วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2023, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1661828549675.jpg
FB_IMG_1661828549675.jpg [ 85.46 KiB | เปิดดู 1381 ครั้ง ]
ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ

ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ หรือ อัตถบัญญัตินี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ประเภท ตาม
สิ่งที่ได้อาศัยบัญญัติขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น เป็นชื่อนั้น ๆ คือ

๑. สัณฐานบัญญัติ
เป็นการบัญญัติ ขึ้น สมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยรูปทรงส่วน
สัดสัณฐานของวัตถุนั้น ๆ มาเรียกขานกัน เช่น ภูเขา ตันไม้ แม่น้ำ ทะเล จาน ชาม มีด จอบ เสียม เป็นต้น

๒. สมูหบัญญัติ
เป็นการสมมติขึ้น ตั้งขึ้น โดยอาศัยความประชุมของวัตถุต่าง ๆ
มาเรียกบานกัน เช่น เกวียน บ้านเรือน โบสถ์ ศาลา เป็นต้น

๓. สัตตบัญญัติ
เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัย รูปร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์ ๕ มาเรียกขานกัน เช่น คน เปิด ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

๔. ทิสากาลาทิบัญญัติ
เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัยเวลาที่พระอาทิตย์ พระจันทร์
ดวงดาวต่าง ๆ หมุนเวียนไปตามทิศต่าง ๆ
นั้นมาเรียกขานกัน เช่น ทิศตะวันออก ทิศตะ
วันตก วัน คืน เดือน ปี เป็นต้น

๕. ถูปคูหาทิบัญญัติ
บ้างก็เรียกว่า อากาสบัญญัติ เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัย
ช่องว่างที่มหาภูตรูป ๔ ไม่ติดต่อกัน อันบุคคลไม่ได้ทำไมได้ขุดขึ้นแต่เป็นของเกิดขึ้นเอง เช่น
หลุม โพรง เหว ถ้ำ เป็นดัน

๖. นิมิตบัญญัติ
เป็นการตั้งขึ้นโดยอาศัยเครื่องหมาย ข้อนี้มีความหมายกว้าง
ขวางมาก เช่น มิตของกัมมัฏฐาน ก็มี ปริกัมมนิมิต อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เป็นต้น
นิมิตของสัณฐาน เช่น สุภนด สวย งาม น่ารัก น่าชม อสุภนิมิต ไม่สวย ไม่งาม
น่าเกลียด น่าชัง เป็นต้น นิมิตของริยาอาการ เช่น เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้น
ทั้ง ๖ นี้เป็นอัตถบัญญัติ เป็นเงาของเนื้อความ ไม่มีปรากฎโดยปรมัตถสัจ กำหนด
เปรียบเทียบเรียกเอาอย่างนั้นเอง เพื่อให้รู้อย่างเดียวกัน ยังกันและกันให้รู้ทั่วว่าสิ่งนี้ชื่อนั้นสิ่ง
นั้นชื่อนี้ นี่แหละจึงได้ชื่อว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ คือ บัญญัติเป็นเหตุยังกันและกันให้รู้ทั่ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 75 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร