ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=64174 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 21 ก.ย. 2023, 14:54 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร | ||
ปัญญาควบคุมธรรมที่ประกอบร่วมในกิจไม่หลงผิด เพราะเป็นไปโดยไม่มีธรรมอื่น ครอบงำได้ ปฐวีธาตุในแท่งหินไม่ถูกรูปอื่นที่เกิด ร่วมกันครอบงำแต่ตนได้ครอบงำรูปเหล่านั้น โดยทำให้เหมือนไม่มีอยู่โดยเฉพาะ หรืออาโปธาตุในน้ำ เตโซธาตุในไฟ และวาโยธาตุในลม ไม่ถูกรูปอื่นที่เกิดร่วมกันครอบงำ ฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น คำว่า อัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้แจ้ง คำว่า อนัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลไม่รู้แจ้ง หมายถึง อริยสัจ ๔ หรือนิพพาน คำว่า อนัญญาตัญญัสสามิ คือ อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔ ที่ยัง ไม่รู้แจ้ง แมับทอาขยาตซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นนามศัพท์ (คำแสดงชื่อ) ก็ดำรงอยู่ในฐานะ แห่งบทนามได้เหมือนคำว่า มกุขลิโคสาล (นายโคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น) เอหิปสฺสิก (ธรรมที่ควรมาดู) เมื่อเป็นดังนี้ การที่บทอาขยาตเชื่อมเป็นสมาสกับบทอื่นย่อมสมควร คำว่า อนัญญาตัญญัสสามีอินทรีย์ คือ อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง กล่าวคือ อินทรีย์ของบุคคลผู้ปรารภวิปัสสนา พร้อมด้วยความ อุตสาหะเช่นนั้นตั้งแต่การกำหนดรู้!รูปนามเป็นเบื้องแรกแล้วบรรลุโสดาปัตติมรรคในเมื่อ ความอุตสาหะยังไม่ระงับไป คำว่า อัญญะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีก คำว่า อัญญินทรีย์ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีกนั่นแหละ กล่าวคือ อินทรีย์ของ บุคคลผู้ประกอบในหน้าที่รู้อริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานอีก เพราะหน้าที่ในการกำจัดกิเลล ยังไม่เสร็จสิ้นแม้จะรู้แจ้งธรรมที่ตนไม่เคยรู้มาก่อนแล้วด้วยปฐมมรรคก็ตาม ในคำว่า อญฺญาตาวินทริย์ (อัญญาตาวินทรีย์) คือ อินทรีย์ของพระขีณาสพ รู้แจ้ง กล่าวคือ มีหน้าที่ในการรู้แจ้งเสร็จสิ้นแล้ว อินทรีย์ทั้ง ๓ เหล่านี้ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในการรู้แจ้งเช่นนั้น พระอนุรุทธาจารย์กล่าวอินทรีย์คือปสาทรูปทั้ง ๕ ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยืดมั่น อัตตาในรูปกายที่ประจักษ์แก่เหล่าสัตว์นี้ย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรูปสาทรูปเหล่านี้ ความพันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ท่านแสดงถึงอินทรีย์สองอย่างคือภาวรูปต่อมาเพื่อแสดงว่า การที่อัดตาต่างกัน โดยความเป็นหญิงหรือชายย่อมมีโคยเนื่องกับภาวรูปเหล่านี้ หรือแสดงว่าความยึดมั่นว่า เป็นหญิงหรือชายไนอัตตาย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรู้ภาวรูปเหล่านี้ และความพันจากความ ยืดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ท่านกล่าวอินทรีย์ในโลกุตตระ ๓ ไว้ในที่สุด เพื่อแสดงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของการบรรลุความหมดจดด้วยปฏิปทา
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2023, 06:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร |
๑๘. ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะมีสภาพเป็นใหญ่ ถามว่า : ความเป็นใหญ่คืออะไร ตอบว่า : ความเป็นใหญ่ คือ ความสามารถที่ทำให้ธรรมซึ่งเกิดอาศัยอยู่ในตน เป็นไปได้ในอำนาจของตนโดยประการทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ ธรรมที่กระทำคือทำให้สำเร็จ ความเป็นใหญ่ของตนในหน้าที่นั้น ๆ (มีการเห็นเป็นต้น) จึงชื่อว่า อินทรีย์ อีกอย่างหนึ่ง อินทรีย์ คือ ธรรมที่ทำให้ธรรมอื่นกระทำความเป็นใหญ่ ความหมายก็คือ ธรรมที่ยิ่งใหญ่ควบคุม(ธรรมอื่นได้] (คำว่า อินทริย มีความหมาย ๒ ประการ คือ ธรามที่กระทำความเป็นใหญ่ - อินทฏฐํ กโรนฺตีติ อินฺทริยานิ (อินฺท ศัพท์ + กร ธาตุ + ณฺย ปัจจัย) - ธรรมที่ทำให้ธรรมอื่นกระทำความเป็นใหญ่ - อินทฏฺฐํ กาเรนฺ ตีติ อินฺทริยานิ (อินฺท ศัพท์ + กร ธาตุ + เณ การิตปัจจัย + ณฺย ปัจจัย) ในบรรดาอินทรีย์เหล่านั้น จักขุนทรีย์เป็นต้น ๕ อย่างเป็นใหญ่ควบคุมจักขุ วิญญาณเป็นต้นในหน้าที่มีการเห็นเป็นอาทิ เพราะทำให้คล้อยตามอาการของตนในสภาพ ที่มีกำลังหรือไม่มีกำลัง แก่กล้าหรืออ่อนกำลัง เป็นต้น ภาวรูป ๒ อย่างเป็นใหญ่ควบคุมรูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ หรือขันธ์ ๕ ทั้งหมด ในปวัตติกาลโดยเนื่องกับอาการของสตรีเป็นต้น เพราะไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น อธิบายว่า ปัจจัยมีกรรมเป็นต้นทั้งหมดเมื่อจะก่อให้เกิดกระแสรูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ย่อมก่อให้เกิดรูบที่ เป็นไปร่วมกับอาการของสตรีในกระแสรูปที่มีความเป็นหญิงเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล ไม่ก่อ ให้เกิดเป็นอย่างอื่น แม้ความปรารถนา ความตั้งใจ หรือความมุ่งหมายก็เกิดร่วมกับอาการ นุ่มนวลในกระแสรูปดังกล่าว โปรดทราบกระแสรูปของบุรุษโดยตรงกันข้ามกับกระแส ของสตรี ชีวิตินทรีย์ทั้งสอง(ที่เป็นรูปกับนาม! ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในกระแส รูปนามที่ดำเนินไปตลอดเวลาตามลำดับของกลางคืน กลางวัน เดือน และปี เพราะ กระแสรูปนามเป็นไปเนื่องด้วยชีวิตืนทรีย์ทั้งสอง จิตย่อมควบคุมหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ เวทนาทั้ง ๕ ควบคุมความรู้สึกรสของอารมณ์โดยประการนั้นๆ ศรัทธาควบคุมความเชื่อมั่นอารมณ์ที่ควรเชื่อ] |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2023, 06:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร |
วิริยะควบคุมความเป็นไปไม่ท้อถอยในการงาน สติควบคุมความปรากฏของอารมณ์ สมาธิควบคุมความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในอารมณ์ ปัญญาควบคุมธรรมที่ประกอบร่วมในกิจไม่หลงผิด เพราะเป็นไปโดยไม่มีธวรมอื่น ได้ ปฐวีฐาตุในแท่งหินไม่ถูกรูปอื่นที่กิดร่วมกันครอบงำ แต่คนได้ครอบงำรูปเหล่านั้น โดยทำให้เหมือนไม่มีอยู่โดยเฉพาะ หรืออาโปธาตุในน้ำ เตโชธาตุในไฟ และวาโยธาตุในลม ไม่ถูกรูปอื่นที่เกิดร่วมกันครอบงำ ฉันใด ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น คำว่า อัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้แจ้ง คำว่า อนัญญาตะ คือ ธรรมที่บุคคลไม่รู้แจ้ง หมายถึง อริยสัจ ๔ หรือนิพพาน คำว่า อนัญญาตัญญัสสามิ คือ อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔ ที่ยัง ไม่รู้แจ้ง แมับทอาขยาตซึ่งตั้งอยู่ในความเป็นนามศัพท์ (คำแสดงชื่อ) ก็ดำรงอยู่ในฐานะ แห่งบทนามได้เหมือนคำว่า มกฺขสิโคสาล (นายโคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น) เอหิปสฺลิก (ธรรมที่ควรมาดู) เมื่อเป็นดังนี้ การที่บทอาขยาตเชื่อมเป็นสมาสกับบทอื่นย่อมสมควร คำว่า อนัญญาตัญญัสสามีอินทรีย์ คือ อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราจักรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง กล่าวคือ อินทรีย์ของบุคคลผู้ปรารภวิปัสสนา พร้อมด้วยความ อุตสาหะเช่นนั้นตั้งแต่การกำหนดรู้!รูปนามเป็นเบื้องแรกแล้วบรรลุโสดาปัตติมรรคในเมื่อ ความอุตสาหะยังไม่ระงับไป (ตามหลักภาษา บทอาขยาตที่แสคงถึงกิริยาจะเชื่อมสมาสร่วมกับบทนามไม่ได้ เพราะมี กฎไวยากรณ์บัญญัติไว้ว่า ต้องเชื่อมบทนามตั้งแต่สองบทขึ้นไปเป็นสมาสจะเชื่อมบทอาขยาตกับบท นามเป็นสมาสไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นว่า ถ้าบทอาขยาตเป็นคำแสดงชื่อ ไม่แสดงถึงกิริยา ก็ถือว่า เป็นบทนามและเชื่อมเป็นสมาสได้ เช่น คำว่า มกฺขลิโคสาล คำนี้สำเร็จรูปมาจาก มกฺขลิ ศัพท์ + โคสาล ศัพท์ คำว่า โคสาล (คอกวัว) เป็นชื่อตัวเพราะเขาเกิดในคอกวัว คำว่า มกฺขลิ เป็นบทอาขยาต ที่แปลว่า อย่าลื่น มาจาก มา + ขลิ (ขล ธาตุ + อี วิภัตติ) กล่าวคือ วันหนึ่งนายโคสาลถือหมัอ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2023, 12:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร |
น. ๗๕๘ มันเดินไปบนพื้นโคลน เจ้านายบอกว่าอย่าลื่นล้ม แต่เขาลื่นล้มทำให้หม้อน้ำมันตกแตก ออกจากเรือนไป ต่อมาเมื่อตั้งต้นเป็นคณาจารย์จึงมีชื่อว่า มกฺขลิโคสาล คำว่า มกฺขลิ (อย่าลื่น) เป็น บทอาขยาตที่ใช้เป็นบทนามแสดงชื่อ จึงเข้าสมาสกับคำหลังว่า โคสาล เป็นรูปว่า มกฺขลิ โคสาลที่เจ้านายพูดว่าอย่าลื่น) กรณีเดียวกัน คำว่า ญสฺสามิ (จักรู้) ก็เป็นอาขยาตที่แสดงชื่ออินทรีย์ จึงเชื่อมกับบท นามข้างหน้าว่า อนญฺญาต เป็นรูปว่า อนญฺญาตญฺสสามิ (อินทรีย์ที่ดำเนินไปว่า เราจักรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง) คำว่า เอหิปสฺสิก สำเร็จรูปมาจาก เอหิ ศัพท์ + ปสฺส ศัพท์ + อิก ปัจจัย แปลว่า ธรรม ที่ควรมาดู คำนี้เป็นบทตัทธิตที่ลง อิก ปัจจัยท้ายบทอาขยาตคือ เอหิปสฺส ที่แสดงชื่อและใช้เหมือน บทนามได้ มีรูปวิเคราะห์ว่า เอหิ ปสฺสาติ อิมํ วิธี อรหตีติ เอหิปสฺสิโก (เอหิปัสสิกะ คือ ธรรมควร แก่นัยนี้ว่าจงมาดูเถิด)] คำว่า อัญญะ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีก คำว่า อัญญินทรีย์ คือ ธรรมที่บุคคลรู้ต่อมาอีกนั่นแหละ กล่าวคือ อินทรีย์ของ บุคคลผู้ประกอบในหน้าที่รู้อริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานอีก เพราะหน้าที่ในการกำจัดกิเลส ยังไม่เสร็จสิ้นแม้จะรู้แจ้งธรรมที่ตนไม่เคยรู้มาก่อนแล้วด้วยปฐมมรรคก็ตาม ในคำว่า อญฺญาตาวินทริยํ (อัญญาตาวินทรีย์) คือ อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้ รู้แจ้ง กล่าวคือ มีหน้าที่ในการรู้แจ้งเสร็จสิ้นแล้ว อินทรีย์ทั้ง ๓ เหล่านี้ย่อมควบคุมธรรมที่เกิดร่วมกันในการรู้แจ้งเช่นนั้น พระอนุรุทธาจารย์กล่าวอินทรีย์คือปสาทรูปทั้ง ๕ ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยึดมั่น อัตตาในรูปกายที่ประจักษ์แก่เหล่าสัตว์นี้ย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรูปสาทรูปเหล่านี้ และ ความพันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ท่านแสดงถึงอินทรีย์สองอย่างคือภาวรูปต่อมาเพื่อแสดงว่า การที่อัตตาต่างกัน โดยความเป็นหญิงหรือชายย่อมมีโดยเนื่องกับภาวรูปเหล่านี้ หรือแสดงว่าความยึดมั่น เป็นหญิงหรือชายในอัตตาย่อมมีด้วยการไม่กำหนดรู้ภาวรูปเหล่านี้ และความพันจากความ ยืดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2023, 14:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อินทรีย์ ๓ อินทรีย์โลกุตตร |
ท่านกล่าวชีวิตินทรีย์ต่อจากภาวรูปเพื่อแสคงว่า อัตตาได้รับความสำคัญว่าเป็น ชีวะหรือความยึดมั่นว่าเป็นชีวะในอัตตาด้วยอำนาจของชีวิตินทรีย์นี้ย่อมมีได้ด้วยการไม่ กำหนดรู้ชีวิตินทรีย์ และความหันจากความยึดมั่นย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ชีวิตินทรีย์ ควรกล่าวก่อนอินทรีย์คือภาวรูป แต่กลับกล่าวไว้ถัดจากภาวรูปเพราะมีรูปธรรม นามธรรมคละกัน ในบรรดาอินทรีย์ที่เป็นนาม ท่านกล่าวมนินทรีย์ก่อนเพื่อแสดงว่า ความยึดมั่น อัตตาในหมู่นามย่อมมีได้ด้วยการไม่กำหนดอินทรีย์เหล่านี้ และความพ้นจากความยึดมั่น ย่อมมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ท่านกล่าวอินทรีย์คือเวทนาทั้ง ๕ ต่อจากนั้นเพื่อแสดงว่า อัตตาที่ไม่มีรูปนั้น เป็นสภาพเศร้าหมองและกระสับกระส่ายด้วยอำนาจของอินทรีย์เหล่านี้ อีกอย่างหนึ่ง ความยึดมั่นว่าเป็นสุขหรือทุกข์ในอัตตาย่อมมีได้ด้วยการไม่กำหนดรู้อินทรีย์เหล่านี้ ความพ้นจากความยึดมั่นมีได้ด้วยการกำหนดรู้ ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นต่อจากนั้นเพื่อแสดงปฏิปทาสำหรับชำระ ความเคร้าหมองนั้น หรือเพื่อพ้นจากความยึดมั่นนั้นๆ ท่านกล่าวอินทรีย์ที่เป็นโลกุตระ ๓ ไว้ในที่สุด เพื่อแสดงเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของการบรรลุความหมดจดด้วยปฏิปทานั้น (๒๑๘) ในคัมภีร์วิภาวนีกล่าวว่า เอตตาวตา อธิปฺเปตฺตถสิทฺธิติ อญฺเญสํ อคหณํ" "ความสำเร็จแห่งข้อความที่ต้องการมีเพียงเท่านี้ จึงไม่รวมเอาธรรมเหล่าอื่น เข้าไว้" ข้อความนั้นไม่สมควร เพราะไม่ควรกล่าวว่า เมื่อธรรมที่ควรแก่ความเป็น อินทรีย์อื่นมีอยู่ พระผู้มีพระภาคและพระอนุรุทธาจารย์ไม่รวมเอาธรรมอื่น เพราะความ สำเร็จแห่งข้อความที่ต้องการด้วยถ้อยคำดังนี้ เนื่องด้วยไม่มีธรรมอื่นที่ควรเป็นอินทรีย์ ถ้าธรรมที่ควรเป็นอินทรีย์พึงมีได้ ก็จักรวมเอาไว้สักร้อยหรือพันอย่าง |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |