วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 06:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2023, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1694251496745-removebg-preview (1).png
ei_1694251496745-removebg-preview (1).png [ 296.59 KiB | เปิดดู 1109 ครั้ง ]
อนึ่ง หากการกำหนดกำลังก้าวหน้าเป็นพิเศษ เราก็จะเกิดความหวังว่า
"เราจะต้องได้ญาณชั้นสูงกว่านี้" และเมื่อมีความหวังก็ย่อมดีใจเป็นธรรมดา ก็ความ
ดีใจนี้แหละที่ทำให้สมาธิของเราตกต่ำลงไป แต่อย่าท้อใจ ให้เรารีบกำหนดความ
นึกคิดให้ได้ อย่าปล่อยให้เผลอสติ เมื่อเราเอาใจใสในการกำหนด สมาธิก็จะกลับ
ดีขึ้นเหมือนเดิม ถ้าหากวิปัสสนาญาณยังไม่แก่กล้าเต็มที่ สมาธิก็อาจจะตกต่ำอีก
ในกรณีของบางคน สมาธิญาณอาจขึ้นๆลงๆเป็นเวลานาน ซึ่งส่วนมากจะเป็น
กับคนที่เคยได้ฟังลำดับญาณมาก่อนแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าตั้งใจจะปฏิบัติกับ
พระอาจารย์แล้ว ก็ไม่ควรที่จะไปฟังลำดับญาณ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ แต่ถ้าสมาธิ
หรือการกำหนดขึ้นๆลงๆ ก็อย่าท้อใจ เพราะถึงขั้นนี้แล้วแสดงว่าเรากำลังอยู่ใกล้
กับมรรค ผล นิพพาน เพียงแต่ปรับศรัทธาให้เสมอกับปัญญา ปรับสมาธิให้เสมอ
กับวีริยะ และปรับสติให้แข็งแรงมั่นคงกว่าเดิม ก็จะเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน
ได้ทันที

จิตเข้าถึงนิพพาน
วิปัสสนาญาณที่ขึ้นๆลงๆอย่างนี้ เปรียบเหมือนกับนกพิราบสื่อสารที่ถูกปล่อย
จากเรือเดินสมุทรเพื่อใช้ให้ค้นหาฝั่ง คือในสมัยโบราณนั้นเมื่อนักเดินเรือทั้งหลาย
หาฝังไม่เจอ ก็จะใช้นกเป็นสื่อที่เอามาด้วยนี้แหละให้บินไปหาฝั่งนกนั้นก็จะบินรอบๆ
เพื่อหาฝั่ง หากยังไม่พบฝังก็จะบินกลับมาจับที่เรืออยู่อย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพบฝัง
การที่อารมณ์ตกต่ำลงมาก็เนื่องจากกำลังญาณยังไม่แก่กล้าพอ ที่จะบรรลุมรรคญาณ
ผลญาณได้นั้น เปรียบเหมือนการบินกลับคืนมาหาเรือของนกสื่อสาร แต่เมื่อใดที
นกเห็นฝั่งแล้วนกตัวนั้นก็จะไม่กลับคืนมาหาเรืออีก แต่จะตรงไปสู่ฝั่งนั้นทันทีฉันใด
ก็ฉันนั้น การกำหนด(อารมณ์วิปัสสนาญาณ)นี้ก็จะขึ้นๆลงๆ ตราบใดที่ญาณยังไม่
แก่กล้า แต่เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ หรือญาณแก่กล้าแล้ววิปัสสนาก็จะดีขึ้นตามลำดับ
โดยจะกำหนดอารมณ์ ๒-๓ ครั้ง แล้วเลยไปกำหนดสังขาร ๖ อย่าง คือ การถูกต้อง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2023, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1694219049053-removebg-preview-1.png
ei_1694219049053-removebg-preview-1.png [ 85.93 KiB | เปิดดู 1104 ครั้ง ]
กาารู้การได้ยิน การเห็น การกิน การได้กลิ่น (ซึ่งเรียงตามลำดับของการ
ง่าย ยาก) สังขารใดสังขารหนึ่งที่กำลังเกิดดับอยู่ก็ได้ และในขณะเดียวกัน ก็จะ
รู้แจ้งแทงตลอดพระนิพพานที่แงบปร าศจากสังขารทั้งปวงกล่าวคือจิตและอารมณ์
และนั่นก็หมายความว่าได้บรรลุมรรคผลแล้วนั่นเอง (คือที่ที่ไม่มีอารมณ์จะกำหนด)

ในขณะที่ใกล้จะเข้าถึงพระนิพพาน การกำหนดทุกอย่างจะปรากฏชัดกว่าแต่
ก่อนมาก ท้ายสุดเมื่อจิตสลัดอารมณ์ทั้งปวงออกได้ จิตกีจะเข้าสู่พระนิพพานอัน
เป็นแดนสงบจากสังขารทันที อาการข้ามอารมณ์ทั้งปวง และเข้าสู่พระนิพพานนี้
จะปรากฎในญาณของโยคีอย่างชัดแจ้ง เพราะเหตุนั้น ผู้ที่เข้าถึงนิพพานแล้วจึงพูด
เป็นนัยเดียวกันว่า อารมณ์และจิตที่กำหนดทั้งหมดจะหยุดหายไปฉับพลันพร้อมกัน
ก็มี ขาดหายไปเหมือนกับการเอามีดไปตัตเถาวัลย์ขาดก็มี ตกหายไปเหมือนกับ
พัสดุที่หนักหน่วงโดนผลักให้ตกลงจากที่สูงก็มี ตกหายไปเหมือนกับของที่หล่นจาก
มือก็มี อารมณ์และการกำหนด(จิตกำหนด)นี้จะดับไปรวดเร็วมากประดุจประกาย
ไฟที่แตกออกเป็นเสียง ๆ แล้วดับไปก็มี รวดเร็วเหมือนกับการหลุดออกมาจากที่
มืดแล้วเข้าถึงที่มีแสงสว่างโดยกะทันหันหรือรวดเร็วเหมือนหลุดพ้นจากที่รกทึบแล้ว
ไปโผล่ที่โล่งโดยกะทันหัน บางที่ทั้งอารมณ์และจิตที่กำหนดได้จมหายไปเหมือนกับ
จมในน้ำก็มี บางทีก็หยุดชะงักเหมือนกับคนที่กำลังวิ่งมาแล้วโดนฉุดไว้กะทันหัน
ดังนี้เป็นต้น

ช่วงเวลาที่กำหนดเห็นสภาพการดับของสังขารนั้นสั้นมากคือเกิดเพียงชั่วขณะ
คล้ายกับกำหนดเพียงหนีงขณะจิตนั้นแหละ และต่อจากนั้นเราก็จะกลับมาไตร่ตรอง
สิ่งนั้นอีก คือจะไตร่ตรองว่า ความสงบอันเนื่องด้วยอารมณ์ และจิตที่ดับไปนั้น
เป็นคุณธรรมวิเศษหรือเป็นมรรค ผล นิพพานแน่แท้ทีเดียว ในกรณีของบางคนที่
คงแก่เรียน ก็จะไตร่ตรองในลักษณะที่ว่า "สภาพความสงบของสังขารนั่นแหละคือ
นิพพาน ความรู้แจ้งหรือความเข้าถึงนิพพาน อันสงบนั้นเป็นมรรคผล โอ ! บัดนี้
เราบรรลุนิพพานแล้ว เราได้โสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผลแล้ว"

การไตร่ตรองพิจารณาโดยทำนองนี้จะเกิดขึ้นอย่างบริบูรณ์ได้กับบุคคลผู้เคย
สดับตรับฟังเรื่องการบรรลุถึงความสงบ(ดับ)แห่งสังขารมาแล้ว นอกจากนี้บางคน
อาจพิจารณาเห็นกิเลสทั้งหลายที่ตนละได้แล้ว และกิเลสทั้งหลายที่ตนยังไม่ได้ละ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2023, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1694251972004-removebg-preview.png
ei_1694251972004-removebg-preview.png [ 58.18 KiB | เปิดดู 1106 ครั้ง ]
และเมื่อไตร่ตรองแล้วย้อนกำหนดอาการของกายและจิต ทันทีทีกำหนดความ
เกิดดับของนามรูป ที่จะเกิดขึ้นอย่างทยาบๆ เป็องต้นก่อนแล้ว ความเกิดดับจึงจะ
ปรากฏชัดแจ้ง ดังนั้น จึงอาจทำให้คิดว่า "ช่วงของการกำหนดนั้นห่างกันไปหน่อย
หรืออารมณ์กำลังตกอยู่ แต่ที่จริงแล้ว เนื่องจากเรากำลังเข้าถึงอุทยัพพญาณ
ญานที่เห็นความเกิดดับของรูปนาม จึงทำให้อารมณ์ตก เพราะอุทยัพพญาณ
นี้แทละทำให้เรามองเห็นแสงสว่าง หรือไม่ก็อารมณ์ที่มีรูปมีร่าง บางคนพอกลับ
ไปเริ่มต้นกำหนดใหม่ อารมณ์ไม่ดีเหมือนเก่า คือจิตกำหนดอารมณ์ไม่ทันบ้าง
เร๋วเกินไปบ้าง ช้าเกินไปบ้าง บางคนอาจเห็นทุกขเวทนาเล็กๆน้อยๆชั่วขณะหนึ่ง
แต่โดยส่วนมากแล้ว จิตจะเกิดอาการแจ่มใสเป็นพิเศษและเกิดติดต่อกันเรื่อยๆ
และในช่วงนี้เอง สภาพจิตจะมีความสุขมาก บวิสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนกับอยู่คนเดียว
ในทีกลางแจ้ง แต่เราจะไม่สามารถกำหนดดูจิตเหล่านี้ได้ แม้จะพยายามกำหนด
ได้ไม่เต็มที่ และก็ไม่อยากที่จะเปลี่ยนจากจิตนี้ไปด้วย ไม่อยากคิดนึกไปใน
อารมณ์อื่น แต่เมื่อตนแจ่มใสนี้หมดกำลังไปแล้ว พอเราหันกลับมากำหนดใหม่
ก็จะกำหนดรู้ความเกิดดับได้อย่างชัดเจน ยิ่งกำหนดนานเข้า ก็จะกลับเห็นอารมณ์
(การกำหนด)ที่ประณีต ละเอียดอ่อนเหมือนแต่ก่อนอีก ในภาวะเช่นนี้ ถ้าหาก
กำลังของญาณแก่กล้าพอ ก็จะเข้าถึงสภาพที่ดับไปของสังขารได้บ่อยๆเช่นกัน
สำหรับคนสมัยใหม่นี้ โดยส่วนมากมีแต่ความมุ่งหวังปฐมมรรคเป็นสำคัญ จึงได้
แต่ปฐมมรรคที่ตนถึงแล้วนั่นแหละซ้ำๆซากๆ

ที่แสดงมานี้คือวิธีการปฏิบัติและวิธีเห็นแจ้งธรรมวิเศษด้วยญาณจนถึงบรรลุ
โสดาปัตติผล
เมื่อนักปฏิบัติบรรลุมรรคผลแล้ว สภาพจิตจะแตกต่างจากสภาพก่อนเป็น
อย่างมาก ราวกับได้เปลี่ยนไปอยู่ในภพใหม่ ศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสจะไม่เกิด
อาการหวั่นไหวเลยแม้แต่น้อย ด้วยอำนาจแห่งศรัทธานั้น ปีติและปัสสัทธิทั้งหลาย
ก็แก่กล้าตามไปด้วย และความสุขก็เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อศรัทธา ปีติ ปัสสัทธิ
และสุขเกิดความแก่กล้าเต็มที่ จึงทำให้กำหนดรู้มรรคผลได้อย่างชัดเจน อนึ่ง
ในเวลาที่บรรลุ มรรคผลแรกๆนั้น ถึงแม้ว่าจะพยายามกำหนดอย่างไรก็ตาม ศรัทธา
เป็นตันเหล่านี้ก็จะอ่อนกำลังลงพอศรัทธาเป็นต้นอ่อนกำลังลง การกำหนดรู้อารมณ์
ก็จะดีขึ้นเอง คือจะปรากฏชัดเอง บางคนเมื่อบรรลุมรรคผลครั้งแรกๆ จะรู้สึก
เหมือนกับหมดภาระแล้ว จึงทำให้ไม่อยากกำหนด บางคนก็รู้สึกเหมือนกับเกิดแรง
จูงใจขึ้นก็มี ก็ที่เกิดความรู้สึกเช่นนี้ เป็นเพราะแต่เดิมนั้น บุคคลผู้นั้นได้มุ่งหวัง
มรรคผลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงเกิดความสันโดษเพียงเท่านี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 84 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร