วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2023, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1701814009119-removebg-preview.png
ei_1701814009119-removebg-preview.png [ 444.63 KiB | เปิดดู 1796 ครั้ง ]
การรู้การเกิดดับของรูป

ในขณะที่โยคีเห็น ก็ดี คู้เข้าเป็นต้น ก็ดี ทุกครั้งที่กำหนดว่า "เห็นหนอ
คู้เข้าหนอ" ก็จะทราบว่า ความใสของจักษุ สีที่สามารถห็นได้และรูปมีการเคลื่อนไหว
เป็นต้นนั้น จะเกิดดับอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็การรู้เช่นนี้ ได้ชื่อว่าเป็น อุทยัพพยญาณ
คือญาณที่เห็นการเกิดซึ่งเรียกว่าสมุทยะหรือนิพพัตติลักษณะ และเห็นการ
ซึ่งเรียกว่า วยะ หรือวิปรินามลักษณะ

อนึ่ง ธรรมดาว่า พาลปุถุชนทั้งหลาย ย่อมนึกว่า รูปและนามเป็นธรรมชาติ
ที่เป็นสุข ดี งดงาม ไม่ได้นึกว่าเป็นทุกข์ ไม่ดี ไม่งาม ไม่รู้กระทั่งการเกิดและการ
ดับของรูปนามว่าการไม่เกิดของรูปนามนั่นแหละคือความสุข ความดี ก็การไม่รู้เช่นนี้
เรียกว่า อวิชชา เมื่อตอนที่คนเราทำกรรมไว้ในภพก่อน ก็เพราะเนื่องจากว่า
อวิชชาคือความไม่รู้ฝังอยู่ในจิตสันดานจึงได้มีความปรารถนาต้องการในรูปนามนั้น
และเพื่อให้รูปนามนั้นได้อยู่ดีกินดี จึงได้ทำกรรมต่างๆ ก็การทำกรรมต่างนั้น

มี ๒ ฝ่าย คือ ทำกุศลกรรมและกุศลกรรม แต่ถ้าจะหมายเอาสาเหตุของการเกิด
เป็นมนุษย์ในภพชาตินี้ ก็จะต้องหมายเอากุศลกรรมเท่านั้น

อาทิกัมมิกบุคคลกล่าวคือผู้ที่เริ่มเจริญวิปัสสนาใหม่ๆนั้นจะต้องมีความเชื่อมั่น
และเข้าใจโดยปริยัติหรือโดยสุตะดังนี้ว่าในเวลาที่ทำการกำหนดวิปัสสนา โยคี
ก็จะสามารถเห็นการเกิดและการดับพร้อมกับสาเหตุแห่งการเกิดดับของรูปนาม
เหล่านั้นได้อย่างประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น แม้จะผสมผสานด้วยทิฏฐะ คือสิ่งที่
ได้เห็นมา สุตะคือสิ่งที่ได้ยินมา โยคีนั้นก็สามารถที่จะเกิดความพึงพอใจได้ อนึ่ง
โยคีนั้นสามารถที่จะพิจารณารู้โดยอาการต่างๆ โดยนัย ดังนี้ว่า

"เนื่องจากเรายังมีอวิชชาในภพชาติก่อนๆ รูปนี้จึงเกิดขึ้น หากปราศจาก
อวิชซาแล้ว รูปนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้" ดังนี้บ้าง
รู้ว่า"เนื่องจากตนเองยังไม่ปราศจากตัณหากล่าวคือความอยากความปรารถา
ความต้องการ รูปนี้จึงเกิดขึ้น หากปราศจากตัณหาแล้ว รูปนี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
รู้ว่า "เนื่องจากตัวเองยังมีกรรมที่ได้กระทำไว้ในปางก่อน รูปนี้จึงเกิดขึ้น
หากไม่ได้กระทำกรรมไว้แล้วไซร้ รูปก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้" ดังนี้บ้าง
รู้ว่า "แม้ในภพปัจจุบัน เนื่องจากตัวเองได้มีชีวิตอยู่เพราะอาหารที่กลืนกิน
เข้าไป รูปนี้จึงเกิดขึ้นได้ หากไม่มีอาหาร รูปนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้"
อนึ่ง การรู้เช่นนี้ เรียกว่า อุทยัพพยญาณ ซึ่งเป็นญาณที่รู้โดยอนุมาน นั่นก็
คือ คือการคาดคะเนในธรรมที่เป็นเหตุเกิด ซึ่งเรียกว่า สมุทยะ ธรรมที่เป็นเหตุดับ
ซึ่งเรียกว่า นิโรธะ ซึ่งตรงกับข้อความในคมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่ว่า อวิชชาสมุทยา
รูปสมุทโย อวิชชานิโรธา รูปนิโรโธ.
รูปเกิดเพราะอวิชชาเกิดรูปดับเพราะอวิชชาดับ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกา ได้แสดงการเกิดดับของรูปไว้ดังนี้ว่า อาหาร-
สมุทยา รูปสมุทโย อาหารนิโรธา รูปนิโรโธ
. ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกันกับข้อความ
ในปฏิสัมภิทามรรคที่ได้ยกมาข้างต้นนั่นเอง โดยทำนองเดียวกัน รูปอิริยาบถใหญ่
และอิริยาบถย่อย ก็พึงทราบว่า หากไม่มีจิตคิดจะคู้ หรือเหยียดแล้ว รูปคู้
รูปเคลื่อนไหวต่างๆก็เกิดขึ้นไม่ได้ ก็และการรู้เช่นนี้ท่านเรียกว่าเป็นการรู้ในขั้นของ
อุทยัพพยญาณ เช่นกัน เพราะมีอุตุกล่าวคือ ความเย็น ความร้อน รูปที่เรียกว่า
รูปเย็น รูปร้อน หรือเตโชธาตุ จึงเกิดขึ้น หากไม่มีอุตุแล้ว รูปดังกล่าวก็ไม่สามารถ
เกิดขึ้นได้ นี้เป็นการรู้การเกิดดับของรูปทั้งสิ้น ก็การรู้การเกิดการดับ เหตุเกิดและ
เหตุดับทั้งหลายของรูปตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น มีความสอดคล้อง
พระบาลีที่ว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 97 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร