ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
นิโรธสัจ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=61131 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 08 ต.ค. 2021, 13:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | นิโรธสัจ |
นิโรธสัจ เมื่อโยคีสามารถเห็นพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สงบจากกิเลสด้วยมรรคได้แล้ว ย่อมสามารถที่จะตัดสินได้ตามความเป็นจริงว่า รูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลานั้นล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ เมื่อเห็นเช่นนั้น ตัณหากล่าวคือความอยาก ความปรารถนาในรูปนามขันธ์ ๕ เหล่านั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในจิตสันดานของโยคีนั้นอีกต่อไป เมื่อตัณหากล่าวคือ ความอยาก ความปรารถนาหมดไปแล้วรูปนามขันธ์ ๕ ที่เป็นภพใหม่ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกต่อไป การไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปของรูปนามขันธ์ ๕ อันว่าในภพใหม่นั้น ได้ชื่อว่าเป็นการดับสนิทแห่งทุกข์ทั้งมวลซึ่งเรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพาน นั่นเอง ซึ่งในที่นี้ คำว่า"การดับสนิท" คือการไม่เกิดอีกแห่งขันธ์ทั้งหลายที่สามารถเกิดขึ้นได้นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์อัฏฐกกถาทั้งหลาย พระอัฏฐกถาจารย์จึงไม่ขนานนามการดับสนิทนี้ว่าอนุปฺปาทนิโรธหมายถึง การดับสนิทที่ไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไป ก็ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์ของมรรคญาณซึ่งเป็นที่ดับสนิทแห่งรูปนามขันธ์ ๕ อันได้ชื่อว่า ทุกขสัจ พร้อมทั้งตัณหาอันได้ชื่อว่าสมุทยสัจนั้นท่านเรียกว่านิโรธสัจ สมดังกับที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ ดังนี้ เป็นต้น |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 09 ต.ค. 2021, 17:53 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ | ||
สระน้ำกลางทะเลทราย ในทะเลทรายที่แสงแดดแผดกล้าอยู่เสมอ มีสระน้ำแห่งหนึ่งเต็มไปด้วยน้ำใสเย็นสนิทบานสะพรั่งด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ สระน้ำนั้นย่อมเป็นที่พึ่งพิงของคนเดินทาง ฉันใดธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เหมือนสระน้ำฉันนั้น ท่ามกลางแสงแดดแห่งความโลภ โกรธ หลงเศร้าโศก คร่ำครวญ ฯลฯ ที่บีบคั้นชาวโลกอยู่ตลอดเวลา มีเพียงธรรมะที่เปรียบดั่งสระน้ำเป็นที่พึ่งให้ชาวโลกได้...ถ้าคนเดินทางไม่สนใจสระน้ำแล้วเดินผ่านไป โดยไม่เห็นคุณค่า ถือว่าเป็นความโฉดเขลาของเขาเอง ไม่ใช่ความผิดของสระน้ำที่ไม่ให้คุณประโยชน์แก่เขาดังนั้น เราจึงควรพึ่งธรรมะของพระพุทธเจ้าเพื่อให้ได้รับความสุขกายสุขใจอยู่ในท่ามกลางแสงแดดแห่งกิเลสและทุกข์ภัยทั้งปวง
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2021, 07:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ |
มัคคสัจ มรรค ๘ หรือที่นิยมเรียกกันว่ามรรค ๘ อันประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์นั้น ท่านเรียกว่ามัคคสัจ สรุปอริยสัจ ๔ สำหรับผู้ที่มีสุตะน้อย รูปนามทั้งหลายที่เกิดขึ้นในขันธสันดานของปุถุชนทั้งหลาย ล้วนเป็นทุกขสัจ และสมุทยสัจทั้งสิ้น ซึ่งในบรรดาทุกขสัจและสมุทยสัจทั้ง ๒ นั้น ความปราถนา ความต้องการ ความเพลิดเพลินยินดี ล้วนได้ชื่อว่า สมุทบสัจ ทั้งสิ้น ส่วนรูปนามที่เหลือทั้งหมดได้ชื่อว่า ทุกขสัจ สภาวที่ดับสนิทแห่งอารมณ์ที่ถูกกำหนดและจิต ที่เป็นตัวถูกกำหนดรู้นั้น รียกว่า นิโรธสัจ ส่วนธรรมทั้งหลายที่ทำหน้าที่เข้าถึงและรู้ประจักษ์แจ้งสภาวธรรมที่ดับสนิทนั้น เรียกว่า มัคคสัจ การใช้สติกำหนดรู้อริยสัจ ๔ ในบรรดาอริยสัจ ๔ นั้น พึ ทราบว่า ทุกขสัจและสมุทยสัจ ๒ อย่างนี้ท่านเรียกว่า วัฏฏสัจ หมายถึง สัจจะในวัฏฏะ เป็นวัฏฏที่โยคีที่สามารถนำมากำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนา ส่วนวิวิฏฏสัจกล่าวคือนิโรธสัจและมัคคสัจทั้ง ๒ เป็นอริยสัจที่พึงน้อมจิตให้รู้โดยสุตะว่า เป็นสภาวะที่ประเสริฐ สภาวะที่ยอดเยี่ยม เท่านั้น กิจว่าด้วยการกำหนดสติพิจารณาอริยสัจทั้ง ๒ ที่เป็นฝ่ายวิวัฏฏะนั้น จึงสำเร็จเพียงน้อมจิตเข้าไปรู้ ก็การใช้สติกำหนดรู้อริยสัจ ๔ นี้ เรียกว่าจตุสัจกัมมัฏฐานในคัมภีร์อัฏฐกถาทั้งหลาย ท่านได้แสดงจตุสัจกัมมัฏฐาน ดังกล่าวไว้ว่า โค้ด: ตตฺถ ปุริมานิ เทฺว สจฺจานิ วฏฺฏํ , ปจฺฉิมานิ วิฏฺฏํ , เตสุ ภิกฺขุโน วฏฺเฏ เตสุ ภิกฺขุโน วฏฺเฏ กมฺมฏฺฐานาภินิเวโส โหติ, วิวฏฺเฏ นตฺถิ อภินิเวโส, ปุริมานิ หิ เทฺว สจฺจานิ ปญฺจกฺขนฺธา ทุกฺขํ, ตณฺหาสมุทโยติ เวํ สงฺเขเปน จ กตเม ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธติอาทินา นเยน วิตฺถาเรน จ าจริยสฺส สนฺติเก อุคฺคณฺทิตฺวา วาจาย ปุนปฺปุนํ ปริวตฺเตนฺโต โยคาวจโร กมฺมํ กโรติ. อิตเรสึ ปน ทงิสุ สจฺเจสุ "นิโรธสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ มคฺคสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปนฺ"ติ เอวํ สวเนเนว กมฺมํ กโรติ . โส เอวํ กโรนฺโต จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฺปฏิเวเธเนว ปฏิวิชฺฌติ. เอกาภิสมเยน อภิสเมติ ทุกฺขํ ปริญฺญายปฏิเวเธน ปฏิวิชฺฌติ. สมุทยํ ปหานปฺปฏิเวเธน ปฏิวิชฺฌติ. นิโรธํ สจฺฉิกิริยาปฏิเวเธน ปฏิวิชฺฌติ มคฺคํ ภาวนาปฏิเวเธน ปฏิวิชฺฌติ. ทุกฺขํ ปริญฺญาภิสมเยน อภิสเมติ. สมุทยํ ปทานาภิสมเยน. นิโรธํ สจฺฉิกิริยาภิสมเยน. มคฺคํ ภาวนาภิสมเยน อภิสเมติ เอวมสฺส ปุพพภาเค ทฺวีสุ สจฺเจสุ อุคฺคทปริปุจฺฉาสวนธารณสมฺมสนปฏิเวโธ โหติ. ทฺวิสุ ปน สวนปฺปฏิเวโธเยว อปรภาเต จิสึ กิจฺจโต ปฏิเวโธ โหติ. นิโรเธ อารมฺมณปฺปฏิเวโธ. (ที.อฏฺ.๒/๓๙๑) |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 10 ต.ค. 2021, 11:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ |
ในบรรดาสัจจะ ๔ ประการเหล่านั้นพึงทราบว่า สัจจั ๒ ประการ เรียกว่า วัฏฏสัจจะ หมายถึง สัจจะที่เกี่ยวข้องกับวัฏฏทุกข์ ส่วนสัจจะ ๒ ประการหลัง เรียกว่า วิวัฏฏสัจจะ หมายถึง สัจจะที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัฏฏทุกข์ ในบรรดาวัฏฏสัจจัและวิฏฏสัจจะทั้ง ๒ นั้น การเพ่งพิจารณาเจริญกัมมัฏฐานของภิกษุ ย่อมมีได้เฉพาะในวัฏฏสัจจัเท่านั้นส่วนในวิวัฏฏสัจจะไม่มีการนำมาพิจารณาเป็นกัมมัฏฐาน หมายความว่า เมื่อโยคาวจรหรือโยตีได้กระทำการศึกษาจากสำนักของอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องทุกข์เหล่านี้ทั้งโดยย่อ เบ่น โดยนัยว่า ขันธ์ ๕ ทั้งหลายเป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย และโดยนัยพิสดารที่ว่า ขันธ์ ๕ ทั้งหลายเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ซึ่งเป็นกลั่มรูป เวทนาขันธ์ซึ่งเป็นกลุ่มเวทนาเป็นต้น แล้วทำการสวดสาธยายสัจจะเหล่านั้นด้วยวาจาอยู่เนืองไ ย่อมสามารถทำการเจริญพิจารณาวิปัสสนาได้ แต่สำหรับในสัจจะหลังซึ่งเป็นวิวัฏสัจจะนั้น พระโยคาวจรสามารถกระทำเป็นวิปัสสนาได้เพียงด้วยรับฟังหรือศึกษาโดยนัยเป็นต้นว่า นิโรธสัจนี้เป็นสภาวธรรมที่พึงปรารถนา เป็นสภาวธรรมที่ดี นำมาซึ่งความพอใจเป็นสภาวธรรมที่ยังใจให้ยินดี มัคคสัจนี้เป็นสภาวธรรมที่พึงปรารถนาน่าพอใจ ทำให้ใจมีความปลาบปลื้มยินดี เป็นสภาวธรรมที่ทำให้ใจมีความปลาบปลื้มยินดี เป็นสภาวธรรมที่ประเสริฐ ดังนี้ ก็โยตีนั้นเมื่อได้กระทำกิจโดยนัยเป็นต้น ดังที่กล่าวมาแง้ว ชื่อว่า ย่อมแทงตลอดซึ่งสัจจะทั้ง ๔ ในมรรคขณะเดียวกันนั่นเอง ชื่อว่า ย่อมรู้อย่างประจักษ์แจ้งในขณะแห่งมรรคเดียวแม้ด้วยการตรัสรู้เพียวครั้งเดียวนั่นเอง พระโยคาวจรนั้น ได้ชื่อว่าแทงตลอเทุกขสัจจะด้วยวิธีการแทงตลอดโดยการกำหนดรู้หรือเรียกว่า ปริญญา ชื่อว่าแทงตลอดสมุทยสัจด้วยการแทงตลอดกล่าวคือการละด้วยการปหาน และชื่อว่าแทงตลอดนิโรธสัจด้วย การแทงตลอดกล่าวคือ สัจฉิกิริยา ความประจักษ์แจ้งแทงตลอด กล่าวคือภาวนาหรือการทำหรือการเจริญให้สภาวะเกิดขึ้น |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 11 ต.ค. 2021, 05:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | นิโรธสัจ |
พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่าย่อมรู้ทุกขสัจอย่างประจักษ์แจ้งด้วยการกำหนดรู้ซึ่งเรียกว่าปริญญาภิสมัยชื่อว่าย่อมรู้สมุทยสัจด้วยการปนะทานซึ่งเรียกว่าปทานภิสมัย ชื่อว่าย่อมรู้นิโรธสัจด้วยกระทำให้แจ่มแจ้งโดยความเป็นอารมณ์ซึ่งเรียกว่าสัจฉิกริยาภิสมัย ชื่อว่าย่อมรู้มัคคสัจด้วยการทำให้มรรคทำอื่นเจริญซึ่งเรียกว่าภาวนาภิสมัย ตามนัยที่กล่าวมานี้ พึงทราบว่า พระโยคาวจรผู้นั้นย่อมสำเร็จกิจการรู้กล่าวคือ อุคคหะการเรียนปริปุจฉาการสอบถามสวนะการฟังธารณะการทรงจำสัมมสนะการพิจารณาหรือการกำหนดเป็นวิปีสสนาได้ เฉพาะในสัจจะ ๒ ที่เป็นฝ่ายโลกียะอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนที่จะเข้าถึงมรรคผลเท่านั้น [คำว่าอุคคหะ ปริปุจฉา สวนะ ธารณะฟโดยองค์ธรรมก็เป็นเพียงการรู้แบบปริยัติเท่านั้นยังไม่ใช่การปฏิบัติวิปัสสนา ส่วนการรู้เเบบสัมมสนะ ได้ชื่อว่าเป็นการรู้แบบวิปัสสนาสำหรับในที่นี้ วิปัสสนาทุกอย่างเรียกว่า สัมมสนปฏิเวธะไม่ได้หมายเอาเฉพาะสัมมสนญาณอย่างเดียว แต่สำหรับในสัจจะ ๒ อย่างกล่าวคือนิโรธสัจและมัคคสัจ จะมีได้เฉพาะสวนปฏิเวธ คือการรู้แจ้งแทงตลอดเพียงสักว่าด้วยการฟังเท่านั้น จะอย่างไรก็ตาม เมื่อมรรคเกิดขึ้นแล้ว การปฏิเวธหรือการตรัสรู้ย่อมเกิดขึ้นได้แม้แต่มรรคทั้ง ๓ กล่าวคือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ และมรรคสัจ ส่วนในนิโรธสัจ เป็นรู้โดยอารมณ์ ซึ่งเรียกว่า อารัมมณปฏิเวธ ส่วนสภาวธรรมที่รู้นิโรธสัจนั้น หมายถึง มัคคสัจซึ่งรู้หรือรับอารมณ์เอาเฉพาะนิโรธสัจเท่านั้น แต่สำหรับในสัจจะทั้ง ๓ ที่เหลือ เนื่องจาดเป็นการรู้ที่สำเร็จมาจากการทำปริญญากล่าวตืการกำหนดรู้ ทำการปหานกิจดังกล่าวคือการละและทำภาวนากิจกล่าวคือการทำให้มรรคอื่นเจริญ จึงกล่าวได้ว่าเป็นการรู้ในที่นี้ หมายความว่า มรรคทั้ง ๓ นั้นไม่สามารถนำมาเป็นอารมณ์และรู้ได้เหมือนกับนิโรธสัจ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 11 ต.ค. 2021, 19:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ |
สาเหตุที่ไม่นำเอานิโรธสัจและมรคสัจมาพิจารณาเป็นวิปัสสนานั้นเป็นเพราะสาเหตุ ๒ อย่างคือ (๑) เนื่องจากปุถุชนนั้นไม่สามารถที่จะรับเอาสภาวธรรมที่เป็นโลกุตตระจริงๆมาเป็นอารมณ์ได้ (๒) เป็นเพราะพระอริยะทั้งหลายแม้จะสามารถนำเอาโลกุตตรธรรมนั้นมาเป็นอารมณ์ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะนำเอาโลกุตตรธรรมมาพิจารณาเพื่อการตัดกิเลส เพียงเพื่อน้อมจิตไปในโลกุตตรสัจจะเหล่านั้นเท่านั้น ตามที่พระอัฏฐกถาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า อิฏฺฐํ กนฺตํ กิจอื่นๆที่พึงกระทำในมรรคสัจจและนิโรธสัจนั้น ย่อมสำเร็จด้วยการน้อมจิตไปในเบื้องต้นก่อนจะถึงมรรคว่า นิพพานและมรรคเป็นสภาวะที่ประเสริฐยอดเยี่ยม เราจะต้องพยายามเพื่อให้เข้าถึงและให้รู้พระนิพพานและมรรคเหล่านั้นให้ได้ เหมือนกับการน้อมจิตที่ว่าอทฺธา อิมาย ปฏิปทาย ชรามรณมฺหา ปริมุจฺจิสฺสามิ.ด้วยหลักปฏิปทาข้อปฏิบัติอันนี้เราจะต้องหลุดพ้นจากชราและมรณะอย่างแน่นอน ซึ่งในการน้อมจิตนั้น มิใช่เป็นกานปรารถนาด้วยความอยากแบบตัณหา มิใช่เป็นการเอาใจใส่ไปตลอดเวลา ซึ่งถ้ากำลังอยู่ในช่วงของการปฏิบัตินั้น หากการกระทำเช่นนั้นก็จะกลายเป็นตัณหาและทิฏฐิซึ่งจะเป็นตัวทำลายวิปัสสนา ซึ่งลักษณะการทำให้วิปัสสนาตกไปหรือทำลายวิปัสสนานั้นได้แสดงไว้แล้วในปริเฉทที่ ๒ ตอนว่าด้วยเรื่องปฐมนิยยานาวรณะ ดังที่ในคัมภีร์ฎีกาทั้งหลายท่านแสดงไว้ว่า โค้ด: วฏฺเฏ กมฺมฏฺฐานาภินิเวโส, สรูปโต ปริคฺคหสพฺภาวโต. วิวฏฺเฏ นตฺถิ อวิสยตฺตา, วิสยตฺเตปิ ปโยชนาภาวโต ฯลฯ (ที.ฎี. ๒/๓๔๓)
อิฏฺฐ กนฺตนฺติ นิโรธมคฺเคสุ นินฺนภาวํ ทสฺเสติ, น อภินนฺทนํ ตนฺนินฺนภาโวเยว จ ตตฺถ กมฺมกรณํ ทฏฺฐพฺพํ. |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 12 ต.ค. 2021, 04:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ |
เรื่องปฐมนิยยานาวรณะ ที่ถูกอ้างถึง โค้ด: เนกฺขมฺมํ นิยฺยยานํ เตน จ เนกฺขมฺเมน อริยา นิยฺยนฺติ กามจฺฉนฺโท นิยฺยาสาวรณํ. เตน จ กามจฺฉนฺเทน นิวุตตฺจา เนกฺขมฺมํ อริยานํ นิยฺยานํ นปฺปชานาตีติ กามจฺฉนฺโท นิยฺยานาวรณํ. เนกขัมมะ คือวิปัสสนากุศล ซี่อว่าเป็นทางหลุดพ้นของพระอริยะเจ้าทั้งหลายสำหรับสาเหตุที่วิปัสสนากุศลได้ชื่อว่านิยยานะนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือให้พระอริยะเจ้าทั้งหลายออกจากวัฏฏะทุกข์กามฉันทะความยินดีพอใจชื่อว่านิยยานาวรณะ เครื่องปิดกั้นนิยยานธรรม สาเหตุที่ได้ชื่อว่านิยยานาวรณะนั้น เนื่องจากกามฉันทะความพึงพอใจนี้เป็นเครื่องปกปิดกั้นไม่ให้กุศลเกิด เป็นเหตุให้บุคคลย่อมไม่รู้ซึ่งนิยยานธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลายอันเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏะทุกข์เพราะเหตุนั้น กามฉันทันั้นจึงได้ชื่อว่านิยยานาวรณ "ธรรมเครื่องปิดกั้น ทางออกจากวัฏฏะทุกข์" |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 18 พ.ย. 2021, 06:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิโรธสัจ |
เพราะการที่สามารถรวบรวมกล่าวคือกำหนดได้โดยแจก สรูปะ[สภาวะตัวตน]จึงทำให้การพิจารณาสัจจะที่เป็นวัฏฏสัจจะทั้ง ๒ เป็นกัมมัฏฐานได้ ส่วนในวิวัฏฏสัจจะทั้ง ๒ ไม่สามารถนำมาพิจารณาเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ เพราะปุถุชนไม่สามารถที่จะนำเอาโลกุตตรสัจจะดังกล่าวมาเป็นอารมณ์ได้ และเพราะพระอริยะทั้งหลาย แม้จะสามารถรับเอาโลกุตตรสัจนั้นมาเป็นอารมณ์ได้ แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดที่จะนำมาพิจารณาเป็นวิปัสสนา ฯลฯ พระพุทธองค์ทรงแสดงโดยความเป็นการน้อมจิตไปในนิโรธสัจและมัคสัจทั้งหลายเหล่านั้นโดยเป็นต้นว่า สภาวะนี้เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสิ่งยอดเยี่ยม ดังนี้เป็นต้น แต่ก็ไม่ได้มุ่งหวังที่จะเเสดงให้โยคีมีความยึดมั่นยินดีด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิในสภาวะอย่สงนั้นแต่อย่างใด เพราฉะนั้น พึงทราบ การน้อมจิตไปสู่นิพพานและมรรคเหล่านั้นนั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นการกระทำกิจในนิโรธสัจและมัคคสัจอย่างสมบูรณ์ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |