วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2023, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1702066424350-removebg-preview-1.png
ei_1702066424350-removebg-preview-1.png [ 71.12 KiB | เปิดดู 1689 ครั้ง ]
การรู้การเกิดดับของวิญญาณ

ในขณะที่เห็นอยู่ คู้เข้าอยู่ ตรึกนึกคิดอยู่ เป็นต้นนั้น โยคีย่อมรู้ซึ้งถึงสภาวะ
จิตที่เห็น ที่ได้ยิน เป็นต้น ในทุกขณะที่ทำการกำหนดโดยนัยว่า "เห็นหนอ ได้ยินหนอ
คู้เข้าหนอ อยากเหยียดหนอ ตรึกหนอ คิดหนอ กำหนดหนอ รู้หนอ" โยคีนั้น
จะสามารถเห็นโดยทำนองนี้ว่าสภาวะที่เป็นจิตที่เห็นเป็นต้นเหล่านั้นเกิดขึ้น
ประเดี๋ยวเดียว แล้วก็ดับไปทันที ก็การเช่นนี้ เรียกว่าอุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็น
ญาณที่รู้การเกิดซึ่งเรียกว่าสมุทยะหรือนิพพัตติลักษณะ (การดับซึ่งเรียกว่าวยะ
หรือวิปริณามลักษณะ และยังพิจารณากำหนดรู้โดยนัยต่างๆด้งนี้ว่า "เนื่องจาก
ตนยังไม่ปราศจากอวิชชากล่าวคือความไม่รู้ในภพชาติก่อน จิตนี้ จึงได้เกิดขึ้น
หากปราศจากอวิชชาดังกล่าวแล้ว จิตหรือวิญญาณขันธ์นี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
เนื่องจากตนยังไม่ปราศจากตัณหา ความอยาก ความต้องการ จิตนี้ จึงเกิดขึ้น
ถ้าปราศจากตัณหาดังกล่าว จิตนี้ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

เนื่องจากยังมีกรรมที่ตน
กระทำไว้ จิตนี้ จึงเกิดขึ้น ถ้าไม่มีกรรมนั้น จิตนี้ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
มีรูปเป็นที่อาศัยและผัสสะรวมไปถึงนามธรรมเหล่าอื่น เช่น เวทนา เป็นต้น
จิตนี้ จึงเกิดขึ้น หากไม่มีนามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไซร้ จิตนี้ก็ไม่สามารถเกิด
ขึ้นได้ ดังนี้เป็นต้น
การพิจารณารู้เช่นนี้ได้ชื่อว่าเป็นอุทยัพญาณอีนนเป็นญาณที่อนุมานรู้ธรรม
ที่เป็นเหตุเกิดชื่งเรียกว่า สมุทยะ และรู้กรรมที่เป็นเทตุดับชื่งเรียกว่า วยะ หรือ นิโรธ
ก็การรู้เช่นนี้ เรียกว่า เป็นการรู้โดยการอนุมานเอา อนึ่งสำหรับการรู้ว่า
เพาาะ มีจิตดวงก่อนๆเกิดขึ้น จิตดวงหลังๆจึงเกิดขึ้นได้ ถัาไม่มีจิตดวงก่อนๆเกิด
ขึ้บมา จิตดวงหลังก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ การรู้เทนนี้ ท่านจัดหรือนับเนื่องเข้าใน
พระบาลีที่ว่า

นามรูปสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย นามรูปนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
การเกิดแห่งวิญญาณย่อมมีได้เพราะการเกิดแห่งนามรูป การดับแห่งนามรูป
ย่อมทำไฟเกิดการดับแห่งวิญญาณ
และยังตรงกับปาฐะแห่งพระบาลีที่ว่า
อิติ วิญฺญาณสฺส สมุทโย อิติ วิญฺญาณสฺส อตฺถงฺคโม.
นี้คือการเกิดและเหตุเกิดของวิญญาณ นี้คือการดับและเหตุดับของวิญญาณ
ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พึงทราบว่ในขันธ์ๆหนึ่งนั้น ประกอบด้วย
(๑) การรู้สมุทยะกล่าวคือการเกิด, (๒) การรู้วยะกล่าวคือการดับ, (๓-๖) การ
เหตุเกิด ๔ อย่าง (๗-๑๐) การรู้เหตุดับ ๔ อย่าง รวมแล้ว ญาณที่ทำหน้าที่รู้มี ๑๐
อย่าง เพราะฉะนั้น ในขันธ์ทั้งหมด ๕ ขันธ์ จึงมีญาณที่รู้อยู่ ๕๐ อย่าง
ก็ พระอัฎฐกถาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัฏฐกถาทั้งหลายเกี่ยวกับญาณ
๕๐ นั้นแลว่า "เป็นอุทยัพพยญาณที่รู้ลักษณะ ๕o ประการ" ก็ในบรรดาญาณ ๕o
ประการเหล่านั้น ญาณที่รู้การเกิดและการดับทั้งหลาย ๑๐ ประการนั่นแล ถือว่า
เป็นญาณหลักหรือญาณสำคัญที่ประสงค์เอา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 72 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร