ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความหมดจดแห่งจิต http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63648 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 พ.ค. 2023, 04:50 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ความหมดจดแห่งจิต | ||
ความหมดจดแห่งจิต ในขณะเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาภาวนา พลังสมาธิยังมีกำลัง อ่อนอยู่จิตจึงซัดส่ายไปมา เมื่อจิตเกิดความฟุ้งซ่าน ก็ให้กำหนดรู้ ความฟุ้งซ่าน เมื่อกำหนดรู้สภาวะฟุ้งซ่านซ้ำๆ อยู่อย่างนี้ กำลัง ของสมาธิก็จะค่อย ๆ แก่กล้าขึ้น และจิตเองก็จะแนบอยู่กับอารมณ์ กรรมฐานที่กำหนดโดยไม่ซัดส่ายออกไปหาอารมณ์อื่น บางขณะ อาจมีความนึกคิดแทรกเข้ามาพึงกำหนดรู้ให้ทัน ต่อมาก็จะคุ้นเคย กับการกำหนดรู้สภาวธรรมการคิด และในทันทีที่รู้ตัวว่ากำลังคิดอยู่ ให้หยุดคิดตามเรื่องที่คิด แล้วกลับมากำหนดรู้สภาวะพองยุบของ ท้อง เมื่อถึงตอนนี้ก็จะเริ่มเข้าใจได้ว่า จิตที่กำหนดรู้อารมณ์ใน ปัจจุบันอยู่นั้น เกิดขึ้นต่อจากจิตที่กำหนดรู้อารมณ์ไนอดีต และก็ จะมีจิตที่กำหนดรู้อารมณ์ในขณะต่อไปเกิดขึ้นตามมา จิตที่มีสมาธิ แนบแน่นอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ในแต่ละขณะอย่างเต็มที่เช่นนี้ เรียกว่า จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 03 พ.ค. 2023, 12:28 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ความหมดจดแห่งจิต | ||
ความหมดจดแห่งทิฏฐิ เมื่อกระทำให้จิตบริสุทธิ์เช่นนี้แล้ว ก็จะเกิดความใสที่เห็น อารมณ์ต่างๆ ได้ชัดเจน จึงเกิดความเข้าใจขึ้นว่า จิตที่กำหนดรู้นั้น ต่างจากอารมณ์ที่ถูกกำหนดรู้ ภายหลังจากปฏิบัติซ้ำๆ อย่างนี้อยู่ สักระยะหนึ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมจะสรุปได้ว่า ในการกำหนดรู้นี้มีองค์- ประกอบอยู่เพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ จิตที่รู้ และอารมณ์ที่ถูกรู้ ในตอนนี้จะเกิด นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณกำหนดรูปนามตาม ความเป็นจริงโดยไม่มีรูปร่างสัณฐานของสมมติบัญญัติปรากฏ เมื่อ ปัญญาที่หยั่งรู้นี้แก่กล้าขึ้นก็จะเกิด ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความหมดจด แห่งทิฏฐิ
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 06 พ.ค. 2023, 16:46 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ความหมดจดแห่งจิต | ||
ปัญญาพิจารณา เมื่อทิฏฐิซึ่งได้แก่ ความเห็น หรือความเชื่อมีความบริสุทธิ์ แล้วและผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาต่อไปอีก ก็จะสามารถหยั่งเห็น ความเป็นเหตุเป็นผลกันของรูปและนาม ในการหยั่งเห็นอย่างนี้ เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ ญาณที่กำหนดรูปัจจัยของรูปนาม ญาณขั้นนี้สามารถขจัดความสงสัยทั้งปวงให้หมดสิ้นไป และความ บริสุทธิ์ในขั้นนี้เรียกว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ด้วย การขจัดความสงสัย จนเมื่อเจริญวิปัสสนาต่อไปอีก จะสังเกตเห็น อารมณ์ที่กำหนดรู้นั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และดับไปอย่างรวดเร็ว ในทันทีที่เกิดขึ้น การกำหนดรู้การเกิดดับทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถมองเห็นระยะ ๓ ระยะเวลา คือ - ระยะเกิดขึ้น - ระยะตั้งอยู่ - ระยะดับไป หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันมีเหตุในอดีต และในเวลาเดียวกันก็เป็นเหตุของสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ปัญญาใน ขั้นนี้มองเห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นสภาพที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงเกิด ความเข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นและดับไปอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ เป็นสิ่ง - ไม่เที่ยง (อนิจจัง) - ไม่น่าพอใจ (ทุกขัง) - ไม่มีสาระแก่นสาร, ไม่มีตัวตน (อนัตตา) ญาณที่รู้เห็นอย่างนี้ เรียกชื่อว่า สัมมสนญาณ คือ ปัญญา พิจารณาไตรลักษณ์ทั้ง ๓ (ดวามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน) หลังจากเห็นประจักษ์ไตรลักษณ์นั้นแล้ว
|
เจ้าของ: | sirinpho [ 23 ต.ค. 2023, 15:13 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ความหมดจดแห่งจิต | ||
![]() ![]() ![]()
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |