วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2023, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1697426002436-removebg-preview.png
ei_1697426002436-removebg-preview.png [ 73.62 KiB | เปิดดู 754 ครั้ง ]
อธิบายอัญญสมานราสี
๒. ในประโยคนั้น ผัสสะ (การกระทบ) คือ สภาวะกระทบอารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะ คือ สภาวะทำให้สัมปยุตตธรรมกระทบอารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะ คือ การกระทบ (อารมณ์)
(คำว่า ผสฺส มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาวะกระทบอารมณ์ = ยุสตีติ ผสฺโส (ลง ณ ปัจจัยในกัตตุลาธนะ)
- สภาาวะทำให้สัมปยุตตธรรมกระทบอารมณ์ = ผุสนฺติ สมฺปยุตฺตกา ธมฺมา เอเตนาติ
ผสฺโส (ลง ณ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
- การกระทบอารมณ์ - ผุสฺนํผสฺโส (ลง ณ ปัจจัยในภาวสาธนะ)
การกระทบ (อารมณ์ในเรื่องนี้ คือ การเข้าไปสัมผัสรสที่น่าปรารถนาหรือไม่น่า
ปรารถนาของอารมณ์เป็นเหตุให้เวทนาปรากฏขึ้นเสวยรสของอารมณ์ ดังพระพุทธดำรัสว่า
ผสฺสปจฺจยา เวทนา,"

"เวทนาย่อมมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย"
ผัสสะมีลักษณะกระทบ (อารมณ์) ถามว่า : ผัสสะนี้เป็นนามธรรม และนามธรรม
อันไม่มีสภาพกระทบอารมณ์ ย่อมกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ มิใช่หรือ
ตอบว่า : ถูกต้องแล้ว แต่สภาวธรรมนี้เป็นไปโดยอาการกระทบ และก่อให้เกิด
กิจที่ธรรมอันกระทบอารมณ์พึงให้สำเร็จได้ จึงเรียกว่า ผัสสะ
และพระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า ผุสนลกฺขโณ"
"มีลักษณะกระทบอารมณ์"
ถามว่า : ผัสสะก่อให้เกิดกิจอะไร
ตอบว่า : ผัสสะย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตตามสมควรแก่รสของอารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะก่อให้เกิดการอุบัติขึ้นของเวทนาที่แตกต่างกัน
ข้อความปรากฏดังตัวอย่างเช่นในการเกิดน้ำลายในปากของคนหนึ่ง
เพราะเห็นอีกคนเคี้ยวกินของเปรี้ยวเป็นต้น

ส่วนในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า เขฬุปฺปาทาทิ วิย ทฎฺฐพฺโพ"
(โปรดทราบว่าผัสเหมือนการเกิดน้ำลายเป็นต้น) แม้ข้อความนี้จะเป็นเพียงการอุปมา
ก็แสดงความเป็นของผัสสะอย่างชัดเจน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2023, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1698062929923.jpg
1698062929923.jpg [ 66.63 KiB | เปิดดู 287 ครั้ง ]
เวทนา (ความรู้สึก) คือ สภาวะเสวย(อารมณ์] หมายถึง เสวยรสของอารมณ์
กระทำรสของอารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัดให้ประจักษ์แก่สัมปยุตตธรรมหรือแก่บุคคลผู้มีเวทนา
อีกอย่างหนึ่ง เวทนา คือ สภาวะทำให้เหล่าสัตว์เกิดความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบใจ
อีกอย่างหนึ่ง เวทนา คือ ความเสวย(อารมณ์] ดังพระพุทธวจนะว่า
เวทยติ เวทยตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา เวทนาติ วุจฺจติ. กิญฺจ เวทยติ, สุขมฺปิ
เวทยติ, ทุกฺขมฺปิ เวทยติ, อทุกฺขมฺสุขมฺปิ เวทยติ."


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าเวทนา เพราะรู้สึก รู้สึกอะไร รู้สึกความสุขบ้าง
รู้สึกความทุกข์บ้าง รู้สึกสภาพที่ไม่ไช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง

(คำว่า เวทนา มีความหมาย ๓ ประการ คือ
สภาวะเสวยอารมณ์ - เวทยตีติ เวทนา (ลง ยุ ปัจจัยนกัตตุสาธนะ)
- การสภาวะทำให้เหล่าสัตว์เกิดความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ = วินฺทนฺติ เอตาย สตฺตา
สาตํ วา อสาตํ วา ลภนฺตีติ เวทนา (ลง ยุ ปัจจัยในกรณสาธนะ)
- การเสวยอารมณ์ = เวทยิตํ เวทนา (ลง ยุ ปัจจัยในภาวสาธนะ)

ถามว่า : สภาวธรรมคือจิตกับเจตสิกทั้งหมดมักรู้สึกรสของอารมณ์เป็นปกติ
จึงชื่อว่า เวทนา ได้ไม่ใช่หรือ
ตอบว่า : สภาวธรรมเหล่านั้นไม่ชื่อว่า เวทนา เพราะขวนขวายในหน้าที่อื่น
รู้สึกรสของอารมณ์โดยตรงไม่ได้ เมื่อกระทำหน้าที่ของตนอยู่ ย่อมรู้สึกรสของอารมณ์
เพียงบางส่วน แต่เวทนาย่อมรู้สึกโดยความเป็นใหญ่ เพราะไม่มีหน้าที่อื่น และมีความเป็น
ใหญ่ในหน้าที่รู้สึก เวทนาจึงควรได้ชื่อว่า เวทนา เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พระอรรถกถาจารย์
จึงกล่าวว่าจิตและเจตสิกเหมือนพ่อครัวผู้ชิมรสอาหารอันเลิศของพระราชา และกล่าวว่า
เวทนาเหมือนพระราชา[ผู้เสวย]"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2023, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา (ความหมายรู้) คือ สภาวะหมายรู้อารมณ์] หมายถึง กระทำความหมายรู้
เพื่อให้รู้อีก(ในโอกาสต่อไป)

โดยแท้จริงแล้ว สภาวธรรมนี้เป็นการกระทำความหมายรู้เพื่อให้รู้อีกในเวลาที่
จำได้ตามที่ได้รับรู้มาก่อน อธิบายได้ว่า สัญญาเมื่อเกิดขึ้นมีการย้ำความหมายรู้
อย่างนี้ ย่อมถึงความเป็นสัญญาที่ฝังติดแน่นไปตลอดชีพบ้าง ติดตามไปถึงภพ
ย่อมให้ผลเป็นความไม่ลืมแก่เหล่าสัตว์ เมื่อบรรลุถึงความเป็นสัญญาที่ยึดมั่นผิด ย่อมมีผล
ให้เหล่าสัตว์นี้กลายเป็นผู้ที่แม้พระสัพพัญญูก็ไม่อาจโปรดให้รู้แจ้งได้ โดยแท้จริงแล้ว
สัญญานั้นกล่าวเปรียบได้ "ว่า

"เหมือนช่างไม้ในการกระทำเครื่องหมายเพื่อให้หมายรู้อีกได้ เหมือนคนตาบอด

แสดงข้างในขณะกระทำความเชื่อมันโดยความเป็นอารมณ์ดังที่รับเอาแล้ว เหมือนลูกเนื้อ
กับหุ่นไล่กา ในขณะรับเอาอารมณ์ที่ปรากฏ"

(ช่างไม้ยอมทำเครื่องหมายไว้บนท่อนไม้ที่ตัดแล้ว เพื่อให้สามารถเลือกไปใช้งานตามที่
กำหนดหมาย
คนตาบอดแสดงช้าง หมายถึง ตนตาบอดที่จับหางช้างแล้วบอกว่าช้างเหมือนไม้กวาด
ส่วนคนที่จับขาช้างก็บอกว่าช้างเหมือนเสา เป็นต้น ตามที่ตนเองรับรู้
ลูกเนื้อที่เห็นหุ่นไล่กาซึ่งมีรูปร่างเหมือนคน ย่อมคิดว่าเป็นคน
ทั้ง ๓ นี้ยอมเป็นไปด้วยอำนาจของสัญญา)

ในพระบาลีตรัสว่า
สญฺชานาติ สญฺชานาตีติ โข ภิกฺขเว ตสฺมา สญฺญาติ วุจฺจติ. กิญฺจ สญฺชานาติ,
นีลมฺปิ สญฺชานาติ. ปีตกมฺปิ สญฺชานาติ. "*

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าสัญญา เพราะหมายรู้ หมายรู้อะไร หมายรู้สีเขียว
บ้าง หมายรู้สีเหลืองบ้าง" เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2023, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตนา (ความตั้งใจ คือ สภาวะสืบต่อ หมายถึง การสืบต่อสัมปยุตตธรรมโดย
เสมอมาในอารมณ์หรือกิจนั้นๆ กล่าวคือ กระทำสัมปยุตตธรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
โดยเป็นความสืบเนื่องในอารมณ์หรือกิจเหล่านั้น
อีกอย่างหนึ่ง เจตนา คือ สภาวะปรุงแต่งสัมปยุตตธรรม หมายถึง การจัดแจง
เพื่อให้ได้รับอารมณ์หรือผลสำเร็จแห่งกรรม
อีกอย่างหนึ่ง เจตนา คือ สภาวะรวมสัมปยุตตธรรม หมายถึง การรวมธรรม
เข้าไว้ในอารมณ์ กระทำให้ประชุมร่วมกัน โดยแท้จริงแล้ว เจตนานั้นอาจกล่าวได้ "ว่า
"มีหน้าที่ขวนขวาย มีการจัดแจงเป็นเครื่องปรากฏ"
เมื่อเจตนาเป็นไปด้วยการขวนขวาย จัดการอยู่เสมอไนอารมณ์ แม้สภาวธรรม

๒๙๙
ที่มาประกอบกับเจตนาก็จะกระทำกิจของตนให้เป็นไปในอารมณ์อย่างเดียวกันนั้น ดังสาธก
(ในคัมภีร์อรรถกถา)ว่า

สกิจฺจปรกิจฺจสาธกเชฎฐสิสฺสมหาวฑฒกิอาทิสทิสา.-
"เปรียบเช่นศิษย์เอกและหัวหน้าช่างไม้ผู้ให้สำเร็จกิจของตนและกิจของผู้อื่น
(เมื่อศิษย์เอกเป็นหัวหน้านำท่องสาธยายธรรม ศิษย์อื่นก็สาธยายตาม หรือเมื่อหัวหน้า
ช่างไม้ทำงาน ลูกมือก็ทำงานตาม
คำว่า เจตนา มีความหมาย ๓ ประการ คือ
- สภาวะสืบต่อ - เจตยติ อภิสนฺทหตีติ เจตนา (จิต ธาตุมีอรรถว่า สืบต่อ)
- สภาวะปรุงแต่งสัมปยุตตธรรม = เจตยติ ปกปฺเปตีติ เจตนา.
(จิต ธาตุมีอรรถว่า ปรุงแต่ง)
- สภาวะรวมสัมปยุตตธรรม = เจตยติ อายูหตีตื เจตนา (จิต ธาตุมีอรรถว่า รวม)

(๗๗) ในคัมภีร์วิภาวนี "กล่าวว่า
"เจตนา คือ สภาวะขวนขวาย กล่าวคือ เข้าถึงการขวนขวายในการปรุงแต่ง
สังขตธรรม"
แล้วกล่าวยืนยันข้อความนั้นว่า "ในคัมภีร์วิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ พระผู้มี-
พระภาคเมื่อจะทรงจำแนกสังขารขันธ์ ได้ตรัสว่า 'สังขาร คือ สภาวะปรุงแต่งสังขตธรรม"
ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะพระพุทธดำรัสว่า

สงฺขตมภิสงฺขโรนฺตีติ สงฺขารา."
"สังขาร คือ สภาวะปรุงแต่งสังขตธรรม"
ไม่ปรากฎในคัมภีร์วิภังด์ สุตตันตภาชนีย์ แต่ตรัสไว้ไนคัมภีร์ขันธสังยุต
เอกัคคะ หมายถึง จิตที่มีส่วนเป็นหนึ่งคืออารมณ์เดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2023, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง เอกัคคะ หมายถึง จิตที่มีที่สุดคืออารมณ์เดียว ได้แก่จิต
(ตามนัยแรก ในคำว่า เอกคฺค (เอก + อคฺค) อคฺค ศัพท์มีอรรถว่า โกฏฺฐาส (ส่วน)
ส่วนนัยหลังมีอรรถว่า โกฏิ (ที่สุด)]
เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เดียว) คือ ภาวะแห่งจิตที่มีอารมณ์เดียว ตามปกติ
อารมณ์ชนิดเดียวกันก็มีสภาพต่างกัน อาการตั้งมั่นแห่งจิตที่ไม่ซัดส่ายไปตามภาวะต่างๆ
ของอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง และยังคงเป็นไปอย่างตั้งมั่นในภาวะหนึ่งแม้เพียงชั่วขณะนี้
จึงถือว่าเป็นอารมณ์เตียว และเป็นเหตุที่มาของชื่อว่า เอกัคคะ (จิตที่มีอารมณ์เดียว ดัง
สาธก[ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

นิวาเต ทีปจฺจินํ วิติ วิย เจตโส ฐิตีติ ทฎฺฐพฺพา.
"พึงทราบว่าเอกัคคตา คือ การดำรงอยู่แห่งจิต เหมือนการดำรงอยู่แห่งเปลว
ไฟของดวงประทึปในที่สงัดลม"

(๗๘) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า
เอก๋ อารมมณํ อคฺคํ อิมสฺสาติ เอกคฺคํ."ㆍ
"เอกัคคะ คือ จิตที่มีอารมณ์เดียว"
คำว่า อคฺค ตามมตินั้นสมควรเป็นไปในอรรถว่า ส่วน หรือ ที่สุด แต่บางคน
อ้างว่า คำว่า อคฺค เป็นไปในอรรถว่า อารมณ์
ข้อความนั้นไม่งาม เพราะ อคฺค ศัพท์ที่เป็นคำไวพจน์ของอารมณ์ ไม่ปรากฎใน
คัมภีร์ใด

(คัมภีร์มณิสารมัญชูสา (เล่ม ๑ หน้า ๒๐๙) กล่าวว่า อคฺค ศัพท์ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า
อารมณ์ คัมภีร์ปรมัตถทีปนีได้ปฏิเสธความเห็นของคัมภีร์ดังกล่าว)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2023, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตะ คือสภาวะทำให้สัมปยุตตธรรมเป็นไปได้
คำว่า อินฺท มีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่ ส่วนความว่าเป็นใหญ่ชื่อว่า อินท และ
ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ (สภาพสืบต่อชีวิต) เพราะทำให้สัมปยุตตธรรมเป็นไปได้และมีความใหญ่
โดยแท้จริงแล้ว ชีวิตินทรีย์ปกครองสหชาตธรรมให้คงอยู่และเป็นไป เหมือนคำกล่าว
ว่า หากปราศจากเราแล้วพวกเธอจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ พวกเธอจงให้เราเป็นใหญ่ในการดำรง
รักษาชีพของเธอทั้งหลาย ดังสาธก(ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า

ตํ ปวตฺตสนฺตตาธิปเตยฺยํ ปทุมุปฺปลานุปาลกมุทกํ วิย."
"ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้ำหล่อเลี้ยง
ดอกปทุมและดอกอุบล"
ในพากย์นั้น พึงกระทำรูปวิเคราะห์สมาสว่า คำว่า ปวัตตสันตติ (กระแสจิตที่เป็น
ไปต่อเนื่อง) คือ กระแสจิตที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงขันธปรินิพพาน

คำว่า อาธิปเตยยะ (ความเป็นใหญ่) คือ ภาวะแห่งสภาพอันยิ่งใหญ่
คำว่า ปวัตตสันตตาธิปเตยยะ คือ มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง
ความจริงกระแสจิตแม้จะดับไปซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ยังคงชีพอยู่อีกได้ด้วยอานุภาพ
ของชีวิตินทรีย์นั้น และย่อมเกิดขึ้นเป็นไปเรื่อยมาจนกระทั่งถึงขันธปรินิพพาน (การดับขันธ์)
เพราะกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่องพิเศษเช่นนั้นย่อมไม่มีในสภาวะปราศจากใจครองซึ่งไม่มี
ชีวิตินทรีย์
(ชีวิตินทรีย์เปรียบเสมือนกลไกที่ควบคุมรักษานามธรรมทั้งหมดอยู่เสมอ แม้ว่านามธรรม
ทั้งหลายจะเกิด ขึ้นแล้วดับไปตามลักษณะของสังขตธรรมก็ย่อมจะเกิดขึ้นได้อีกไนโอกาสต่อไปด้
อำนาจของชีวิตินทรีย์นี้ ส่วนรูปธรมทั้งหลายก็มีกลไกควบคุมให้มีการเกิดขึ้นต่อไปได้ฝึกเช่นกัน
กลไกที่ควบคุมรูปธรรมทั้งหมดเป็นรูปละเอียดชนิดหนึ่งเรียกว่า ชีวิตรูป]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2023, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มนสิการ (ความใส่ใจ) คือ สภาวะกระทำอารมณ์ไม่ให้ว่างเปล่าในจิต
อีกอย่างหนึ่ง มนสิการ คือ สภาวะกระทำจิตให้น้อมไปในอารมณ์เสมอ
(คำว่า มนสิการ มีความหมาย ๒ ประการ คือ


๑. สภาวะกระทำอารมณ์ไม่ให้ว่างเปล่าในจิต
-มนสฺมึ อารมฺมณํ อสุญฺญํ กโรตีติ มนสิกาโร (มน บทหน้า + กร ธาตุ + ณ ปัจจัย)
๒. สภาวะกระทำจิตให้น้อมไปในอารมณ์เสมอ
- มน่ อารมฺมเณ นิจฺจนินฺนํ กโรตีดิ มนสิกาโร (มน บทหน้า + กร ธาตุ + ณ ปัจจัย]

มนสิการมี ๓ อย่าง คือ
๑. วิถีปฏิปาทกมนสิการ
๒. ชวนปฏิปาทกมนสิการ
๓. อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ

วิถีปฏิปาทกมนสิการ (มนสิการที่ยังวิถีจิตให้เป็นไป) หมายถึง ปัญจทวาราวัชชน-
จิตซึ่งทำให้เกิดกระแสจิตในปัญจทวารได้สำเร็จ คือ ให้ประกอบในอารมณ์(ทางปัญจทวาร]
ชวนปฏิปาทกมนสิการ (มนสิการที่ยังชวนะให้เป็นไป) หมายถึง มโนทวารา-
วัชชนจิตซึ่งทำให้กระแสชวนจิตเกิดและเป็นไปได้สำเร็จ คือ ให้ประกอบในอารมณ์(ทาง
มโนทวาร]

จิตทั้งสองประเภทนี้ได้ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ หรือ อโยนิโสมนสิการ ในที่นั้นๆ
เนื่องจากจิตได้รับแรงเกื้อหนุนจากปัจจัย เช่น การสั่งสม การน้อมไป และการกำหนด
เป็นต้นมาโดยตลอด ย่อมกระทำกระแสจิตให้น้อมไปในอารมณ์โดยแยบคายหรือไม่แยบคาย

อารัมมณปฎิปาทกมนสิการ (มนสิการที่ยังอารมณ์ให้เป็นไป) คือ สภาวธรรม
(มนสิการเจตสิก) ที่ทำให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่ปฏิสนธิจิตซึ่งแม้จะละ
อารมณ์แล้วดับไปก็เกิดขึ้นใหม่ในอารมณ์เก่าได้อีกเมื่อไม่มีเหตุพิเศษ (คือเมื่อไม่มีอารมณ์
อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทำให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้]

อารัมมณปฏิปาทกมนสิการถูกระบุขึ้นในที่นี้ เพราะมนสิการเจตสิกนี้ประกอบ
อารมณ์ไว้ในจิต หรือประกอบจิตไว้ในอารมณ์ ดังข้อความ(ในคัมภีร์อรรถกถา]ว่า
อยํ สารณลกฺขโณ สมุปยุตฺตานํ อารมฺมเณน สมฺปโยชนรโส อารมฺมณปฏิ-
ปาทกฎฺเฐน สมฺปยุตฺตานํ สารถี วิย ทฎฺฺฐพฺโพ."*
"มนสิการเจตสิกนี้มีลักษณะยังสัมปยุตตธรรมให้เป็นไป มีหน้าที่ยังสัมปยุตต-
ธรรมให้ประกอบในอารมณ์เหมือนนายสารถีเพราะยังสัมปยุตตธรรมให้ประกอบในอารมณ์*

ในพากย์นั้น คำว่า สารณลกฺขโณ (มีลักษณะยังสัมปยุตตธรรมให้เป็นไป) หมาย-
ความว่า มีลักษณะการขับให้สัมปยุตตธรรมมุ่งตรงไปในทางของอารมณ์นั้น เหมือนนาย
สารถีบังคับม้าให้แล่นไป
คำว่า สาธารณะ คือ สภาวธรรมอันทรงไว้เสมอกัน (โดยทั่วไป]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 90 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร