วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2022, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190724_163024.jpg
20190724_163024.jpg [ 61 KiB | เปิดดู 655 ครั้ง ]
336
ถามว่า : ภิกษุพึงเจริญทิพพโสตธาตุนี้อย่างไร ?
ตอบว่า : ภิกษุนั้นต้องเข้าฌานที่เป็นบาทฐานของอภิญญา เมื่อออกจากฌานแล้วควรใส่ใจฟัง
เสียงที่หยาบมีเสียงราชสีห์ในป่าเป็นต้นซึ่งอยู่ไกลพอได้ยินตามปกติก่อนด้วยสมาธิจิตที่บริกรรม
(การกระทำก่อน)

ข้อความว่า"ด้วยสมาธิจิตที่บริกรรม"หมายความว่า ด้วยสมาธิแยก
เฉพาะต่างหากทร่กระทำก่อน(การเตรียมการ)
คือ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นด้วยขณิดสม่ธิที่ดำเนิรไปโดยความเป็นบริกรรมของทิพพโสตญาณ
อาจารย์ทั้งหลายกล่าวอีกว่า ขึ้นชื่อว่าสมาธิในบริกรรมอยู่ในระยะอุปจารสมาธิ มีกล่าวไว้โดยความมี
อาวัชชนจิตต่างกัน

ต่อจากนั้นพึงใส่ใจเสียงละเอียดตามลำดับเริ่มตั้งแต่เสียงหยาบกว่าเสียงทั้งหมด อย่างนี้ คือ
เสียงระฆังในวัด เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงภิกษุหนุ่ม
สามเณรน้อยที่สาธยายเต็มกำลัง เสียงของคนพูดตามปกติว่าอะไรขอรับ อะไรครับท่าน เป็นต้น
เสียงนก เสียงลม เสียงฝีเท้า
เสียงน้ำเดือดดีงฉี่ๆเสียงใบตาลแห้งในแดด เสียงมด และเสียงปลวกเป็นต้น



ผู้เพียรปฏิบัตินั้นพึงใส่ใจฟังเสียงทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตะทิศเหนือ ทิศใต้
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ทิศตะออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เธอพึงพอใจเสียงที่ละเอียด
เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏชัด แก่จิตปกติของเธอ แต่ปรากฏชัดยิ่งขึ้น แก่สมาธิจิตที่ทำบริกรรม

เมื่อเธอใส่ใจฟังเสียงอยู่ มโนทวาราวัชชนจิตรับเอาเสียงอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์
(ในขณะที้ควรกล่าว)ว่า บัดนี้ ทิพพโสตะธาตุจักสำเร็จ ย่อมเกิดขึ้นรับอารมณ์
เป็นเสียงเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตดังกล่าวดับไป ชวนจิตย่อมแล่นไป ๔ ครั้ง
บ้าง ๕ ครั้งบ้าง(ชวน)จิต ๓ หรือ ๔ ดวงแรกเป็นกามาจรจิตมีชื่อว่า บริกรรม อุปจาระ
อนุโลม และโคตรภู ชวนจิตดวงที่ ๔ หรือ ๕ เป็นอัปปนาจิตที่ประกอบกับรูปาวาจรจตุตถฌาน

ในชวนจิตดังกล่าว ญาณที่เกิดพร้อมกับอัปปนายิตนั้น ชื่อว่า ทิพพโสตธาตุ หงังจากเกิดอัปปนาจิตแล้ว
ภิกษุนั้นได้ตกไปในกระแสญาณนั้น ผู้ประสงค์จะทำให้ญาณนั้นมีกำลังขึ้นควรกำหนดขยาย
เพียงองคุลีเดียวโดยตั้งใจว่า เราจะฟังเสียงในระหว่างนี้

ข้อความว่า"ตกไป"หมายความว่า อยู่ภายในทิพพโสตธาตุแล้ว กล่าวคือ ให้ชื่อว่าบรรลุทิพพ
โสตญาณก่อนเกิดอัปปนาจิต เธอไม่ต้องจำเพียรภาวนาเพื่อให้บรรลุทิพพโสตญาณนั้นในบัดนี้

ต่อจากนั้น(ต่อจากการกำหนดขยายไป ๑ นิ้ว)ควรขยายออกไปโดยกำหนดเอา ๒ นิ้ว ๔ นิ้ว ๘ นิ้ว
คืบหนึ่ง ศอกหนึ่ง ภายในห้องหนึ่ง หน้ามุขหนึ่ง ปราสาทหนึ่ง บริเวณหนึ่ง วัดหนึ่ง หมู่บ้านเที่ยว
บิณฑบาตหนึ่ง และแคว้นหนึ่งเป็นต้น จนถึงจักรวาลหนึ่ง หรือยิ่งกว่านั้น ผู้เพียรปฏิบัตินั้น
ที้ได้บรรลุอภิญญาแล้วตามวิธีนี้ แม้ไม่ได้เข้าปาทกฌานอีกก็ได้ยินเสียงที่อยู่ภายในสถานที่
ถูกกระทบด้วยกสิณนิมิตอันเป็นอารมณ์ของปาทกฌาน และเมื่อสดับอยู่อย่างนี้ แม้เสียง สังข์ กลอง
และกลองบัณเฑาะว์เป็นต้นจะอึกทึกครึกโครมในขณะเดียวกันจนถึงพรหมโลก แต่ถ้าต้องการ
จะกำหนดแยกให้ต่างกัน ก็กำหนดแยกได้ว่า นี้เสียงสังข์หรือเสียงกลอง เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2022, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องทิพพโสตธาตุ พึงทราบเนื้อความพระบาลีเป็นต้นว่า
โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต (เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิในจตุตถฌาน) ในคำอธิบายทิพพโสตธาตุ
นั้นและอภิญญา ๓ (คือ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพพจักขุญาณ)
ที่จะกล่าวต่อไปตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว จะกล่าวเฉพาะข้อความพิเศษเท่านั้นในพระบาลีทั้งหมด
(คือ พระบาลีที่แสดงทิพพโสตธาตุและอภิญญา ๓ ที่เหลือ )

ข้อความเต็มของพระบาลีข้างต้น คือ

โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต ปริสุทฺเธ ปริโยทาเต อนงฺคเณ วิคคูปกฺกิเลเส มุทุภูเต กมฺมนิเย จิเต
อาเนญฺชปฺปตฺเต ทิพฺพาย โสตธาตุยา จิตฺตํ อภิหรติ อภินินฺนาเมติ โสทิพฺพาย โสตธาตุยา วิสุทฺธาย
อติกฺกนฺตมานุสิกาย อุโภ สทฺเท สุณาติ ทิพฺเพ จ มานุเส จ. เย ทูเร สนฺติเก จ.


เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิในจตุตถฌาน บริสุทธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง
นุ่มนวลเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุผู้ได้บรรลุสมาธิในจตุตถฌานนั้น
ย่อมน้อมนำจิตเพื่อทิพพโสตธาตุ เธอได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์

ในพากย์นั้น คำว่า ทิพพาย โสตธาตุยา(เพื่อทิพพโสตธาตุ)โสตธาตุชื่อว่าทิพย์ เพราะคล้ายกับหูทิพย์
อธิบายว่า โสตประสาทของเทวดาที่เกิดจากสุจริตกรรม ไม่ถูกรบกวนด้วยน้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้น
จึงรู้อารมณ์ในที่ไกลได้ เพราะพ้นจากมลทิน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร