ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62413 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 ส.ค. 2022, 18:18 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น | ||
การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น เมื่อสมถยานิกะเข้าถึงฌานใด ออกจากฌานนั้นแล้ว ย่อมพิจารณากำหนดรู้ ฌานนั้น และรูปอันเป็นที่อาศัยของฌานนั้น พร้อมทั้งรูปที่เกิดเพราะฌานนั้น ฉันใด แม้วิปัสสนายานิกะ ก็ควรพิจารณากำหนดรู้ฉันนั้นเช่นกัน คือ กำหนดรู้จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตกระทบสัมผัส จิตคิด ซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นแล้วดับไป ในตอนนั้น พร้อมทั้งรูปอันเป็นที่อาศัยของจิตทั้งหลายเหล่านั้น และรูปที่เกิดเพราะ จิตเหล่านั้น รวมถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของจิตเหล่านั้นด้วย ซึ่งข้อนี้ได้เปรียบเทียบ ไว้แล้วในปริเฉทที่ ๓ ที่ผ่านมา คำว่า "จิตเห็น" ในที่นี้ หมายถึง จักขุทวารวิถีทั้งวิถี ซึ่งเริ่มต้นที่อาวัชชนะ สิ้นสุดที่ตทารัมมณะ ทั้งนี้เพราะว่า ในการเจริญวิปัสสนานั้น โยดีไม่สามารถนำ เอาจิตตุปบาทแต่ละดวงมากำหนดหรือพิจารณาแยกเป็นดวงๆได้เลย จึงต้อง กำหนดโดยวิถีจิตทั้งวิถี ตามที่ได้นำเสนอเทียบเคียงกับหลักฐานจากพระไตรปิฎก อัฏฐกถา และฎีกาไปแล้วนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปริเฉทที่ ๖ ตอนที่ว่าด้วยเรื่อง ของภังคญาณนั้น จะได้กล่าวถึงเรื่องนี้อีก ถามว่า : จะกำหนด "จิตเห็น" อย่างไร? ตอบว่า : ในขณะที่เห็น พึงกำหนดว่า "เห็นหนอ" ให้ทันในทุกขณะของการ เห็นเลยทีเดียว แม้ในขณะอื่นๆก็พึงกำหนดโดยทำนองเดียวกันนี้ เช่น ในขณะที่ ด้ยินเสียง ก็พึงกำหนดว่า "ได้ยินหนอๆ" ถามว่า ในการกำหนดว่า "เห็นหนอๆ" ในขณะที่เห็นอยู่นั้น เรียกว่า เป็นการกำหนดรู้สภาวธรรมใดฤๅ? ตอบว่า : เป็นการกำหนดรู้สภาวธรรม ๕ ประการ คือ จักขุปสาท รูปายตนะ จักขุวิญญาณ ผัสสะ และเวทนา โดยมีลักษณะของการกำหนดรู้ดังนี้ คือ หากจักษุรูป(จักขุปสาท)ที่มีความใสหมดจดนั้นปรากฎเด่นชัดขึ้นมาโยคีก็จะสามารถ เห็นจักษุรูปที่มีความผ่องใส ซึ่งเรียกว่า "จักขุปสาท" เป็นอารมณ์ แล้วในกรณี เดียวกัน หากสภาวธรรมฝ่ายที่เป็นรูปารมณ์ปรากฏชัดกว่า ก็เรียกว่าเป็นการรู้ รูป(สีสันวรรณะ) ซึ่งเรียกว่า "รูปายตนะ" นั้น เป็นอารมณ์หลัก โดยทำนองเดียวกัน หากจิตที่รู้ปรากฏเกิดขึ้นชัดกว่าทั้งสอง(จักขุปสาทและรูปายตนะ) ก็เรียกว่าเป็นการ รู้ตัวจิตซึ่งเป็นตัวเห็น ซึ่งเรียกว่า "จักขุวิญญาณ" นั้น เป็นอารมณ์หลัก หากการ กระทบสัมผัสระหว่างรูปสีสันกับการเห็นปรากฏชัดกว่า ก็เรียกว่าเป็นการกำหนด รู้การเห็นการกระทบสัมผัส ซึ่งเรียกว่า "จักขุสัมผัสสะ" นั้น เป็นอารมณ์หลัก โดยทำนองเดียวกัน หากเห็นแล้วรู้สึกดี เห็นแล้วรู้สึกไม่ดี เห็นแล้วรู้สึกทั้ง ดีและไม่ดี ก็เรียกว่าเป็นการกำหนดรู้ความรู้สึกจากการเห็นดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า "จักขุสัมผัสสชาเวทนา" ถามว่า : ในการกำหนดนั้น ควรที่จะกำหนดโดยให้ศัพท์และความหมาย มีความสอดคล้องกัน เช่น หากจักซุปสาทปรากฏชัด โยคีก็ควรกำหนดด้วยภาษา ของตนให้สอดคล้องกับความหมายของคำบาลี ดังนี้ว่า "ตาใสหนอฯ" หรือ หากรูปสีสันปรากฏชัด ก็ควรกำหนดว่า "เห็นรูปหนอๆ" หรือหากจักขุวิญญาณ ปรากฏชัด ก็ควรกำหนดว่า "รู้เห็นหนอ" หรือหากผัสสะปรากฏชัด ก็ควรกำหนดว่า "ประจวบหนอ" หรือถ้าเวทนาปรากฏชัด ก็กำหนดว่า "รู้สึกหนอ" มิใช่หรือ? ตอบว่า : แม้จะควรกำหนดให้สอดคล้องกันก็ตาม แต่ว่า หากมัวแต่จดจ้อง กำหนดอยู่อย่างนั้น ในแต่ละครั้งที่มีการเห็นเกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดการพิจารณา ใคร่ครวญเกี่ยวกับการเห็นนั้นโดยทำนองที่ว่า "ธรรมใดหนอ จะปรากฎชัดกว่า เราจะกำหนดธรรมนั้นอย่างไรหนอ" ซึ่งการทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดช่องว่างระหว่าง การกำหนดหน้ากับการกำหนดหลังได้ ซ้ำยังไม่สามารถกำหนดให้เป็นปัจจุบัน จะๆได้และไม่สามารถกำหนดจิตทั้งหลายที่ทำหน้าที่พิจารณาได้ จึงทำให้สติสมาธิ
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 ส.ค. 2022, 19:02 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น | ||
และปัญญาแก่กล้าช้า ตังนั้น ใยตีจึงไม่ควรกำทนดใดยมัวแต่เน้นให้ศัพท์และ ความหมายมีความสอดคล้องกัน แต่ควรทำการกำหนดรู้โดยลักษณะพื้นๆ เช่น ในขณะที่เห็น ก็ควรพิจารณาว่า "เห็นหนอ" เท่านั้น ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ จะทำให้ โยคีหมดปัญหาตามที่ได้กล่าวมาแล้วและก็จะทำให้โยดีผู้นั้นสามารถน้นและ รู้สภาวะใดสภาวะหนึ่งที่ปรากฏชัดในขณะที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็ การที่โยคี สามารถรู้เช่นทีกล่าวมานี้นั้น จะทำให้สำนวนโวหารที่เป็นคำเรียกกิริยาอากาว เช่น "เห็นหนอ" ได้ชื่อว่าเป็นวิชชมานบัญญัติ ดัชชาบัญญัติ แกโยคีผู้นั้นผู้ซึ่ง มุ่งประสงค์จะรู้ชัดแต่เพียงสภาวะของรูปนามที่ปรากฎในขณะที่เห็นเท่านั้น คำว่า วิชชมานบัญญัติ นั้น หมายถึง ชื่อหรือนามบัญญัติที่ใช้เรียกปรมัตถ ธรรม ซึ่งมีปรากฏอยู่จริง ก็แล ชื่อของปรมัตถ์นี้ ยังได้ชื่อว่าตัชชาบัญญัติ ด้วย ในฐานะเป็นสื่อแสดงให้รู้ถึงสภาวะของปรมัตถ์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยสอดคล้องต้องกัน ตามที่มีอยู่จริงตังที่ในคัมภีร์ทั้งหลายท่านได้ตั้งรูปวิเคราะห์ให้คำจำกัดความไว้ด้งนี้ว่า ตสุส ปรมดุถสภาวสุส อนุรูปิ ชายตีติ ตชฺา, สา เอว ปญฺญาเปตพํ ปรมตฺถสภาวํ ปญฺญาเปตีติ ตชุชาปญฺญตฺติ. สาเหตุที่เรียกว่า [ b]ตขฺชา[/b] เพราะเป็นชื่อหรือนามบัญญัติที่ตั้งขึ้นโดยสอดคล้อง กับสภาระปรมัตถ์นั้น เนื่องจากเป็นทั้งชื่อหรือนามที่ตั้งขึ้นโดยสอดคล้องกับ สภาระปรมัตถ์และสามารถสื่อสภาวะปรมัตถ์ให้บุคคลเข้าใจได้ ดังนั้น จึงเรียกชื่อ หรือนามนั้นว่า ตัชชาบัญญัติ ตามนัยที่กล่าวมานี้ พึงทราบว่า ชื่อหรือนามของปรมัตถ์ทั้งหมดทั้งปวง ไม่ว่า จะเป็นชื่อที่เป็นภาษาใดๆ เช่น ชื่อในภาษาบาลีว่า ปถวี, ผสุส ดังนี้เป็นต้น หรือชื่อ ในภาษาไทย เช่น ติน. แข็งกระด้าง, นุ่ม. เห็น, ได้ยิน เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่ได้ ชื่อว่าเป็นตัชชาบัญญัติทั้งสิ้น ซึ่งประเด็นนี้ก็ได้แสดงไปแล้วในตอนที่ว่าด้วยเรื่อง ปรมัตถ์กับบัญญัติในปริเฉทที่ ๓ ที่ผ่านมา ถามว่า หากโยคีทำการกำหนดโดยใช้ชื่อที่เป็นตัชชาบัญญัติ เช่น "เห็นหนอ" เป็นต้น แล้วจะไม่เป็นการกำหนดอารมณ์ที่เป็นบัญญัติดอกหรือ? ตอบว่า ใช่ หากเป็นแต่ในตอนช่วงตันๆที่ภาวนายังไม่แก่กล้าเท่านั้น ด้วยว่า ในตอนเริ่มต้นเจริญวิปัสสนานั้น หากโยคีผู้ใดได้ทำการกำหนดรู้โดยใช้ชื่อเป็นด้ว
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 02 ส.ค. 2022, 01:46 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น | ||
กำหนดไซร้ไยคีผู้นั้นก็จะมีจิตตั้งมันอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นเหตุให้สามารถรู้สภาวะ ของรูปนามตามความเป็นจริงและ สามารถทำลายสันตตืฆนบัญญัติกล่าวคือทิวแถว แห่งรูปนามจนทะสุทะลวงมองเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้ในที่สุด ยิ่งเมือ ภาวนาของโยคีนั้นแก่กล้ำเต็มที่แล้ว ก็จะทำให้จิตที่กำหนดอยู่นั้นสามารถละที้ง อารมณ์ที่เป็นบัญญัติได้โดยอัตโนมัติ โดยจะรับรูปนามปรมัตถ์แท้ที่กำลังเกิดตับอยู่ มาเป็นอารมณ์เท่านั้น สำหรับโยตีผู้ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็ควร ที่จะปลงใจเขือตามนยะหรือหลักการที่ท่านได้แสดงไว้ในคัมภีวัวิสุทธิมรรคมหาฏิกา (๑/๒๖๖) ดังนี้ว่า นนุ จ ดขุชาปญุญตฺติวเสน สภาวธมุโม คยุหดีติ?, สจุจั คยุทดิ ปุพุพภาเค. ภาวนาย ปน วทุฒมานาย ปญฺญตฺติ สมติกุกมิตฺวา สภาเวเยว ติฏฺฐติ. ถามว่า ควรที่โยคีจะกำหนดรู้(มนสิการ) สภาวธรรมโดยอาศัยซื้อหรือนาม ที่เป็นดัชชาบัญญัติหรือไม่? ตอบว่า ในตอนเริ่มต้นของการปฏิบัตินั้น โยคีสามารถทำการกำหนด เช่นนั้นได้ แต่เมื่อภาวนาแก่กล้แล้ว จิตของโยคีนั้นจะสามารถข้ามพ้นบัญญัติ ตังกล่าวแล้วรับเอาสภาวะปรมัตถ์เท่านั้นเป็นอารมณ์ นี่คือคำที่กล่าวไว้ในพุทธานุสสติวรรณนา ตอนที่ว่าด้วยการอธิบายเกี่ยวกับ พุทธานุสสติกัมมัฏฐาน แม้ถึงกระนั้น คำฎีกานี้ก็สามารถป็นสาธกหลักฐานที่จะ ทำให้เรามีความเชื่อถือเป็นแบบในเรื่องของวิปัสสนาได้ อนึ่ง ในช่วงที่วิปัสสนาญาณทั้งหลายมีอุทยัพพยญาณเป็นต้น เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากรูปนามปรากฏรวดเร็วมากจึงทำให้ไม่สามารถที่จะกำหนดโดยออกชื่อ ได้ทัน จึงเพียงแต่กำหนดรู้สภาวะการเกิดดับได้เท่านั้น ซึ่งข้อนี้โยคีจะได้ศึกษา ในปริเฉทที่ ๕ และก็จะได้ประสบกับตัวเองโดยตรงในเวลาปฏิบัติถึงญาณเหล่านั้น เพราะฉะนั้น โยดีจึงไม่ควรนั่งนึกตรึกเอาว่า เราจะต้องกำหนดธรรมใด สภาวะใด แต่จะต้องสำเหนียกว่า ทุกๆครั้งที่มีการเห็น ก็ให้กำหนดรู้ว่า "เห็นหนอๆ" ผู้ที่ กำหนดเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสภาวธรรมปรากฏชัตนั้น ในเบื้องต้นของ การปฏิบัตินั้น สภาวธรรมที่จะปรากฎแก่โยศีนั้น ก็จะปรากฎโดยลักขณะ รสะ ปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โยดีก็จะรู้ตามทันสภาวธรรมที่ ปรากฏนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อให้โยคีสามารถกำหนดรู้ได้อย่างถูกต้อง และให้ สภาวธรรมปรากฎได้อย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านจึงได้กล่าวคำนี้ว่า "ลกุขณรสาทิวเสนปริคฺคเทตพุพา โยคีพึงกำหนดโดยความเป็นลักขณะรสะเป็นต้น" ซึ่งคำอธิบายข้อความนี้ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในปริเฉทที่ ๓ ตอนว่าด้วยเรื่องของ การปฏิบัติที่ควรถือเป็นแนวทาง
|
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |