ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การละสังโยชน์ตามกำลังอินทรีย์ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61709 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 23 ก.พ. 2022, 15:51 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | การละสังโยชน์ตามกำลังอินทรีย์ | ||
๑๑๓ ในบรรดาสังโยชน์ ๑๐ เหล่านั้น สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, และ สีลัพพตปรามาสย่อมดับไปเมื่อบรรลุ อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์(ปัญญาในโสดาปัตติมรรค) สังโยชน์ ๗ คือ กามฉันทะ, พยาบาท, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, และ อวิชชาที่เหลือ ย่อมดับไปเมื่อบรรลุอัญญินทรีย์(ปัญญาในมรรคเบื้องบน ๓) ญาณที่รู้เห็นอย่างนี้ว่า"ชาติของเราสิ้นแล้ว"เป็นญาณรู้ความสิ้นไป(ของชาติ)(ขยญาณ)และญาณที่รู้เห็นว่า กิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เป็นญาณรู้การไม่เกิดขึ้น(ของปฏิสนธิจิต)(อนุปปาทญาณ) ญาณทั้งสองอย่างนี้เป็นอัญญาตาวินทรีย์(ปัญญาในอรหันตผล) ในอินทรีย์เหล่านั้น อินทรีย์เหล่านี้ คือ อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์ และอัญญินทรีย์ ย่อมดับไปเมื่อบุคคล บรรลุอรหันตผลอันสูงสุด ในบรรดาญาณเหล่านั้น ญาณทั้ง ๒ เหล่านี้ คือ ญาณรู้ความสิ้นไป(ของชาติ)(ขยญาณ)และญาณ รู้การไม่เกิดขึ้น(ของการปฏิสนธิจิต)(อนุปปาทญาณ)เป็นปัญญาอย่างเดียวกัน(อรหัตตผลญาณ) แต่ชื่อทั้ง ๒ ย่อมปรากฏโดยประเภทแห่งอารมณ์ เพราะเมื่อพระอรหันต์รู้ว่า"ชาติของเราสิ้นแล้ว" ญาณดังกล่าวย่อมได้ชื่อว่า "ขยญาณ" เมื่อท่านรู้ว่ากิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ย่อมได้ชื่อว่า อนุปปาทญาณ ปัญญา (ที่เป็นเครื่องตัดกระแส) ชื่อปัญญา เพราะมีสภาวะหยั่งลงเห็น สติ (ที่เป็นเครื่องกั้นกระแส)นั้นชื่อว่า สติ เพราะมีลักษณะทำให้จิตไม่เลื่อนลอย(เหมือนเสมอปักลงดิน ตามอารมณ์ที่พบเห็น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 23 ก.พ. 2022, 17:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การละสังโยชน์ตามกำลังอินทรีย์ |
อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์ คือ ปัญญาในโสดาปัตติมรรค ทำหน้าที่ละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, และสีลัพพตปรามาส เมื่อบุคคลบรรลุโสดาปัตติมรรคแล้ว สังโยชน์ ๓ ข้างต้นย่อมหมดสิ้นไป โสตาปัตติมรรคจิต ย่อมดับไป สังโยชน์ ๓ ย่อมดับไปพร้อมกับโสดาปัตติมรรคจิตไม่กลับมีขึ้นมาอีกเลย อัญญินทรีย์ คือปัญญาในมรรคเบื้องบน ๓ ทำหน้าที่ละสังโยชน์ ๗ คือ กามฉันทะ, พยาบาท, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, และ อวิชชาที่เหลือ เมื่อบุคคลบรรลุมรรคเบื้องบน ๓ แล้ว สังโยชน์เหล่านั้นย่อมหมดสิ้นไปตามสมควรแก่มรรคนั้นๆ อัญญาตาวินทรีย์ ปัญญาในอรหันตผลทำหน้าที่รู้เห็นว่า ชาติสิ้นแล้ว และรู้เห็นว่ากิจอื่นที่ควรทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี กิจดังกล่าวหมายถึง ปริญญากิจ คือกิจในการรู้ชัดทุกขสัจ ปหานกิจ คือ กิจในการละสมุทัยสัจ สัจฉิกิริยากิจ คือ กิจในการกระทำให้แจ้งนิโรธ และภาวนากิจ คือ กิจในการเจริญมรรคสัจ เมื่อบุคคลบรรลุมรรคเบื้องบน ๓ อนัญญัสสามิตินทรีย์ย่อมดับไป และเมื่อเบาบรรลุอรหัตตผล อัญญินทรีย์ย่อมดับไป ดังนั้น ธรรมที่มีในภูมิ ๓ ที่เกิดขึ้นเสมอแก่บุคคลผู้บรรลุพระนิพพาน ก็ดับไปเช่นเดียวกัน เพราะแม้กระทั้งธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานยังแปรปรวนดับไป สังขตธรรมในภูมิ ๓ ก็ต้องดับไปโดยแท้ ขยญาณ คือ ญาณรู้เห็นความสิ้นไปของชาติ และอนุปปาทญาณ คือญาณรู้การไม่เกิดขึ้นของปฏิสนธิจิต ญาณทั้งสองนี้เป็นชื่ของอรหัตตผลญาณเหมือนกัน แต่เรียกเป็นสองชื่อตามปัจจเวกขณญาณ ที่รับเอาอารมณ์ต่างกันซึ่งเป็นความสิ้นไปของชาติและการไม่เกิดขึ้นของปฏิสนธิจิต |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ก.พ. 2022, 16:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การละสังโยชน์ตามกำลังอินทรีย์ |
คำว่า อปิลาปน (ไม่เลื่อนลอย) ประกอบรูปศัพท์จาก น ศัพท์ + ปฺลุ ธาตุ (คติยํ=ไป)+ ฌาเป การิตปัจจัย+ยุ ปัจจัย สติมีลักษณะ หน้าที่ อาการปรากฏ และเหตุใกล้คือ ๑. มีลักษณะทำให้จิตไม่เลื่อนลอย(อปิลาปนลกฺขณา)คือ ทำให้จิตหยั่งลงในอารมณ์ที่พบเห็น เสมือนปักลงดิน ๒. มีหน้าที่ไม่หลงลืม(อสมฺโมสรสา)คือ ทำให้ระลึกได้อยู่เสมอ ๓. มีการรักษาจิตเป็นเครื่องปรากฏ(อารกฺปจฺจุปฏฺฐานา) คือ รักษาจิตไว้ให้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ๔. มีสัญญาเป็นเหตุใกล้(สญฺญาปทฏฺฐานา)คือ สติในขณะระลึกนึกถึงความดีเป็นเหตุใกล้ คือสัญญา ซึ่งเป็นความจำได้หมายรู้ ดังคัมภีร์อรรถกถา กล่าวว่า กายาทิสติปฏฺฐานา (มีเหตุใกล้คือที่ตั้งของสติมีกองรูปเป็นต้น)ดังนั้น วิปัสสนาจึงมีไม่ได้โดยปราศจากการเจริญสติ รับรู้สภาวธรรมเป็นอารมณ์ ดังสาธกในอรรถกถาว่า โค้ด: ยสฺมา ปน กายเวทนาจิตฺตธมฺเมสุ กญฺจิ ธมฺมํ อนามสิตฺวา ภาวนา นาม นตฺถิ. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าภาวนาที่ไม่เนื่องด้วยกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมไม่มีตสฺมา เตปิ อิมินาว มคฺเคน โสกปริเทเว สมติกฺกนฺตาติ เวทิตพฺพา. ดังนั้น พึงทราบว่าแม้เหล่านั้นล่วงพ้นความโศกและความรำพันคร่ำครวญได้ด้วยทางสายนี้ ด้วยเหตุนี้ การใคร่ครวญพิจารณาด้วยจินตมยปัญญาจึงไม่ใช่การปฏิบัติธรรม ความจริงแล้ว โยนิโสมนสิการที่กล่าวไว้ในพระสูตรต่างๆ มีความหมายตามศัพท์ว่า"การใส่ใจด้วยปัญญา"บางแห่ง หมายถึงการพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผล บางแห่งหมายถึงการเจริญสตืระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน โดยมีปัญญาหยั่งเห็นสภาวลักษณะ หรือสามัญญลักษณะประกอบร่วมกับสติ(ดูข้อ ๗ เรื่องภาวนมยปัญญา) |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ก.พ. 2022, 16:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การละสังโยชน์ตามกำลังอินทรีย์ |
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์มี ๓ ประการ เป็นไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามิติยทรีย์(อินทรีย์ที่เป็นไปอย่างนี้ว่า)เรารู้จักอริยสัจ ๔ ที่ยังไม่รู้แจ้ง โสตาปัตติมรรคญาณ ) อัญญินทรีย์(อินทรีย์ของบุคคลผู้ประกอบในหน้าที่รู้อริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานอีก ญาณในมรรคเบื้องบน ๓ และผลเบื้องต่ำ ๓ ) และอัญญาตาวินทรีย์(อินทรีย์ของพรขีณาสพผู้รู้แจ้งแล้ว ปัญญาในอรหัตตผล) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด ย่อมพยายาม ย่อมปรารถนาความเพียร ย่อมประคองจิตไว้ ย่อมทำความเพียร เพื่อตรัสรู้อริยสัจคือทุกขสมุทัย ที่ยังมิได้ตรัสรู้... อริยสัจคือนิโรธ...อริยสัจคือมรรค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นอนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์(ปัญญาในโสตาปัตติมรรค) พระดำรัสนี้ชื่อว่า ทัสสนะ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |