วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 06:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2023, 03:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1691974678036.jpg
FB_IMG_1691974678036.jpg [ 75.56 KiB | เปิดดู 608 ครั้ง ]
๕๑. คำว่า ตตฺถ คือ ในอารมณ์ ๖ อย่างมีรูปารมณ์เป็นตันนั้น
จิตที่เป็นไปในจักขุทวารซึ่งเกิดคล้อยตามรูปอันกระทบที่จักขุทวาร ย่อมจะยึด
หน่วงอารมณ์อื่นไม่ได้ ทั้งจะยืดเหนี่ยวรูปารมณ์ซึ่งเป็นอดีตหรืออนาคตโดยไม่มีการกระทบ
[ระหว่างอารมณ์กับทวารก็ไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จกฺทวาริกจิตฺตานํ สพฺเพสํปิ
รูปเมว อารมฺมณํ ตญฺจ ปจฺจุปฺปนฺนํ (รูปเท่านั้นเป็นอารมณ์ของจิตที่เป็นไปในจักขุทวาร
ทั้งหมด และรูปนั้นเป็นปัจจุบัน) แม้จิตที่เป็นไปในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยเดียวกัน

ในประโยคนั้น ปัจจุบัน คือ อารมณ์ที่เกิดโดยอาศัยเหตุนั้นๆ หมายความว่า กำลัง
เป็นไปอยู่
คำว่า ฉพฺพิธํปิ (แม้มี ๖ อย่าง) คือ แม้มี ๖ อย่างโดยจำแนกตามรูปารมณ์เป็นต้น
อดีต คือ อารมณ์ที่ล่วงผ่านไปแล้ว
อาคตะ คือ อารมณ์ที่มาปรากฏอยู่ หมายถึง ปัจจุบันอารมณ์
อีกอย่างหนึ่ง อาคตะ คือ อารมณ์ที่ปรากฎไปแล้ว หมายถึง อดีตอารมณ์

[คำว่า อาคต มีความหมาย ๒ อย่าง คือ
- อารมณ์ที่มาปรากฏอยู่ = อาคจฺฉตีติ อาคตํ (ลง ต ปัจจัยในปัจจุบันกาล)
- อารมณ์ที่ปรากฎไปแล้ว = อาคจฺฉียิตฺถาติ อาคตํ (ลง ต ปัจจัยในอดีตกาล))

อนาคต คือ อารมณ์ซึ่งไม่ใช่ที่มาปรากฎอยู่หรือปรากฎไปแล้ว
สังขตธรรมซึ่งมีสภาวะคือมีการเกิดขึ้นย่อมเป็นไปในกาลทั้ง ๓ ดังนั้นนิพพาน
ละบัญญัติซึ่งเป็นอสังขตธรรมที่ปราศจากการเกิดขึ้น จึงชื่อว่า พ้นจากกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2023, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๑๐๔) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า
วินาสภาวโต อตีตาทิกาลวเสน นวตฺตพฺพตฺตา นิพฺพานํ ปญฺญตฺติ จ กาลวิมุตต่
นาม. "
นิพพานและบัญญัติ ชื่อว่า พ้นจากกาล เพราะไม่พึงกล่าวว่าเป็นอดีตกาลเป็นต้น
เนื่องจากไม่มีความพินาศ"
ข้อความนั้นพึงใคร่ครวญ เพราะสังขตธรรมทั้งหมดมีความเป็นอนาคตเป็น
เบื้องหน้า

เมื่อใดสังขตธรรมมีปัจจัยพร้อมเพรียงแล้วตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะกล่าวได้ว่า จักอุบัติ
ขึ้น เมื่อนั้นก็ชื่อว่าอนาคต

เมื่อใดมีความพร้อมเพรียงของปัจจัยแล้วเกิดขึ้นอยู่ เมื่อนั้นชื่อว่า ปัจจุบัน
เมื่อใดดับลง เมื่อนั้นชื่อว่า อดีต

การประกอบด้วยกาล ๓ กาลซึ่งมีการเกิดเป็นเหตุย่อมมีใด้ในสังขตธรรมอันมี
สภาพอุบัติขึ้น แต่ธรรมที่ไม่มีการเกิดย่อมไม่มีระยะกาลที่เป็นอนาคต ระยะกาลที่เป็น
ปัจจุบันและอดีตย่อมต้องไม่มีแน่นอน ดังนั้น การที่นิพพานและบัญญัติพันจากกาล ๓ กาล
จึงมีได้

ข้อความ(ในคัมภีร์วิภาวนีว่า วินาสาภาวโต" (เนื่องจากไม่มีความพินาศ) นี้ เป็น
เหตุให้นิพพานและบัญญัติพ้นจากอดีตกาลอย่างเดียว จึงไม่ได้แสดงว่าพ้นจากกาลอื่น

ส่วนการจำแนกจิตและอารมณ์ของจิตตามสมควร จักปรากฏต่อไปในอาลัมพณ
สังคหะนี้ด้วยคำเป็นต้นว่า เตสุ (ในบรรดาจิตเหล่านั้นจักวิญญาณจิตเป็นต้น มีอารมณ์
เป็นอย่างๆ เท่านั้น เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น ตามลำดับ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 76 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร