วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับนิพพาน

๑. นิพพาน กับอัตตา

ในเรื่องนิพพานกับอัตตา บางคนยังมีปัญหาที่ติดค้างในใจว่า

ในขั้นสุดท้าย พระพุทธศาสนายอมรับว่ามีอัตตาหรือไม่?

การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่อัตตา จะเป็นการชี้แนะให้เราหันไปรู้จักสิ่งอันนอก
เหนือจากขันธ์ ๕ ออกไป ซึ่งเป็นอัตตาที่แท้ ใช่ไหม?

นิพพานมีอัตตา นิพพานเป็นอัตตา ใช่หรือไม่?

มีข้อควรทำความเข้าใจโดยย่อ ดังนี้

๑. ความเชื่อถือและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับอัตตา หรืออาตมันนั้น มีมูลรากเกิดจาก ภวตัณหา
คือ ความอยากความปรารถนาที่จะมีอยู่คงอยู่ตลอดไป จากภวตัณหานั้น จึงทำให้ไขว่คว้า
หาอะไรสักอย่างหนึ่งมาเป็นแกนหรือเป็นเนื้อแท้อันยั่งยืนของชีวิต ที่จะคงอยู่เที่ยงถาวรตลอด
นิรันดร์ เป็นเหตุให้สร้างความสำคัญมั่นหมาย หรือทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาขึ้น โดยยึดเอาส่วน
ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งของชีวิตว่าเป็นอัตตา

ภาพอัตตา หรือทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาที่สร้างขึ้น ย่อมเป็นไปตามความสัมพันธ์ระหว่างภวตัณหา
กับสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา ในชั้นต้น ระดับที่ง่ายที่สุด ก็ยึดกายเป็นอัตตา แต่ก็เห็นได้ชัดใน
ไม่ช้าว่า ร่างกายไม่มีภาวะยั่งยืนที่จะสนองภวตัณหาได้ จึงค้นหาสิ่งที่จะยึดเป็นอัตตาต่อไป
อีก ถัดมาก็ยึดถือจิตเป็นอัตตา เมื่อเห็นว่ายังไม่อาจสนองตัณหาได้จริง ก็ค้นหาต่อไป จน
ถึงขั้นยึดเอาภาวะที่ถือว่าเป็นต้นเดิมของสิ่งทั้งหลายบ้าง ยึดเอาประสบการณ์อันเป็นภาวะ
ประณีตลึกซึ้งที่พบในฌานระดับต่างๆ บ้าง ว่านี้แหละเป็นอัตตาที่แท้จริง

ในระหว่างนี้ สัญญา หรือภาพที่กำหนดหมายและทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาหรืออาตมัน ก็มีลักษณะ
ประณีตยิ่งขึ้นโดยลำดับ แต่ไม่ว่าทฤษฎีไหนจะประณีตเพียงใด ก็มีเนื้อแท้อย่างเดียวกัน คือ
สนองภวตัณหา ให้สมอยากที่จะมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป

๒. จุดผิดพลาดในเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ที่สิ่งซึ่งถูกยึดถือเป็นอัตตาหรือเป็นอาตมัน สิ่งเหล่านั้น พูด
รวมๆ เรียกว่าธรรม หรือบางทีเรียกให้มองชัดขึ้นว่าเป็นสภาวธรรม ก็คือเป็นสิ่งที่มีภาวะของมัน
เอง ที่มันเป็นเช่นนั้น เป็นของมันอย่างนั้น และเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของ
มัน เช่น ถ้าเป็นสังขตธรรม มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน เป็นต้น จึงไม่ต้องมีอัตตา ไม่ต้องมี
ตัวตนหรือตัวอะไร ที่จะมาแทรกมาแซง เข้ามาเป็นแก่นเป็นแกน หรือมาครอบมาครอง มาสั่ง
บังคับให้เป็นหรือไม่ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ซ้อนเข้าไปอีก ซึ่งจะทำให้สับสน และก็เป็นไปไม่ไ
ด้ เพราะไม่มีอัตตา สภาวธรรมทั้งหลายจึงเป็นของมันอยู่ได้อย่างนั้นเช่นนั้น

ในเมื่อสิ่งทั้งหลาย คือสภาวธรรมทั้งหลาย ก็เป็นของมันอย่างนั้นเช่นนั้น ตามธรรมดาของมัน
ไม่ต้องมีและไม่อาจจะมีอัตตาซ้อนเข้ามาอีก ชัดเจนอยู่แล้ว การที่มีความยึดถืออัตตา ก็เป็น
ความผิดพลาด เป็นการสร้างภาพสิ่งที่ไม่จริงสิ่งที่ไม่มี ใส่ซ้อนเข้ามา แล้วทำไมจึงเกิดความ
ผิดพลาดนั้น ก็ตอบได้ว่า มูลเหตุของความผิดพลาด ได้แก่ภวตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน
คือความยึดถือ ทำให้สร้างภาพอัตตาขึ้น ซึ่งเมื่อเข้าไปยึดเข้าไปจับสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่ง
จริงแท้ หรือไม่จริงแท้ก็ตาม สิ่งนั้นๆ ก็ถูกมองเห็นเป็นภาพที่ผิดพลาดบิดเบือนไปหมด ผลที่
ได้จากการมองอันบิดเบือนนี้ ก็คือ ตัวอัตตา หรือภาพอัตตา ที่นำมายึดถือเอาไว้

ในการแก้ปัญหา สิ่งที่จะต้องทำ จึงมิใช่อยู่ที่มาวินิจฉัยกันว่า ยึดอะไรเป็นอัตตา จะผิดจะถูก
หรือว่าอะไรเป็นอัตตา อะไรไม่เป็นอัตตาที่แท้จริง สิ่งที่ต้องแก้ไข ก็คือตัวความยึดถือในอัต
ตานั่นเอง ซึ่งหมายถึงทั้งภาพ สัญญา ทฤษฎีอัตตาที่สร้างขึ้น ตลอดไปจนถึงรากเหง้า คือภว
ตัณหา ซึ่งเป็นตัวการให้สร้างภาพ สัญญา ทิฏฐิ หรือทฤษฎีอัตตานั้น และให้ไปยึดเอาสิ่งนั้น
บ้าง สิ่งนี้บ้าง เป็นอัตตา แล้วพัฒนาทฤษฎีอัตตาให้ประณีตขึ้นไปตาม พูดตามหลักธรรมว่า
ให้ถอนอัตตทิฏฐิหรืออัตตานุทิฏฐิ สลัดอัตตวาทะ และละภวตัณหาเสีย

๓. การตีความที่เลยเถิดกันออกไป จนมาถกเถียงกันว่า พระพุทธศาสนาไม่ถือว่า ขันธ์ ๕
เป็นอัตตา แล้วอะไรจะเป็นอัตตาแท้จริง นิพพานคืออัตตาใช่หรือไม่ ข้อนี้เป็นความผิดพลาด
ซึ่งเกิดจากการจับผิดที่ คือ ไปมองว่าสิ่งใดถูกพระพุทธเจ้าปฏิเสธ ไม่ให้ยึดถือเป็นอัตตา แทน
ที่จะมองว่า ตัวความยึดถือในอัตตานั้นถูกพระองค์ปฏิเสธอย่างไร พูดอีกนัยหนึ่งว่า มัวแต่คอย
จ้องจับว่าสิ่งนี้ถูกปฏิเสธ ไม่ถูกปฏิเสธ เลยมองไม่เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธตัวการยึดถือ
หรือตัวทิฏฐิ ที่ทำให้สิ่งนั้นๆ กลายเป็นอัตตาขึ้นมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่พระพุทธเจ้าทรงยกขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญานขึ้นมาเป็น
เป้าตัวอย่าง (เรื่องอายตนะ ก็ทรงยกเป็นเป้าบ่อยเหมือนกัน) ในการแสดง ไตรลักษณ์ ให้มอง
เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สิ่งที่จะพึงเข้าไปยึดถือเอาไว้ได้จริงนั้น ก็เพราะขันธ์ ๕ เป็น
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ทั่วไปจะรู้จะนึกคิดถึงได้ และครอบคลุมสิ่งที่ยึดถือกันอยู่ทั่ว
ไปว่าเป็นตัวตน แม้แต่ประสบการณ์ในฌาน ก็อยู่ในขันธ์ ๕ และเมื่อทรงปฏิเสธขันธ์ ๕ แล้ว
ก็มิใช่จะให้ไปหาอะไรมายึดแทนอีก เพราะจุดมุ่งในการสอนอยู่ที่การถอนทิฏฐิว่ามีอัตตา
ความยึดถือในอัตตา ตลอดลงไปจนถึงราก คือภวตัณหาต่างหาก หาใช่เพียงเพื่อให้รู้ว่าขันธ์
๕ มิใช่อัตตาไม่

ตัวอัตตทิฏฐิ หรืออัตตานุทิฏฐิ และอัตตสัญญานี้ ถ้าไม่ละเสีย ถึงจะจับเอาไปใส่ให้กับสิ่งใด
ก็ไม่มีทางถูกต้องได้ อัตตามีอยู่แต่เพียงในความยึดถือของมนุษย์ เมื่อปฏิเสธความยึดถือ
นั้นเสร็จแล้ว เรื่องอัตตาก็จบไปด้วย ยังจะไปหาอัตตาจริงอัตตาเท็จอะไรกันอีก

ถ้าพระพุทธเจ้าจะทรงปฏิเสธขันธ์ ๕ ว่ามิใช่อัตตา และทรงมีจุดหมายเตรียมไว้ที่จะให้ยึดอะ
ไรเป็นอัตตาแท้จริงแล้ว เมื่อทรงปฏิเสธขันธ์ ๕ เสร็จ ก็คงจะทรงชี้บอกต่อไปให้ชัดเจนเป็น
แน่ว่า สิ่งนั้นคืออะไร คงไม่ทรงปล่อยให้ต้องมาเดาเถียงกันอยู่อีก

ภาพอัตตา หรือความสำคัญหมายว่าเป็นอัตตา (อัตตสัญญา) ก็ดี ความเห็นหรือทฤษฎีเกี่ยว
กับอัตตา (อัตตทิฏฐิ หรืออัตตานุทิฏฐิ) ก็ดี ความยึดติดถือมั่นที่ให้พูดยันอยู่ว่ามีอัตตาเป็น
อัตตา (อัตตวาทุปาทาน) ก็ดี เป็นความเคยชิน ที่ถือกันมา สั่งสมกันมา ไหลต่อเนื่องไป
ข้างเดียว จนติดฝังแน่น เมื่อถูกขัดแย้ง จึงมักให้หาทางเลี่ยงออก ทำให้มีการค้นหากันอีก
ว่า เมื่อนี่ไม่ใช่อัตตาแล้ว อะไรจะเป็นอัตตา จึงต้องย้ำในข้อที่ว่า อัตตาเป็นภาพที่ถูกสร้าง
ขึ้นจากภวตัณหา มีอยู่ในความยึดถือ คือกลายเป็นอุปาทาน เมื่อหมดความอยากถอนความ
ยึดถือนั้นแล้ว ก็ไม่มีเรื่องต้องพูดถึงอัตตาอีก เมื่อละภวตัณหาได้แล้ว อัตตาก็หมดความ
หมายไปเอง

การที่ยังค้นหาอัตตาอยู่อีก เป็นการฟ้องอยู่ในตัวว่า ยังพะวงห่วงอยากมีอัตตาอยู่อีก กล่าว
คือ เมื่อภาพอัตตาที่ตนยึดถืออยู่เดิม ถูกคุกคามทำลาย ก็ตกใจ กลัวตัวตนจะขาดสูญพิ
นาศเสีย จึงไขว่คว้าหาอัตตาใหม่มายึด หรือคว้าสิ่งอื่นมายึดเป็นอัตตา แสดงให้เห็นว่า ยัง
คงยึดอยู่ในภาพสัญญาของอัตตา ในอัตตานุทิฏฐิ ในอัตต-วาทะ และตัวภวตัณหาที่เป็น
มูลรากก็ยังคงอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์

เมื่อยังมีภวตัณหา และภาพอัตตาก็ยังคงอยู่ในใจ ถึงสิ่งที่ถูกยึดเป็นอัตตาจะเปลี่ยนไปเป็น
อีกอย่างหนึ่ง แต่สาระสำคัญก็คงเดิม คือยึดตัวอัตตาที่เป็นภาพในใจนั่นแหละ เพียงแต่ระ
บายภาพอัตตาที่ว่านั้น ให้วิจิตรพิสดารออกไป สมกับสิ่งที่ถูกยึดใหม่อีกหน่อย

ถ้าแม้การยึดถืออัตตาไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่จริงแท้ ก็จะบิดเบือนภาพของสิ่งนั้นให้ผิด
พลาดไปด้วย ถ้าไปยึดนิพพานเป็นอัตตา ก็จะได้ภาพที่บิดเบือนของนิพพาน ซึ่งเคลือบ
ด้วยตัณหาของตน ซึ่งไม่ใช่นิพพานตัวจริง คือยังไม่ถึงนิพพานนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. หลักฐานโดยทั่วไปในคัมภีร์ กล่าวถึงหลักอนัตตารวมอยู่ในไตรลักษณ์ว่า

“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

พุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอยู่แล้วว่า ขอบเขตของอนัตตากว้างขวางกว่าอนิจจัง และ
ทุกข์ กล่าวคือ ในสองอย่างแรก สังขาร (คือ สังขตธรรม) ทั้งปวง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แต่ในข้อสุดท้าย
ธรรมทั้งปวง ซึ่งบอกชัดอยู่แล้วว่า ไม่เฉพาะสังขารคือสังขตธรรมเท่านั้น แต่ทั้งสังขารและธรรม
อื่นนอกจากสังขาร คือ ทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม (ทั้งสังขาร และวิสังขาร) เป็นอนัตตา

โดยเฉพาะคัมภีร์ปริวาร แห่งพระวินัยปิฎก ชัดสำทับลงไปทีเดียวว่านิพพาน เป็นอนัตตา คือรวมอยู่
ในคำว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังข้อความเป็นคาถาในบาลีว่า

“สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็น
อนัตตา วินิจฉัยมีอยู่ดังนี้”

แม้จะถือว่า ปริวารเป็นคัมภีร์รุ่นหลังในชั้นพระด้วยกัน แต่ก็อยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง คือเป็นมติของ
พระพุทธศาสนายุคต้นๆ ก่อนยุคอรรถกถา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อความกล่าวไว้อย่างนี้ ผู้ศึกษาก็ควรกำหนดความหมายด้วยความระมัด
ระวัง ทั้งนี้เพราะว่า แม้แต่พระพุทธองค์เอง ก็ตรัสเรื่อง อัตตา- อนัตตา อย่างทรงระมัดระวัง ดังจะ
เห็นได้จากลักษณะทั่วไปในการตรัสถึงเรื่องนี้ ซึ่งสรุปได้ ๒ อย่าง คือ

ก. เมื่อผู้ฟังมีพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นเพียงพอ คือมีความพร้อม พระองค์จะทรงแสดงเรื่อง
อนัตตา โดยตรัสพร้อมไปกับสิ่งที่ถูกยึดว่าเป็นอัตตา และตัวความยึดถือที่จะต้องละเสีย ดังตัว
อย่างที่เห็นได้ทั่วไป เมื่อตรัสเรื่องขันธ์ ๕ และ อายตนะ ๑๒ ตามหลักไตรลักษณ์

ข. ถ้าใครตั้งคำถามขึ้นมาเดี่ยวโดดลอยๆ เพื่อต้องการคำตอบในเชิงอภิปรัชญาว่า อัตตามีหรือไม่มี
พระพุทธเจ้าจะทรงนิ่งเสีย ไม่ทรงตอบ

เพื่อเข้าใจเหตุผลในเรื่องนี้ ขอย้อนกลับไปหาความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ที่ว่าเป็นอัตตานั้น ความ
จริงก็คือความสำคัญหมายว่าเป็นอัตตา หรือภาพอัตตาที่ยึดถือเอาไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความ
สัมพันธ์ระหว่างภวตัณหา กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกยึดว่าเป็นอัตตา

อัตตานั้นเนื่องอยู่กับสิ่งที่ถูกยึดถือ แต่ก็ไม่มีอยู่ต่างหากจากที่ภวตัณหา เป็นสาเหตุให้ยึดถือ สิ่งที่
ถูกยึดถือย่อมเป็นไปตามสภาพหรือกฎธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการที่ใครจะไปยึดมันว่าเป็น
อัตตาหรือไม่ สิ่งที่ต้องจัดการแท้จริง คือ ภวตัณหา เมื่อละภวตัณหาได้ ก็ละอัตตาหรือภาพอัตตา
ที่ยึดถือหรือหมายมั่นไว้ในใจได้ด้วย เมื่อละได้อย่างนี้แล้ว ปัญหาเรื่องอัตตาเป็นอันจบสิ้นไปใน
ตัว ไม่ต้องยกอัตตาหรือภาพอัตตานั้นไปใส่ให้แก่สิ่งใดอื่นอีก อัตตายุติที่การทำลายความยึดถือที่
มีมาเดิมเท่านั้น และเป็นไปเองพร้อมกับการละความยึดถือได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ตรงข้าม ถ้ายังละภวตัณหาไม่ได้ ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาสำเร็จ เมื่อถูกปฏิเสธ อาจยอมรับโดยทา
งเหตุผล แต่ลึกซึ้งลงไป เป็นการฝืนต่อภวตัณหา จึงไม่อาจยอมรับได้ เมื่อถูกปฏิเสธอย่างหนึ่ง
ก็ต้องควานหาอย่างอื่นมายึดต่อไป อาจออกไปในรูปอย่างใหม่ หรือประชดด้วยทฤษฎีที่ตรงข้าม
กับอัตตา คือความไม่มีอัตตา ชนิดอัตตาขาดสูญ

ในการแสดงอัตตาแบบแรก (ตามข้อ ก.) พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ผู้ฟังยึดถือว่าเป็นอัตตา
อยู่นั้น ผิดพลาดไม่ถูกต้องอย่างไร ไม่อาจยึดถือได้จริงอย่างไร เมื่อผู้ฟังมองเห็นความเข้าใจผิดของ
ตน ก็จะมองเห็นโทษของการยึดถือไปด้วยในตัว พร้อมทั้งมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการไม่
ยึดถือ เข้าใจความหมายของการเป็นอยู่อย่างไม่ยึดมั่น เป็นอิสระ รู้ว่าควรจะปฏิบัติต่อชีวิตอย่าง
ไร ควรวางท่าทีอย่างไรต่อโลก จึงจะถูกต้อง เป็นการก้าวหน้าไปอย่างมีจุดหมาย ไม่ทิ้งช่องว่างไว้ให้
เกิดความเคว้งคว้างอ้างว้างสำหรับภวตัณหาจะก่อปมปัญหาทางจิตวิทยาแก่ผู้ฟัง เพราะในระหว่างทำ
ความเข้าใจกันนั้น ผู้ฟังจะค่อยๆ ถอนอัตตานุทิฏฐิ บรรเทาภวตัณหาลงไป พร้อมกับที่คำถาม
เรื่องอัตตาค่อยๆ ละลายตัวหมดไปเอง

วิธีแสดงหรืออธิบายแบบแรกนี้ มีผลแก่ผู้ฟังต่างกันมากกับการแสดงแบบที่สอง (ตามข้อ ข.) ตาม
แบบหลังนั้น ผู้ตั้งคำถามมีภวตัณหา หรือไม่ก็วิภวตัณหา ซ่อนอยู่เต็มที่ อาจตั้งปัญหาเพื่อสนองตัณหา
ของตนก็ได้ พร้อมกับตัณหานั้น ก็มีทิฏฐิเป็นเงื่อนปมผูกอยู่ด้วย คือ เป็นสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง )
หรืออุทเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)อย่างใดอย่างหนึ่ง

การตอบรับหรือตอบปฏิเสธแก่คำถามเชิงอภิปรัชญาอย่างนี้ แก่ผู้มีความยึดมั่นอยู่ เป็นการก่ออันตราย
มาก เรียกว่าเป็นคำถามที่ทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเช่นไร เขาก็จะสร้างความคิดความ
เข้าใจต่างๆ ขึ้น โดยอาศัยความเข้าใจที่เขายึดถือเป็นฐาน ถ้าคำตอบตรงกับข้อที่เขายึดถือ ก็เป็นการ
ยืนยันรับรองทิฏฐิของเขาตามแนวที่เขาเองเข้าใจอยู่โดยเฉพาะ ถ้าไม่ตรงกัน เขาก็จะแล่นไปลงข้อ
สรุปในทางตรงข้าม คือ เป็นเที่ยง หรือเป็นขาดสูญอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ฟังโน้มไปทางสัสสตทิฏฐิ เมื่อตอบรับว่าอัตตามี ก็จะส่งเสริมให้เขายึดมั่นในสัสสต
ทิฏฐิแน่นแฟ้น ถ้าปฏิเสธว่าอัตตาไม่มี เขาก็จะโดดไปลงข้อสรุปที่สุดทรงตรงข้ามว่า คำตอบนั้น
หมายถึงขาดสูญ คือเป็นอุจเฉททิฏฐิ และทิ้งให้เกิดช่องว่างทางความคิด เช่น อาจคิดนอกลู่นอก
ทางออกไปว่า ในเมื่อไม่มีอัตตา ตัวตนไม่มี การฆ่า การทำลาย เบียดเบียนกัน ก็ไม่มีผลอะไร ไม่มี
ใครทำกรรม ไม่มีใครรับผลกรรม จะทำกรรมดีไปทำไม บางคนก็อาจเกิดปมกลัวความขาดสูญ กลัว
ว่าเราจะไม่มีต่อไป บางคนก็อาจเห็นไปว่านิพพานเป็นความขาดสูญ เลยใจตก ไม่อยากปฏิบัติธรรม
ต่อไป ดังนี้เป็นต้น นับว่าเป็นภัยร้ายแรงแก่ปุถุชน

รวมความก็คือ คำถาม-คำตอบประเภทนี้ ก่อผลแก่ปุถุชนในทางที่ทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน การ
สร้างความคิดเหตุผลไปตามแนวตัณหาและทิฏฐิ ของตน และต้องแล่นไปตกในทิฏฐิที่ตรงข้าม
กันสองอย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอไป คือถ้าไม่ลงสัสสตทิฏฐิ ก็ต้องลงอุจเฉททิฏฐิ ซึ่งพระพุทธ
ศาสนาไม่ใช่ทั้งสัสสตทิฏฐิ ไม่ใช่ทั้งอุจเฉททิฏฐิ

บางคราว ผู้ศึกษามองความหมายของคำว่าอัตตา ในแง่เป็นเนื้อแท้หรือแก่นแท้ของสิ่งทั้งหลายทั่วๆ
ไป คือมองในขอบเขตกว้างขวางออกไปกว่าอัตตาที่มนุษย์ยึดถืออยู่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีอยู่ คงอยู่
เที่ยงถาวรของชีวิตมนุษย์เอง ความจริง แม้ในความหมายแง่นี้ หลักทั่วไปก็อย่างเดียวกัน คือเกี่ยว
ข้องกับความยึดถือของมนุษย์ แต่ถ้าพิจารณาความต่อไปนี้ อาจเข้าใจชัดยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษามาจนปานนี้

นิพพานเป็นอัตตา เป็นอนัตตา หรือไม่ใช่ทั้งสอง ก็เป็นได้ทั้งหมด อยู่ที่จะมองในแง่ไหนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
ศึกษามาจนปานนี้

นิพพานเป็นอัตตา เป็นอนัตตา หรือไม่ใช่ทั้งสอง ก็เป็นได้ทั้งหมด อยู่ที่จะมองในแง่ไหนครับ


ความเข้าใจแบบนี้เป็นความเข้าใจของ ลัทธิอมราวิกเขปิกทิฐิ ลัทธินี้ความเห็นไม่แน่นอน ซัดส่าย
ไหลลื่นเหมือนปลาไหล เพราะเหตุหลายประการ เช่น เกรงจะพูดปด เกรงจะเป็นการยึดถือ เกรงจะ
ถูกซักถาม เพราะโง่เขลา จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่ยอมรับและไม่ยืนยัน
อะไรทั้งหมด เจ้าลัทธินี้ คือ สัญชัย เวลัฏฐบุตร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์เดิมของพระโมคคัลลานะ
และพระสารีบุตร อมราวิกเขปิกทิฐิ เป็นเหมือนกับการใช้วาทศิลป์ในการแก้ปัญหา ใช้การ
พูดเหตุผลไม่ตายตัว เหมือนการโต้วาที เอาแน่นอนไม่ได้ไม่ตายตัว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มันก็อาจจะใช่นะครับ เพราะผมยังไม่ถึงพระนิพพาน

แต่ถ้าลุงหมานถามหาเหตุผล ว่าทำไมผมคิดแบบนี้ ผมก็ตอบได้หมดนะ ไม่ได้ลื่นไหลตอบไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เรื่องนิพพานเป็นของสูง ละเอียดอ่อน ปัญญายังไม่ถึง อธิบายไปมันก็มีสิทธิ์ที่จะผิดพลาดได้มาก
เวลาอภิปรายเรื่องนี้ก็มักมีความไม่สบายใจเกิดขึ้นมาได้

แต่ว่าเวลาครูบาอาจารย์บอกว่านิพพานเป็นอัตตา ผมก็เข้าใจ
เวลาครูบาอาจารย์ท่านไหนบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา ผมก็เข้าใจ
เวลาบอกว่าไม่ใช่ทั้งอนัตตาและอัตตา ผมก็เข้าใจเหมือนกัน

ผู้ที่กล่าวข้างต้นก็อ้างว่าตนถึงนิพพานกันแล้วทั้งนั้น

บางทีเรื่องนี้อธิบายไปก็มากความออกจะเสียเวลายืดยาว ผู้ที่ถึงพระนิพพานเท่านั้นจึงนับว่าเป็นประเสริฐ รู้แจ้งอย่างแท้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2021, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
แต่เรื่องนิพพานเป็นของสูง ละเอียดอ่อน ปัญญายังไม่ถึง อธิบายไปมันก็มีสิทธิ์ที่จะผิดพลาดได้มาก
เวลาอภิปรายเรื่องนี้ก็มักมีความไม่สบายใจเกิดขึ้นมาได้

แต่ว่าเวลาครูบาอาจารย์บอกว่านิพพานเป็นอัตตา ผมก็เข้าใจ
เวลาครูบาอาจารย์ท่านไหนบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา ผมก็เข้าใจ
เวลาบอกว่าไม่ใช่ทั้งอนัตตาและอัตตา ผมก็เข้าใจเหมือนกัน

ผู้ที่กล่าวข้างต้นก็อ้างว่าตนถึงนิพพานกันแล้วทั้งนั้น

บางทีเรื่องนี้อธิบายไปก็มากความออกจะเสียเวลายืดยาว ผู้ที่ถึงพระนิพพานเท่านั้นจึงนับว่าเป็นประเสริฐ รู้แจ้งอย่างแท้จริง


เป็นอันว่า ขอขอบคุณครับที่ได้ติดตามอ่าน และมาร่วมสนทนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2021, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีใครตั้งคำถามว่า สิ่งทั้งหลายมี หรือไม่มี ถ้าตอบอย่างเคร่งครัด ทั้งคำว่ามี และไม่มี
ถ้าใช้โดยไม่ระวัง ก็พลาดได้ เพราะอาจจะกลายเป็นการแสดงถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ
ดังกล่าวแล้วข้างต้น ถ้าจะตอบ ก็ต้องแยกแยะให้ดี เช่น ไม่ตอบโผงผางเป็นคำเดียวเดี่ยว
โดดเด็ดขาดว่า มี หรือ ไม่มี แต่ทำความเข้าใจกันก่อนว่า คำว่าสิ่งทั้งหลายที่คนทั่วไปเข้าใจ
และใช้พูดกัน ก็หมายถึงสิ่งที่เกิดมีตามเหตุปัจจัย ทางพระเรียกว่าสังขาร หรือสังขตธรรม
สิ่งเหล่านี้มีอยู่ชั่วคราว หรือชั่วขณะ เช่นรูปธรรมทั้งหลาย เกิดมีขึ้น แล้วก็ดับหายไป เกิด
ดับๆ มีอยู่อย่างมีเงื่อนไข คืออาศัยกันเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย (เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม) ทำนอง
เป็นกระแส เป็นกระบวน

ดังนั้น แทนที่จะใช้คำตอบว่า มี หรือไม่มี ท่านจะพูดโยงไปหากระบวนธรรม หรือพูดถึงกระ
บวนธรรมแทน คือไม่พูดถึงสิ่งนั้นเดี่ยวโดด แต่พูดถึงกระบวนการที่สิ่งนั้นปรากฏขึ้น
คำตอบเหล่านี้ มุ่งเพื่อปฏิเสธภาพของสิ่งทั้งหลายที่คนเรายึดถือเอาไว้ผิดๆ

แม้คำว่าอนัตตา ก็มุ่งเพื่อปฏิเสธภาพอัตตา ซึ่งซึ่งตัณหาและทิฏฐิได้สร้างขึ้นมายึดถือไว้ผิดๆ
เมื่อถอนความยึดถือนั้นแล้ว ตัวอัตตาหรือภาพอัตตาก็หมดไปเอง แต่ถ้ามาเข้าใจอนัตตา ว่าไม่
มีอัตตา ในความหมายอย่างที่ปุถุชนเข้าใจ ก็เป็นอันกระโดดไปเข้าเขตอุจเฉททิฏฐิ ซึ่งเป็น
ความเห็นผิดไปอีก

ในสุตตนิบาต มีข้อความหลายแห่งที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงภาวะของผู้หลุดพ้นแล้วว่า ไม่มี
ทั้งอัตตัง ทั้ง นิรัตตัง หรือไม่มีทั้งอัตตา ทั้งนิรัตตา แปลว่า ไม่มีทั้ง “อัตตา” ทั้ง “ไม่มีอัตตา”
คือไม่มีภวตัณหาที่จะแสวงหาอัตตา และไม่มีภวทิฏฐิที่จะยึดมั่นในเรื่องอัตตา ให้เกิดเป็นอัตต
ทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิขึ้น อีกนัยหนึ่ง อธิบายว่าไม่มีทั้ง “มีอัตตาอยู่” ทั้ง “หมดอัตตาไป” (เดิม
เคยยึดว่ามีอัตตา ยึดว่านั่นนี่เป็นอัตตา แล้วมาเข้าใจใหม่ว่า อัตตาไม่มี เลยกลายเป็นอัตตาหมด
ไป หรืออัตตาหายไป)

รวมความอีกครั้งหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักปฏิบัติ แม้จะตรัสแสดงสัจธรรม ก็ต้องเกี่ยวโยง
ถึงจริยธรรมเสมอ คือมุ่งผลดีที่จะเกิดแก่ชีวิตของผู้ที่ทรงแนะนำสั่งสอน ทรงสั่งสอนให้เขานำ
ไปใช้ประโยชน์ได้

- การแสดงอนัตตาแบบแรก มีจุดหมายชัดเจนว่า เพื่อปลดเปลื้องผู้รับคำสอนให้พ้นจาก
ความถือผิดเห็นผิด ที่เป็นโทษแก่ชีวิตของเขา ให้เขาสามารถอยู่อย่างหลุดพ้น มีจิตใจ
เป็นอิสระ มีชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้น

- ส่วนการตอบเพียงเพื่อสนองความอยากรู้ตามแบบหลัง เป็นการส่งเสริมความคิดฟุ้งซ่าน
เพิ่มเชื้อสำหรับให้ความยึดถือที่มีอยู่แล้วใช้สร้างความเห็นขยายตัวออกไป จึงทรงนิ่ง หยุด
เขาไว้แค่นั้น

ที่พูดมานั้น เป็นการชี้แจงอธิบายอย่างกว้างๆ เพราะมีหลายคำถามรวมกันอยู่ ทีนี้ก็น่าจะตอบ
อีกครั้ง ให้จำเพาะลงไปที่คำถามว่า “นิพพาน มีอัตตาไหม เป็นอัตตาไหม?”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 87 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร