ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

อารัมมณานุสัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60710
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ส.ค. 2021, 11:56 ]
หัวข้อกระทู้:  อารัมมณานุสัย

https://ia600608.us.archive.org/8/items/book_03/22.mp3

อารัมมณานุสัย
อนุสัย คือกิเลสที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัย ก็กิเลสประเภทนี้มิใช่
เป็นอดีต คือกิเลสที่มิไช่กิเลสที่ล่วงเลยผ่านไปแล้ว มิใช่เป็นอนาคต คือมิใช่กิเลสที่จะต้อง
เกิดโดยแน่นอน และมิใช่ปัจจุบัน คือมิใช่กิเลสที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นกิเลส ที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ เรียกว่ากาลวิมุต มี ๒ ประเภท คือ
๑. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน
๒. ประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์

บรรดาทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า กิเลสอาจเกิดขึ้นในจิตสันดานของปุถุชน
และเสขบุคคลเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อม เพราะเป็นกิเลสยังละไม่ได้
เด็ดขาดด้วยอริยมรรค ท่านเรียกกิเลสชนิดนี้ว่า สันตานุสัย เป็นกิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ภายในสันดาน จะแสดงตัวก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัยกระตุ้น ส่วนประเภทที่สอง
ตือประเภทที่นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ได้แก่ กิเลสที่อาจเกิดขึ้นในอารมณ์ของ
ปุถุชนและพระเสขบุคคลอันเป็นอารมณ์ที่ถือเอาโดยผิดเพี้ยนแตกต่างจากไตรลักษณ์
โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพร้อเพรียงโดยจะเกิดขึ้นในลักษณะ
ที่พิจารณาเป็นของเที่ยง เป็นของมีสุข เป็นของมีตัวตน กิเลสที่ว่านี้ท่านเรียกว่า
อารัมมณานุสัย เป็นกิเลสที่หลบซ่อนอยู่ในอารมณ์ซึ่งมีจิตทิได้กำหนดด้วยวิปัสสนา
และบางทีก็เรียกกิเลสชนิดนี้ว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันนกิเลส หมายถึง กิเลส
ที่เกิดขึ้นโดยยึดมั่นในอารมณ์

อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนานั้นจะละได้เฉพาะอารัมมณานุสัยกิเลสเท่านั้น
ดังมีสาธกหลักฐานจากพระบาลีว่า
โค้ด:
สตฺตานุสยา กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฺฐานุสโย
วิจิกิจฺฉานุสโย. ภวราคานุสโย. อวิชฺชานุสโย. ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอต์ถ
สตฺตานํ ราคานุสโย อนุเสติ. ยํ โลเก อปฺปิยรูปํ. อสาตรูปํ.เอตํถ สตฺตานํ
ปฏิฆานุสโย อนุเสติ อิติ อิเมสุ ธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา. ตเทกฏฺโฐ มาโน จ
ทิฏฺฐิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา
(อภิ.วิ. ๓๕/๘๑๖/๔๑๕)

อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา
ว่าด้วยอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1327

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 27 ส.ค. 2021, 18:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

อนุสัยกิเลสมี ๗ คือ กามราคานุสัย ความยินดีในกามรมณ์ ปฏิฆานุสัย ความขัด
เคืองอารมณ์ มานานุสัย ความเย่อหยี่งถือตน ทิฎฐานุสัย ความเห็นผิด
วิจิกิจฉานุสัย ความลังเลสงสัย ภวราคานุสัย ความยินดีในภพ อวิชชานุสัย
ความหลงงมงาย ปิยรูป กล่าวคืสภาวะอันน่ารักใคร่ สาตรูป กล่าวคือ สภาวะ
อันน่าเพลิดเพลินใดๆ มีอยู่ในสังขารโลก ราคานุสัย(หมายถึงทั้งกามราคานุสัย
และภวราคานุสัย)ของเหล่าสัตว์ย่อมนอนเนื่องอยู่ในปิยรูปสาตรูปเหล่านี้ อัแปิยรูป
กล่าวคือสภาวะอันน่ารังเกียจ อสาตรูป กล่าวคืสภาวะอันน่าเบื่อหน่ายใดๆ มีอยู่
ในสังขารโลก ปฏิฆานุสัย(อธ.ได้แก่โทสะ)ของเหล่าสัตว์ย่อมนอนเนื่องอยู่ใน
อัปปิยรูปสาตรูปเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ อวิชชานุสัยก็ตกไปซ่อนอยํในธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ รวมทั้งมานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉา ซึ่งเป็นกิเลสที่ประกอบในจิตดวงเดียวกัน
กับอวิชชานั้น ก็นอนเนื่องอยู่ด้วย

https://84000.org/tipitaka/read/m_siri. ... ri=34#p532

อนุสยยมก
[๑] อนุสัย ๗ คือ
๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ)
๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ)
๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ)
๔. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือทิฏฐิ)
๕. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือวิจิกิจฉา)
๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือภวราคะ)
๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคืออวิชชา)

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 28 ส.ค. 2021, 05:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

อธิบายว่า อารมณ์ที่ดีโดยธรรมชาติ ท่านเรียก สภาวอิฏฐารมณ์ คือเป็น
อารมณ์ที่น่ายินดี น่าพึงพอใจของคนปกติโดยทั่วๆไป เช่นรูปงาม เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม ดังนี้เป็นต้น แต่ก็มีบางอารมณ์ เช่น จำพวกที่เป็นสิ่งปฏิกูล อุจาระ
ซากศพ เป็นต้น ซึ่งเป็นอารมณ์ที่คนปกติทั่วไปไม่พึงใจปรารถนา แต่สำหรับ
สัตว์บางชนิด เช่น สุนัข สุกร หรือนกแร้ง เป็นต้น ย่อมพึงพอใจในอารมณ์
เหล่านั้นด้วยอำนาจแห่งจินตนาการของตน อารมณ์ชนิดนี้ท่านเรียกว่า ปริกัปป-
อิฏฐารมณ์ คืออารมณ์นี้โดยปกติแล้ว เป็นที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป แต่สำหรับ
บางคน เห็นว่าเป็นของดี น่าพึงพอใจ นั่นเป็นเพราะอาศัยเพียงความนึกคิดของตน

อนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสภาวอิฏฐารมณ์ หรือปริกัปปอิฏฐารมณ์ก็ล้วนแล้วแต่
จัดเป็น ปิยรูปสาตรูป ทั้งนั้น และอิฏฐารมณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นธรรมฝ่ายโลกียะ
นั่นแหละยังมีกามราคานุสัยและภวราคานุสัยนอนเนื่องอยู่

ในทำนองเดียวกันนี้ แม้ฝ่ายอนิฏฐารมณ์ก็แบ่งเป็น ๒ เช่นกัน คือ สภาว-
อนิฏฐารมณ์ และ ปริกัปปอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจโดยธรรมชาติ
เรียกว่า สภาวอนิฏฐารมณ์ ส่วนปริกัปปอนิฏฐารมณ์หมายถึงอารมณ์ที่โดยปกติ
แล้วเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจ แต่เป็นเพราะบุคคลบางคนไม่ต้องการหรือไม่ถูกจริต
กับอารมณ์นั้น อารมณ์นั้นก็เลยกลายเป็นอนิฏฐารมณ์สำหรับผู้นั้นไป เช่นในกรณี
ของพระรัตนตรัยโดยปกติ แล้วพระรัตนตรัยเป็น อติอิฏฐารมณ์ โดยธรรมชาติ
เพราะเป็นที่ดีไม่มีโทษหรือข้อเสียใดๆ แต่สำหรับพวกเดียรถีย์นอกศาสนาแล้ว
ส่วนมากจะมองเป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ เพราะฉะนั้น แม้แต่พระรัตนตรัย ก็สามารถ
เป็นปริกัปปอนิฏฐารมณ์ได้เช่นกัน อนิฏฐารมณ์ทั้งสองนี้ ท่านจัดเป็น อัปปิยรูป
อสาตรูป เป็นธรรมฝ่ายโลกียะ โดยมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 30 ส.ค. 2021, 09:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

การนอนเนื่องของอนุสัยกิเลสนี้มีอยู่ ๒ ประการ

๑. การนอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูป,นาม ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สันตานานุสัยกิเลส
๒. การนอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ที่เป็น ปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อสาตรูป ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส

ใน ๒ ประการนี้ มรรคทั้ง ๔ ทำการประหาณสันตานานุสัยกิเลส วิปัสสนาญาณที่มีรูป, นามเป็นอารมณ์ทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลส ฉะนั้น อนุสัยกิเลสที่อนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ประหาณไปนั้น เป็นอารัมมณานุสัยกิเลส ส่วน สันตานานุสัยกิเลส นั้น เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ตราบใด แม้ว่าผู้นั้นจะได้เคยปฏิบัติวิปัสสนามาแล้วหลายครั้งหลายหน หรือกำลังปฏิบัติอยู่ก็ตาม หรือผู้ที่เป็นฌานลาภี อภิญญาลาภี ทั้งมีฤทธิ์เดชต่าง ๆ นานาก็ตาม หรือจะได้ไปบังเกิดเป็นพรหมติดต่อกันหลายภพหลายชาติก็ตาม สันตานานุสัยกิเลสก็ยังคงมีอยู่เต็มที่เป็นปกติ โดยอาการที่ยังไม่ได้ถูกประหาณไปเลยแม้แต่น้อย

สำหรับ อารัมมณานุสัยกิเลส นั้น เมื่อวิปัสสนาญาณของโยคีได้เข้าถึงขึ้นภังคญาณอารัมมณานุสัยกิเลสก็ถูกประหาณลงทันทีตั้งแต่ญาณนี้เรื่อย ๆ ไป

ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในวิภังคบาลีว่า

โค้ด:
สตฺตานุสยา : กามราคานุสโย ปฏิฆานุสโย มานานุสโย ทิฏฺฐานุสโย วิจิกิจฺฉานุสโย ภวราคานุสโย อวิชฺชานุสโย. ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ราคานุสโยอนุเสติ, ยํ โลเก อปิยรูปํ อสาตรูปํ เอตฺถ สตฺตานํ ปฏิฆานุสโย อนุเสติ, อิติ อิเมสุ ทฺวีสุธมฺเมสุ อวิชฺชา อนุปติตา ตเทกฏฺโฐ มาโน จ ทิฏฺฐิ จ วิจิกิจฺฉา จ ทฏฺฐพฺพา.

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 30 ส.ค. 2021, 09:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

ขยายความในพระบาลีที่ทรงแสดงถึงอนุสัยกิเลส ๒ ชนิด

สันตานานุสัยกิเลส กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานโดยอาการที่ยังไม่ปรากฏเป็นสภาวะปรมัตถ์ คือยังไม่เข้าถึงขณะทั้ง ๓ (เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป) นั้น ได้ชื่อว่า สันตานานุสัยกิเลส


ผู้ที่ยังมิได้ทำการประหาณอนุสัยกิเลสโดยสมุจเฉทเลยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นปุถุชนและปุถุชนทั้งหลายแม้ว่าจะยังเป็นเด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ตาม เป็นเด็กเล็ก เป็นหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ แก่เฒ่าลงไปก็ตาม เป็นคฤหัสถ์,บรรพชิตก็ตาม ได้ฌาน,ได้อภิญญา,เหาะเหินเดินอากาศได้ก็ตาม แม้ที่สุดจะได้บังเกิดเป็นพรหมอยู่หลายภพชาติก็ตาม ปุถุชนเหล่านั้นก็ยังเป็นอยู่โดยมีอนุสัยกิเลสครบถ้วนด้วยกันทั้งสิ้น

แม้ว่าจะได้สำเร็จเป็น พระโสดาบัน พระสกทาคามี แล้วก็ตาม อนุสัยกิเลสอีก ๕ อย่างก็ยังเหลืออยู่ ยังหาได้ประหาณให้หมดไปไม่ คงประหาณได้แต่ทิฏฐิและวิจิกิจฉานุสัย ๒ อย่างนี้เท่านั้น ครั้นเป็น พระอนาคามี ภวราคะ มานะ อวิชชานุสัยทั้ง ๓ ก็ยังมีอยู่หาได้หมดไปเพียงเท่านี้ไม่ ฉะนั้น บุคคลทั้ง ๔ จำพวกนี้ จึงยังมีอนุสัยกิเลสอยู่อุปมาเหมือนกับคนไข้ที่ยังไม่หายไข้ มีผู้ถามว่า ท่านสบายดีหรือ แม้ว่าในขณะนั้นมิได้จับไข้แต่ก็ตอบว่า ยังเป็นไข้อยู่ โดยมาคำนึงถึงไข้ที่ได้จับมาแล้วและจะจับอีกในขณะต่อไป หรืออุปมาเหมือนกับผู้ที่ยังไม่ได้มีการเว้นขาดจากการรับประทานเนื้อ เมื่อถูกถามว่า ท่านรับประทานเนื้อหรือเปล่า ถึงแม้ว่าขณะนั้นจะไม่ได้รับประทานอยู่ก็จริง แต่ก็ตอบว่า ข้าพเจ้ารับประทานดังนี้ ก็เพราะว่ามาคำนำถึงเนื้อที่ได้เคยรับประทานมาและจะรับประทานอีกในวันข้างหน้า สมดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุสัยยมกพระบาลีว่า ยสฺส กามราคานุสโย อุปปชฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชตีติ กามราคานุสัยยังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ยังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม? อามนฺตา ใช่ การที่ทรงวิสัชนา ดังนี้ ก็เพราะทรงหมายถึงความที่ยังเป็นอนุสัยอยู่ โดยอาการที่เคยเกิดและจะเกิด ดังที่ได้ยกอุปมาเปรียบเทียบให้เห็นแล้วทั้ง ๒ ข้อนั้น

แต่ถ้าจะถามว่า ยสฺส กามราโค อุปฺปชฺชติ ตสฺส ปฏิโฆ อุปฺปชฺชตีติ กามราคะกำลังเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆะก็กำลังเกิดแก่บุคคลนั้น ใช่ไหม? วิสัชนาว่า นปฺปชฺชติ ไม่ใช่กำลังเกิด

อนึ่ง อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ ประการนี้ เมื่อปรากฏขึ้นโดยความเป็นสภาวะปรมัตถ์ คือเข้าถึงปริยุฏฐานแล้วนั้น เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี เกิดไม่พร้อมกันในจิตดวงเดียวกันก็มี แต่เมื่อยังเป็นอนุสัยอยู่นั้น ได้นอนเนื่องอยู่พร้อมกันทั้ง ๗ อย่างในดวงจิตดวงเดียวกันนั้นเอง เหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงในอนุสัยยมกบาลีว่า ยสฺส กามราคานุสโย อนุเสติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อนุเสตีติ กามราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลใดปฏิฆานุสัยก็นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของบุคคลนั้น ใช่ไหม? อามนุตา ใช่ ฉะนั้น การประหาณสันตานานุสัยกิเลสได้เด็ดขาดนั้นก็มีแต่มรรคญาณอย่างเดียว สำหรับวิปัสสนาญาณนั้นประหาณได้แต่เพียงวิกขัมภนะ โดยการข่มไว้เป็นเวลานาน ๆ คือหลายวัน หลายเดือน หลายปี หลายมหากัป


อารัมมณานุสัยกิเลส การเกิดขึ้นของกิเลสโดยไม่สิ้นสุด ในอารมณ์ที่ยังไม่ได้มีการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง โดยวิปัสสนาญาณ,มรรคญาณ กิเลสนี้ ชื่อว่า อารัมมณานุสัยกิเลส ดังนี้ พระพุทธองค์จึงประทานพระโอวาทแก่บรรดาภิกษุทั้งหลายว่า สุขายภิกฺขเว เวทนาย ราคานุสโย ปหาตพฺโพ, ทุกฺขาย เวทนาย ปฏิฆษนสโย ปหาตพฺโพ, อทุกฺขมสุขาย เวทนาย อวิชฺชานุสโย ปหาตพฺโพ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายควรละราคานุสัยในการเสวยสุข ควรละปฏิฆานุสัยในการเสวยทุกข์ ควรละอวิชชานุสัยในการเสวยไม่ทุกข์ไม่สุข พระโอวาสนี้ทรงมุ่งหมายถึงอารัมมณานุสัยกิเลส

ท่านอรรถกถาจารย์ยังได้กล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ สุตฺเต อารมฺมณานุสโย กถิโต ในพระสูตรที่มีว่า สุขาย ภิกฺขเว เวทนาย เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอารัมมณานุสัยกิเลส แต่ก็หาได้ทรงชี้แจงถึงข้อปฏิบัติที่จะทำการละอารัมมณานุสัยกิเลสนี้แต่ประการใดไม่เพียงแต่ทรงเตือนให้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น เพราะถ้าภิกษุทั้งหลายมิได้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ไม่มีทางอื่นใดที่จะทำการประหาณอารัมมณานุสัยกิเลสนี้ได้ ถ้าว่าได้ทำการปฏิบัติตามแนวธรรมสติปัฏฐาน ๔ นี้อยู่โดยเคร่งครัดแล้ว ก็จะกล่าวได้ว่ามีการละกิเลสในการเสวยอารมณ์นั้นนั่นเอง ดังที่ท่านฏีกาจารย์ได้แสดงไว้ในอานาปานัสสติกัมมัฏฐานแห่งวิสุทธิมัคคมหาฏีกาว่า

โค้ด:
อนิจฺจานุปสฺสนา ตาว ตทงฺคปฺปหานวเสน นิจฺจสญฺญํ ปริจฺจชติ ปริจฺจชนฺตึ จ ตถา อปฺปวตฺติยํ เย นิจฺจนฺติ คหณวเสน กิเลสา ตมฺมูลกา อภิสงฺขารา ตทฺภยมูลกา จ วิปากกฺขนฺธา อนาคเต อุปฺปชฺเชยฺยํ, เต สพฺเพปิ อปฺปวตฺติกรณวเสน ปริจฺจชติ, ตถา ทุกฺขสญฺญาทโย เตนาห วิปสฺสนา หิ ตทงฺควเสน สทฺธึ ขนฺธาภิสงฺขาเรหิ กิเลเส ปริจฺจชตีติ.


อนิจจานุปัสสนาที่แสดงในอันดับแรกนี้ ย่อมสละละทิ้งนิจจสัญญาโดยอำนาจแห่งตทังคปหาน เมื่ออนิจจานุปัสสนาได้สละละทิ้งนิจจสัญญาได้แล้ว ถ้าหากว่ามิได้มีการพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง โดยอาการดังที่กล่าวมานี้ กิเลสต่าง ๆ อาจเกิดได้ในภายหลังโดยอำนาจแห่งความยึดถือว่ารูป,นามนี้เที่ยง และอภิสังขารคืออกุศลโลกียกุศลกรรมที่มีกิเลสเป็นมูลก็ดี วิบากนามขันธ์อันเป็นตัวภพใหม่ มีกรรมและกิเลสทั้ง ๒ นี้เป็นมูลก็ดีอาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

อนิจจานุปัสสนาที่สละทิ้งนิจจสัญญาได้นั้น ย่อมสละละทิ้งกิเลส,กรรมวิบากแม้เหล่านี้ทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นได้พร้อมกันอีกด้วย ทุกขานุปัสสนา,อนัตตานุปัสสนาที่สละละทิ้งสุขสัญญา,อัตตสัญญาเป็นต้นได้นั้น ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นท่านมหาพุทธโฆษาจารย์จึงได้แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคอรรถกถาว่า วิปัสสนาญาณย่อมสละละกิเลสพร้อมด้วยวิบากขันธ์และอภิสังขารโดยอำนาจตทังคปหาน

(ที่มา: วิปัสสนาทีปนีฎีกา หน้า 33 -36)

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ส.ค. 2021, 19:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

อนุสัยยังไม่ถูกละโดยเด็ดขาดในสันดานใด หรืออีกอย่างหนึ่ง การอุบัติขึ้นแห่งอนุสัยเหล่านั้น
ในสันดานใเมิได้ถูกห้าม(ห้ามยังไม่ได้หรือยังละไม่ได้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนา)ในปัจจัยที่ขะทำให้
เกิดขึ้นมีอยู่ ในสันดานดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะมิใช่ช่วงขณะที่กิเลสกำลังเกิด แต่เรียกว่าเป็น
ยสฺส กามราคานุสโย อุปฺปลฺชติ ตสฺส ปฏิฆานุสโย อุปฺปชฺชติ = กามาราคานุสัยเกิดในบุคคลใน
สันดานของบุคคลใเ ปฏิฆานุสัยก็เกิดในบุคคลนั้นได้เหมือนกันเพราะอาศัยการเทียบเคียงกับ
กิเลสที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและที่จะเกิดขึ้นในโอกาสข้างหน้า

ข้อความอรรถกถาที่ยกมาข้างน้นนี้มีจุดประสงค์ให้รู้ว่าในสันดาน(ภายใน)ของบุคคลผู้ยัง
ไม่สามารถที่จะห้ามเพื่อมิให้กิเลสเกิดขึ้นในปัจจัยเอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น กิเลสก็สามารถที่จะแผลง
ฤทธิ์ขึ้นมาได้ เรียกตามบาลีว่า ถามคตะ(มีพลัง)กิเลส ๗ ประการที่เป็นถามคตะนี้แหละชื่อว่านอนเนื่อง
เป็นอนัสัยอยู่ภายใน

อนึ่งในคัมภีร์มูลฎีกาอธิบายว่า ข้อที่ว่า ถามคตะนี้มีความเกี่ยวข้องกับอนุสัย ๗ อย่างเท่านั้น
ไม่เกี่ยวกับกิเลสอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะเป็นกิเลสที่ยังไม่ได้ละโดยเด็ดขาดด้วยมรรค
แต่ถ้าไม่เป็นถามคตะก็ไม่เรียกว่าอนุสัย

อีกนัยหนึ่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านอธิบายไว้ว่า มิใช่เฉพาะกิเลสที่ยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด
ด้วยอริยมรรคเท่านั้นที่ชื่อว่าอนุสัย แม้แต่กิเลสที่ยังไม่ได้ข่มไว้ด้วยสมถะหรือวิปัสสนาก็ชื่อว่า
อนุสัยเช่นกัน

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 01 ก.ย. 2021, 05:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อารัมมณานุสัย

ตามพระบาลีและอรรถกถาที่ยกมานี้ พึงทราบว่า อนุสัยดังกล่าวไม่ว่าจะอยู่ภายในสันดานของปุถชน
หรือพระเสกขบุคคลก็ตาม ชื่อว่านอนเนื่องอยู่ตลอดเวลา คือว่าในกาลไหนๆ เช่น แม้แต่เกิดกุศลจิต
วิปากจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต หรือจุติจิต อนุสัยดังกล่าวก็นอนเนื่องอยู่เช่นเดิม หรือแม้ว่าภายใน
สันดานของอสัญญสัตตาบุคคลก็ยังนอนเนื่องอยู่ ส่วนเวลาอกุศลจิตเกิดขึ้นนั้นยิ่ง ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึง
(เพราะอนุสัยก็คือกิเลส กิเลสก็คืออกุศล ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องสงสัย เหมือนในกรณีของจิตอื่นๆ)
กิเลสทั้งหลายดังกล่าว ที่นอนเนื่องในสันดานภายในของปุถุชนและพระเสกขบุคคล ซึ่งอาจเป็น
ทั้ง ๗ อย่างเลย หรือ ๕ อย่าง หรือ ๓ อย่างก็แล้วแต่มีชื่อเรียดว่า สันตานานุสัย ส่วนธรรมที่จะสามารถ
ละอนุสัยเหล่านั้นชนิดถอนรากถอนโคนได้ ก็มีแต่มรรคเท่านั้น ส่วนธรรมอื่นๆ วิปัสสนาก็ละได้เพียง
ข่มไว้ชั่วคราวเท่านั้น(วิปัสสนาละได้ด้วยอำนาจวิกขัมภนะดูวิสุทธิมรรค)

ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าเรื่องอนุสัยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับอนิจจานุปัสสนาซึ่งเป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่ง
ที่กำลังกล่าวถึงในปริเฉทนี้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า อนิจจานุปัสสนาละนิจจสัญญาได้นั้น ถ้าจะสรุปความ
ตามนัยที่อธิบายมาแล้วจะเห็นว่า เป็นการละ อารัมมณานุสัย ปริยุฏฐานุสัยกิเลส และวีติกกมกิเลสที่นอนเนื่อง
มาจากอนุสัยนั้น พร้อมทั้งกรรมและวิบากได้ด้วยอำนาจตทังคปหาณ ดังนั้นพึงทราบว่า ข้อความของ
วิสุทธิมรรคที่ว่า อนิจฺจานุปสฺสนํ ภาเวนฺโต นิจฺจสญฺญํ ปชหติ. ผู้เจริญอนิจจานุปัสสนา ย่อมละนิจจสัญญาได้
นั้นท่านประสงค์เอ่การละด้วยตทังคปหาณดังกล่าว

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/