วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 18:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2021, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กิจจฆนะ


รูปธรรมและนามธรรมยังเป็นสิ่งแตกต่างกันโดยกิจ แต่ถึงกระนั้นถ้าเป็นนักปฏิบัติ ผู้ที่ยังไม่ได้เจริญวิปัสสนา ย่อมเกิดความสำคัญผิดคิดว่า นามรูปเป็นสิ่งเดียวกัน เป็นวัตถุเดียวกัน เช่น ในขณะที่เห็นรูปนั้น สภาวธรรม ต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ ดังนี้

จักขุปสาทรูปเป็นเหตุให้มองเห็น ส่วนจักขุวิญญาณเป็นผู้เห็น และรูปารมณ์ หรือที่เรียกว่า วัณณรูป(รูปคือสีสันวรรณะมี สีเขียว สีแดง เป็นต้น) เป็นภาพที่ปรากฏให้เห็น และถึงแม้ว่าสภาวธรรมดังกล่าวจะแตกต่างกันโดยหน้าที่ก็ตามแต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เจริญวิปัสสนาย่อมสำคัญว่าทั้งจักขึปสาทรูป จักขุวิญญาณและรูปารมณ์ ซึ่งเป็นไปในตัวบุคคลคนเดียวนั้นล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน และแม้ในกรณีของเสียงเป็นต้นก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้

เกี่ยวกับหน้าที่บองนามธรรมนั้น จักขุวิญญาณทำหน้าที่เห็น โสตวิญญาณ ทำหน้าที่ได้ยินหรือฟัง ฆานวิญญาณทำหน้าที่ดมกลิ่น ชิวหาวิญญาณทำหน้าที่ลิ้มรส กายวิญญาณทำหน้าที่กระทบสัมผัส มโนวิญญาณทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ทางใจ ดังนั้น ธรรมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างกันโดยกิจหน้าที่ แต่เพราะบุคคลไม่ได้เจริญวิปัสสนา จึงทำให้มองเห็นเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะสำคัญว่าสิ่งที่เห็น ได้ยิน หรือดมกลิ่น เป็นต้นนั้นล้วนเป็นเรา

ในกรณีของเวทนา เราเห็นว่าเวทนาทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่ของตน เช่นสุขเวทนาก็ทำให้จิตร่าเริง ทุกขเวทนาก็ทำให้จิตเศร้าหมอง อุเบกขาเวทนาก็ทำให้จิตสงบ คือให้อยํระดับปกติ เวทนาที่กล่าวมานี้แม้จะแตกต่างกันโดยกิจก็ตาม แต่ถ้าบุคคลไม่เคยเจริญวิปัสสนามาก่อนย่อมมีความสำคัญผิดธรรมตัวเดียวกัน เป็นให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า ผู้เป็นสุข เป็นทุกข์ เฉยๆ ก็คือตัวเรา โดยทำนองเดียวกันนี้ อาการไหวกาย เช่น การคู้เเขน เหยียดขา เป็นต้น จิตอยากจะคู้เข้า ย่อมยังการเคลื่อนไหวกายให้สำเร็จในลักษณะอาการคู้ ส่วนรูปกายที่คู้ก็ย่อมเคลื่อนไหวไปตามที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้ ธรรมทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันโดยกิจ แต่ถึงกระนั้นบุคคลผู้ไม่ได้เจริญวิปัสสนา ย่อมไม่อาจที่จะแยกแยะเช่นนี้ได้คงได้แต่สำคัญผิดคิดว่าจิตกับรูปกายเป็นสิ่งเดียวกันทำกิจเดียวกัน ในที่สุดก็เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวข้าเป็นผู้อยากกระทำ เป็นผู้กระทำ ผู้อยากกระทำ หรือผู้กระทำก็คือตัวข้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2021, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปแล้ว สิ่งที่สำคัญผิดคิดว่าเป็นสิ่งเดียวกันทั้งๆ ที่ตามความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันโดยหน้าที่นั้นท่านเรียกว่า กิจจฆนบัญญัติ ส่วนสาเหตุที่ทำให้มีความสำคัญเช่นนี้ ก็เป็นเพราะไม่ได้กำหนดนามรูปด้วยวิปัสสนานั่นเอง และกิจจฆนบัญญัตินี้เองที่เป็นตัวปกปิดมิให้อนัตตาลักษณะปรากฏแก่บุคคลธรรมดา แต่ถ้านักปฏิบัติใดสามารถกำหนดแยกแยะนามรูปด้วยวิปัสสนาได้ละก็ นามรูปก็จะปรากฏแก่ผู้นั้นในลักษณะที่ไม่ปะปนกัน คือผู้นั้นสามารถที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนคือนาม สิ่งไหนคือรูป ซึ่งเป็นเหตุให้กิจจฆนบัญญัติสลายตัว เมื่อไม่มีกิจจฆนบัญญัติ ปัญญาย่อมเกิด คือความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า สภาวธรรมที่ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่สามารถจะทำหน้าที่อย่างอื่นได้ และเมื่อเกิดความเข้าใจเช่นนี้แล้ว ย่อมทำให้เห็นอนัตตลักษณะตามความเป็นจริงได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 83 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร