วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1694768045762-removebg-preview.png
ei_1694768045762-removebg-preview.png [ 71.92 KiB | เปิดดู 1302 ครั้ง ]
อธิบายวัตถุสังคหะ
๖๔ วัตถุสังคหะ คือ การประมวลจิตและเจตสิกที่มีวัตถุเหล่านั้น โดยจำแนกตาม
วัตถุที่ตั้งมีจักขุวัตถุเป็นต้น

(๑๑๔) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า
วตฺถุวิภาคโต ตพฺพตฺถุกจิตฺตปริจเฉทวเสน จ สงฺคโห วตฺถุสงคโห.

วัตถุสังคหะ คือ การประมวลด้วยการจำแนกวัตถุและกำหนดจิตที่มีวัตถุเหล่านั้น

ข้อความนั้นไม่งาม
วัตถุ คือ ปสาทรูปอันเป็นที่ตั้งของจิตและเจตสิก
พึงประกอบบทว่า จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และ
จักขุวัตถุ คือ จักขุประสาทนั่นแหละ
โสตประสาทเป็นต้นชื่อว่า โสตวัตถุ เป็นต้นเหมือนกัน ปาฐะนี้เป็นประโยคสังเขป
พึงกล่าวว่า เป็นเปยยาลนัยบ้าง อันตทีปกนัยบ้าง
(เปยยาลนัย คือ การละข้อความซึ่งเป็นที่เข้าใจกันได้
อันตทีปกนัย คือ การกล่าวไว้ข้างท้ายครั้งเดียว แต่สามารถติดตามจากคำหลังไปเชื่อม
โยงกับข้อความข้างหน้า]

บางคนสำคัญว่าเป็นทวันทสมาส คามมติของท่าน จ ศัพท์[ในคำว่า หทยวตฺถุ
จ] ย่อมไม่สมควร
(ตามหลักภาษา ถ้าเป็นทวันทสมาสก็ไม่จำเป็นต้องมี จ ศัพท์ คัมภีร์นี้จึงไม่เห็นด้วยกับ
มตินี้]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บางคนอ้างว่าควรนำคำว่า วตฺถุ และ จ ศัพท์จากบทหลังมาประกอบไว้ในบท
หน้า(เป็นรูปว่า จกฺขุวตฺถุ จ โสตวตฺถุ จ ฯเปฯ) ตามมติของท่าน บทสมาสว่า หทยวตฺถุ
ย่อมไม่สมควร

(ตามปกติบทสมาสมักติดตามไปประกอบกับบทอื่นทั้งบท ไม่ติดตามไปเพียงบางบทใน
สมาส คัมภีร์นี้จึงไม่เห็นด้วยกับมตินี้]

อาจารย์ท่านอื่นกล่าวว่าเป็น
ศัพท์อวิภัตติกนิเทศ
(อวิภัตติกนิเทศ คือ ศัพท์ที่ถูกแสดงด้วยการไม่ลงวิภัตติ กล่าวคือ ลงวิภัตติแล้วลบไป จึง
มีรูปเหมือนยังไม่ลงวิภัตติ หมายความว่า เมื่อควรกล่าวว่า จกฺขุ โสตํ ฆานํ ชิวฺหา กาโย ททยํ วตฺถุ
จ ก็กล่าวเป็นรูปไม่ลงวิภัตติว่า จกฺขุ โสต ฆานํ ชิวฺหา กาโย หทยํ วตฺถุ จ คัมภีร์นี้ไม่คัดค้านมติ
ดังกล่าวนี้ เพราะเมื่อเป็นอวิภัตติกนิเทศ คำว่า วตฺถุ และ จ ศัพท์ก็นำมาในบทหน้าได้]

๖๕. คำว่า ตานิ กามโลเก สพฺพานิปิ ลพฺภนฺติ (วัตถุเหล่านั้นทั้งหมดย่อมมีได้ในกาม
ภูมิ) มีความหมายว่า วัตถุ ๖ อย่างทั้งหมดย่อมมีได้ในกามภูมิเท่านั้น เพราะอัตภาพซึ่ง
เกิดจากกรรมอันเนื่องด้วยกามตัณหาพืงมีอินทรีย์บริบูรณ์ หมายความว่า เมื่อจักขุวัตถุ
เป็นตันมีอยู่ การบริโภคใช้สอยรูปเป็นตันจึงมีใด้ ดังนั้น กามตัณหาที่รี่นรมย์ในวัตถุกาม
มีรูปเป็นตันจึงปรารถนาความบริบูรณ์แห่งวัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้นเสมอ

อำมาตย์ผู้ดูแลกิจทั้งปวงย่อมยังพระราชประสงค์ให้บริบูรณ์เป็นนิตย์ กระทำ
พระราชกิจทั้งปวงให้สำเร็จ ฉันใด กามาวจรกรรมก็ยังความปรารถาของกามตัณหาให้
บริบูรณ์เสมอ ย่อมทำอัตภาพที่มีอินทรีย์บริบูรณ์ให้เกิดขึ้น ฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ เหล่าสัตว์
ในกามาวจรภูมิซึ่งเกิดจากกรรมอันเนื่องด้วยกามตัณหาจึงมีอินทรีย์บริบูรณ์

๖๖.วัตถุ ๓ มีฆานประสาทเป็นตัน ย่อมไม่เกิดขึ้นเพื่อความหมดจด(จากกิเลส]
เหมือนจักขุทวารและโสตทวารซึ่งเป็นธรรมที่ก่อให้เกิดการเห็นและการสดับอันประเสริฐ
นำไปสู่ความหมดจดของเหล่าสัตว์ ด้วยการเห็นพระพุทธเจ้าและสดับพระธรรมเทศนา
เป็นตัน ส่วนวัตถุ ๓ เหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นเพื่อบริโภคกามอย่างเดียว จึงไม่เกิดมีในอัตภาพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ของพรหมผู้เกิดจากการเจริญภาวนาที่คลายทำหนัดในกาม ฉะะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า รูปโลเก
ปน ฆานาทิตฺตยํ นตฺถิ (แต่วัตถุ ๓ มีนานประสาทเป็นตันไม่มีในรูปภูมิ)

คำนี้หมายถึงปสาทรูป ๓ ส่วนสัณฐานจมูก ลิ้น และกายอันเป็นไปพร้อมด้วยที่
ตั้ง (มหาภูตรูป] ย่อมครบถ้วนสมส่วนโดยแท้

๖๙. คำว่า อรูปโลเก ปน สพฺพานิบิ น สํวิชฺชนฺติ แปลว่า ส่วนในอรูปภูมิ ไม่มีวัตถุ
ทั้งปวง (การกล่าวเช่นนี้เพราะไม่มีความเป็นไปแห่งรูปใด ๆ ในหมู่นามธรรมทั้งภายใน
และภายนอกในอรูปภูมิที่เกิดจากการเจริญภาวนาอันคลายกำหนัดในรูป ความจริงแล้ว
เหล่าสัตว์ผู้บังเกิดในอรูปภูมิมีเพียงลำดับจิตดำรงอยู่ในอากาศล้วนๆ เท่านั้น

๖๘. นอกจากนี้ ท่านกล่าวว่า ตตฺถ ปญฺจวิญฺญาณธาตุโย (ในบรรดาวัตถุเหล่านั้น
วิญญาณธาตุ ๕ ย่อมเป็นไปโดยอาศัยปสาทวัตถุทั้ง ๕ แน่นอนตามลำคับ) เป็นต้น เพื่อ
ประมวลจิตในสังคหะนี้โดยจำแนกตามวิญญาณธาตุ ๗

คำว่า ตตฺถ คือ ในบรรดาวัตถุ ๖ เหล่านั้น
พึงกระทำรูปวิเคราะห์ว่า ปัญจวิญญาณธาตุหมายถึง ธาตุ คือ ปัญจวิญญาณ
เพราะมีสภาพไม่ไช่สัตว์ไม่ใช่ชีวะ
แม้บทอื่นก็มีนัยอย่างเดียวกัน

๖๙. มโนธาตุ คือ ธาตุเพียงแต่รู้ เพราะไม่มีหน้าที่รู้พิเศษ โดยแท้จริงแล้ว หน้าที่
ใคร่ครวญและรับรู้เอารมณ์ทางปัญจทวารเท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่รู้พิเศษ แต่ปัญจวิญญาณมี
หน้าที่รู้พิเศษมากกว่ามโนธาตุเล็กน้อยด้วยการเห็นอย่างประจักษ์เป็นต้น ส่วนจิตที่เหลือ
จากปัญจวิญญาณและมโนธาตุ ๓ มีสันตีรณจิตเป็นต้น ไม่ได้มีหน้าที่แค่เพียงรับรู้เหมือ
มโนธาตุ และไม่ได้เพียงแต่รู้พิเศษเหมือนปัญจวิญญาณธาตุ แต่ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
เพราะเป็นธาตุรู้อันพิเศษยิ่ง โดยมีรูปวิเคราะห์ว่า จิตชื่อว่า มนะ เพราะมีสภาพรู้ และจิต
นั้น ชื่อว่า วิญญาณ เพราะมีสภาพรู้อันพิเศษ เนื่องด้วยประกอบด้วยหน้าที่รู้พิเศษย์
ด้วยความใคร่ครวญสภาวะของอารมณ์เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 14:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงอรรถอันยิ่ง(กว่าปกติของบทที่เป็นคำไวพจน์กัน ย่อมเป็นที่รู้ใด้ใน
วิเสสนสมาสเหมือนคำว่า ปทฎฺฐานํ (มูลเหตุ, เหตุใกล้)

คำว่า มน และ วิญฺญาณ เป็นคำไวพจน์กันที่แปลว่า ใจ เมื่อนำมาเชื่อมสมาสกับบท
กรรมธารยสมาส (วิเสสนสมาส) ว่า มโน จ ตํ วิญฺญาณฺจาติ มโนวิญฺญาณํ ก็ทำให้มีอรรถอัน
ยิ่งกว่าปกติซึ่งในที่นี้ก็คือ รู้พิเศษยิ่ง เหมือนคำว่า ปท กับ ฐาน ที่เป็นคำไวพงน์กันแปลว่า เหตุ แต่
เมื่อมาเชื่อมสมาสกันเป็นรูปว่า ปทฏฺฐาน ก็มือรรถว่า เหตุยิ่ง มูลเหตุ, เหตุใกลั คัมภีร์อนุที่ปนียัง
แสดงอุทาหรณ์อื่นๆ ว่า

ทุกขทุกข = ทุกข์ยิ่ง
รูปรูป = รูปที่เปลี่ยนแปลงยิ่ง, รูปที่เปลี่ยนแปลงชัดเจน
ราชราช = พระราชาผู้ยิ่งใหญ่, พระจักรพรรดิราช
เทวเทว = เทพผู้ยิ่งใหญ่, อติเทพ]
(๑๒๕) ในคัมภีร์วิภาวนี "กล่าวว่า
มโนวิญญาณ คือ ใจนั่นแหละที่เป็นวิญญาณ อีกอย่างหนึ่ง มโนวิญญาณ คือ
วิญญาณแห่งใจ"

ในพากย์นั้น คำว่า ใจนั่นแหละที่เป็นวิญญาณ นี้ ย่อมไม่สมควรก่อน เพราะรูป
วิเคราะห์อวธารณะ!ที่มีความหมายว่า นั่นแหละ] ในวิเสสนสมาสเป็นต้นว่า ปทฏฺฐาน อัน
กระทำพิเศษซึ่งกันและกันและแสคงอรรถอันยิ่ง ไม่ปรากฏและไม่สมควรในคัมภีร์ใด

(๑๑๖) แม้คำว่า มนโส วิญฺญาณํ " (วิญญาณแห่งใจ) นี้ ก็ไม่สมควร
โดยแท้จริงแล้ว คำว่า มนโส (ใจ) มีความหมายว่า ใจ ที่เรียกว่ามโนธาตุ ๓ ใน
เรื่องนั้น สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวงเป็นปัจจัยของกระแสมโนวิญญาณมีสันตีรณจิตเป็นต้น ส่วน
ปัญจทวารวัชชนจิตเมื่อเป็นไปในทวารอื่นภายหลังย่อมเป็นปัจจยุปบัน (ผล) ของกระแส
มโนวิญญาณ ดังนั้น คำว่า มโนวิญญาณ จึงมีความหมายว่า วิญญาณอันเกี่ยวเนื่องกับจิต
ที่เป็นปัจจัยก่อน และเป็นปัจจยุปบันทางทวารอื่นเป็นที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง มนะ คือ วิญญาณทั้งหมดยกเวันปัญจวิญญาณ เพราะมีหน้าที่รู้
ส่วนปัญจวิญญาณจิตเป็นเพียงจิตที่เป็นไปกับอารมณ์เฉพาะหน้าไม่มีหน้าทีรู้] จึงชื่อว่า
ทัสสนะ (การเห็น) เป็นต้น ในขณะที่ปัญจหวาราวัชชนจิตแม้เกิดจากจิตก็ไม่เป็นปัจจัยแก่จิต
แต่เป็นปัจจัยแก่การเห็นเป็นต้นเท่านั้น ทั้งส้มปฏิจณนจิต ๒ ดวงแม้เป็นปัจจัยแก่จิต
ก็มีได้เกิดจากจิต แต่เกิดจากการเห็นเป็นตัน ส่วนสันตีรณจิตเป็นต้นย่อมเกิดขึ้นระหว่างจิต
๒ ดวง คือ ดวงที่เกิดก่อนและเกิดหลังสันตีรณจิต ดังนั้นจึงมีความหมายว่า วิญญาณที่
เกี่ยวข้องกับจิตอันเป็นปัจจัยและปัจยุปบันของตน หากเป็นตามนี้แม้ปัญจวิญญาณก็เป็น
วิญญาณที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยและปัจยุปบันของจิต เพราะเป็นไปในระหว่างมโนธาตุทั้ง ๒
ก็ควรกล่าวว่าเป็นมโนวิญญาณได้

(๑๑๗) ในคัมภีร์ฎีกากล่าวว่า มนโต ชาตํ วิญญานํ " (วิญญาณที่เกิดจากใจ) แม้
คำนั้นก็ไม่สมควรตามนัยที่กล่าวมาแล้ว

๗๐. พึ่งประกอบบหว่า จิต ๓๐ ดวงที่เหลือเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ โดยประเภท
แห่งสันตีรณจิต (๓] มหาวิปากจิต (๘] ปฏิฆจิตทั้ง ๒ ปฐมมรรคจิต หสนจิต
รูปาวจรจิต ๑๕ ย่อมเป็นไปโดยอาศัยหทัยวัตถุเท่านั้น

จ ศัพท์ในคำว่า มโนวิญญาณธาตุสฺงขาตา จ] ย่อมยกขึ้นแสดงว่าจิต ๗๖ ดวง
ที่เหลือเป็นมโนวิญญาณธาตุ ในที่นี้

(๑๑๘) ในคัมภีร์ภาวนี "หมายเอาอรรถสัมปัณฑนะ (รวบรวม) แล้วกล่าวว่า
มโนธาตุอย่างเดียวเท่านั้นมิได้เป็นไปโดยอาศัยหทัยวัตถุ"
ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะหากเป็นตามนี้ พระอนุรุทธาจารย์ควรกล่าวว่า
อวเสสา จ มโนวิญญาณธาตุสงฺขาตา (และจิด ๓๐ ดวงที่เหลืึอเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ)
(จ ศัพท์ในคำว่า มโนวิญญาณธาตุสงฺขาตา จ คัมภีร์นี้เห็นว่า ทำหน้าที่เป็น คือ ยกขึ้นแสดง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคัมภีรีวิภาวนีกล่าวว่า จ ศัพท์ทำหน้าที่สัมปิณฑนะ คือ รวบรวม หมายถึง รวบรวม
มโนธาตุที่กล่าวไว้แล้วในประโยคก่อน)
(๑๑๙) แม้การประกอบบทในคัมภีร์ฎีกาทั้งหลาย"ว่า
*จิต ๓๐ ดวงที่เหลืออันเป็นไป โดยประเภทแห่งสันตีรณจิต...รูปาวจรจิต และ
เรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ"
ก็ไม่งาม เพราะมีความหมายไม่ชัดเจน

ถามว่า : เหตุใดจิตเหล่านั้นจึงเป็นไปโดยอาศัยหทัยวัตถุอย่างเดียว
ตอบว่า : เพราะไม่เกิดในอรูปภูมิ
ถามว่า : เหตุใดจึงไม่เกิดในอรูปภูมิ
ตอบว่า : ลำดับแรก สันตีรณจิตและมหาวิปากจิตย่อมไม่เกิดในอรูปภูมิ เพราะ
ไม่มีทวาร ๕ ทวารและไม่มีกิจของตนในอรูปภูมิ แม้ปฏิฆจิต ๒ ดวงก็ไม่เกิด เพราะไม่มี
ปฏิฆะที่มิใช่ระยะกาลแห่งนิวรณ์ และนิวรณ์จริงก็ไม่เกิดในฌานภูมิ

หากไม่มีปฏิมะที่ไม่ใช่ระยะกาลแห่งนิวรณ์ พระดำรัสที่ตรัสความดับสนิทแห่ง
โทมนัสสินทรีย์ในทุติยฌานที่ปรากฏในพระบาลี(อินทรีย์สังยุต) " และคำกล่าวถึงการเกิด
โทมนัสสินทรีย์ได้ในอุปจารสมาธิของทุติยฌานที่ปรากฎในคัมภีร์อรรถกถาทั้งหลาย" ก็
พึงขัดแย้งกัน ดังนั้น อาจารย์บางท่านจึงกล่าวว่า ปฏิฆจิต ๒ ดวงไม่เกิดในอรูปภูมิ เพราะ
กามราคะหยาบอันเป็นปัจจัยร่วมกันของตนไม่มีในฌานภูมิ ข้อนี้ย่อมสมควร

ส่วนพระฎีกาจารย์ดำริว่า ข้อความที่กล่าวถึงการเกิดโทมนัสสินทรีย์ได้ในอุป-
จารสมาธิของทุติยฌาน เป็นเพียงแสดงความคาดคะเนเท่านั้น แล้วปรารถนาเหตุแรก"
(คือความไม่มีปฏิมะที่มิช่ระยะกาลแห่งนิวรณ์] แต่ถ้าข้อดวามนั้นแสดงโดยการดาดคะเน
แม้พระดำรัสในพระบาลีก็พึงเป็นคำแสดงความคาดคะเน ดังนั้น เหตุหลังจึงสมควร [คือ
นิวรณ์จริงไม่เกิดขึ้นในฌานภูมิ ข้าพเจ้า(พระฎีกาจารย์)มีความเห็นดังนี้
แม้หสนจิตย่อมไม่เกิด(ในอรูปภูมิ] เพราะอรูปพรหมไม่มีกิจในการหัวเราะ หรือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุผลที่ว่า เพราะไม่มีกาย ย่อมสมควร แม้โสตาปัตติมรรคจิตย่อมไม่เกิด เพราะปุถุชน
ผู้เกิดในอรูปภูมิไม่อาจจะรู้ แจ้งสัจธรรมได้ เนื่องด้วยไม่มีคำ
แนะนำของผู้อื่น ทั้งพระพุทธเจ้า
และพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไม่เกิดในอรูปภูมิ ดังนั้น ปุถุชนรู้เกิดในอรูปภูมิจึงกล่าวว่าจัดอยู่
ในประเภทผู้ที่ตกอยู่ในขณะไม่เหมาะสม(เพื่อการปฏิบัติธรรมในการบรรลุนิพพาน] ๘ อย่าง
(ขณะที่ไม่เหมาะสม (อักขณะ) มี ๘ อย่าง คือ
๑.ขณะเกิดในนรก
๒. เป็นสัตว์เดียรัจฉาน
๓.เป็นเปรต
๔.เกิดในอสัญญสัตวภูมิหรืออรูปภูมิ
๕. เกิดในปัจจันตชนบทที่ไม่มีศาสนา
๖.เชื่อถือมิจฉาทิฏฐิ
๗. เป็นคนเขลา
๘. เกิดในกาลเวลาที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ]

แม้รูปาวจรจิตย่อมไม่เกิดในอรูปภูมิ เพราะรูปาวจวจิตซึ่งมีอารมณ์ คือ รูปนิมิต
(มีกสิณเป็นต้น]ล่วงพ้นได้ด้วยการเจริญภาวนาอันคลายกำหนัดในรูป
๗๑. พึงประกอบบทว่า จิตที่เหลือ ๔๒ ควงเรียกว่า มโนวิญญาณธาตุ โดยประเภท
แห่งกุศลจิต [๑๒ เว้นรูปาวจรกุศลจิต ๕] อกุศลจิต [๑๐ เว้นปฏินจิต ๒] กิริยาจิต [๑๓
เว้นปัญจทวาราวัชชนจิต หสนจิต และรูปาวจรกิริยาจิด ๕] และ โลกุตตรจิต [๗ เว้น
โสดาปัตติมรรค] ย่อมเป็นไปโดยอาศัยหทัยวัตถุก็ได้ ไม่อาศัยหทัยวัตถุก็ได้ ความหมาย
ก็คือ อาศัยหทัยวัตถุในปัญจโวการภูมิ (ภูมิที่มีขันธ์ ๕ ) หรือไม่อาศัยหทัยวัตถุในจตุโวการ-
ภูมิ (ภูมิที่มีขันธ์ ๔)

พึงกระทำรูปวิเคราะห์ว่า กุสลากุสลกิริยานุตตระ คือ กุศลจิต อกุศลจิต กิริยา-
จิต และโลกุตตรจิต
ในประโยคนั้น คำว่า กุสลานิ (กุศลจิต) คือ โลกิยกุศลจิต ๑๒ ดวงที่เหลือจาก
รูปาวจรกุศลจิต ๕ ควง
คำว่า อกุสลานิ (อกุศลจิต) คือ อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือจากปฏิฆจิต ๒ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2023, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า กริยานิ (กิริยาจิต) คือ กิริยาจิต ๑๓ ดวงที่เหลือจากปัญจทวาราวัชชนจิต
หสนจิต และ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ ดวง
คำว่า อนุตฺตรานิ (โลกุตตรจิต) คือ โลกุตตรจิต ๗ ควงที่เหลือจากปฐมมรรคจิต

อธิบายคาถาสรุป

๗๓. พึงประกอบบทว่า วิญญาณธาตุในกามภูมิ ๗ ดวง อาศัยวัตถุ ๖, วิญญาณธาตุ
๔ ควงในรูปภูมิ อาศัยวัตถุ ๓ ส่วนวิญญาณธาตุในอรูปภูมิ ไม่อาศัยวัตถุใดๆ
๗๔. คำว่า เตจตฺตาลีส (จิต ๔๓ ควง) หมายถึง จิต ๓๐ ดวงมีสันตีรณจิตเป็นต้น
พร้อมด้วยปัญจวิญญาณและมโนธาตุ ๓

จบการแสดงข้อความปรมัตล์แห่งปกิณณกสังคนะ
ในคัมภีร์ชื่อปรมัตถทีปนีอันเป็นอรรถาธิบายฉบับที่ ๔ ของคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
ด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 105 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร