ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การเจริญมรรคภาวนามี ๒ ประการ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61876 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 06 เม.ย. 2022, 11:19 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การเจริญมรรคภาวนามี ๒ ประการ | ||
๖๔ การเจริญมรรคภาวนา มี ๒ ประการ วิธีการเจริญมรรค หมายความว่า โยคีบางท่านย่อมเจริญวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า บางท่านเจริญสมถะที่วิปัสสนานำหน้า เช่น โยคีบางท่านในพระศาสนานี้ย่อมเจริญวิปัสสนา ที่มีอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธินำหน้า ก็อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิได้ซื่อว่าสมถะ โยคีผู้เจริญสมถะนั้นย่อมเห็นแจ้งซึ่งสมาธินั้นและจิตเจตสิกที่ประกอบกับสมาธินั้นโดยความ เป็นไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สมถะของบุคคลนั้นย่อมเกิดขึ้นก่อน ส่วนวิปัสสนาเกิดขึ้นภายหลัง ดังนั้นบุคคลผู้เรียกว่าสมถะยานิกะนั้น จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที เจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า สำหรับบุคคลผู้เจริญภาวนาในลักษณะเช่นนี้กล่าวคือบุคคล ผู้นำเอาสมถะมาเป็นบาทฐาณแล้วเจริญวิปัสสนาภายหลังนั้น อริยมรรคย่อมเกิดขึ้นแก่โยคีผู้นั้น หลักการเจริญที่เรียกว่าสมถปุพพังคมภาวนานัยกล่าวคือเจริญวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีสมถะนำหน้าเป็นอริยมรรคภาวนาบุคคลผู้เป็นวิปัสสนายานิกะ ข้อนี้ตรงกับคำอธิบาย แห่งฎีกาว่า"ปฐม สมถยานิกสฺส วเสน วุตฺโต." หลักการเจริญภาวนาข้อที่ ๑ ถูกแสดงไว้โดยความเป็นสมถยานิกบุคคล จากคำกล่าว ในคัมภีร์อรรถกถานี้พึงทราบว่า โยคีเจริญวิปัสสนาย่อมเห็นแจ้งซึ่งสมาธิและสัมปยุตตธรรม ที่ประกอบกับสมาธินั้นโดยความเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งถ้าเป็นสมถยานิกะแล้วโดยส่วนมาก เป็นการเจริญตามแนวนี้ทั้งสิ้น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 06 เม.ย. 2022, 15:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การเจริญมรรคภาวนามี ๒ ประกาา |
นอกจากนี้ ผู้ศึกษาควรทำความเข้าใจแม้ซึ่งคำอธิบายที่จะกล่าวต่อไปนี้ไว้ด้วยว่า ในคัมภีร์อรรถกถานั้น ท่านเพียงแต่กล่าวว่า หลังจากบุคคลเขริญสมถะแล้วย่อมเห็นแจ้งโดยความเป็นไตรลักษณ์มีอนิจจา ลักษณะเป็นต้นเท่านั้น โดยที่ท่านไม่ได้กล่าวว่าเป็นการให้บังเกิดขึ้นหรือเจริญนามรูปปริเฉทญาณ และปัจจยปริคคหญาณทั้งสองแจ่อย่างใด ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ ก็ไม่ควรเข้าใจผิดว่า แม้ญาณทั้งสอง ก็จะต้องเจริญโดยมีสมถะนำหน้าก่อน และไม่ควรที่เข้าใจผิดว่า อนิจจานุปัสสนา เป็นต้น สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากญาณทั้งสองนั้นเช่นกัน แต่ควรจะทำความเข้าใจหลังจากที่เจริญ สมถะแล้วสามารถที่จะเห็นแจ้งด้วยญาณทั้งสองนั้น หลังจากนั้นจึงเห็นแจ้งไตรลักษณ์มีอนิจจลักษณะเป็นต้น สาเหตุที่สามารถให้เข้าใจเช่นนี้นก็คื คำว่า "อนิจจาทีหิบุคคลย่อมเห็นแจ้งด้วยไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น เป็นคำที่กล่าวไว้โดย ปธานนัย นัยที่ยกเอาสิ่งที่เป็นประธานขึ้นกล่าวนั้น หมายความว่า ทรงแสดงธรรมที่เป็นปรัธานเท่านั้น ส่วนธรรมที่ไม่ได้เป็นประธานให้สามารถรู้ได้โดยนัย ซึ่งเรียกว่า ปธานนัยนั่นเอง เพราะฉะนั้น แม้จะกล่าวถึงอนิจจานุปัสสนาโดยตรง หรือกล่าวไว้โดย เป็นประธานส่วนญาณทั้งสองคือนามรูปปริเฉทญาณและปัจจยปริคคหหญาณนั้น แม้ไม่ได้ กล่าวไว้แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านก็ได้อธิบายขยายควาให้ อุปมาเหมือนกับคำว่าราชา อาคจฺฉติ พระราชาเสด็จออกจากพระนคร แม้จะกล่าวถึงพระราชา พระองค์เดียว แต่พึงทราบว่าโดย ปกติแล้วพระราชามีข้าราชบริพาาแวดล้อมไปด้วยเสมอ ซึ่งถ้าไม่ถือเอาในความหมาย ในลักษณะเช่นนี้ แต่กลับไปเข้าใจผิดว่าวิปัสสนาญาณเริ่มขึ้นที่อนิจจาทินุปัสสนาซึ่งจะทำให้ ไม่สอดคล้องกับคัมภีร์ทั้งหลายที่แสดงวิปัสสนาได้ ข้อนี้นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ดี |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |