วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 22:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2023, 03:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1692306094590.jpg
FB_IMG_1692306094590.jpg [ 37.4 KiB | เปิดดู 1340 ครั้ง ]
สัททบัญญัติจำแนกได้เป็น ๖ ประเภท
ปัญญาปนโตบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ จำแนกได้เป็น ๖ ประเภท คือ วิชชมาน
บัญญัติ
อวิชชมานบัญญัติ วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ
วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ และอวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ มีความหมายโดยย่อ ดัง
ต่อไปนี้
๑. วิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีคำเดียว และคำนั้นมีสภาวปรมัตถปรากฏอยู่
เช่นคำว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิต เจตสิก นิพพาน เป็นต้น

๒. อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูดที่มีคำเดียวเหมือนกัน
แต่คำนั้นไม่มีสภาว-
ปรมัตถ์ปรากฏอยู่ เป็นโลกโวหารโดยแท้ เช่นคำว่า ภูเขา ต้นไม้ โต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข
เป็นต้น

๓. วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ คำแรกเป็นปรมัตถ์ คำหลัง
เป็นโลกโวหาร เช่น อภิญญา ๖, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗

คำว่า อภิญญา พละ โพชฌงค์ เป็นคำปรมัตถ์ คือ วิชชมานบัญญัติ และอยู่
หน้า ส่วนเลขที่บอกจำนวน ๕. ๖ หรือ ๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมานบัญญัติและ
อยู่หลัง จึงเรียกว่าวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ

๔. อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำเหมือนกัน แต่คำแรกเป็นโลก
โวหาร คำหลังเป็นปรมัตถ์ เช่น ฉฬวิญโญ ปญฺจพโล สตฺตโพชฺฌงฺโค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2023, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1692306290316.jpg
FB_IMG_1692306290316.jpg [ 28.37 KiB | เปิดดู 1334 ครั้ง ]
คำที่บอกจำนวน ปญฺจ = ๕. ฉ = ๖, สตฺต = ๗ นั้นเป็นโลกโวหาร คือ อวิชชมาน
และอยู่ข้างหน้า ส่วนคำว่า ภิญโญ = อภิญญา, พโล = พละ, โพชฺฌงฺโค = โพชฌงค์
ซึ่งเป็นปรมัตถ์ คือ วิชชมาน
และอยู่หลัง ดังนั้นคำบาลี ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้จึงเป็น
อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ
๕. วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำหลังเป็น
ปรมัตถ์ด้วยกันทั้งคู่ เช่น จักขุวิญญาณ โลภจิต โลกุตตระ อภิญญา เป็นต้น

๖. อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ เป็นคำพูด ๒ คำ ซึ่งทั้งคำแรกและคำหลัง
เป็นโลกโวหารด้วยกันทั้งคู่ เช่น ราชบุตร ราชรถ ภรรยาเศรษฐี พี่สะไภ้ น้องเขย
เป็นต้น

สรุปพอให้จำง่ายได้ดังนี้
วิชชมานบัญญัติ เป็นคำปรมัตถ์
อวิชชมานบัญญัติ เป็นคำโลกโวหาร
วิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คำปรมัตต์อยู่หน้า คำโลกโวหารอยู่หลัง
อวิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คำโลกโวหารอยู่หน้า คำปรมัตถ์อยู่หลัง
วิชชมาเนนวิชชมานบัญญัติ คำหน้าและคำหลังเป็นปรมัตถ์ทั้งคู่
อวิชชมาเนนอวิชชมานบัญญัติ คำหน้าและคำหลังเป็นโลกโวหารทั้งคู่
คำพูดทั้งหลายเป็นบัญญัติทั้งนั้น

คำปรมัตถ์ คือคำที่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่นั้นเป็นคำที่มีลักขณาทิจตุกะ คือ
ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน
คำโลกโวหาร คือคำที่ไม่มีสภาวปรมัตถ์ปรากฏอยู่นั้น เป็นคำที่ไม่มีลักขณาทิจตุกะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2023, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1692306297628.jpg
FB_IMG_1692306297628.jpg [ 27.78 KiB | เปิดดู 1332 ครั้ง ]
แสดงความเป็นไปที่รู้ความหมายของสัททบัญญัติ

มีคาถาที่แสดงถึงวิถีจิตที่ให้รู้ความหมายในสัททบัญญัติ อัตถบัญญัติและการตั้งชื่อให้
ปรากฏแก่ชนทั้งหลาย เป็นทำนอง ปัจฉิมคาถาแห่งบัญญัติธรรมรวม ๓ คาถา คือ

๓๑. วจีโฆสานุสาเรน โสตวิญฺญาณวีถิยา
ปวตฺตานนฺตรูปฺปนฺน- มโนทฺวารสฺส โคธรา ฯ
๓๒. อตฺถา ยสฺสานุเรน. วิญฺญายนฺติ ตโต ปรํ
สายํ ปญฺญตฺติ วิญฺเญฺยฺยา โลกสงฺเกตนิมฺมิตา ฯ
แปลความว่า
บุคคลทั้งหลาย
ได้รู้ถึง อัตถบัญญัติ คือ วัตถุสิ่งของ เรื่องราวต่าง ๆ โดย
เป็นไปตามนามบัญญัติ ภายหลังจากนามัคคหณวิถี, นามบัญญัติซึ่งเป็น อารมณ์ของ
นามัคคหณวิถีที่เกิดขึ้นในลำดับแห่ง โสตทวารวิถี แระอดีตัคคหณวิถี สมูหัตคหณวิถี ซึ่ง
เกิดขึ้น เป็นไปตามคำพูดนั้น
นักศึกษาพึงทราบนามบัญญัตินั้นว่า
นักปราชญ์ทั้งหลาย
ย่อมตั้งขึ้นอนุโลมไปตามโวหารของโลก ทีละเล็กละน้อย

หมายความว่า เมื่อได้ยินเสียงตลอดจนรู้ความหมายนั้น วิถีจิตเกิด ๕ หรือ ๔ วิถี
ซึ่งได้กล่าวแล้วในคู่มือการศึกษาวิถีสังคหวิภาค ปริจเฉทที่ ๔ ตอน ตทนุวัตติกมโนทวาร
หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ขอให้ดูที่นั่นประกอบด้วย ในที่นี้จะกล่าวซ้ำแต่เพียงโดย
ย่อ คือ
๑. ได้ยินเสียงที่กำลังปรากฎอยู่ เป็นวิถีแรก ชื่อ โสตวิญญาณวิถี
๒. รู้เสียงที่ดับไปแล้ว เป็นวิถีที่ ๒ ชื่อ อตีตัคคหณวิถี
๓. รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นวิถีที่ ๓ ชื่อ มูหัคคหณวิถี แต่ถ้าเสียงนั้นพยางค์เดียว
วิถีนี้ก็ไม่มี เพราะไม่ต้องมีการรวมเสียงแต่อย่างใด
๔. รู้นามรู้ชื่อว่าเสียงนั้นเป็นอะไร เช่นรู้ว่าเป็นเป็ดเป็นไก่เป็นตัน เป็นวิถีที่ ๔
ชื่อ นามัคคหณวิถี
๕. รู้ความหมายแห่งรูปร่างสัณฐานว่า เปิด ไก่ มีรูปทรง
สัดส่วนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
เป็นวิถีที่ ๕ ชื่อ อัตถัคคหณวิธี

สัททบัญญัติและอัตถบัญญัติ ที่ปรากฎอยู่ในโลกทุกวันนี้ ก็เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย
ในอดีตและปัจจุบัน ได้บัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น อนุโลมไปตามโวหารของโลกทีละ
เล็กทีละน้อย แม้ต่อไปในอนาคต ก็จะต้องมีการบัญญัติขึ้นใหม่อีกเรื่อย ๆ ตลอดไป ให้สม
กับที่เรียกว่าเป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาวโลก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2023, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1692306304743.jpg
FB_IMG_1692306304743.jpg [ 26.76 KiB | เปิดดู 1293 ครั้ง ]
FB_IMG_1692306311143.jpg
FB_IMG_1692306311143.jpg [ 25.56 KiB | เปิดดู 1293 ครั้ง ]
FB_IMG_1692306317778.jpg
FB_IMG_1692306317778.jpg [ 26.82 KiB | เปิดดู 1293 ครั้ง ]
......

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 84 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร