วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 07:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2023, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




03-640x361.jpg
03-640x361.jpg [ 64.56 KiB | เปิดดู 868 ครั้ง ]
ความทุกข์และเหตุของทุกข์ที่ปรากฎในขณะคิด

ต่อไปจะกล่าวถึงการกระทบกันระหว่างจิตและธรรมารมณ์
ซึ่งทั่วไปเรียกว่า "การคิด" ที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุปาทานขันธ์ การ
เข้าใจลักษณะของการคิดจะช่วยให้เราเข้าใจทุกขสัจและสมุทยสัจ
ที่ปรากฎในขณะนั้น

โดยทั่วไปการคิดนั้นเกิดขึ้นที่หทัยวัตถุ อันอาศัยเลือดหล่อ
เลี้ยงอยู่ในหัวใจ ในขณะที่มีการคิดเกิดขึ้นจึงมีหทัยวัตถุพร้อมทั้ง
ร่างกายทั้งหมด อีกทั้งยังมีธรรมารมณ์คือเรื่องราวที่คิดและการคิด
ถ้าเราขาดการกำหนดรู้สภาวธรรมการคิดตามความเป็นจริง ก็อาจ
หลงเชื่อว่ากายทั้งหมดรวมทั้งหทัยวัตถุคือตัวตนของเรา และอาจ
เข้าใจง่าย
"นี่คือ ฉัน"
"ร่างกายนี้เป็นของ ฉัน"
"ฉัน กำลังคิด"
"ความคิดนี้ของ ฉัน"
"ความคิดนี้คือ ฉัน"
"ความคิดนี้คือ เขา"
ความเข้าใจเช่นนี้เป็นอุปาทานขันธ์ที่มีความยึดมั่นในตัวตน
อุปาทานขันธ์ก็คือกองทุกข์ อาจจำแนกได้เป็น ๕ อย่างคือ
๑. ในขณะที่เริ่มเกิดจินตนาการ หทัยวัตถุและร่างกายซึ่ง
เป็นที่ตั้งของหทัยวัตถุเริ่มทำงาน ทั้งสองอย่างนี้เป็นรูปุปาทานขันธ์
ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นคือรูป
๒. ในขณะที่กำลังคิด การคิดนึกเป็นวิญญาณุปาทานขันธ์
ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นคือวิญญาณ
๓. ในขณะที่เกิดความรู้สึกว่าสุขหรือทุกข์ เป็นเวทนุปา-
ทานขันธ์ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นคือเวทนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2023, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-9561-removebg-preview.png
Image-9561-removebg-preview.png [ 303.83 KiB | เปิดดู 843 ครั้ง ]
๔. ในขณะที่จดจำถึงเรื่องที่คิดนั้น เป็นสัญญุปาทาน
ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นคือสัญญา
๕. ในขณะที่เกิดการปรุ งแต่งความคิด เป็นสังขารุปาท
ขันธ์ ได้แก่ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นคือสังขาร

อุปาทานขันธ์ในข้อสุดท้าย คือ สังขารุปาทานขันธ์ จะค่อน
ข้างเห็นได้ชัดและพบได้ทุกหนทุกแห่ง เมื่อจิตที่รู้อารมณ์เกิคขึ้นใน
ขณะเห็น ได้ยิน เป็นตัน สังขารจะเกิดขึ้นมาปรุงแต่งด้วยความคิด
และการสนองตอบทางอารมณ์ นี่ก็คือที่มาของความทะยานอยาก
และความยึดมั่นต่อกามคุณอารมณ์ที่น่าพอใจ ขณะที่เห็นหรือได้ยิน
อะไร คนเราจะตัดสินว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี เป็นกุศลหรืออกุศล ถ้า
เป็นสิ่งที่เห็นว่าดีก็จะเกิดความพอใจ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบก็จะเกิด
โทสะหรือความเกลียดชังขึ้นในใจ ความรู้สึกที่ปรุงแต่งตอบสนองต่อ
สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มพูนขึ้นจนกลายเป็นความยึดติดในตัวตนซึ่งชักนำให้
เกิดความเห็นผิดต่อไป หลังจากนั้น ความลังเลสงสัย ความอิจฉา
ริษยา และความฟุ้งซ่านก็จะตามรบกวนจิตใจ ในทางตรงกันข้าม
หากรู้จักคิดอย่างแยบคายต่ออารมณ์ที่ประสบ อาจพัฒนาความคิด
อันเป็นกุศล เช่น ศรัทธา สติ ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความ
สงสัย ความพลอยยินดี เป็นตัน ความรู้สึกเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นกุศล
หรืออกุศลลัวนจัดเป็นสังขารขันธ์ เมื่อคิดจะนั่ง ยืน เดิน หรือพูด
ก็เป็นการทำงานของสังขารทั้งสิ้น ถ้าสังขารเป็นกุศล ก็จะเกิดการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2023, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1678834817124-removebg-preview (1).png
1678834817124-removebg-preview (1).png [ 344.92 KiB | เปิดดู 746 ครั้ง ]
ทำกรรมที่ป็นกุศล แต่ถ้าสังขารเป็นอกุศล กรรมที่ทำก็เป็นอกุศล
อุปาทานขันธ์เหล่านี้ก็คือโลกของเรา และโลกก็คือกองทุกข์

ผู้ที่ไม่เคยรู้จักกับการเจริญวิปัสสนา เพื่อให้เห็นทุกข์ตาม
สภาพความเป็นจริง มักจะเชิดชูยินดีความคิดและความเชื่อของตน
ทั้งมีความหวังอยู่เสมอๆ ว่า จะได้พบความสุขรออยู่ข้างหน้าแม้ว่า
กำลังกับเผชิญคามทุกข์อยู่ก็ตาม เขาพอใจจะคิดว่าเขามีตัวคนอยู่
ในโลกนี้ และหวังอยากจะมีความมั่งคั่งร่ำรวย หลงผิดว่าความทุกข์
เป็นความสุข ดังนั้น ความยึดมั่นของเขาจึงเพิ่มพูนขึ้นและทำให้
พยายามทุกวิถีทางในการสนองความต้องการของตน จนบางครั้งไม่
ลังเลจะฆ่า ลักทรัพย์ ฉ้อโกง หรือทำชั่วเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ
แต่บางคนอาจทำความดีเพื่อประสงค์จะสังสมบุญกุศลสำหรับภพ
ข้างหน้าที่ต้องเวียนว่ายต่อไปในสังสารวัฎ การทำกรรมจึงเกิดขึ้น
ตามสังขารที่เป็นกุศลหรืออกุศล เมื่อเวลาไกล้จะตาย กรรม กรรม-
นิมิต และคตินิมิต ที่มาปรากฏเป็นอารมณ์ทางมโนทวารจะชักนำให้
ไปปฏิสนธิในภพใหม่โดยมีอายตนะภายในและอายตนะภายนอกชุด
ใหม่ทำหน้าที่รับอารมณ์เช่นที่ได้ทำมาแล้วในภพก่อน ซึ่งจะก่อให้
เกิดตัณหาและอุปาทานที่ส่งผลให้วนเวียนเกิดต่อไปๆ ในสังสารวัฏ
อย่างไม่จบสิ้น เพราะความต่อเนื่องเหมือนสายโซ่ตัณหา อุปาทาน
กรรม และภพ ที่คล้องกันเป็นทุกขสัจ ต่อเมื่อสายโซ่นี้ถูกตัดขาด
ปัญญาที่เป็นกลางในสังขาร (สังขารุเปกขาญาณ) แล้วบรรลุถึง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2023, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats__3_-removebg-preview (7).png
cats__3_-removebg-preview (7).png [ 286.61 KiB | เปิดดู 741 ครั้ง ]
ความดับของรูปนาม นิพพานสุขจึงจะเกิดมีขึ้นได้ สมจริงดังพระ
พุทธดำรัสใน
ในสฬายตนสีงยุตต์ว่า

ยตฺถ มโน จ นิรุชฺฌติ ธมฺมสญญา จ นิรุชฺฌติ เส อายตเน
เวทิพฺเพ

"ใจและสัญญาในธรรมารมณ์ดับไป ใน[อารัมมณ]ปัจจัยใด
บุคคลพึ่งรู้เอารัมมณ]ปัจจัยนั้น (คือ นิพพานอันเป็นสภาวะดับของ
ใจและสัญญาในธรรมรมณ์)

คำว่า มโน (ใจ) ในเรื่องนี้มีความหมาย ๒ อย่าง คือ
๑. ภวังคจิต จิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานอนหลับ จัดว่าผู้
ได้ยาก
๒. อาวัชชนจิต หมายถึง จิตที่พิจารณาอารมณ์
ภวังคจิตนั้นไม่มีบทบาทสำคัญเท่าอาวัชชนจิต ซึ่งจำเป็น
ต้องเฝ้าสังเกตให้รู้ว่าดับไปเมื่อไร ในพระบาลี คำว่า ธมฺมสญญา
(ธรรมสัญญา : สัญญาในธรรมารมณ์) หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดย
ทั่วไปและวิปัสสนาจิตที่กำหนดรู้ปัจจุบัน พระพุทธองค์จึงตรัสถึง
สัญญาไว้เป็นหัวข้อหลัก แต่ความจริงก็คือจิตที่เกิดขึ้นทั่วไปและจิต
ที่กำหนดทั้งสองประเภทนั้นเอง จึงขอใช้เป็นจิตเพื่อให้เข้าใจง่าย

พระพุทธดำรัสนี้ หมายความว่า การดับของจิตที่รู้อารมณ์
และจิตที่กำหนดรู้ จึงเป็นการจบสิ้นอย่างสมบูรณ์ของสังขาร ซึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2023, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats__6_-removebg-preview (2).png
cats__6_-removebg-preview (2).png [ 353.42 KiB | เปิดดู 739 ครั้ง ]
หมายถึงนิพพาน ความจริงข้อนี้จะเห็นได้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนา
เท่านั้น ถ้าจิตที่รู้อารมณ์โดยปกติยังปรากฏอยู่ก็ยังมีรูปนามอยู่ คือ
มีจืตที่รู้และรูปนามที่ถูกรู้ปรากฏอยู่ ต่อเมื่อดับรูปนามได้แล้วจึงจัด
ว่าได้บรรลุนิพพาน ที่จริงแล้วในสภาวะดับรูปนามยังมีมรรคจิตและ
ผลจิตอยู่ แต่สภาระดับรูปนามไมใช่ลักษณะของสังขาร ผู้ใด้บรรลุ
ธรรมจึงรู้สึกว่าเหมือนกับปราศจากจิตที่กำหนดรู้อยู่
กำหนดรู้ปรากฎขึ้นชัดเจน ก็ต้องมีสภาวะเกิดขึ้นและดับไปของจิต
ดังกล่าว จัดเป็นสังขารธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยวิปัสสนา แต่มรรค-
จิตและผลจิตที่หยั่งเห็นความดับนั้นไม่ใช่สังขารธรรมที่ควรกำหนดรู้
ด้วยวิปัสสนา ดังนั้น ในขณะหยั่งเห็นนิพพาน แม้จิตที่กำหนดรู้จึง
เหมือนกับดับไปด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 68 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร