วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 13:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2023, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1697713500158-removebg-preview.png
ei_1697713500158-removebg-preview.png [ 77.91 KiB | เปิดดู 425 ครั้ง ]
๑๐. คำว่า กพฬะ คือ สิ่งที่ทำเป็นคำๆ
อาหาร คือ สิ่งที่ถูกกลืนกิน
กพฬีการาหาร คือ อาหารที่ทำเป็นคำๆ
มีปาฐะว่า .กพฬีกาโร อาหาโร บ้าง คำนี้หมายถึงอาหารรูปพร้อมด้วยที่ตั้ง
อีกอย่างหนึ่ง อาหาร คือ สารอาหารที่รักษาอัตภาพ กล่าวคือ ทำให้อัตภาพ
ของเหล่าสัตว์ผู้บริโภคอาหารที่ทำเป็นคำๆ เป็นไปได้นาน
กพฬีการาหาร คือ สารอาหารในคำข้าวมีของหวานคาวเป็นต้น โดยอาศัยและ
นับเนื่องในคำข้าว เมื่อมีความหมายนี้จึงหมายถึงสารอาหารที่แยกจากคำข้าว
(คำว่า กพฬีการาหาร มีความหมาย ๒ ประการ คือ

อาหารที่ทำเป็นคำๆ = กพฬีกาโร จ โส อาหาโร จาติ กพฬีการาหาโร
(วิเสสนบุรพบท กรรมธารยสมาส)
สารอาหารในคำข้าว - กพฬีกาเร อาหาโร กพฬีการาหาโร
(สัตตมีตัปบุริสสมาส)
ส่วนโดยองค์ธรรม อาหารรูป ในที่นี้ คือ สารอาหารที่ละเอียดอ่อนยิ่งเป็นส่วน
สำคัญที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ก่อให้เกิดแรงอุปถัมภ์
ในพากย์นั้น คำว่า สารอาหารที่แล่นไปตามอวัยวะนัอยใหญ่ หมายความว่า
อาหารที่กลืนกินแล้วตั้งอยู่ในกระเพาะ ย่อมถูกไฟธาตุย่อยอาหารแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน
โดยความเป็นสารอาหารเป็นต้น

(อาหารที่ถูกไฟธาตุย่อยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือ
๑. ส่วนที่ถูกพยาธิกิน
๒. ส่วนที่ถูกไฟในท้องเผาผลาญ
๓. ส่วนที่เป็นปัสสาวะ
๔. ส่วนที่เป็นอุจจาระ
๕. ส่วนที่เป็นสารอาหาร

ในเรื่องนั้น ส่วนที่ละเอียดอ่อนประณีต ชื่อว่า สารอาหาร มีชื่อเรียกทางคัมภีร์
สันสกฤตว่า รสธาตุ สารอาหารได้แผ่ขึ้นมาจากกระเพาะด้วยแรงไฟธาตุย่อยอาหาร แล้ว
แผ่ซ่านไปตลอดอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายทุกส่วนทั้งเบื้องบนเบื้องล่างตามเส้นเอ็นที่นำ
สารอาหารไป ข้าพเจ้า(พระฎีกาจารย์จึงกล่าวว่า แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่
คำว่า ก่อให้เกิดแรงอุปถัมภ์ หมายถึง สารอาหารที่เป็นส่วนสำคัญซึ่งก่อให้เกิด
แรงอุปถัมภ์ ความจริงสารอาหารเมื่อดำรงอยู่ในกระเพาะแล้วย่อมก่อให้เกิดแรงอุปถัมก็
แก่มหาภูตรูปภายในร่างกายทั้งหมด

(๑๘๙) ในคัมภีร์วิภาวนี มีปาฐะว่า องฺคมงฺคานุสาริรสหรสงฺขาตา" (กล่าวคือการซ่าน
ไปแห่งรสที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่) ปาฐะนั้นไม่ถูกต้อง

(คัมคีรีวิการนี ฉบับสังคายนาและฉบับมหาจุฬาฯ มีรูปว่า องฺคมงฺคานุสริสสการสงฺขาตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2023, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวคือสารอาหารที่แล่นไปตามอวัยะน้อยใหญ่) รูปนี้ใด้ความหมายถูกต้อง และเหมือนกับฉบับ
สิงหลในปัจจุบัน แต่ฉบับพม่าในสมัยก่อนมีรูปว่า องฺคมงฺคานุสาริรสทรสงฺขาตา ท่านผู้แต่ง
รูปที่ท่านพบในสมัยนั้น]

อาหารรูปมีลักษณะอุปถัมภ์ร่างกายพร้อมทั้งอินทรีย์ (มีจักขุประสาทเป็นต้น
หรือมีลักษณะก่อให้เกิด[อาหารชรูป]
ในเรื่องนั้น โอชา คือ สภาพก่อให้เกิดอาหารชรูป
อีกอย่างหนึ่ง โอชา คือ สภาพรักษา และก่อเกิดศัพท์ว่า อว เป็นไปในความ.
หมายว่า รักษา การรักษาในที่นี้ คือ การอุปถัมภ์นั่นแหละ

ถามว่า : รักษาอะไร
ตอบว่า : รักษาวัตถุรูปที่อาศัยของตน
ถามว่า : ก่อให้เกิดอะไร
ตอบว่า : ก่อให้เกิดอาหารชรูป
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า โอชา คือ สภาพก่อให้เกิดรูปต่อจากการ เกิดขึ้น
(คำว่า โอชา มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาพก่อให้เกิดอาหารชรูป = อุทยติ ปสวตีติ โอชา.
(อุท ธาตุ + อ ปัจจัย แปลง ท เป็น ช)
- สภาพรักษาวัตถุรูปและก่อให้เกิดอาหารชรูป = อวติ ชเนติ จาติ โอชา.
(อว ธาตุ + ชน ธาตุ + เณ ปัจจัย + อ ปัจจัย แปลง อว เป็น โอ)
- สภาพก่อให้เกิดรูปต่อจากการเกิดขึ้น = อุทยานนฺตรํ รูปํ ชเนตีติ โอชา.
(อว บทหน้า + ชน ธาตุ + เณ ปัจจัย + อ ปัจจัย แปลง อว เป็น โอ)]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 88 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร