ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อริยมรรคหมวดปัญญา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62388
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 29 ก.ค. 2022, 09:44 ]
หัวข้อกระทู้:  อริยมรรคหมวดปัญญา

อริยมรรคหมวดปัญญา ๒
สัมมาทิฏฐิ
อริยมรรคหมวดปัญญามี ๒ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็น
ชอบ และสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ หมายความว่าในเบื้องแรกของ
การปฏิบัติ เราต้องมีความเห็นชอบ คือ เชื่อมั่นกรรมและผลกรรมโดย
เชื่อมั่นกฎแห่งกรรมว่า กฎแห่งกรรมมีจริง การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง
ความเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมเช่นนี้ชื่อว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ

ในนิเทศของมหาสติปัฏฐานสูตร* พระพุทธองค์ตรัสขยาย
สัมมาทิฏฐิว่า ความเห็นชอบในเรื่องนี้คือความเห็นชอบในอริยสัจ ๔ ซึ่ง
รู้เห็นอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงว่า รูปนามหรือขันธ์ ๕ เป็นทุกขสัจ
(ความจริงคือทุกข์) ตัณหาที่ก่อให้เกิดรูปนาม เป็นสมุทยสัจ (ความจริง
คือเหตุแห่งทุกข์) พระนิพพานที่เป็นสภาวะดับรูปนาม เป็นนิโรธสัจ
(ความจริงคือความดับทุกข์) และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นแนวทาง
ปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ เป็นมรรคสัจ (ความจริงคือทางดับทุกข์)

ผู้ปฏิบัติที่เจริญสติจนสามารถรู้เท่าทันรูปนามปัจจุบันจัดว่าได้
กำหนดรู้ทุกขสัจแล้ว กล่าวคือ เมื่อเราระลึกรู้รูปนามซึ่งปรากฎในปัจจุบัน
ขณะ นับว่าได้รู้เห็นว่ามีเพียงรูปนามเท่านั้น ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา บุรุษ
หรือสตรี ไม่มีตัวกูของกูอยู่ในรูปนามเหล่านั้น ในขณะนั้นผู้ปฏิบัติย่อม

เข้าใจว่ารูปนามซึ่งปรากฎอยู่นี้เป็นเพียงสภาวธรรมปัจจุบันที่เกิดขึ้นตาม
เหตุปัจจัย เมื่อเกิดขึ้นแล้วได้ดับไปอย่างรวดเร็ว ความเข้าใจเช่นนี้จัดว่า
เป็นการกำหนดรู้ทุกขสัจ

ในขณะนั้นตัณหาหรือโลภะมิได้เกิดขึ้น จัดว่าผู้ปฏิบัติได้ขจัด
สมุทยสัจคือตัณหาโดยตทังคปหาน คือ การละได้ชั่วขณะด้วยวิปัสสนา
ปัญญา และในขณะนั้นเราได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ พร้อมกัน จึงนับว่า
ได้เจริญมรรคสัจแล้ว

ส่วนนิโรธสัจย่อมปรากฏชัดเจนในขณะบรรลุมรรคญาณ ส่งผล
ให้ผู้ปฏิบัติรับรู้ความดับของรูปนามทั้งหมดขณะที่เกิดมรรคญาณนั้น
นับว่าผู้ปฏิบัติได้กระทำให้แจ้งนิโรธสัจแล้ว

ด้วยเหตุดังกล่าว ในนิเทศของมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์
จึงตรัสสัมมาทิฏฐิว่าเป็นความเข้าใจอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง

สัมมาสังกัปปะ

อริยมรรคมีองค์ ๘ หมวดปัญญาอีกประการหนึ่งคือ สัมมา-
สังกัปปะ ความดำริชอบ หมายถึง ความดำริในกุศล สัมมาสังกัปปะนี้ต้อง
ประกอบร่วมกับสัมมาทิฏฐิอีกด้วย เพราะเป็นสภาวะอุปถัมภ์ค้ำจุน
สัมมาทิฏฐิ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่น้อมใจไปสู่กุศลก็จะไม่อาจเจริญสัมมาทิฏฐิได้

ในนิเทศของมหาสติปัฏฐานสูตร" พระพุทธองค์ตรัสสัมมา-
สังกัปปะว่ามี ๓ ประการ คือ เนกข้มมสังกัปปะ ความดำริในกุศล

ทุกอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการปฏิบัติธรรม อัพยาปาทสังกัปปะ ความดำริ
ในการไม่ปองร้ายคือ การเจริญเมตตา และอวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริ
ในการไม่เบียดเบียน คือการเจริญกรุณา ดังนั้นในขณะที่เจริญสัมมาทิฏฐิ
จึงต้องมีสัมมาสังกัปปะประกอบร่วมอยู่ด้วยเพื่อทำให้จิตของเราน้อมไป
ในการเจริญปัญญาซึ่งเรียกว่าสัมมาทิฏฐินั่นเอง

ทุกขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญสติปัฏฐานวิปัสสนาภาวนา จัดว่าได้
งดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและพูดเพ้อเจ้อ จึงนับว่า
ได้เจริญสัมมาวาจา อีกทั้งได้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และ
ประพฤติผิดในกาม นับว่าได้เจริญสัมมากัมมันตะ รวมไปถึงได้งดเว้นจาก
กายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ นับว่าได้เจริญสัมมาอาชีวะในขณะนั้นเรา
มีความเพียรจดจ่ออยู่กับสภาวธรรมปัจจุบัน นับว่าได้เจริญสัมมาวายามะ
มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันทุกขณะโดยประคองสติมิให้หลุดออกไปจาก
ปัจจุบัน นับว่าได้เจริญสัมมาสติ และไม่มีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นรบกวนจิต
ในขณะนั้น ก็นับว่าได้เจริญสัมมาสมาธิ รวมไปถึงได้เจริญสัมมาทิฏฐิ
ที่หยั่งเห็นรูปนามตามความเป็นจริง และเจริญสัมมาสังกัปปะซึ่งเป็น
สภาวะน้อมจิตสู่อารมณ์เพื่อให้รู้เท่าทันรูปนามปัจจุบันได้ชัดเจน

การปฏิบัติธรรมเหมือนยิงธนู คือ คนที่กำลังยิงธนูต้องมีวิริยะใน
การยิง จัดเป็นสัมมาวายามะ การรู้ตัวในขณะยิงจัดเป็นสัมมาสติ การ
รวบรวมสมาธิจัดเป็นสัมมาสมาธิ การเล็งเป้าจัดเป็นสัมมาสังกัปปะ และ
การยิงถูกเป้าจัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอยู่ถือว่าได้เจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่เสมอ และอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ก็เปรียบได้กับแพ
ซึ่งนำพาชาวโลกให้ข้ามห้วงกิเลสทั้ง ๔ อย่าง บรรลุถึงอีกยิ่งหนึ่งอันเป็น
แดนเกษม ซึ่งก็คือพระนิพพานนั่นเอง ทั้งนี้เพราะสัมมาหิฏฐิได้พัฒนาขึ้น
เรื่อยๆ จากระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตระ จึงเป็นมรรคปัญญาที่ขจัด
กิเลสโดยเด็ดขาดในขณะรับเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์

ไฟล์แนป:
99885869-cliff-stone-isolated-on-white-background-.jpg
99885869-cliff-stone-isolated-on-white-background-.jpg [ 85.67 KiB | เปิดดู 848 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/