ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความหมายของฌาน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60327 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 23 พ.ค. 2021, 05:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความหมายของฌาน |
ความหมายของ ฌาน ผู้เริ่มศึกษาพึงทราบว่า คำว่า ฌาน ๔ ตามปกติหมายถึง รูปฌาน ๔ ดังนั้น จะพูดว่าฌาน ๔ หรือ รูปฌาน ๔ ก็มี ความหมายเท่ากัน; อนึ่ง ไม่พึงสับสนฌาน ๔ กับฌาน ๕ เพราะฌาน ๕ ก็คือ ฌาน ๔ นั่นเอง เป็นแต่ขยายละเอียดออกไปตามแนวอภิธรรม และฌานที่ ๕ ตามแนว อภิธรรมนั้น ก็ตรงกับฌานที่ ๔ ในที่นี้นั่นเอง (ฌานที่แยกเป็น ๔ เรียกว่าฌานจตุกกนัย เป็น แบบหลักที่พบทั่วไปในพระสูตร ส่วนฌานที่แยกขยายออกเป็น ๕ ตามแนวอภิธรรม เรียกว่า ฌานปัญจกนัย) ฌาน ๔ นี้ควรจะกล่าวถึงในบทว่าด้วยมรรค ตอนสัมมาสมาธิ ในภาคปฏิบัติข้างหน้า แต่เมื่อเอ่ย ถึงในที่นี้แล้ว ก็ควรทำความเข้าใจเล็กน้อย “ฌาน” แปลว่า เพ่ง หมายถึง ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง แต่สมาธินั้นมีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อยต่างๆ กัน แยกได้เป็น หลายระดับ ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วม ของสมาธิในขณะนั้นๆ องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่ วิตก (การจรดจิตลงในอารมณ์) วิจาร (การที่ จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) และเอกัคคตา (ภาวะ ที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง) ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ (รูปฌาน) ท่านนิยมแบ่งออกเป็น ๔ ระดับ มีองค์ประกอบที่ใช้ กำหนดระดับ ดังนี้ ๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา ๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา ๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา ฌานที่สูงขึ้นไปกว่านี้ คือ อรูปฌาน ก็มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา เหมือนจตุตถฌาน แต่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ และมีความประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ ตามอารมณ์ที่กำหนด อรูปฌาน ๔ แต่ละข้อ มีคำบรรยายอยู่ข้างบนแล้ว (ตรงกับวิโมกข์ข้อ ๔ ถึง ๗) จึงไม่ต้องพูดถึงอีก. ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้ และ อาจใช้ในแง่ที่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอา กามราคะ พยาบาท ความ หดหู่ ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัย (นิวรณ์ ๕) ไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้ม รุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่ ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ. ๑๔/๑๑๗/๙๘) หรือกิริยาของ สัตว์ เช่น นกเค้าแมวจ้องจับหนู สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลา เป็นต้น ก็เรียกว่าฌาน (ใช้ในรูปกริยา ศัพท์ เช่น ม.มู. ๑๒/๕๖๐/๖๐๔) บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือคิดพิจารณา ใน อรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น ๒ จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์ตามแบบของสมถะ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน(ได้แก่ ฌานสมาบัตินั่นเอง) การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ ตามแบบวิปัสสนา หรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน (ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่าเผากิเลสบ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพานบ้าง) ดู องฺ.อ.๑/๕๓๖; ปฏิสํ.อ.๒๒๑; สงฺคณี อ.๒๗๓ (ดู ขุ.ปฏิ. ๓๑/๔๘๓/๓๖๘ ด้วย) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |