ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=62358
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 ก.ค. 2022, 13:04 ]
หัวข้อกระทู้:  อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

อัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย
ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

ปัจจยธรรม รูปธรรมและนามธรรมที่มีปรากฎอยู่
ปัจจยุปันนธรรม นามธรรมกับรูปธรรมที่มีปรากฎอยู่
"มีเหตุ จึงมีผล " คำกล่าวนี้มิได้หมายความว่า ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อนเหตุได้จบไปแล้ว" แต่ความเป็นจริงแล้วขณะที่เหตุยังมีหรือยังปรากฏอยู่ หรือยังไม่อันตรธานไปนั่นเอง ผลก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปรากฎการเช่นนี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

คนที่มีเครื่องประดับเช่น สร้อย แหวน กำไล เป็นต้น หากได้ทำการประดับสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้น ก็ย่อมชื่อว่ามีทั้ง ๒ ปัจจัยคือมีทั้งอัตถิปัจจัยและ
อวิคตปัจจัย ย่อมได้รับประโยชน์อานิสงส์ กล่าวคือการไม่ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากบุคคลอื่น แต่ถ้ามีอยู่เฉยๆ ไม่ยอมนำมาสวมใส่ก็เท่ากับว่ามีแต่อัตถิปัจจัยแต่ใม่
อวิคตปัจจัยเพราะมีอยู่ในการครอบครองแต่ไม่ได้โชว์ให้คนอื่นได้ยล ซึ่งอุปมาที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพแห่งความเป็นอัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัยเท่านั้น เพราะตามความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเกิดสภาวธรรมฝ่ายนามขันธ์ ๔ กล่าวคือ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณโดยความเป็นสหชาต (หตุเกิดร่วมกับผล)นั้น พึงทราบว่าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ คือ เพราะเหตุกล่าว คือเวทนา ซึ่งเป็นเหตุที่กำลังเกิดหรือกำลังปรากฎอยู่โดยยังไม่ได้อันตรธานหายไปไหนนั่นเอง จึงทำให้ผลกล่าวคือสัญญา สังขาร และวิญญาณเกิดขึ้นนี้ต่างหากที่เป็นลักษณะของความเป็นอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

โดยทำนองเดียวกัน ในการเกิดผลกล่าวคือจักขึวิญญาณ(การเห็นรูปสีต่างๆ ได้อธิบายไว้แล้วในตอนนิสสยปัจจัยและอารัมมณปัจจัย)นั้นพึงทราบว่าสาเหตุมาจากการที่ตาและรูปารมณ์เผชิญหน้ากัน

ก็แล ผลธรรมกล่าวคือจักชุวิญญาณที่ว่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในขณะที่เหตุธรรม กล่าวคือ ตาและรูปารมณ์ยังมีปรากฎอยู่และยังไม่เลือนหายหรืออันตรธานไปนั่นเอง เพราะถ้ารูปารมณ์เลือนหายไป จักชุวิญญาณกล่าวคือการเห็นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

อนึ่ง หากจะพูดในแง่ของบัญญัติแล้ว ก็อาจจะต้องพูดพาดพิงไปถึงกลุ่มหรือ คณะของบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบัน องค์กร สมาคม ชมรม เป็นต้น
ซึ่งในสถาบัน องค์กร เป็นต้นเหล่านั้นย่อมประกอบด้วยคณะบุคคลเป็นรายๆ ไป ซึ่งเรียกว่า กรรมการ บ้าง สมาชิก บ้าง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยยืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จับมือประสาน สามัคคีปฏิบัติหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่องค์กรของตน นี่แหละท่านเรียกว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย มีแต่ก่อให้เกิดผลสุขทุกถ้วนหน้า

ไฟล์แนป:
desert-png-transparent-photo.png
desert-png-transparent-photo.png [ 531.81 KiB | เปิดดู 726 ครั้ง ]

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/