ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความรู้สึกเบื่อหน่าย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=63594
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 เม.ย. 2023, 11:17 ]
หัวข้อกระทู้:  ความรู้สึกเบื่อหน่าย

ความรู้สึกเบื่อหน่าย

ปัญญาที่รู้เห็นว่าสังขารน่าเบื่อหน่ายเรียกว่า นิพพิทาญาณ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค"* อุปมาว่าเหมือนชาวบ้านที่ใช้สุ่มจับปลา
พอล้วงมือเข้าไปหยิบออกมา จึงเห็นว่าได้จับเอางูพิษที่มีลายรอบ
คอสามวง เขาทั้งตกใจและทั้งขยะแขยงงที่จับอยู่ จึงเหวี่ยงงูไปรอบ
ศีรษะ ๓ ครั้ง แล้วเหวี่ยงทิ้งไปอย่างสุดกำลัง
ผู้ที่เห็นรูปขันธ์และนามขันธ์ว่าเป็นสิ่งน่าปรารถนาก็เปรียบ
ได้กับชาวบ้านที่จับปลาไว้ด้วยมือ ย่อมรู้สึกยินดีในเมื่อยังไม่รู้ว่า
สิ่งที่ลัวงจับอยู่นั้นเป็นงู แต่พอเห็นชัดว่าเป็นงูพิษที่มีลายรอบคอ
สามวงเขาย่อมตกใจกลัวอย่างมาก เหมือนกับขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรม
กำหนดรู้การเกิดตับของขันธ์ ๕ อยู่ก็เช่นกัน จะสังเกตเห็นสามัญญ-
ลักษณะ ๓ ประการคือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนของ
อารมณ์ที่กำหนด แล้วจึงเกิดความเข้าใจว่าสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแตาง
เป็นสิ่งมีโทษน่าเบื่อหน่าย ปุถุชนส่วนมากมักจะไม่เห็นว่าร่างกาที่
ประกอบด้วยขันธ์ ๕ นี้เป็นเหมือนงูพิษ และถึงแม้จะรู้ตามตำรา
แล้วก็ยังไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายตน เพราะเป็นความ
รู้อย่างผิวเผิน เขาจำเป็นต้องเห็นแจ้งในความจริงแท้ขั้นปรมัตถ์ว่า
รูปนามของมนุษย์คือทุกข์ จึงจะสามารถสลัดทิ้งความพอใจสังขาร
ไปได้

ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเห็นรูปและนามตามความเป็นจริงด้วย
วิปัสสนาญาณเท่านั้นจึงจะเกิดความรังเกียจและมีความเห็นว่าความ
ยึดมั่นทั้งปวงไม่มีประโยชน์และว่างเปล่าหาสาระไม่ได้ จนในที่สุด
จะเกิดความไม่ใส่ใจต่อการเกิดดับของสังขารซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็น
สังขารุเปกขาญาณ (ปัญญาที่เป็นกลางในสังขารทั้งปวง) ในช่วงแรก
ของการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ
จึงจะสามารถก้าวผ่านมาถึงขั้นนี้ ในระยะต่อมาความเป็นกลางจะ
พัฒนาเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติในเวลาที่ตั้งสติระลึกรู้การเกิดตับของ
สังขาร เมื่อบรรลุสังขารุเปกขาญาณก็สามารถรับรู้สภาวธรรมได้ใน
ทันที แต่ไม่มีการตอบสนองต่อสภาวธรรมนั้นไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่น่า
ปรารณาหรือไม่ก็ตาม และไม่ยึดมั่นเมื่อได้รับอารมณ์ที่น่าพอใจ

ไฟล์แนป:
juytre.jpg
juytre.jpg [ 46.43 KiB | เปิดดู 882 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 เม.ย. 2023, 11:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความรู้สึกเบื่อหน่าย

ไม่รู้สึกขัดเคืองเมื่อได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อุเบกขาที่พัฒนาถึง
ขั้นนี้จะคล้ายกับอุเบกขาของพระอรหันต์ เมื่อปฏิบัติจนก้าวหน้าถึง
ระดับนี้ ในบางครั้งแม้จะตั้งใจคิดฟุ้งซ่านก็ไม่อาจคิดฟุ้งซ่านได้เลย
เพราะจิตจะสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันเหมือนถูกดูดเข้าสู่มิติแห่ง
ความสงบ ผู้ที่ปฏิบัติจนถึงระดับนี้จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติชอบ (สมุมา-
ปฏิปนฺโน) ซึ่งกำลังจะบรรลุมรรคผลต่อไป

หากปฏิบัติตามวิธีที่ถูกต้อง จะมีความก้าวหน้าจากสังขารุ
เปกขาญาณไปสู่อนุโลมญาณ ซึ่งเป็นปัญญาที่ปรับตัวให้คลัอยตาม
การตรัสรู้อริยสัจต่อไป สันติสุขจะเกิดขึ้นเมื่อสามารถสลัดทิ้งสภาวะ
ที่มีการเกิดไปสู่สภาวะที่ไม่มีการเกิด นั่นคือภาวะที่กระแสรูปนาม
ทั้งหมดดับสูญไป มีเพียงมรรคจิตและผลจิตที่หยั่งเห็นสภาวะดับ
ของรูปนามอันประจักษ์อยู่ในขณะนั้น อันที่จริงแล้วนิพพานไม่ใช่
งที่บุคคลสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะประจักษ์ชัดเจนได้ด้วย
ตาปัญญาภายในเมื่อสภาวธรรมทั้งหลายดับลง

นิพพานเป็นความดับของราคะ โทสะ และโมหะ ตามพระ-
นาลีที่นำมาอ้างแล้วว่า ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย" (ความ
สิ้นไปแห่งราคะ โทสะ และโมหะ) จึงเป็นสภาพที่ตรงข้ามกับกิเลส
และยังเป็นสภาพที่ตรงข้ามกับสังขารเพราะเป็นความดับของสังขาร
เหล่านั้น ซึ่งคลัอยตามพระบาลีว่า สงฺขารนิโรโธ" (สังขารจึงดับ),
วิสงฺขารํ (สภาพที่ปราศจากสังขาร) ดังนั้น เมื่ออธิบายลักษณะ
ของนิพพานจึงจำเป็นต้องอธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับกิเลสและสังขาร
ว่าเป็นความดับของทั้งสองอย่างเหล่านั้น

ไฟล์แนป:
ho-removebg-preview.png
ho-removebg-preview.png [ 48.66 KiB | เปิดดู 883 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/