ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม? http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60370 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 31 พ.ค. 2021, 11:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม? |
“นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม?” พยายามตอบให้สั้น ดังนี้ ข้อแรก บรรดาสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ใช้คำเรียกให้สั้นที่สุดว่าธรรม ยืดออกไปหน่อยว่าสภาวะ หรือ สภาวธรรม ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า สิ่งทั้งหลายนั้นมีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของมัน ที่เป็นของมันอย่าง นั้น เช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน ถ้าเป็นสังขารหรือสังขตธรรม ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เมื่อ พูดถึงนิพพาน ที่เป็นวิสังขารหรืออสังขตธรรม นิพพานก็มีอยู่เป็นอยู่ตามภาวะของนิพพาน ซึ่งเป็น อย่างนั้นๆ เช่นนั้นๆ เช่นว่าเป็นภาวะบริสุทธิ์ ไม่ขึ้นต่ออะไรๆ เป็นต้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัส แสดงไว้แล้วมากมาย เมื่อนิพพานมีภาวะของนิพพานอย่างนั้น เป็นธรรมดาเช่นนั้นอยู่แล้ว จะมีอัตตามาแทรกมาซ้อนมา ครอบมาครอง มาสั่งบังคับบงการบัญชานิพพานอย่างนั้นอย่างนี้อีก ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้ามีอัตตา ขึ้นมา นิพพานก็เป็นนิพพานอยู่ไม่ได้ จึงเห็นอยู่ชัดๆ ว่าอัตตามีไม่ได้ ข้อสอง คนที่พูดถึงอัตตา พูดถึงนิพพานนั้น บางทีก็ยังไม่รู้ชัด ไม่รู้เพียงพอว่า อัตตาหมายถึงอะ ไร นิพพานมีความหมายอย่างไร เมื่อพูดไป ก็สับสนเอง และพาคนอื่นให้ยุ่ง นิพพาน เมื่อเรายังไม่ตรัสรู้ ก็ดูตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เอาแค่นี้ก่อนก็ได้ ส่วนอัตตา ก็ควรเข้าใจ ความหมายให้ตรงกับเรื่องที่เขาเอามาตั้งเป็นปัญหานั้น ไม่ใช่คิดเอาเอง หรือคลุมเครือกำกวมอย่าง ในภาษาไทย อัตตานั้น พอแปลเป็นไทยว่า “ตัวตน” หลายคนก็ชักเขว บางคนถึงกับเข้าใจผิดว่า ที่ว่ามีตัวตนไหม คือมีจริงไหม ดังนี้เป็นต้น อัตตานี้ ที่ว่าตัวตนนั้น ถ้าจะให้ชัดขึ้น ก็คือตัวเราตัวเขา ขอให้ดูตัวอย่างในพุทธภาษิตบาลีที่แม่นกัน ทั่วไปว่า “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ” แปลว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน คือตัวเราเป็นที่พึ่งของตัวเรา (ตัวเขาก็ เป็นที่พึ่งของตัวเขา) นี่เป็นการใช้ในภาษาสมมติ ทีนี้ในความจริงแท้ เราก็เรียนรู้กันว่าตัวเรานั้นไม่มี จริง เรายอมรับกันแค่ตามสมมติ แต่ตอนนี้ พูดถึงนิพพาน ก็จะพูดถึงความจริงที่แท้กันละ ก็คือถาม ว่า นิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวเรา (เป็นตัวเขา) ไหม? ท่านผู้รู้บางท่านจะช่วยให้ชัด ท่านใช้คำที่เข้มคม ตรงจุดไปเลยว่า “ตัวกู” ก็พูดให้เข้มอย่างท่านว่า นิพพานเป็นตัวกูไหม? พอบรรลุนิพพาน นิพพานก็เป็น อัตตา เป็นตัวกู อย่างนั้นหรือ? นิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวกูจริงไหม? ถ้านิพพานเป็นอัตตา มาเป็นตัวกู ก็มาเป็นเจ้าการ นิพพานก็ จะสั่งการบังคับบัญชาอะไรๆ ตามปรารถนา มาสั่งบังคับบงการอะไร ก็ไม่มีอะไรอื่นให้สั่ง นอกจาก สั่งบังคับสังขารหรือบังคับขันธ์ ๕ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ข้ามจากอสังขตะ เข้ามายุ่งกับสังขตธรรม ถ้าอย่างนี้ นิพพานก็หมดภาวะของนิพพาน ไม่มีเหลือ ไม่ตรงกับภาวะของนิพพานที่พระพุทธเจ้าตรัส ไว้เลย ก็ไม่ใช่นิพพานแล้ว อย่างน้อยก็ไม่ใช่นิพพานแบบพระพุทธเจ้า ข้อสาม พอบอกว่านิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวกู (ตอนนี้เปลี่ยน ไม่เอาขันธ์ ๕ หรือสังขารเป็น “เอโส เม อตฺตา” แต่เอานิพพานป็นอัตตา คือเป็น “เอโส เม อตฺตา”) ก็มาเข้าเรื่องความยึดถือ หมายความว่า นิพพานจะเป็นอัตตา จะเป็นตัวกูได้ ก็คือมีความยึดถือ ได้แก่อุปาทาน นี่ก็ขัดกับสภาวธรรมเอง เพราะจะประจักษ์นิพพานได้ ต้องหมดสิ้นอุปาทานแล้ว จะถึงนิพพาน ก็เมื่อไม่มีอุปาทาน ไม่มีความ ยึดถือ ไม่ต้องพูดถึงจะยึดเอานิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวกู แม้แต่เมื่อบรรลุนิพพานแล้ว พระอรหันต์ก็ ไม่มีความสำคัญหมายว่านิพพานของเรา หรือของข้าของกู การยึดถือนิพพานเป็นอัตตา เป็นตัวกู จึง ไม่เข้าแม้แต่ในทางของนิพพาน |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 31 พ.ค. 2021, 12:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม? |
ข้อสี่ ถ้าจะห้นิพพานเป็นอัตตา ที่ต่างหาก เป็นตัวกู ที่ใหญ่ สูงสุด นิพพานก็เป็นเจ้าอำนาจ เป็นเจ้าการที่สั่งบังคับบัญชาทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอัตตา คืออาตมันสูงสุด กลายเป็นอย่าง ปรมาตมัน หรือพระพรหม หรือพระผู้เป็นเจ้า ผู้สร้างผู้บันดาล ผู้สร้างโลกจัดสรรมนุษย์ อย่าง ในศาสนาเทวนิยม นับว่าเป็นเจ้าใหญ่แห่งสรรพสังขาร แต่นิพพานเป็นสภาวะบริสุทธิ์สุข สงบเป็นอิสระ เป็นวิสังขาร พ้นไปแล้วจากสังขาร ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสังขตธรรม เป็นต่างเรื่อง ต่างสภาวะ ห่างไกลอย่างตรงข้ามกัน จึงเป็นไปไม่ได้ ข้อห้าย้ำที่หลักสำคัญเกี่ยวกับเรื่องอัตตาโดยตรง หลักพระพุทธศาสนาบอกชัดเจนว่า การถืออัตตา การถือว่ามีว่าเป็นอัตตา เป็นกิเลส ที่เรียกว่าอุปาทาน คือความยึดติดถือมั่น หรือถือผิด อย่างหนึ่ง มีชื่อเฉพาะว่า “อัตตวาทุปาทาน” แปลว่า ความยึดติดถือมั่นวาทะว่ามี ว่าเป็นอัตตา อย่างที่พูดมาแล้วว่าภวตัณหา คือความอยาก(ให้ตัวตน)มีอยู่เป็นอยู่ยั่งยืนตลอดไป อันนี้เป็น ตัวการที่ทำให้เกิดความยึดถือหรืออุปาทานนี้ แต่ถ้าอยู่แค่ภวตัณหา ก็ได้แต่อยาก ยังไม่มา ถึงตัวปัญหาจริง ตอนนี้ เราข้ามเรื่องตัณหา มาจับที่อุปาทานตัวเจ้าของเรื่องนี้เลย ขอให้สังเกตชื่อของกิเลสตัวนี้ว่ายาว คือ “อัตตวาทุปาทาน” ไม่ใช่มีเฉพาะตัว “อัตตา” กับความ ยึดที่เรียกว่า “อุปาทาน” แต่ยังมีคำว่า “วาท” คือวาทะ แทรกเข้ามาอีกด้วย นี่ก็คือ ไม่ใช่แค่ว่า อุปาทานยึดอัตตา แต่กลายเป็น อุปาทานยึดวาทะว่าอัตตา ที่ว่าให้สังเกต ก็เพราะว่า ดังที่เคยกล่าวแล้วว่า “อัตตา” ไม่มีจริง เมื่ออัตตาไม่มีจริง ถ้าพูด อย่างเคร่งครัด จะไปยึดถืออัตตาที่ไหน เพราะไม่มีอัตตาให้ยึด ในที่นี้ เป็นศัพท์สำคัญ จะให้ ชัด ก็ใส่ “วาทะ” แทรกเข้ามา ก็ได้ความว่า ไม่ใช่ยึดอัตตา แต่ยึดวาทะแม้แต่ถ้อยคำที่ส่อแสดง ความคิดความเข้าใจว่ามีว่าเป็นอัตตา ก็เป็นกิเลสที่ต้องละ เป็นคำศัพท์ที่เรียกได้ว่าเคร่งครัด (เคยบอกแล้ว และยกตัวอย่างหลายครั้งแล้วว่า ในที่ทั่วไป บางทีท่านใช้คำแค่หลวมๆ เช่นว่า ละอัตตา ก็ให้รู้กันว่า หมายถึงละความยึดถือในความเห็นว่าเป็นว่ามีอัตตา) ทีนี้ก็มาถึงจุดสำคัญ ดังที่ว่าอัตตวาทุปาทานนี้เป็นกิเลสสำคัญ อยู่ในอุปาทาน ๔"ฟๆๆ ที่ พระอรหันต์ละหมดสิ้นแล้ว ผู้ที่หมดความยึดถือวาทะว่ามีว่าเป็นอัตตา ไม่ยึดถือเอาอะไรเป็น อัตตาแล้ว จึงจะบรรลุอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ เป็นอันชัดไปว่า ผู้ถึงนิพพาน คือพระอรหันต์ นั้น ไม่ยึดเอาอะไรเป็นอัตตา รวมทั้งไม่มองไม่หาไม่เอานิพพานเป็นอัตตา ส่วนคนที่ยังมีอัตตวาทุปาทาน ยังยึดถือวาทะว่ามีอัตตา หรือเห็นอะไรเป็นอัตตา ก็คือผู้ยังมีกิ เลส ยังไม่เห็น ยังไม่ถึงนิพพาน คนเหล่านี้ยังยึดถืออัตตามากบ้างน้อยบ้าง แต่ในเมื่อยังไม่รู้จัก นิพพาน ยังไม่พบของจริง ที่เป็นวิสังขาร แม้ว่าเขาจะยึดอะไรก็ตามเป็นอัตตา ถึงแม้จะยึดเอา นิพพานเป็นอัตตา แต่เขาไม่ถึงนิพพาน จึงรู้จักแค่สังขารมองเห็นแค่สังขาร ดังนั้น ทุกอย่างที่ เขายึดถือว่าเป็นอัตตา รวมทั้งนิพพานของเขา ก็เป็นแค่สังขาร คือวนเวียนอยู่ในขันธ์ ๕ เท่านั้น คือว่า ถ้าเขาว่านิพพานเป็นอัตตา ก็คือเขายึดเอาภาพของนิพพาน ซึ่งที่จริงเป็นสังขาร ในขันธ์ ๕ ว่าเป็นอัตตา หมายความว่า การยึดถืออัตตาของเขา ไม่พ้นไปจากขันธ์ ๕ นั่นเอง ในที่สุด จึงสรุปด้วยพุทธพจน์ว่า “เรามองไม่เห็นความยึดถือวาทะว่ามีว่าเป็นอัตตา อย่างใด ที่เมื่อยึดติดถือมั่นเข้าแล้ว จะไม่ก่อ ให้เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส" |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |