล่าวคือสีที่เห็นได้ต่อจาก อาวัชชนจิตฉันนั้น หลังจากนั้น สันตีรณจิตที่เกิดขึ้นเพี่อไต่สวนอามณ์ที่เห็นเห็นไป แล้วนั้นเกิด ต่อจากนั้น โวฏฐัพพนจิตซึ่งทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ดังกล่าวว่าด้วย ไม่ดี กีเกิด จากนั้น ชวนจิตซึ่งเกิดขึ้นเหมือนกับว่าแล่นเข้าสู่อารมณ์ที่ได้เห็นนั้น หลังจากที่ชวนจิตเกิด ตทารัมมณจิตซึ่งรับอารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตก็เกิด กลุ่มจิต ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้ชื่อว่า "มโนวิญญาณธาตุ" ส่วนกลุ่มเจตสิกที่ประกอบกับจิตเหล่านั้น เช่น ผัสสะซึ่งทำหน้าที่กระทบ รูปารมณ์นั้น เวทนาซึ่งทำหน้าเสวยหรือมีความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์นั้น สัญญา ซึ่งทำหน้าที่จำได้หมายรู้อารมณ์นั้น เจตนาซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นอารมณ์นั้น โลภะ ซึ่งทำหน้าที่ชอบใจยินดีอารมณ์นั้น โทสะซึ่งทำหน้าที่รังเกียจอารมณ์นั้น สัทธา ซึ่งมีความผ่องใสหรือมีความเลื่อมใสต่ออารมณ์นั้นเป็นต้น ก็เกิดร่วมด้วยโดยเรียก กลุ่มเจตสิกดังกล่าวว่า ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ก็กลุ่มเจตสิกเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นนาม เพราะมีหน้าที่โน้มหรือน้อมไปสู่อารมณ์ที่เป็นรูปนั้น ส่วนสีทีเห็นได้และความใส แห่งจักษุแม้จะไม่สามารถน้อมไปสู่อารมณ์ได้จริงๆ แต่เมื่อได้กระทบกับสิ่งที่สามารถ กระทบได้ หรือที่เรียกว่า วิโรธิปัจจัย แล้ว ก็จะมีสภาพแปรปรวนเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น ทั้งความใสของจักขุปสาทและวัณณะกล่าวคือรูปารมณ์ จึงได้ชื่อว่า รูป ในฐานะเป็นธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง อนึ่ง ทุกๆครั้งที่เห็น โยคีผู้ที่ทำการ กำหนดว่า "เห็นหนอๆ" ได้ชื่อว่ารู้สภาวธรรมที่ปรากฎในขณะนั้นๆเช่น รู้อายตนะ ๔ ธาตุ ๖ นามรูป ๒ ประการ ได้ตามสมควร ในขณะที่ได้ยิน โสตปสาทกล่าวคือความใสของโสตะ เรียกว่า "โสตายตนะ โสตธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม เสียงที่ได้ยินนั้น เรียกว่า "สัททายตนะ สัททธาตุ" เป็นรูปธรรม การได้ยิน เรียกว่า "มนายตนะ โสตวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ" เหล่านี้ จัดเป็นนามธรรม ในขณะที่ ดมกลิ่น ฆานปสาทหรือส่วนที่ใสของฆานะ เรียกว่า "ฆานายตนะ ฆานธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม กลิ่นที่สัมผัสนั้น เรียกว่า "คันธายตนะ คันธธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม การที่ได้กลิ่น เรียกว่า "มนายตนะ ฆานวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ" ซึ่งจัดเป็นนามธรรม
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ธ.ค. 2023, 15:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การรู้อายตนะ ธาตุ นาม และรูป |
ในขณะที่กิน ชิวหาปสาทหรือความใสของลิ้น เรียกว่า "ชิวหายตนะ ชิวหาธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม รสที่ได้ลิ้ม เรียกว่า"รสายตนะ รสธาตุ" จัดเป็น รูปธรรมการรู้รสเรียกว่า -มนายตนะ ชิวหาวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ จัดเป็นนามธรรม ในขณะที่กระทบสัมผัส กายปสาท เรียกว่า "กายายตนะ กายธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม โผฎฐัพพารมณ์ที่สัมผัสได้ เรียกว่า "โผฎฐัพพายตนะ โผฏฐัพพธาตุ" จัดเป็นรูปธรรม การรู้สึกสัมผัส เวียกว่า"มนายตนะ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ" จัดเป็น นามธรรม ด้วยเหตุนี้ ในกรณีของการได้ยิน เป็นต้น ก็พึงทราบว่าโยคีผู้ที่กำหนดว่า -ได้ยินหนอๆ" เป็นต้นนั้น ย่อมรู้ซึ้งถึงสภาวธรรมกล่าวคือ อายตนะ ๔ ธาตุ ๖ นามรูป ๒ ที่ปรากฎในขณะนั้นๆได้ตามสมควร ในขณะที่คิดหมู่จิตที่มีสภาวะเพียงแต่ได้รู้อารมณ์นั้นท่านเรียกว่า"มนายตนะ มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งจัดเป็นนามธรรม ส่วนหมู่เจตสิกทั้งหลายที่เกิดขึ้นร่วมกับ จิตนั้น เช่น ผัสสะ ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์นั้นๆ, เวทนา สภาวะที่เสวยอารมณ์ สัญญาความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ เจตนาความจงใจหรือกระตุ้นให้จิตไปสู่อารมณ์ สมาธิ หรือเอกัคคตา ความตั้งมั่นในอารมณ์, วิตก ความตรึกในอารมณ์, วิจาร การพิจารณาอารมณ์ อธิโมกขะ การตัดสินอารมณ์. วิริยะ ความเพียรพยายามใน อารมณ์, ปิติ ความยินดีต่ออารมณ์. ฉันทะ ความประสงค์ต้องการอารมณ์, โลภะ ความอยาก ความต้องการคลั่งไคล้ในอารมณ์. โทสะ ความรังเกียจ ความเกลียด อารมณ์. โมหะ ความเข้าใจผิด การไม่รู้จริงในอารมณ์. ทิฏฐิ ความเห็นผิด, มานะ ความสำคัญหรือความถือตนในอารมณ์, อิสสา ความริษยา, มัจฉริยะ ความตระหนึ่, กุกกุจจะ ความเดือดร้อนใจ. ถินมิทธะ ความเชื่องซึม ความเกียจคร้าน. อุทธัจจะ ความฟุ้งช่าน, วิจิกิจฉา ความสงสัย, อโลภะ ความไม่โลภ. อโทสะ ความหวังดี ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข. กรุณา ความสงสาร. มุทิตา ความยินดีกับสิ่งที่ผู้อื่นได้มา, ศรัทธา ความเลื่อมใส ความเชื่อมั่น. สติ การกำหนดรู้ การมีสติ. หิริโอตตัปปะ ความละอาย ความรังเกียจต่อสิ่งที่ไม่ดี, ปัญญา การรู้สภาวะของธรรมตามความ เป็นจริง. ปัสสัทธิ ความสงบร่มเย็น, ลหุตา ความเบา ดังนี้ เป็นตัน ได้ชื่อว่า "ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ" ซึ่งล้วนจัดเป็นนามธรรม ส่วนรูปธรรมทั้งหลายซึ่งประกอบ ด้วยหทยวัตถุ "รูปคือหัวใจอันเป็นที่อาศัยสำหรับการรู้ของจิต"นั้น อิตถินทรีย์ รูปที่เป็นพีชะหรือเป็นเหตุให้เกิดอาการที่เป็นอาการเฉพาะของสตรี" ปุริสินทรีย์ รูปทีเป็นพีชะหรือเป็นเหตุให้เกิดอาการของบุรุษรูป"เหล่านี้ ล้วนจัดเป็นรูปธรรม เป็นธัมมายตนะ และเป็นธัมมธาตุ ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่โยคีมีการรู้หรือคิดอารมณ์ภายในอยู่นั้น โยคีผู้ที่สามารถ กำหนดได้ทัน เช่น อยากผู้หนอ อยากเหยียดหนอ คิดหนอ ตรึกหนอ จินตนาการหนอ พิจารณาหนอ ใคร่ครวญหนอ กำหนดหนอ เพ่งหนอ รู้หนอ ดังนี้เป็นต้น ได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่รู้อายตนะ ๒ อย่าง ธาตุ ๒ อย่าง และนามรูป ๒ อย่าง ที่ปรากฎเกิดขึ้น ในขณะนั้นได้ตามสมควร สำหรับอารมณ์ที่ปรากฎในขณะที่เกิดความคิดเช่นนั้น เป็นอารมณ์ประเภทปรมัตถ์ ก็มี เป็นประเภทบัญญัติ ก็มี ซึ่งในกรณีที่เป็น ประเภทปรมัตถ์นั้น ผู้ปฏิบัติยังจะสามารถรู้อายตนะ ธาตุ และนามรูปทั้งหลายที่ เป็นอารมณ์นั้นด้วย |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |