วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 08:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1591600299440-removebg-preview.png
FB_IMG_1591600299440-removebg-preview.png [ 117.94 KiB | เปิดดู 764 ครั้ง ]
ฐานะของความคิด ในระบบการดำเนินชีวิตที่ดี

คนเรานี้ จะมีความสุขอย่างแท้จริง ก็ต้องดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง คือจะต้องปฏิบัติ
ถูกต้องต่อชีวิตของตนเอง และต่อสภาพแวดล้อม ทั้งทางสังคม ทางธรรมชาติ
และทางวัตถุโดยทั่วไป รวมทั้งเทคโนโลยี คนที่รู้จักดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง ย่อม
มีชีวิตที่ดีงาม และมีความสุขที่แท้จริง ซึ่งหมายถึงการมีความสุขที่เอื้อต่อการเกิด
มีความสุขของผู้อื่นด้วย

อย่างไรก็ตาม การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง หรือการปฏิบัติถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลาย
อย่างที่กล่าวมานี้ เป็นการพูดแบบรวมความ ซึ่งถ้าจะให้มองเห็นชัดเจน จะต้อง
แบ่งซอยออกไปเป็นการปฏิบัติถูกต้องในกิจกรรมส่วนย่อยต่างๆ ของการดำเนิน
ชีวิตนั้นมากมาย หลายแง่หลายด้าน

ดังนั้น เพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงควรกล่าวถึงการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้าน
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนย่อยที่ประกอบกันขึ้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้น หรือ
กระจายความหมายของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นออกไป ให้เห็นการปฏิบัติถูก
ต้องแต่ละแง่แต่ละด้าน ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนั้น

การดำเนินชีวิตนั้น มองในแง่หนึ่งก็คือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้อยู่รอด หรือการนำ
ชีวิตไปให้ล่วงพ้นสิ่งบีบคั้นติดขัดคับข้อง เพื่อให้เป็นอยู่ได้ด้วยดี การดำเนินชีวิต
ที่มองในแง่นี้ พูดอย่างสั้นๆ ก็คือ การแก้ปัญหา หรือการดับทุกข์ ผู้ที่แก้ปัญหาได้
ถูกต้อง ล่วงพ้นปัญหาไปได้ด้วยดี ก็ย่อมเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนิน
ชีวิต เป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ โดยนัยนี้ การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องได้ผลดี ก็คือ
การรู้จักแก้ปัญหา หรือเรียกง่ายๆ ว่า แก้ปัญหาเป็น

มองอีกแง่หนึ่ง การดำเนินชีวิตของคนเรา ก็คือ การประกอบกิจกรรมหรือทำการ
ต่างๆ โดยเคลื่อนไหวแสดงออก เป็นพฤติกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ถ้า
ไม่แสดงออกมาภายนอก ก็ทำอยู่ภายใน เป็นพฤติกรรมของจิตใจ พูดรวมง่ายๆ
ว่า ทำ พูด คิด หรือใช้คำศัพท์ว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่มีชื่อรวม
เรียกว่า กรรมทางไตรวาร

ในแง่นี้ การดำเนินชีวิต ก็คือ การทำกรรมทั้ง ๓ ประการ ผู้ที่ทำกรรม ๓ อย่างนี้
ได้อย่างถูกต้อง ก็ย่อมดำเนินชีวิตไปได้ด้วยดี ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
ได้ผลดี ก็คือ การรู้จักทำ รู้จักพูด รู้จักคิด เรียกง่ายๆ ว่า คิดเป็น พูดเป็น (หรือ
สื่อสารเป็น) และทำเป็น (รวมทั้งผลิตเป็น)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในแง่ต่อไป การดำเนินชีวิตของคนเรา ถ้าวิเคราะห์ออกไป จะเห็นว่า เต็มไปด้วย
เรื่องของการรับรู้ และเสวยรสของสิ่งรู้หรือสิ่งเร้าต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าอารมณ์ทั้ง
หลาย ซึ่งผ่านเข้ามา หรือปรากฏทางอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เรียกว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งต้องกาย และรู้อารมณ์ในใจ หรือ ดู ฟัง ดม
ชิม/ลิ้ม ถูกต้อง/สัมผัส และคิดหมาย

ท่าทีและปฏิกิริยาของบุคคลในการรับรู้อารมณ์เหล่านี้ มีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิต
จิตใจและวิถีชีวิตหรือชะตากรรมของเขา ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีของความยินดียินร้าย
หรือชอบชัง วงจรของปัญหาก็จะตั้งต้น แต่ถ้าเขารับรู้ด้วยท่าทีแบบบันทึกข้อมูล
และเห็นตามเป็นจริง หรือมองตามเหตุปัจจัย ก็จะนำไปสู่ปัญญาและการแก้ปัญหา

นอกจากท่าทีและปฏิกิริยาในการรับรู้แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่านั้น ก็คือ การเลือก
รับรู้อารมณ์ หรือเลือกอารมณ์ที่จะรับรู้ เช่น เลือกดูเลือกฟังสิ่งที่สนองความอยาก
หรือเลือกดูเลือกฟังสิ่งที่สนองปัญญาส่งเสริมคุณภาพชีวิต

เมื่อมองในแง่นี้ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี จึงหมายถึงการรู้จักรับรู้ หรือรับรู้เป็น
ได้แก่ รู้จัก(เลือก)ดู รู้จัก(เลือก)ฟัง รู้จัก(เลือก)ดม รู้จัก(เลือก)ลิ้ม รู้จัก(เลือก)สัมผัส
รู้จัก(เลือก)คิด เรียกง่ายๆว่า ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ชิมเป็น สัมผัสเป็น และ คิดเป็น

ยังมีแง่ที่จะมองได้ต่อไปอีก การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ในความหมายอย่างหนึ่ง
ก็คือ การเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย เพื่อถือเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น

จะเห็นชัดว่า สำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตจะมีความหมายเด่นในแง่นี้
คือ การที่จะได้เสพ หรือบริโภค คนทั่วไปส่วนมาก เมื่อจะเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์
กับสภาพแวดล้อมทางสังคมก็ตาม ทางวัตถุก็ตาม ก็มุ่งที่จะได้จะเอาประโยชน์อย่าง
ใดอย่างหนึ่งจากบุคคลหรือสิ่งเหล่านั้น เพื่อสนองความประสงค์หรือความปรารถนา
ของตน พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อต้องการสนองความประสงค์หรือความปรารถนาของ
ตน จึงเข้าไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลหรือสิ่งทั้งหลายอย่างนั้นๆ

แม้แต่การดำเนินชีวิตในความหมายของการรับรู้ในข้อก่อนนี้ ว่าที่จริงก็แบ่งเป็น ๒ ด้าน
คือ ด้านรับรู้ เช่น เห็น ได้ยิน เป็นต้น กับด้านเสพ เช่น ดู ฟัง เป็นต้น ความหมายด้าน
ที่สอง คือการเสพที่ให้ดูเป็น ฟังเป็น เป็นต้น ก็มีนัยที่รวมอยู่ในความหมายข้อนี้ด้วย

การปฏิบัติที่ถูกต้องในการเสพหรือบริโภคนี้ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะกำหนดหรือปรุงแต่ง
วิถีชีวิตและทุกข์สุขของมนุษย์ ดังนั้น การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดี ก็คือ การรู้จักเสพ
รู้จักบริโภค ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม ก็หมายถึงการรู้
จักคบหา รู้จักเสวนา ถ้าเป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางวัตถุ ก็หมาย
ถึง การรู้จักกิน รู้จักใช้ เรียกง่ายๆ ว่า กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนาเป็น คบคนเป็น

จะเห็นว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องได้ผลดีนั้น ครอบคลุมถึงการปฏิบัติถูกต้องที่เป็นส่วน
ย่อยของการดำเนินชีวิตนั้น มากมายหลายแง่หลายด้านด้วยกัน กล่าวโดยสรุป คือ
ก) ในแง่ของการล่วงพ้นปัญหา ได้แก่ แก้ปัญหาเป็น
ข) ในแง่ของการทำกรรม ได้แก่ คิดเป็น พูดเป็น/สื่อสารเป็น ทำเป็น
ค) ในแง่ของการรับรู้ ได้แก่ ดูเป็น ฟังเป็น ดมเป็น ลิ้มเป็น สัมผัสเป็น คิดเป็น
ง) ในแง่ของการเสพหรือบริโภค ได้แก่ กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น เสวนา-คบหาเป็น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆ ที่เป็นส่วนย่อยของการดำเนินชีวิตอย่างที่กล่าว
มานี้ รวมเรียกว่า การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องหรือการรู้จักดำเนินชีวิต พูดให้สอดคล้อง
กับถ้อยคำที่ใช้ข้างต้นว่า ดำเนินชีวิตเป็น และชีวิตที่ดำเนินอย่างนี้ ได้ชื่อว่าเป็นชีวิต
ที่ดีงามตามนัยแห่งพุทธธรรม

บรรดาการปฏิบัติถูกต้องในแง่ด้านต่างๆ เหล่านี้ อาจพูดรวบรัดได้ว่า การรู้จักคิด
หรือ คิดเป็น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ด้วย
เหตุผลมากมายหลายประการ เช่น

ในแง่ของการรับรู้ ความคิดเป็นจุดศูนย์รวม ที่ข่าวสารข้อมูลทั้งหมดไหลมาชุมนุม
เป็นที่วินิจฉัย และนำข่าวสารข้อมูลเหล่านั้นไปปรุงแต่งสร้างสรรค์และใช้การต่างๆ

ในแง่ของกรรม คือ ในแง่ของระบบการกระทำ ความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ก
ารแสดงออกทางกายและวาจา ที่เรียกว่าการพูดและการกระทำ และเป็นศูนย์บัญชา
การ ซึ่งกำหนดหรือสั่งบังคับให้พูดจาและให้ทำการไปตามที่คิดหมาย

ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองนั้น ความคิดเป็นศูนย์กลาง โดยเป็นจุดประ
สานเชื่อมต่อ ระหว่างระบบการรับรู้ กับระบบการทำกรรม กล่าวคือ เมื่อรับรู้เข้ามา
โดยทางอายตนะต่างๆ และเก็บรวบรวมประมวลข้อมูลข่าวสารมาคิดปรุงแต่งแล้ว
ก็วินิจฉัยสั่งการโดยแสดงออกเป็นการกระทำทางกายหรือวาจา คือพูดจา และ
เคลื่อนไหวทำการต่างๆ ต่อไป

พูดรวมๆ ได้ว่า การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือ คิดเป็น เป็นศูนย์กลางที่บริหารการ
ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นหัวหน้าที่ชี้นำ นำทาง และควบคุมการ
ปฏิบัติถูกต้องในแง่อื่นๆ ทั้งหมด

เมื่อคิดเป็นแล้ว ก็ช่วยให้พูดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ช่วยให้ดูเป็น ฟังเป็น
กินเป็น ใช้เป็น บริโภคเป็น และคบหาเสวนาเป็น ตลอดไปทุกอย่าง คือดำเนิน
ชีวิตเป็นนั่นเอง จึงพูดได้ว่า การรู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำที่ชักพา หรือ
เปิดช่องไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

ลักษณะสำคัญที่เป็นตัวตัดสินคุณค่าของการรู้จักทำ หรือทำเป็น ก็คือความพอดี
และในกรณีทั่วๆไป “รู้จัก-” และ “-เป็น” กับ “-พอดี” ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกัน

การรู้จักทำ หรือทำอะไรเป็น ก็คือ ทำสิ่งนั้นๆ พอเหมาะพอดีที่จะให้เกิดผลสำเร็จ
ที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ หรือทำแม่นยำ สอดคล้อง ตรงจุด ตรงเป้า ที่จะให้
บรรลุจุดหมายอย่างดีที่สุด โดยไม่เกิดผลเสียหายหรือข้อบกพร่องใดๆ เลย

พุทธธรรมถือเอาลักษณะที่ไร้โทษ ไร้ทุกข์ และเหมาะเจาะที่จะให้ถึงจุดหมาย
นี้เป็นสำคัญ จึงใช้คำว่า “พอดี” เป็นคำหลัก ดังนั้น สำหรับคำว่า “ดำเนินชีวิตเป็น”
จึงใช้คำว่า ดำเนินชีวิตพอดี คือ ดำเนินชีวิตพอดีที่จะให้บรรลุจุดหมายแห่งการ
เป็นอยู่อย่างไร้โทษไร้ทุกข์มีความสุขที่แท้จริง

การดำเนินชีวิตพอดี หรือการปฏิบัติพอดี เรียกเป็นคำศัพท์ว่า มัชฌิมาปฏิปทา
ซึ่งมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม กล่าวคือ มรรค หรือ
อริยมรรค ที่แปลสืบๆ กันมาว่า มรรคาอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินชีวิตที่ดีงาม
ล้ำเลิศ ปราศจากพิษภัยไร้โทษ นำสู่เกษมศานติ์ และความสุขที่สมบูรณ์

พุทธธรรมแสดงหลักการว่า การที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง หรือมีชีวิตที่ดีงามได้
นั้น จะต้องมีการฝึกฝนพัฒนาตน ซึ่งได้แก่กระบวนการที่เรียกว่า การศึกษา พูด
อย่างสั้นที่สุดว่า มรรคจะเกิดมีขึ้นได้ก็ด้วยสิกขา

การคิดถูกต้อง รู้จักคิด หรือคิดเป็น เป็นตัวนำของชีวิตที่ดีงาม หรือมรรค ฉันใด
การฝึกฝน พัฒนาความคิดที่ถูกต้อง ให้รู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็เป็นตัวนำของการ
ศึกษา หรือสิกขา ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาตน คือ การศึกษา เพื่อให้มีชีวิตที่ดีงามนั้น การฝึก
ฝนความรู้จักคิด หรือคิดเป็น ซึ่งเป็นตัวนำ จะเป็นปัจจัยชักพาไปสู่ความรู้ความ
เข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนความเชื่อถือถูกต้อง ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็น
แกนนำของชีวิตที่ดีงามทั้งหมด

การพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำในกระบวนการของการศึกษานั้น ก็คือ สาระ
สำคัญของการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลางของกระบวนการพัฒนาคน ที่เรียกว่า
“การศึกษา” นั่นเอง

การรู้จักคิด หรือคิดเป็นนั้น ประกอบด้วยวิธีคิดต่างๆ หลายอย่าง การฝึกฝนพัฒนา
ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น ก็คือการฝึกฝนพัฒนาตน หรือการฝึกฝนพัฒนาบุคคล
ตามแนวทางของวิธีคิดเหล่านั้นหรือเช่นนั้น

ฐานะของความคิด ในกระบวนการของการศึกษา หรือการพัฒนาปัญญา
ก่อนจะพูดกันต่อไปในเรื่องวิธีคิด ขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของความ
คิดในกระบวนการของการศึกษา โดยเฉพาะในการพัฒนาปัญญา ที่เป็นแกนกลาง
ของการศึกษานั้นก่อน

ก) จุดเริ่มของการศึกษา และความไร้การศึกษา
ตัวแท้ของการศึกษา คือการพัฒนาตนโดยมีการพัฒนาปัญญาเป็นแกนกลางนั้น
เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปภายในตัวบุคคล แกนนำของกระบวนการแห่งการ
ศึกษา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น แนวความคิด ทัศนคติ ค่านิยม
ที่ถูกต้องดีงาม เกื้อกูลแก่ชีวิตและสังคม สอดคล้องกับความเป็นจริง เรียกสั้นๆ
ว่า สัมมาทิฏฐิ

เมื่อรู้เข้าใจ คิดเห็นดีงาม ถูกต้องตรงตามความจริงแล้ว การคิด การพูด การกระ
ทำ และการแสดงออกหรือปฏิบัติการต่างๆ ก็ถูกต้องดีงาม เกื้อกูล นำไปสู่การดับ
ทุกข์ แก้ไขปัญหาได้

ในทางตรงกันข้าม ถ้ารู้เข้าใจคิดเห็นผิด มีค่านิยม ทัศนคติ แนวความคิดที่ผิด
ที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ แล้ว การคิด การพูด การกระทำ การแสดงออก และปฏิ
บัติการต่างๆ ก็พลอยดำเนินไปในทางที่ผิดพลาดด้วย แทนที่จะแก้ปัญหาดับ
ทุกข์ได้ ก็กลายเป็นก่อทุกข์ สั่งสมปัญหา ให้เพิ่มพูนร้ายแรงยิ่งขึ้น

สัมมาทิฏฐิ นั้น แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ

๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวความคิด ทฤษฎี ความเชื่อถือ ความนิยม ค่านิยม
จำพวกที่เชื่อหรือยอมรับรู้การกระทำ และผลการกระทำของตน หรือสร้างความ
สำนึกในความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน พูดอย่างชาวบ้านว่า เห็นชอบ
ตามคลองธรรม เรียกสั้นๆ ว่า กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ เป็น สัมมาทิฏฐิ ระดับ
โลกีย์ เป็นขั้น จริยธรรม

๒. ทัศนะ แนวความคิด ที่มองเห็นความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายตามธรรมดา
แห่งเหตุปัจจัย ความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน หรือตามที่
มันเป็น ไม่เอนเอียงไปตามความชอบความชังของตน หรือตามที่อยากให้มัน
เป็นอยากไม่ให้มันเป็น ความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกับความเป็นจริงแห่ง
ธรรมดา เรียกสั้นๆ ว่า สัจจานุโลมกญาณ เป็น สัมมาทิฏฐิแนวโลกุตระ เป็น
ขั้นสัจจธรรม

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด หลงผิด ก็มี ๒ ระดับ เช่นเดียวกัน คือ ทัศนะ แนว
ความคิด ค่านิยม ที่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่ยอมรับการกระทำของตน กับ
ความไม่รู้ไม่เข้าใจโลกและชีวิตตามสภาวะ หลงมองสร้างภาพไปตามความ
อยากให้เป็น และอยากไม่ให้เป็นของตนเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี กระบวนการของการศึกษาภายในตัวบุคคล จะเริ่มต้นและดำเนิน
ไปได้ ต้องอาศัยการติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม และอิทธิพลจากภาย
นอกเป็นแรงผลักดัน หรือเป็นปัจจัยก่อตัว ถ้าได้รับการถ่ายทอดแนะนำชักจูง
เรียนรู้จากแหล่งความรู้ความคิดที่ถูกต้อง หรือรู้จักเลือก รู้จักมอง รู้จักเกี่ยวข้อง
พิจารณาโลกและชีวิตในทางที่ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ นำไปสู่การ
ศึกษาที่ถูกต้อง หรือมีการศึกษา

แต่ตรงข้าม ถ้าได้รับถ่ายทอดแนะนำชักจูง ได้รับอิทธิพลภายนอกที่ไม่ถูกต้อง
หรือไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้เท่าทันประสบการณ์ต่างๆ ก็จะทำให้เกิด
มิจฉาทิฏฐิ นำไปสู่การศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา

โดยสรุป แหล่งที่มาเบื้องต้นของการศึกษา เรียกว่า ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ
มี ๒ อย่าง คือ

๑. ปัจจัยภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หรือเสียงบอก
จากผู้อื่น ได้แก่ การรับถ่ายทอด หรืออิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น
พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนที่คบหา หนังสือ สื่อมวลชน และวัฒนธรรม ซึ่งให้
ข่าวสารที่ถูกต้อง สั่งสอนอบรม แนะนำชักจูงไปในทางที่ดีงาม

๒. ปัจจัยภายใน เรียกว่า โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย
หมายถึง การคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น

ในทำนองเดียวกัน แหล่งที่มาของการศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา ที่เรียก
ว่า ปัจจัยแห่งมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ปรโตโฆสะ เสียงบอกจาก
ภายนอกที่ไม่ดีงาม ไม่ถูกต้อง และ อโยนิโสมนสิการ การทำในใจไม่แยบคาบ
การไม่รู้จักคิด คิดไม่เป็น หรือการขาดโยนิโสมนสิการนั่นเอง

ข) กระบวนการของการศึกษา
ได้กล่าวแล้วว่า แกนนำแห่งกระบวนการของการศึกษา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เมื่อมี
สัมมาทิฏฐิเป็นแกนนำ และเป็นฐานแล้ว กระบวนการแห่งการศึกษาภายในตัวบุ
คคลก็ดำเนินไปได้

กระบวนการนี้แบ่งเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ เรียกว่า ไตรสิกขา (สิกขา หรือหลัก
การศึกษา ๓ ประการ) คือ

๑. การฝึกฝนพัฒนาในด้านความประพฤติ ระเบียบวินัย ความสุจริตทางกาย
วาจา และอาชีวะ เรียกว่า อธิสีลสิกขา ( เรียกง่ายๆ ว่า ศีล)

๒. การฝึกฝนพัฒนาทางจิตใจ การปลูกฝังคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ สมรรถ
ภาพ และสุขภาพจิต เรียกว่า อธิจิตตสิกขา (เรียกง่ายๆ ว่า สมาธิ)

๓. การฝึกฝนพัฒนาทางปัญญา ให้เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็น
จริง รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ทำให้แก้ไขปัญหาไปตามแนวทางเหตุผล
รู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยึดติด
ถือมั่นในสิ่งต่างๆ ดับกิเลส ดับทุกข์ได้ เป็นอยู่ด้วยจิตใจอิสระผ่องใสเบิกบาน
เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา (เรียกง่ายๆ ว่า ปัญญา)

หลักการศึกษา ๓ ประการนี้ จัดวางขึ้นไว้โดยอาศัยหลักปฏิบัติที่เรียกว่า วิธีแก้
ปัญหาของอารยชนเป็นพื้นฐาน วิธีแก้ปัญหาแบบอารยชนนี้ เรียกตามคำบาลี
ว่า อริยมรรค แปลว่า ทางดำเนินสู่ความดับทุกข์ ที่ทำให้เป็นอริยชน หรือวิธี
ดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ

อริยมรรค นี้ มีองค์ประกอบที่เป็นเนื้อหา หรือรายละเอียดของการปฏิบัติ ๘ ประการ
คือ

๑. ทัศนะ ความคิดเห็น แนวคิด ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมต่างๆ ที่ดีงามถูก
ต้อง มองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย สอดคล้องกับความเป็นจริง หรือตรงตาม
สภาวะ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 04:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ความคิด ความดำริตริตรอง หรือคิดการต่างๆ ที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว เป็นไปในทางสร้างสรรค์ประโยชน์สุข
เช่น คิดในทางเสียสละ หวังดี มีไมตรี ช่วยเหลือเกื้อกูล และความคิดที่บริ
สุทธิ์ อิงสัจจะ อิงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยความเห็นแก่ตัว ความคิดจะได้จะเอา
หรือความเคียดแค้นชิงชัง มุ่งร้ายคิดทำลาย เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

๓. การพูด หรือการแสดงออกทางวาจาที่สุจริต ไม่ทำร้ายผู้อื่น ตรงความจริง
ไม่โกหกหลอกลวง ไม่ส่อเสียด ไม่ให้ร้ายป้ายสี ไม่หยาบคาย ไม่เหลวไหล
ไม่เพ้อเจ้อเลื่อนลอย แต่สุภาพ นิ่มนวล ชวนให้เกิดไมตรีสามัคคีกัน ถ้อยคำ
ที่มีเหตุผล เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ก่อประโยชน์ เรียกว่า สัมมาวาจา (วาจาชอบ)

๔. การกระทำที่ดีงามสุจริต เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่
เบียดเบียน ไม่ทำร้ายกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีงาม ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี ทำ
ให้สังคมสงบสุข คือ การกระทำหรือทำการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่เป็นไป
เพื่อการทำลายชีวิตร่างกาย การทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น การล่วงละเมิดสิทธิ
ในคู่ครอง หรือของรักของหวงแหนของผู้อื่น เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)

๕. การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้อื่น เรียกว่า
สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ)

๖. การเพียรพยายามในทางที่ดีงามชอบธรรม คือ เพียรหลีกเว้นป้องกันสิ่งชั่ว
ร้ายอกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละเลิก กำจัดสิ่งชั่วร้ายอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียร
สร้างสรรค์สิ่งดีงาม หรือกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรส่งเสริมพัฒนาสิ่ง
ดีงาม หรือกุศลธรรมที่เกิดมีแล้ว ให้เพิ่มพูนเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปจนเพียบพร้อม
ไพบูลย์ เรียกว่า สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)

๗. การมีสติกำกับตัว คุมใจไว้ให้อยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำในเวลานั้นๆ ใจอยู่
กับกิจ จิตอยู่กับงาน ระลึกได้ถึงสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ หรือธรรม
ที่ต้องใช้ในเรื่องนั้นๆ เวลานั้นๆ ไม่หลงใหลเลื่อนลอย ไม่ละเลยหรือปล่อยตัว
เผอเรอ โดยเฉพาะสติที่กำกับทันต่อพฤติกรรมของร่างกาย ความรู้สึก สภาพจิต
ใจ และความนึกคิดของตน ไม่ปล่อยให้อารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ มาฉุดกระชากใ
ห้หลุดหลงเลื่อนลอยไปเสีย เรียกว่า สัมมาสติ (ระลึกชอบ)

๘. ความมีจิตตั้งมั่น จิตใจดำเนินอยู่ในกิจในงาน หรือในสิ่งที่กำหนด (อารมณ์)
ได้สม่ำเสมอ แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวกหวั่นไหว บริสุทธิ์
ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว นุ่มนวล ผ่อนคลาย ไม่เครียด ไม่กระด้าง เข้มแข็ง เอางาน ไม่
หดหู่ท้อแท้ พร้อมที่จะใช้งานทางปัญญาอย่างได้ผลดี เรียกว่า สัมมาสมาธิ
(จิตมั่นชอบ)

หลักการศึกษา ๓ ประการ คือ ไตรสิกขา ก็จัดวางขึ้นโดยมุ่งให้ผลเกิดขึ้นตามหลัก
ปฏิบัติแห่งอริยมรรค (มรรควิธีแก้ปัญหา หรือมรรคาแห่งความดับทุกข์) คือ เป็น
การฝึกฝนอบรมให้องค์ทั้ง ๘ แห่งมรรคนั้น เกิดมีและเจริญงอกงาม ใช้ประโยชน์
ได้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาดับทุกข์ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ จนถึงที่สุด กล่าวคือ

๑. อธิสีลสิกขา คือ การศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวาจา สัมมา
กัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางความประ
พฤติ วินัย และความสัมพันธ์ทางสังคม ถึงมาตรฐานของอารยชน เป็นพื้นฐานแก่
การสร้างเสริมคุณภาพจิตได้ดี

๒. อธิจิตสิกขา คือ การศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมี สัมมาวายามะ
สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางคุณธรรม
มีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิตพัฒนาถึงมาตรฐานของอารยชน เป็น
พื้นฐานแห่งการพัฒนาปัญญาได้ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1591600299440.jpg
FB_IMG_1591600299440.jpg [ 19.52 KiB | เปิดดู 2594 ครั้ง ]
๓. อธิปัญญาสิกขา คือ การศึกษาด้านหรือขั้นตอนที่ฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาทิฏฐิ
และสัมมาสังกัปปะ เจริญงอกงามขึ้น จนบุคคลมีความพร้อมทางปัญญาถึงมาตร
ฐานของอารยชน สามารถดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา มีจิตใจผ่องใส เบิกบาน ไร้
ทุกข์ หลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นต่างๆ เป็นอิสระเสรีด้วยปัญญาอย่างแท้จริง

แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นแกนนำแห่งกระบวนการของการ
ศึกษานั้น จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ

ดังนั้น ในการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการศึกษา จุดสนใจที่ควรเน้นเป็นพิเศษ คือ
เรื่องปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นจุดเริ่มต้น เป็นแหล่ง เป็นที่มาของการศึกษา
คำที่พูดกันว่า “ให้การศึกษา” ก็อยู่ที่ปัจจัย ๒ ประการนี้เอง ส่วนกระบวนการ
ของการศึกษา ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น เพียงแต่รู้เข้าใจไว้ เพื่อจัด
สภาพแวดล้อมให้เกื้อกูล และคอยเสริมคุมกระตุ้นเร้าให้เนื้อหาของการศึกษา
หันเบนดำเนินไปตามกระบวนนั้น

เมื่อทำความเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็จะมองเห็นรูปร่างของกระบวนการแห่งการศึกษา
ซึ่งเขียนให้ดูได้ดังนี้

ค) ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการศึกษา
เมื่อได้ทำความเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับกระบวนการของการศึกษา พอเห็นตำแหน่ง
แห่งที่ หรือฐานะของความคิดในกระบวนแห่งการศึกษานั้นแล้ว ก็จะได้กล่าวถึง
เรื่องความคิดโดยเฉพาะต่อไป

อย่างไรก็ดี โดยที่ความคิดเป็นอย่างหนึ่งในบรรดาจุดเริ่ม หรือแหล่ง ที่มา ๒ ประ
การ ของการศึกษา เมื่อจะพูดถึงความคิดที่เป็นจุดเริ่มอย่างหนึ่ง ก็ควรรู้จุดเริ่มอื่น
อีกอย่างหนึ่งนั้นด้วย เพื่อจะได้ขอบเขตความเข้าใจที่กว้าง ขวางชัดเจนยิ่งขึ้น

ก่อนอื่น พึงพิจารณาพุทธพจน์ ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการดังนี้ คือ
ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


“โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายนอก เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่น
แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย”

“โดยกำหนดว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบอื่น แม้สัก
อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ นั้น ได้แสดงความหมายในที่นี้ว่า เป็นจุดเริ่ม หรือแหล่ง
ที่มาของการศึกษา หรืออาจจะเรียกว่า บุพภาคของการศึกษา เพราะเป็นบ่อ
เกิดของสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นแกนนำ เป็นต้นทาง และเป็นตัวยืนของกระบวน
การแห่งการศึกษาทั้งหมด ที่ตรัสว่ามี ๒ อย่าง คือ

๑. ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากอื่น หรือการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่
การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร คำชี้แจง
อธิบายจากผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้ เลียนแบบ จากแหล่งต่างๆ ภายนอก
หรืออิทธิพลจากภายนอก

แหล่งสำคัญของการเรียนรู้ประเภทนี้ เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ เพื่อน คนแวด
ล้อมใกล้ชิด ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา บุคคลมีชื่อเสียง
คนโด่งดัง คนผู้ได้รับความนิยมในด้านต่างๆ หนังสือ สื่อมวลชนทั้งหลาย
สถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่แนะนำใน
ทางถูกต้องดีงาม ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะที่สามารถช่วย
นำไปสู่ปัจจัยที่ ๒ ได้

ปัจจัยข้อนี้ จัดเป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก หรืออาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม

บุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถทำหน้าที่ปรโตโฆสะที่ดี มีคุณภาพสูง
มีคำเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร ตามปกติ กัลยาณมิตรจะทำหน้าที่เป็นผลดี
ประสบความสำเร็จแห่งปรโตโฆสะได้ ต้องสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่
ผู้เล่าเรียน หรือผู้รับการฝึกสอนอบรม จึงเรียกวิธีเรียนรู้ในข้อนี้ว่า วิธีการแห่ง
ศรัทธา

ถ้าผู้มีหน้าที่ให้ปรโตโฆสะ เช่น ครู อาจารย์ พ่อแม่ ไม่สามารถทำให้เกิดศรัท
ธาได้ และผู้เล่าเรียน เช่น เด็กๆ เกิดมีศรัทธาต่อแหล่งความรู้ความคิดอื่นมาก
กว่า เช่น ดาราในสื่อมวลชน เป็นต้น และถ้าแหล่งเหล่านั้น ให้ปรโตโฆสะที่ชั่ว
ร้ายผิดพลาด อันตรายย่อมเกิดขึ้นในกระบวนการแห่งการศึกษา อาจเกิดการ
ศึกษาที่ผิด หรือความไร้การศึกษา

๒. โยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย หรือคิดถูกวิธี แปลง่ายๆ
ว่า ความรู้จักคิด หรือคิดเป็น หมายถึง การคิดอย่างมีระเบียบ หรือคิดตามแนว
ทางของปัญญา คือ การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ เช่น ตาม
ที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้
ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัม
พันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปทานของตนเอง
เข้าจับ หรือเคลือบคลุม ทำให้เกิดความดีงาม และแก้ปัญหาได้

ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน หรือ ปัจจัยภายในตัวบุคคล และอาจเรียกตาม
องค์ธรรมที่ใช้งานว่า วิธีการแห่งปัญญา

บรรดาปัจจัย ๒ อย่างนี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ เป็นแกนกลาง หรือ
ส่วนที่ขาดไม่ได้ การศึกษาจะสำเร็จผลแท้จริง บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ก็เพราะ
ปัจจัยข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยข้อที่ ๒ อาจให้เกิดการศึกษาได้ โดยไม่มีข้อที่ ๑ แต่
ปัจจัยข้อที่ ๑ จะต้องนำไปสู่ปัจจัยข้อที่ ๒ ด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลของการศึกษา
ที่แท้ การค้นพบต่างๆ ความคิดริเริ่ม ความก้าวหน้าทางปัญญาที่สำคัญๆ แล
ะการตรัสรู้สัจธรรม ก็สำเร็จด้วยโยนิโสมนสิการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม แม้ความจริงจะเป็นเช่นนี้ ก็ไม่พึงดูแคลนความสำเร็จของปัจจัยข้อแรก
คือ ปรโตโฆสะ เพราะตามปกติ คนที่จะไม่ต้องอาศัยปรโตโฆสะเลย ใช้แต่โยนิโสม
นสิการอย่างเดียว ก็มีแต่อัจฉริยบุคคลยอดเยี่ยม เช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีน้อย
ท่านอย่างยิ่ง ส่วนคนทั่วไปที่เป็นส่วนใหญ่ หรือคนแทบทั้งหมดในโลก ต้องอาศัยปร
โตโฆสะเป็นที่ชักนำชี้ช่องทางให้

กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดกันอยู่ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการกันเป็นระบบ
เป็นงานเป็นการ การถ่ายทอดความรู้และศิลปะวิทยาการต่างๆ ที่เป็นเรื่องของสุตะ ก็
ล้วนเป็นเรื่องของปรโตโฆสะทั้งสิ้น การสร้างปรโตโฆสะที่ดีงามโดยกัลยาณมิตร จึง
เป็นเรื่องที่ควรได้รับความเอาใจใส่ตั้งใจจัดเป็นอย่างยิ่ง

จุดที่พึงย้ำเกี่ยวกับโยนิโสมนสิการ ก็คือ เมื่อดำเนินกิจการในทางการศึกษา อำนวยปร
โตโฆสะที่ดีอยู่นั้น กัลยาณมิตรพึงระลึกอยู่เสมอว่า ปรโตโฆสะที่จัดสรรอำนวยให้นั้น
จะต้องเป็นเครื่องปลุกเร้าโยนิโสมนสิการ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เล่าเรียนรับการศึกษา

เมื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นกันอย่างนี้แล้ว ก็หันมาพูดจำกัดเฉพาะเรื่องความคิดต่อไป

ง) ความคิดที่ไม่เป็นการศึกษา และความคิดที่เป็นการศึกษา
การคิดพ่วงต่อจากกระบวนการรับรู้ กระบวนการรับรู้นั้น เริ่มต้นด้วยการที่อายตนะประ
สบกับอารมณฺ และเกิดวิญญาณ คือ ความรู้ต่ออารมณ์นั้น เช่น เห็น ได้ยิน ตลอดถึงรู้
ต่อเรื่องในใจ เมื่อเกิดความเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่ามีการรับรู้ หรือภาษาบาลี
เรียกว่า ผัสสะ

เมื่อมีการรับรู้ ก็จะมีความรู้สึกต่ออารมณ์นั้น เช่น สุข สบาย ทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉยๆ
เรียกว่า เวทนา พร้อมกันนั้น ก็จะมีการหมายรู้อารมณ์ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้น
อย่างนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้ เรียกว่า สัญญาจากนั้นจึงเกิดความคิด ความดำริตริตรึกต่างๆ
เรียกว่า วิตักกะ

กระบวนการรับรู้เป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการประสบอารมณ์ โดยได้รับ
ประสบการณ์ภายนอก หรือการนึกถึงยกเอาเรื่องราวต่างๆ ขึ้นมาพิจารณาในใจ

เขียนให้ดูง่ายๆ โดยยกความรู้ทางตาเป็นตัวอย่าง

ตา----- + -----> รูป---- + ----->เห็น--- = ---การรับรู้---> รู้สึกสุขทุกข์--> จำได้หมานรู้---> คิด
(อายตนะ)... (อารมณ์)... (จักขุวิญญาณ) .....(ผัสสะ) ........(เวทนา) ............(สัญญา) .....(วิตกกะ)

ขั้นตอนของการคิด (วิกตักกะ) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดบุคลิกภาพ และ
วิถีชีวิตของบุคคล ตลอดจนถึงสังคม จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษา แต่ความคิด
นั้นจะเป็นอย่างไร ย่อมต้องอาศัยปัจจัยที่กำหนดหรือปรุงแต่งความคิดนั้นอีกต่อหนึ่ง

ปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิด ได้แก่ ความรู้สึกสุขทุกข์ (เวทนา)

ตามปกติ สำหรับคนทั่วไป เมื่อมีการรับรู้ และเกิดเวทนาแล้ว ถ้าไม่มีปัจจัยอย่างอื่น
เข้ามาแปร หรือตัดตอน เวทนาก็จะเป็นตัวกำหนดวิถีของความคิด คือ

- ถ้ารู้สึกสบาย เป็นสุข ก็ชอบใจ อยากได้ อยากเสพ อยากเอา (ตัณหาฝ่ายบวก)

- ถ้ารู้สึกไม่สบาย บีบคั้น เป็นทุกข์ ก็ขัดใจไม่ชอบ อยากเลี่ยงพ้นหรืออยากทำลาย
(ตัณหาฝ่ายลบ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2021, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจากนั้น ความคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะกำหนดเน้นหรือเพ่งไปที่อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่มาของ
เวทนานั้น เอาสิ่งนั้นเป็นที่จับของความคิด พร้อมด้วยความจำได้หมายรู้ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นอย่าง
นั้นอย่างนี้ (สัญญา) แล้วความคิดปรุงแต่งก็ดำเนินไปตามวิถีทางของความชอบใจไม่ชอบใจนั้น
เครื่องปรุงแต่งของความคิด ก็คือ ความโน้มเอียง ความเคยชิน กิเลส จิตนิสัยต่างๆ ที่จิต
ได้สั่งสมไว้ (สังขาร) และคิดอยู่ในกรอบ ในขอบเขต ในแนวทางของสังขารนั้น จากความ
คิด ก็อาจแสดงออกมาเป็นการทำ การพูด การแสดงบทบาทต่างๆ

ถ้าไม่ถึงขั้นแสดงออกภายนอก อย่างน้อยก็มีผลกระทบต่างๆ อยู่ภายในจิตใจ เป็นผลในทางผูก
มัด จำกัดตัว ทำให้จิตคับแคบบ้าง เกิดความกระทบกระทั่ง วุ่นวาย เร่าร้อน ขุ่นมัว เศร้าหมอง
บีบคั้นใจบ้าง หรือถ้าเป็นการพิจารณาเรื่องราว คิดการต่างๆ ก็ทำให้เอนเอียง ไม่มองเห็นตาม
เป็นจริง อาจเคลือบแฝงด้วยด้วยความอยากได้ อยากเอา หรือความคิดมุ่งทำลาย

แม้ในกรณีที่เกิดความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ถ้าไม่รู้จักคิด ปล่อยให้ความคิดอยู่ใต้อิทธิพล
ของเวทนานั้น ก็จะเกิดความคิดแบบเพ้อฝันเลื่อนลอยไร้จุดหมาย หรือไม่ก็กลายเป็นอัดอั้นตัน
อื้อไป ซึ่งรวมเรียกว่าเป็นสภาพที่ไม่เกื้อกูลต่อคุณภาพชีวิต (เป็นอกุศล) สร้างปัญหาและก่อให้
เกิดทุกข์

กระบวนการของความคิดนี้ เขียนให้ดูง่าย แสดงเฉพาะสภาพจิต หรือองค์ธรรมที่เป็นตัวแสดงบท
บาทสำคัญๆ ดังนี้

การรับรู้----->ความรู้สึกสุขทึกข์---->ความอยากที่เป็นกิริยาบวกลบ-------> ปัญหา
(ผัสสะ)--------(เวทนา)-----------------------(ตัณหา)-------------------------(ทุกข์)

-
ในชีวิตของคนทั่วไป กระบวนธรรมแห่งปัญหา นี้ เป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินไปเกือบตลอดเวลา
ในวันหนึ่งๆ อาจเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ นับครั้งไม่ถ้วน ชีวิตที่ไม่มีการศึกษา ย่อมถูกครอบงำและกำหนด
ด้วยกระบวนการแห่งความคิดอย่างนี้ ความเป็นไปของกระบวนธรรมนี้ดำเนินไปได้อย่างง่ายๆ
โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ หรือความสามารถอะไรเลย จัดเป็นธรรมดา
ขั้นพื้นฐานที่สุด ยิ่งได้สั่งสมความเคยชินไว้มากๆ ก็ยิ่งเป็นไปเองอย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เรียกว่าลงร่อง

เพราะการที่เป็นไปอย่างปราศจากปัญญา ไม่ต้องมีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง และสติปัญญาไม่ได้
เป็นตัวควบคุม จึงเรียกว่าเกิดอวิชชา และจึงไม่เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหา แต่เป็นไปเพื่อก่อปัญหา
ทำให้เกิดทุกข์ เรียกว่าเป็น ปัจจยาการแห่งทุกข์

ลักษณะทั่วไปของมัน คือเป็นการคิดที่สนองตัณหา ผลของมัน คือการก่อปัญหาทำให้เกิดทุกข์
จึงไม่เป็นการศึกษา สรุปสั้นๆ จะเรียกว่า กระบวนการคิดแบบสนองตัณหา หรือการคิดแบบก่อปัญ
หา หรือวงจรแห่งความทุกข์ก็ได้

เมื่อมนุษย์เริ่มมีการศึกษาขึ้น ก็คือ มนุษย์เริ่มใช้สติปัญญา ไม่ปล่อยให้กระบวนการคิด หรือวง
จรปัจจาการข้างต้น ดำเนินไปเรื่อยๆ คล่องๆ แต่มนุษย์เริ่มใช้สติสัมปชัญญะ และนำองค์ประกอบ
อื่นๆ เข้ามาตัดตอน หรือลดทอนกระแสของกระบวนการคิดแบบนั้น ทำให้กระบวนการคิดแบบ
สนองตัณหาขาดตอนไปเสียบ้าง แปรไปเสียบ้าง ดำเนินไปในทิศทางหรือรูปอื่นๆ บ้าง ทำให้มนุษย์
เริ่มหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาส ไม่ถูกกระบวนความคิดแบบนั้นครอบงำกำหนดเอาเต็มที่โดย
สิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2021, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีคำนี้ ฟังแรกๆอะไรหว่า โยนิโสมนสิการ

ศึกษาไป ก็คือความใส่ใจในสิ่งต่างๆ อย่างมีปัญญา จะใช้คำว่าคิดก็ได้ คือคิดอย่างฉลาด คิดอย่างมีปัญญา คิดอย่างแยบคาย นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2021, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
บางทีคำนี้ ฟังแรกๆอะไรหว่า โยนิโสมนสิการ

ศึกษาไป ก็คือความใส่ใจในสิ่งต่างๆ อย่างมีปัญญา จะใช้คำว่าคิดก็ได้ คือคิดอย่างฉลาด คิดอย่างมีปัญญา คิดอย่างแยบคาย นั่นเอง


ขอขยายความเพิ่มเติมโดยใช้อุปมาเพื่อเข้าใจให้ชัดเจนอีกนิดครับ
ก็ต้องควรให้นึกถึงตามแนววิถีจิตครับ เช่นว่า เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนเพื่อจะมาเข้าประตู
บ้านเรา ก็คือแขกคนนั้นจะต้องผ่านประตูบ้านเข้าไป ทีนี้คำว่าโยนิโสมนสิการก็เหมือน
คนเฝ้าประตู หรือว่ายามคอยเฝ้าปิดเปิดประตูคอยให้แขกเข้าบ้าน ยามคนนี้ต้องเป็นฉลาด
พิจารณา(โยนิโสมนสิการ)ว่าคนที่จะผ่านประตูเข้าไปจะต้องเป็นคนดี จะมาเพื่อประสงค์อะไร
จึงจะให้ผ่านไป หรือ ว่าคอยพิจารณาว่า ตรวจตราคนที่ผ่านเข้าไปมีอาวุธหรือไม่ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร