ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ปัญญา ๓ ประเภท http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61619 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 27 ม.ค. 2022, 15:56 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ปัญญา ๓ ประเภท | ||
๘๒ โค้ด: ปรโตโฆสา สุตมยี ปญฺญา. ปจฺจตฺตสมุฏฺฐีติ โยนิโสมนสิการา จินตามยี ปญฺญา. สุตมยปัญญา เกิดจากเสียงแนะนำของผู้อื่นยํ ปรโต จ โฆเสน ปจฺจตฺสมุฏฺฐิเตน จ โยนิโสมนสิกาเรน ญาณํ อุปฺปชฺชติ. อยํ ภาวนามยี ปญฺญา. จินตามยปัญญา เกิดจากการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดจากภายในตน ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากเสียงแนะนำของผู้อื่น และการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดภายในตน [ข้อความข้างต้นเป็นการจำแนกปัญญา ๓ ประเภทอีกนัยหนึ่ง กล่าวคือ ปุถุชนต้องฟังคำแนะนำ จากพระศาสดาหรือสาวก จะเข้าใจด้วยตนเองไม่ได้ ปัญญาอย่างนี้เรียกว่า สุตมยปัญญา นอกจากนี้ เขาต้องมีการใส่ใจโดยแยบคายซึ่งเกิดภายในตน เช่น การกำหนดลักษณะพิเศษของรูป และนามว่า รูปมีลักษณะแปลปรวน นามมีลักษณะน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นต้น ปัญญาเช่นนี้เรียกว่า จินตามยปัญญา ส่วนปัญญาที่เกิดจากการแนะนำของผู้อื่นและการใส่โดยแยบคาย ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา ในคำว่า โยนิโสมนสิการ(การใส่ใจโดยแยบคาย)คำว่าโยนิโส(โดยแยบคาย)คัมภีร์อรรถกถา อธิบายว่า อุปาเยน (โดยวิธี, นัย)หมายถึง การใส่ใจด้วยวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งเข้าใจความต่างกันของ รูปธรรมและนามธรรม อนึ่ง คำนี้เมื่อเกี่ยวกับจินตามยปัญญา หมายถึง การพิจารณาให้เข้าใจถึง ลักษณะพิเศษบองของรูปนาม และการรับรู้ในลักษณะนี้มีอารมณ์เป็นสมมุติบัญญัติ แต่ปัญญา ระดับภาวนามยปัญญาไม่ใช่พิจารณาอย่างนั้น แต่เป็นการหยั่งเห็นลักษณะพิเศษของรูปนามอย่างชัดเจน โดยไม่มีสมมุติบัญญัติใดๆ เพราะวิปัสสนาญาณต้องมีอารมณ์เป็นสภาวธรรมเท่านั้น
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ม.ค. 2022, 05:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ปัญญา ๓ ประเภท |
โค้ด: ยสฺส อิมา เทฺว ปญฺญา อตฺถิ สุตมยี จินฺตามยี จ. อยํ อุคฺฆฏิตญฺญู. ยสฺส สุตมยี ปญฺญา อตฺถิ. จินฺตามยี นตฺถิ. อยํ วิปญฺจิตญฺญู. ยสฺส เนว สุตมยี ปญฺญา อตฺถิ น จินฺตามย๊. อยํ เนยโย. ปัญญาทั้ง ๒ เหล่านั้น คือ สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา มีแก่บุคคลใด บุคคลนี้ชื่อว่า อุคฆฏิตัญญู (เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศ) สุตมยปัญญามีอยู่ แต่จินตามยปัญญาไม่มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า วิปจิตัญญู (เพราะรู้แจ้งด้วยอุเทศและนิทเทศ) ทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา ไม่มีแก่บุคคลใด บุคคนี้ชื่อว่า เนยยะ (เพราะเป็นผู้ควรแนะนำด้วยเทศนาอันพิสดาร) (อุคฆฏิตัญญูเป็นผู้ที่มีปัญญาแก่กล้า เพราะได้ศึกษาเล่าเรียนและใครครวญธรรมมาแล้ว ในชาติก่อน จึงบรรลุธรรมได้เร็วด้วยการฟังอุเทศ ส่วนวิปจิตัญญูเป็นผู้มีปัญญาไม่แก่กล้ามากนัก เพราะได้สั่งสม สุตมยปัญญาเท่านั้น จึงบรรลุธรรมได้ด้วยการฟังอุเทศและนิเทศ ส่วนเนยยะเป็นผู้ที่มิได้สั่งสมปัญญา ทั้งสองประการนั้น จึงมีปัญญาน้อย บรรลุได้ด้วยเทสนาอันพิศดาร) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |