ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
แก้นิทเทสเหตุปัจจัย http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64464 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 20 พ.ย. 2023, 07:27 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | แก้นิทเทสเหตุปัจจัย | ||
![]() นิทเทสบาลีเหตุปัจจัย เหตู เหตุ สมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ. เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย แปลว่า เหตุทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุและ แก่รูปทั้งหลายที่มีเหตุและธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานด้วยเหตุปัจจัย จากพระบาสนิทเทสนี้ พระอรรถกถาจารย์ได้ตั้งเป็นคำถามว่า ถาม เพราะเหตุไรจึงกล่าวว่า เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ทำไมไม่ กล่าวแต่เพียงว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ตอบ ที่กล่าวว่า เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ก็เพื่อจะกำหนดรรรมให้ มี ทั้งปัจจัย และปัจจยุบบัน คือ เหตูหมายถึงตัวปัจจัย ส่วน เหตุสมุป ยฺุตกานํ คือธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ หมายถึงตัวปัจจยุบบัน คือ ให้รู้ว่าเหตุ ๖ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ เท่านั้น (จะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่สัมปยุตกับเหตุไม่ได้) เพราะฉะนั้นในที่นี้ จึงใด้กล่าว บังคับไว้ว่า ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย คือ เหตุปจฺจเยน เพราะยกเหตุปัจจัย เป็นประธาน ก็เพื่อจะห้ามความเป็นปัจจัยของเหตุว่าไม่ใช่เป็นโดยปัจจัยอื่น เพราะเหตุ ๖ เป็นปัจจัย โดยปัจจัยอื่นก็ได้ เช่น เป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น และที่กล่าวว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ไม่กล่าวว่า ตํ สมฺปยุตฺตกานํ ก็เพื่อจะแสดง ปัจจยุบบันธรรมให้ชัดเจนว่าเป็นธรรมที่สัมปยุตกับเหตุ เท่านั้น ถ้าเปลี่ยนเหตุ เป็น ตํ ก็แปลว่า ธรรมที่สัมปยุตกับธรรมนั้น ก็จะเป็นธรรมที่ไม่ปรากฏความชัดเจน จึงต้องใช้ว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ถาม ส่วนคำต่อไปว่า ตํ สมุฏฐานานํ รูปานํ ทำไมไม่ใช้ จิตฺตสมุฏฐานาน เพราะดำแปลของ ตํ สมุฎฐนานํ รูปานํ คือ รูปที่มีเหตุและ ธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ซึ่งหมายความว่า รูปนั้นย่อมเกิด เพราะจิตเป็นสมุฏฐาน ก็น่าจะใช้ว่า จิตฺตสมุฏฐานานํ แต่ทำไมไม่ใช้
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 20 พ.ย. 2023, 09:14 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แก้นิทเทสเหตุปัจจัย | ||
ตอบ จะกล่าวอย่างนั้นก็ได้เพราะว่าจิตและเจตสิกย่อมยังรูปให้ เกิดได้ เป็นรูปที่เกิดจากจิต เพราะจิตเป็นประธาน แต่ว่ารูปที่มีเหตุ นั้นไม่ใช่มีแต่รูปที่เกิดจากจิตเท่านั้นยังมีรูปที่เกิดจากกรรมในปฏิสนธิ กาลลอีกด้วย เพื่อจะสงเคราะห์รูปที่เกิดจากกรรมด้วย จึงได้ใช้ว่า ตํ สมุฏฐานานํ รูปานํ ไม่ใช้ว่า จิตฺตสมุฏฐานานํ รูปานํ ถาม เพราะเหตุไร เหตุปัจจัยจึงเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปได้เฉพาะ ในปฏิณธิกาลเท่านั้น ในปวัตติกาล ทำไมเป็นไม่ได้ ตอบ เพราะไนปฏิสนธิกาลนั้น กัมมชรูปย่อมเกิดเนื่องกับจิต โดยเฉพาะ คือในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นามรูปเกิดมีได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย คือวิญญาณต้องตั้งขึ้นก่อนนามรูปจึงปรากฎได้ นามคือเจตสิก รูป คือ กัมมชรูป ต่อมาในปวัตติกาล ถึงแม้จิตมีอยู่แต่กัมมชรูปเหล่านั้นก็เป็น ไปเนื่องด้วยกรรมโดยเฉพาะ ไม่ได้เนื่องด้วยจิต เพราะถึงแม้จิตจะไม่ เกิดกัมมชรูปก็ยังเกิดได้ เช่น กัมมชรูปของพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ที่ เข้านิโรธสมาบัติก็ยังเกิดได้ ถาม เพราะเหตุไร ในปฏิสนธิกาลจิตจึงยังจิตตซรูปให้เกิดขึ้นไม่ได้ ตอบ เพราะขณะปฏิสนธิจิตยังมีกำลังอ่อน เนื่องจากตนถูก กำลังของกรรมซัดมา จึงตั้งไม่มั่นคง และวัตถุรูปก็ยังตั้งไม่มั่นคง เหมือนกัน เพราะเกิดพร้อมกันจึงไม่สามารถให้เกิดรูปคือจิตตชรูปได้ แต่กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น ก็มีฐานะเหมือนกับจิตตชรูปเหมือน กัน เพราะว่ากัมมชรูปในปฏิสนธิกาลนั้น ต้องอาศัยจิตเกิดเช่นเดียวกับ จิตตชรูป การที่ทำนพูดถึงกัมมซรูปและ จิตตซรูปนี้ ก็พูดด้วยอำนาจของโอกาส (หมายถึงโอกาสโลก คือ ที่อยู่ของสัตว์ทั้ง ๓๑ ภูมิ โอกาสมี ๓ อย่าง คือ โอกาสที่เป็นนาม โอกาสที่เป็นรูป และโอกาสที่เป็นนามรูป) โอกาสที่เป็นนาม ได้แก่อรูปภพ ภพที่มีแต่นามคือจตุโวการภพ ในภูมินี้แม้จะเว้นรูป คือหทยวัตถุเป็นปัจจัยแล้ว นามทั้งหลายก็เกิดได้
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 20 พ.ย. 2023, 11:29 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: แก้นิทเทสเหตุปัจจัย | ||
โอกาสที่เป็นรูป ได้แก่อสัญญีภพ กพที่ไม่มีนาม มีแต่รูป คือ เอกโวการภพ ในภูมินี้แม้จะเว้นนามคือปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยแล้ว รูปทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นได้ โอกาสที่เป็นทั้งนามและรูป ได้แก่ปัญจโวการภพ คือ ภพที่มี ขันธ์ ๕ ในภูมินี้ ถ้าเว้นรูปคือปฏิสนธิหทยวัตถุเสียแล้ว นามธรรมทั้งหลาย ก็เกิดไม่ได้ และถ้เว้นปฏิสนธิจิตเสียอีก รูปที่เกิดจากกรรมก็เกิดไม่ได้ เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในภพนี้จึงต้องมีทั้งนามและรูปเกิดคู่กันแน่นอน ถาม ในนิทเทสที่กล่าวว่า เหตุทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรม ทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุก็น่าจะพอแล้ว แต่ทำไมยังต้องกล่าวต่อไปอีกว่า เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลาย ที่มีเหตุและธวรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็น สมุฏฐานอีกเล่า ตอบ ที่ต้องกล่าวเต็มอย่างนั้นก็เพื่อจะห้ามความเป็นปัจจัยของ เหตุปัจจัยแก่รูปอื่น ๆ ที่เกิดพร้อมกับเหตุในปวัตติกาล เช่นกัมมชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป เพราะรูปเหล่านี้ก็เกิดพร้อมกับจิต คือจิตเกิดก็มี กัมมชรูปเกิดทุกๆอนุขณะของจิต ส่วนอุตุชรูปและอาหารชรูป ก็เป็นรูปที่ เกิดจากอุตุและอาหาร ไม่ไช่เกิดจากจิต แต่ว่ารูปเหล่านี้ไม่ไช่เป็นรูปที่มี เหตุ และธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน เพราะเหตุนี้จึงกล่าวแต่ เพียงว่าเหตุทั้งหลายย่อมเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุ เท่านั้นไม่พอ จึงต้องกล่าวให้ชัดเจนอีกว่า เป็นปัจจจัยแก่รูปทั้งหลาย ที่มีเหตุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานด้วย ในเหตุปัจจัยนิทเทสนี้ท่านยังแสดงอำนาจของเหตุ ๖ โดยประเภท ต่างๆ อีก คือ เหตุ ๖ เมื่อว่าโดยชาติก็มี ๔ ชาติ คือ ชาติกุศล อกุศล วิบาก กิริยา ชาติกุศล ได้ ๔ ภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ โลกุตตรภูมิ ชาติอกุศล ได้ภูมิเดียว คือ กามภูมิ ชาติวิบาก ได้ ๔ ภูมิ
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |